EN | TH
27 February 1997

การเงินรวม บ.ผลิตไฟฟ้า จำกัด(มหาชน)และบริษัทย่อย

9. เงินลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทอื่น เงินลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทอื่น ประกอบด้วย 9.1 เงินลงทุนในบริษัทร่วม ถือหุ้นร้อยละ 2539 2538 บริษัท อมตะ เอ็กโก เพาเวอร์ จำกัด 30.00 87,663,720 4,221,250 บริษัท เอ็กโกธุรกิจเหมือง จำกัด 40.00 23,999,952 - บริษัท บางจากเพาเวอร์ จำกัด 30.00 11,999,960 - 123,663,632 4,221,250 เงินลงทุนในบริษัทร่วมดังกล่าวแสดงในราคาทุน เนื่องจากไม่มีข้อมูลของบริษัทร่วมดังกล่าวที่จะนำมา แสดงตามวิธีส่วนได้เสียในขณะนี้ และเงินลงทุนดังกล่าวไม่มีสาระสำคัญต่องบการเงินของบริษัท 9.2 เงินลงทุนในบริษัทอื่น บริษัท ไทย แอลเอ็นจี เพาเวอร์ จำกัด 10.00 37,499,995 18,749,998 37,499,995 18,749,998 บาท 161,163,627 22,971,248 10. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิประกอบด้วย 2539 2538 ที่ดิน 1,474,616,198 404,320,044 โรงไฟฟ้า 28,948,118,180 14,852,223,558 อาคารสิ่งปลูกสร้าง 2,604,490,932 1,146,646,329 เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและบำรุงรักษา 38,831,911 26,014,285 ระบบส่งพลังไฟฟ้า 7,002,029 7,002,029 ระบบสื่อสาร 8,455,202 7,077,653 เครื่องใช้สำนักงาน 10,838,787 5,654,780 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 48,781,719 26,944,326 เครื่องตกแต่ง 3,319,353 2,207,343 ยานพาหนะ 15,787,772 7,874,063 อาคารระหว่างก่อสร้าง 53,120,407 180,000 เครื่องจักรระหว่างก่อสร้าง 19,499,755 - สินทรัพย์ระหว่างทาง - 113,800 33,232,862,245 16,486,258,210 หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม (2,109,940,395) (869,220,045) บาท 31,122,921,850 15,617,038,165 ค่าเสื่อมราคาประจำปี บาท 1,240,682,828 812,859,435 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2539 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้รับโอนโรงไฟฟ้า ขนอมจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตามสัญญาซื้อขายโรงไฟฟ้ากับการ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัทย่อยทั้งสองแห่งได้จดจำนองที่ดินและ อาคาร และจดจำนำอุปกรณ์ ของโรงไฟฟ้าตามที่ระบุในสัญญา และมีสัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้องเป็น หลักประกันเงินกู้ยืมระยะยาวและหุ้นกู้ (ดูหมายเหตุ ข้อ 12 ข้อ 13 และข้อ 20.3 ตามลำดับ) 11. สินทรัพย์อื่น สินทรัพย์อื่นประกอบด้วย 2539 2538 ค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงาน - 425,448 ค่าใช้จ่ายจัดตั้งบริษัทและค่าธรรมเนียมการจัดการ 332,706,900 373,919,556 ค่าใช้จ่ายในการจัดหาเงินทุน 717,295,869 273,944,442 ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชีอื่น 54,182,430 55,143,985 เงินมัดจำ 4,733,299 4,050,599 1,108,918,498 707,484,030 หัก ค่าตัดจำหน่ายสะสม (158,320,032) (68,281,860) บาท 950,598,466 639,202,170 ค่าตัดจำหน่ายประจำปี บาท 90,396,345 64,287,208 12. เงินกู้ยืมระยะยาว เงินกู้ยืมระยะยาวเป็นเงินกู้ยืมที่บริษัทย่อยแห่งหนึ่งกู้ยืมจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ดังนี้ 2539 2538 เงินกู้ยืมสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ 10,902,233,100 6,895,943,400 เงินกู้ยืมสกุลเงินบาท 5,703,040,000 3,408,000,000 16,605,273,100 10,303,943,400 หัก ส่วนของหนี้ระยะยาวที่ถึงกำหนด ชำระภายในหนึ่งปี (772,184,400) (426,247,688) บาท 15,833,088,700 9,877,695,712 เงินกู้ยืมระยะยาวของบริษัทย่อยแห่งหนึ่งเป็นเงินกู้ยืมภายใต้สัญญา Master Agreement สัญญา Credit Agreement และสัญญา Institutional Loan Agreement สัญญาแต่ละฉบับลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2537 โดยมีวงเงินกู้ยืมรวมคือ 282 ดอลลาร์สหรัฐ และ 4,200 ล้านบาท มี กำหนดผ่อนชำระคืน เงินต้น ภายใน 10 ปี 12 ปี และ 15 ปี และมีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวตาม LIBOR บวกและ MLR ลบส่วนต่างที่กำหนดและอัตราดอกเบี้ยคงที่ตามที่กำหนดในสัญญา สัญญา Master Agreement ดังกล่าวมีข้อกำหนดให้กันเงินสำรองสำหรับภาระหนี้สินดังกล่าวและมี เงื่อนไขต่าง ๆ ตามที่ระบุในสัญญา (ดูหมายเหตุข้อ 