EGCO Corporate Governance TH

หลักการกำ �กับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณธุรกิจ (ฉบับประมวล พ.ศ. 2565) 52 คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาและพิจารณา ค่าตอบแทน (“คณะกรรมการสรรหา”) ซึ่งประกอบด้วยกรรมการ 5 คน และเป็น กรรมการอิสระเป็นส่วนใหญ่ โดยดำ �รงตำ �แหน่งตามวาระที่ดำ �รงตำ �แหน่งกรรมการ บริษัทหรือตามที่คณะกรรมการบริษัทกำ �หนด ทั้งนี้ คณะกรรมการสรรหาต้องเป็น ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ในประเด็นการพัฒนาศักยภาพและทักษะของกรรมการและผู้บริหาร การจัดทำ � แผนสืบทอดตำ �แหน่งผู้บริหารระดับสูง หรือการจูงใจและการรักษาบุคลากรที่มี ความสามารถ นอกจากนี้ ยังต้องเท่าทันการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหาร ทรัพยากรบุคคลอยู่เสมอและมีความเป็นกลางในการสรรหาและคัดเลือกบุคคล เพื่อ ดำ �รงตำ �แหน่งกรรมการและผู้บริหารระดับสูง คณะกรรมการสรรหามีหน้าที่ ดังนี้ • พิจารณาให้ความเห็นชอบนโยบายและระเบียบของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ การบริหารงานบุคคลของบริษัท เพื่อนำ �เสนอต่อคณะกรรมการบริษัท • พิจารณาให้ความเห็นชอบโครงสร้าง องค์ประกอบ และคุณสมบัติของ คณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อยของบริษัท พร้อมทั้งเสนอแนะ รายชื่อผู้ที่เหมาะสมที่จะดำ �รงตำ �แหน่งกรรมการบริษัทในกรณีที่ตำ �แหน่ง ว่างลงเนื่องจากครบวาระ และ/หรือในกรณีอื่นๆ เพื่อนำ �เสนอต่อ คณะกรรมการบริษัท • พิจารณาให้ความเห็นชอบโครงสร้างค่าตอบแทนกรรมการของบริษัทและ พนักงาน และบริษัทย่อย เพื่อนำ �เสนอต่อคณะกรรมการบริษัท • พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนอัตรากำ �ลังประจำ �ปีของบริษัท รวมถึงพิจารณา การแต่งตั้ง เลื่อนตำ �แหน่ง โยกย้าย และถอดถอนผู้บริหารระดับรองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และเลขานุการบริษัท เพื่อนำ �เสนอ ต่อคณะกรรมการบริษัท • ร่างแผนพัฒนาความรู้และทักษะของกรรมการบริษัท เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติ หน้าที่ในฐานะกรรมการบริษัทและกรรมการชุดย่อย พร้อมทั้งจัดทำ �สัดส่วน ทักษะกรรมการ (Board Skill Matrix) ที่เหมาะสมกับธุรกิจของบริษัท • พิจารณาผลประเมินผลการปฏิบัติงานสำ �หรับกรรมการผู้จัดการใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และเลขานุการบริษัท คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน

RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=