13) ในวันที่ทำสัญญากู้ยืมเงินข้างต้น บริษัทย่อยแห่งนั้นได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารต่าง ประเทศแห่งหนึ่ง สัญญามีผลบังคับให้เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นอัตราคงที่ร้อยละ 8.12 ต่อปี สำหรับเงินกู้ยืม 141 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สัญญานี้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2537 ถึงวันที่ 7 ธันวาคม 2547 เงินกู้ยืมระยะยาวของบริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งเป็นเงินกู้ยืมภายใต้สัญญา Master Agreement สัญญา Bank Credit Agreement และสัญญา Tranche BAgreement สัญญาแต่ละฉบับลงวันที่ 3 มิถุนายน 2539 โดยมีวงเงินกู้ยืมรวมคือ 265 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 225 ล้านบาท โดยกำหนด ผ่อนชำระคืนเงินต้นภายใน 12 ปี และ 15 ปี ตามลำดับ มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวตาม LIBOR และ MLR บวกส่วนต่าง และอัตราดอกเบี้ยคงที่ตามที่กำหนดในสัญญา ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2539 บริษัทย่อยข้างต้นได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารต่าง ประเทศแห่งหนึ่ง สัญญามีผลบังคับให้เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยลอยตัวตาม LIBOR บวกส่วนต่างที่กำหนด เป็นอัตราคงที่ร้อยละ 8.0275 สำหรับเงินกู้ยืม 165 ล้านดอลลาร์สหรัฐและอัตราคงที่ ร้อยละ 11 ต่อปี สำหรับเงินกู้ยืม 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินกู้ยืม 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังกล่าวบริษัท ได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินบาท สัญญานี้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2539 ถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2551 เงินกู้ยืมระยะยาวของบริษัทย่อยทั้ง 2 แห่ง ดังกล่าวมีการจดจำนองที่ดินและอาคารและจดจำนำ อุปกรณ์ของโรงไฟฟ้าตามที่ระบุในสัญญา และมีสัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่เจ้าหนี้เงินกู้ยืมเพื่อ เป็นหลักประกัน 13. หุ้นกู้ หุ้นกู้ ประกอบด้วย 2539 2538 หุ้นกู้ 10,811,494,132 3,460,000,000 หัก ส่วนของหุ้นกู้ที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (274,664,132) (50,000,000) บาท 10,536,830,000 3,410,000,000 หุ้นกู้ของบริษัทย่อยแห่งหนึ่งเป็นเงินกู้ยืมภายใต้สัญญา Master Agreement (ดูหมายเหตุข้อ 12) และสัญญา Debenture Holder Representative Appointment Agreement No. 1 และ No.2 สัญญาแต่ละฉบับลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2537 หุ้นกู้ครั้งที่ 1 แบ่งเป็น 4 ส่วน อายุ 5 ปี 7 ปี 10 ปี และ12 ปี โดยมีกำหนดไถ่ถอนในปี 2542 2544 2547 และ 2549 หุ้นกู้ครั้งที่ 2 แบ่งเป็น 12 ส่วน อายุ 1-12 ปี โดยมีกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ตั้งแต่ปี 2538 -2549 มีอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 11.25 ต่อปี และจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง หุ้นกู้ของบริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งเป็นเงินกู้ยืมภายใต้สัญญา Master Agreement(ดูหมายเหตุข้อ 12) และข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออก หุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้และเป็นหุ้นกู้มีประกันชนิดระบุชื่อผู้ถือ จำนวน 750,000 หน่วย มีมูลค่าที่ตราไว้หน่วยละ 10,000 บาท โดยมีมูลค่ารวมหุ้นกู้จำนวน 7,500 ล้านบาท ซึ่งได้เสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป อายุหุ้นกู้ 15 ปี นับจากวันออกหุ้นกู้คือวันที่ 14 มิถุนายน 2539 วันครบกำหนดไถ่ถอน เป็นงวด ๆ ทุก 6 เดือน ตั้งแต่ปี 2539 ถึง 2554 มีอัตรา ดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 11.5625 ต่อปี และจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง หุ้นกู้ของบริษัทย่อย 2 แห่งดังกล่าวมีการจดจำนองที่ดินและอาคาร และจดจำนำอุปกรณ์ของโรงไฟฟ้า ตามที่ระบุในสัญญาและมีสัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่เจ้าหนี้หุ้นกู้เพื่อเป็นหลักประกันสัญญา 14. ทุนเรือนหุ้น ผู้ถือหุ้นบริษัทได้มีมติเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2538 ให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 4,000 ล้านบาท เป็น 5,300 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 130 ล้านหุ้น มีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ซึ่งบริษัทได้จดทะเบียนมติเพิ่มทุนกับกรมทะเบียนการค้าแล้ว เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2538 ตามมติผู้ถือหุ้นดังกล่าวข้างต้นให้นำหุ้นสามัญใหม่ออกจัดสรรดังนี้ - เสนอขายหุ้นสามัญให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม จำนวน 40 ล้านหุ้น ในสัดส่วนหุ้นเดิม 10 หุ้น ต่อหุ้น สามัญ ใหม่ 1 หุ้น ในราคาหุ้นละ 30 บาท บริษัทได้รับชำระค่าหุ้นครบถ้วนแล้ว และได้จดทะเบียนเพิ่ม ทุนกับกรมทะเบียนการค้าแล้ว เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2538 - เสนอขายหุ้นสามัญใหม่ให้แก่ประชาชนทั่วไป เป็นจำนวน 80 ล้านหุ้น ซึ่งราคาเสนอขายให้อยู่ใน ดุลพินิจของคณะกรรมการของบริษัท - ออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญจำนวน 10 ล้านหน่วย โดยเสนอขายให้แก่พนักงานของ บริษัทและบริษัทในเครือในราคาหน่วยละ 0 บาท และใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วย มีสิทธิในการ จองซื้อหุ้นสามัญใหม่ 1 หุ้น ในราคา 30 บาท โดยกำหนดให้ใช้สิทธิภายใน 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ออก ใบสำคัญแสดงสิทธิ ต่อมาคณะกรรมการบริษัทได้มีมติเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2539 ให้เสนอขายหุ้นดังกล่าวแก่ผู้ลงทุนใน ประเทศจำนวน 56 ล้านหุ้น ราคาเสนอขายหุ้นละ 72 บาท และเสนอขายแก่ผู้ลงทุนในต่าง ประเทศจำนวน 24 ล้านหุ้น ราคาเสนอขายหุ้นละ 83 บาท บริษัทได้รับเงินชำระค่าหุ้นจากการเสนอขายหุ้นดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน 6,024 ล้านบาทครบถ้วน แล้ว และได้จดทะเบียนเพิ่มทุนชำระแล้วกับกรมทะเบียนการค้าเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2539 ดังนั้นจึงมีทุนชำระแล้วเพิ่มขึ้นจำนวน 800 ล้านบาท และมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นจำนวน 5,224 ล้านบาท คณะกรรมการบริษัทได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กรกฏาคม 2539 มอบอำนาจให้กรรมการผู้มีอำนาจของ บริษัทเป็นผู้กำหนดและแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดของการออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิตามที่ เห็นสมควรและจำเป็น เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งหรือคำแนะนำของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลัก ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และบริษัทจะออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะ ซื้อหุ้นสามัญจำนวนที่จัดสรร 10 ล้านหน่วย ระยะเวลาโครงการ 5 ปีในสัดส่วน 22% ,21% ,20%, 19% และ 18% ในปีที่ 1-5 ตามลำดับ โดยเสนอขายให้แก่พนักงานของบริษัทและบริษัทในเครือ ราคาที่ใช้สิทธิ 30 บาทต่อหุ้น โดยจะให้ใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญได้ในวันที่ 17 เมษายน 2540 หรือวันที่ ครบกำหนดหนึ่งปีนับ่จากวันออกใบสำคัญแสดงสิทธิ สำหรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เหลือหลังจากเสนอขายภายใน 5 ปีแล้วให้อยู่ในดุลยพินิจของที่ ประชุมผู้ถือหุ้น 15. สำรองตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจะต้องจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีส่วนหนึ่งไว้เป็นทุนสำรอง ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของกำไรสุทธิประจำปี หักด้วยยอดขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) จนกว่าทุนสำรอง นี้จะมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของทุนจดทะเบียน บริษัทจัดสรรสำรองตามกฎหมายจากกำไรสุทธิปีปัจจุบันที่ไม่รวมส่วนได้เสียในกำไรสุทธิที่ยังไม่ได้แบ่ง ของบริษัทย่อย 16. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทได้จัดตั้งกองทุนเงินสะสมพนักงานสำหรับพนักงานของบริษัทที่สมัครเป็นสมาชิกของ กองทุนโดย หักจากเงินเดือนของพนักงานส่วนหนึ่งและบริษัทจ่ายสมทบให้อีกส่วนหนึ่ง บริษัทได้แต่งตั้งผู้จัดการ กองทุนเพื่อบริหารกองทุนดังกล่าวตามกฎเกณฑ์และข้อกำหนดพระราชบัญญัติ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 17. รายได้จากการขาย รายได้จากการขายของบริษัทย่อย 2 แห่งได้แก่ค่าขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย 2539 2538 รายได้ค่าพลังไฟฟ้า 5,894,945,745 3,776,689,216 รายได้ค่าพลังงานไฟฟ้า 91,864,221 82,090,775 บาท 5,986,809,966 3,858,779,991 รายได้ค่าไฟฟ้าในส่วนของรายได้ค่าพลังงานไฟฟ้าของบริษัทย่อย 2 แห่ง ตั้งแต่เริ่มดำเนินงานจนถึง ปีสิ้นสุดเพียงวันที่ 31 ธันวาคม 2539 ไม่ได้รวมคำนวณต้นทุนค่าก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลมาจากการ ที่บริษัทย่อยยังไม่มีต้นทุนค่าก๊าซธรรมชาติเนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับภาระ ต้นทุนก๊าซธรรมชาติ จนกว่าบริษัทย่อยดังกล่าวจะมีสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับการปิโตรเลียม แห่งประเทศไทย ตามเงื่อนไขของสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งต้องรอผลการเจรจาระหว่างการไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทยกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย 18. ต้นทุนขาย ต้นทุนขายของบริษัทย่อย 2 แห่งประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายหลักที่สำคัญ ได้แก่ ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าบำรุงรักษา ค่าสัมปทานและค่าเสื่อมราคา โดยไม่รวมค่าก๊าซธรรมชาติ ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทยเป็นผู้รับภาระต้นทุนก๊าซธรรมชาติแทนบริษัทจนกว่าบริษัทจะมีสัญญาซื้อขาย ก๊าซธรรม ชาติกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยตามเงื่อนไขของสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 19. ภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากการผลิตไฟฟ้าโดยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นเวลา 8 ปี (ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2538 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2546) และได้รับลดหย่อน ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติมีกำหนดเวลา 5 ปี นับจาก พ้นกำหนดเวลา 8 ปีดังกล่าว (ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2546 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2551) สำหรับรายได้อื่นที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้มีหนังสือลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2538 ถึงบริษัทย่อย แห่งหนึ่ง ในเรื่องการจ่ายเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทดังกล่าวสรุปได้ดังนี้ - การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจะจ่ายเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทย่อยดังกล่าว ช่วง ระหว่างที่บริษัทยังไม่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน คือระหว่างวันที่ 7-31 ธันวาคม 2537 และวัน ที่ 1 มกราคม 2538 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2538 เป็นจำนวนเงินประมาณ 16 ล้านบาท และ 114 ล้านบาท ตามลำดับ ให้แก่บริษัทเมื่อได้นำส่งค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวต่อกรมสรรพากร แล้ว - ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บริษัทย่อยดังกล่าว สามารถจะลดลงได้ในช่วงระหว่างวันที่ 7 ธันวาคม 2545 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2551 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยขอให้บริษัทพิจารณาส่งคืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยตามจำนวนภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ลดลงได้จริงในขณะนั้น ต่อมา กฟผ. ได้มีหนังสือลงวันที่ 10 มกราคม 2539 ถึงบริษัทย่อยดังกล่าว ในเรื่องการจ่ายเงินค่า ภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทสรุปได้ดังนี้ - ให้บริษัทย่อยดังกล่าวเป็นผู้รับภาระทั้งหมด สำหรับค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2537 จำนวนประมาณ 16 ล้านบาท และภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2538 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2538 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2538 จำนวนประมาณ 114 ล้านบาท โดยจะทำให้สิทธิการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคลในช่วงวันที่ 7 ธันวาคม 2545 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2551 ตกเป็นของ บริษัทย่อยดัง กล่าว - ส่วนการได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ อีก 5 ปี กฟผ. ขอให้บริษัทย่อยดังกล่าวพิจารณาปรับ Equity Financing Charge ตามความเป็นจริง ตามหนังสือของกฟผ.ดังกล่าวมีผลทำให้บริษัทย่อยดังกล่าวต้องจ่ายค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของกำไร สุทธิในช่วงระหว่างวันที่ 7 ธันวาคม 2537ถึงวันที่ 19 เมษายน 2538และไม่ต้องส่งคืนภาษีเงินได้ นิติบุคคลที่บริษัทสามารถลดลงได้ในช่วงระหว่างวันที่ 8 ธันวาคม 2545ถึงวันที่ 19 เมษายน 2551 ให้แก่กฟผ. แทนที่จะต้องปฏิบัติตามหนังสือลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2538 ข้างต้นนี้ นอกจากนี้บริษัทจะ ต้องพิจารณาราคาขายไฟฟ้าตามต้นทุนที่เป็นจริง ในช่วงที่ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตรา ร้อยละ 50 ของอัตราปกติอีก 5 ปี (วันที่ 8 ธันวาคม 2545 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2551) ด้วย บริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากการผลิตไฟฟ้าโดยได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี (ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2539 ถึงวันที่ 25 กันยายน 2547)และได้รับลด หย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติมีกำหนดเวลา 5 ปี นับ จากพ้นกำหนดเวลา 8 ปี ดังกล่าว (ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2547 ถึงวันที่ 25 กันยายน 2552) สำหรับรายได้อื่นที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 ของ กำไรสุทธิก่อนภาษีเงินได้ 20. สัญญาที่สำคัญ 20.1 สัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในปี 2537 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำ สัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สัญญาดังกล่าวมีอายุ 20 ปี นับตั้งแต่ วันที่ 7 ธันวาคม 2537 และมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการขายไฟฟ้าของบริษัทให้กับบุคคลที่สามตาม เงื่อนไขที่ระบุในสัญญา ตลอดจนภาระผูกพันตามสัญญาจะ โอนสิทธิเรียกร้อง (ดูหมายเหตุข้อ 20.3) ในปี2539บริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สัญญาดังกล่าวมีอายุ 15 ปีและ 20 ปี นับตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2539 และมีข้อจำกัด เกี่ยวกับการขายไฟฟ้าของบริษัทให้กับบุคคลที่สามตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา ตลอดจนภาระ ผูกพันตามสัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้อง (ดูหมายเหตุข้อ 20.3) 20.2 สัญญาการบำรุงรักษาหลัก บริษัทย่อยสองแห่งได้ทำสัญญาการบำรุงรักษาหลักกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)เพื่อการบริการดูแลและรักษาหลัก การซ่อมแซม การจัดการและการบริการเพิ่มเติม อื่นที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าของบริษัท บริษํทจะต้องจ่ายค่าบริการดังกล่าวตามข้อกำหนดใน สัญญา สัญญานี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2538 และวันที่ 19 มิถุนายน 2539 ตามลำดับ และจะต่อไปได้อีก 6 ปี สัญญานี้มีภาระผูกพันตามสัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้อง (ดูหมายเหตุข้อ 20.3) 20.3 สัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้อง บริษัทย่อย 2 แห่งได้ทำสัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้องของบริษัทตามสัญญาซื้อขายโรงไฟฟ้า สัญญา ซื้อขายไฟฟ้า สัญญาบำรุงรักษาหลักและกรมธรรม์ประกันภัย ตลอดจนสัญญาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เจ้าหนี้เงินกู้ยืมและเจ้าหนี้หุ้นกู้เพื่อเป็นหลักประกันตามข้อกำหนดของสัญญากู้ยืม 21. หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นและภาระผูกพัน 21.1 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 บริษัทมีภาระผูกพันที่ต้องจ่ายเงินตามสัญญาก่อสร้างและสัญญาอื่น เป็นจำนวนเงินประมาณ 206 ล้านบาท 21.2 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีภาระ ผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินตามสัญญาซ่อมบำรุง เป็นจำนวนเงิน 1,566,789 ปอนด์สเตอร์ลิง 21.3 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2539 บริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินตามสัญญาซื้อวัสดุ สำรองคลัง เป็นจำนวนเงิน 2,866,388 ดอลลาร์สหรัฐ