13 August 1997
งบการเงินรวม บมจ.ผลิตไฟฟ้า วันที่ 30 มิถุนายน 2540
รายงานของผู้สอบบัญชี
เสนอคณะกรรมการ
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
ข้าพเจ้าได้สอบทานงบดุลรวม ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539 และ
งบกำไรขาดทุนรวมประจำแต่ละไตรมาสและประจำแต่ละงวดหกเดือนสิ้นสุดเพียงวันเดียวกัน
ตามลำดับของบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ตามมาตรฐานที่กำหนด
โดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
การสอบทานงบการเงินระหว่างกาลรวมนี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วย การทำความเข้าใจ
เกี่ยวกับระบบในการจัดทำงบการเงิน การใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบในการวิเคราะห์
ข้อมูลทางการเงิน และการสอบถามเจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทางการเงิน
และบัญชี ซึ่งการสอบทานนี้มีขอบเขตจำกัดกว่าการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี
ที่รับรองทั่วไปเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินมาก ดังนั้นข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดง
ความเห็นต่องบการเงินที่สอบทานได้
ข้าพเจ้าไม่พบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญซึ่งควรนำมาปรับปรุงงบการเงินระหว่างกาลรวม
ที่กล่าวในวรรคแรกให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป จากการสอบทานของข้าพเจ้า
ดังกล่าวข้างต้น
เติมศักดิ์ กฤษณามระ
กรุงเทพมหานคร ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 1106
วันที่ 24 กรกฎาคม 2540 สำนักงานดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
งบดุลรวม
ลงวันที่ 30 มิถุนายน
"ยังไม่ได้ตรวจสอบ"
หน่วย : พันบาท
2540 2539
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินฝากสถาบันการเงิน 3,003,455 3,981,344
เงินฝากธนาคารและสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลักประกัน 3,566,030 3,014,632
เงินลงทุนระยะสั้น 1,770,929 160,711
ลูกหนี้การค้า 1,367,443 851,756
สินค้าคงเหลือ 1,776,077 1,686,668
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 529,468 1,789,045
12,013,402 11,484,156
เงินลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทอื่น 246,223 27,971
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิ 30,431,138 31,830,524
สินทรัพย์อื่น 897,742 927,594
รวม 43,588,505 44,270,245
ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม
"สอบทานแล้ว"
(นายสมบูรณ์ มณีนาวา) (นายวรวิทย์ ขำขนิษฐ์)
ประธานกรรมการ กรรมการ ผู้จัดการ
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
งบดุลรวม
ลงวันที่ 30 มิถุนายน
"ยังไม่ได้ตรวจสอบ"
หน่วย : พันบาท
2540 2539
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน
เจ้าหนี้การค้า 179,335 81,989
เงินกู้ยืมระยะสั้น - 1,136,000
หนี้สินหมุนเวียนอื่น 1,529,724 1,362,077
1,709,059 2,580,066
เงินกู้ยืมระยะยาว 15,482,789 16,115,373
หุ้นกู้ 10,420,138 10,707,140
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 3 3
ส่วนของผู้ถือหุ้น 15,976,516 14,867,663
รวม 43,588,505 44,270,245
ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม
"สอบทานแล้ว"
(นายสมบูรณ์ มณีนาวา) (นายวรวิทย์ ขำขนิษฐ์)
ประธานกรรมการ กรรมการผู้จัดการ
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
งบกำไรขาดทุนรวม
"ยังไม่ได้ตรวจสอบ"
หน่วย : พันบาท
ประจำไตรมาสสิ้นสุด ประจำงวดหกเดือนสิ้นสุด
เพียงวันที่ 30 มิถุนายน เพียงวันที่ 30 มิถุนายน
2540 2539 2540 2539
รายได้
รายได้จากการขาย 1,888,079 1,108,689 3,745,584 2,051,555
รายได้ค่าบริการ 4,331 - 4,749 -
รายได้อื่น 296,858 302,666 528,224 464,733
รวมรายได้ 2,189,268 1,411,355 4,278,557 2,516,288
ค่าใช้จ่าย
ต้นทุนขาย 578,261 424,555 1,188,633 759,443
ต้นทุนบริการ 2,187 - 3,483 -
ค่าใช้จ่ายอื่น 831,736 581,551 1,810,010 1,036,734
ภาษีเงินได้ 41,755 83,304 80,608 111,683
รวมค่าใช้จ่าย 1,453,939 1,089,410 3,082,734 1,907,860
กำไรสุทธิ 735,329 321,945 1,195,823 608,428
กำไรสุทธิต่อหุ้น
ประจำไตรมาส บาท 1.41 0.68
ประจำงวดหกเดือน บาท 2.30 1.29
ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม
"สอบทานแล้ว"
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
หมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาลรวม
ประจำไตรมาสและประจำงวดหกเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539
1. เกณฑ์การเสนองบการเงินรวม
งบการเงินรวมเป็นการรวมรายการบัญชีของบริษัทและบริษัทย่อย ดังต่อไปนี้
2540 2539
อัตราการถือหุ้น อัตราการถือหุ้น
ร้อยละ ร้อยละ
บริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด 99.99 99.99
บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด 99.99 99.99
บริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด 99.99 99.99
บริษัท เอ็กโก ร่วมทุนและพัฒนา จำกัด 99.99 99.99
2. นโยบายการบัญชีที่สำคัญ
2.1 เงินลงทุนระยะสั้น
เงินลงทุนระยะสั้นที่เป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด แสดงตาม
ราคาทุนรวมหรือราคาตลาดรวมแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า (ราคาตลาดใช้ราคา
ปิดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อสิ้นวันทำการ วันสุดท้ายของงวดบัญชี)
ตราสารหนี้ประเภทหุ้นกู้จะใช้ราคาซื้อขายครั้งล่าสุดของชมรมผู้ค้า
ตราสารหนี้เป็นราคาตลาดสำหรับเปรียบเทียบกับราคาทุน กรณีไม่มีราคา
ซื้อขายดังกล่าวจะคำนวณราคาตลาดขึ้นโดยใช้เส้นอัตราผลตอบแทนปรับด้วย
ค่าความเสื่อมที่เหมาะสม
เงินลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนแสดงในราคาทุน
2.2 วัสดุสำรองคลัง
วัสดุสำรองคลังแสดงในราคาทุนหลังหักสำรองค่าวัสดุสำรองคลังล้า
สมัย ราคาทุนคำนวณตามวิธีถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่
สำรองค่าวัสดุสำรองคลังล้าสมัยส่วนใหญ่คำนวณจากยอดคงเหลือ ณ วัน
สิ้นปีของวัสดุสำรองคลังหารด้วยจำนวนปีที่คงเหลืออยู่ตามอายุของ
สัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
.../2
- 2 -
2.3 เงินลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทอื่น
เงินลงทุนในบริษัทร่วมแสดงตามวิธีส่วนได้เสีย ยกเว้นเงินลงทุนใน
บริษัทร่วมสองแห่ง ซึ่งแสดงในราคาทุน เนื่องจากไม่มีข้อมูลของบริษัท
ร่วมทั้งสองแห่งดังกล่าว ที่จะนำมาแสดงตามวิธีส่วนได้เสียในขณะนี้ และเงินลงทุนดัง
กล่าวไม่มีสาระสำคัญต่องบการเงินของบริษัท
เงินลงทุนในบริษัทอื่นแสดงตามราคาทุน
2.4 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ
ที่ดินแสดงในราคาทุน
อาคารและอุปกรณ์ แสดงในราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสม ค่าเสื่อมราคา
คำนวณโดยใช้วิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์ดังนี้
โรงไฟฟ้า 15 ปี และ 20 ปี
อาคารสิ่งปลูกสร้าง 20 ปี
ระบบสื่อสาร 5 ปี และ 10 ปี
ระบบส่งพลังไฟฟ้า 20 ปี
เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและบำรุงรักษา 5 ปี
เครื่องใช้สำนักงาน 5-10 ปี
เครื่องตกแต่ง 5 ปี
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 5-10 ปี
ยานพาหนะ 5 ปี
2.5 ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี
ค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายจัดตั้งบริษัทและค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชีอื่น
ตัดจำหน่ายโดยวิธีเส้นตรงภายในระยะเวลา 5-10 ปี
.../3
- 3 -
2.6 รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ได้บันทึกไว้ในบัญชีโดยใช้
อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงิน
ตราต่างประเทศคงเหลือ ณ วันสิ้นปี ได้แปลงค่าเป็นเงินบาท ตามอัตรา
แลกเปลี่ยน ณ วันนั้น
กำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าเงินตราต่างประเทศได้บันทึกเป็นรายได้หรือ
ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
2.7 กำไรสุทธิต่อหุ้น
กำไรสุทธิต่อหุ้นคำนวณโดยการหารกำไรสุทธิด้วยจำนวนหุ้นที่ออกและเรียก
ชำระแล้วตามระยะเวลาที่มีการเพิ่มทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
2.8 การจัดประเภทรายการ
งบการเงินระหว่างกาลรวมประจำงวดหกเดือนสิ้นสุดเพียงวัน
ที่ 30 มิถุนายน 2539 บางรายการได้มีการจัดประเภทใหม่เพื่อให้สอด
คล้องกับรายการในงบการเงินระหว่างกาลรวมประจำหกเดือนสิ้นสุดเพียง
วันที่ 30 มิถุนายน 2540
3. เงินฝากธนาคารและสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลักประกัน
เงินฝากธนาคารและสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลักประกันเป็นเงินฝากธนาคารและสถาบัน
การเงินของบริษัทย่อยสองแห่ง ซึ่งกันไว้จากรายได้ค่าขายไฟฟ้า เพื่อเป็นเงินสำรอง
สำหรับภาระหนี้สินดังกล่าวใน หมายเหตุข้อ 6 และข้อ 7
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 บริษัทย่อยสองแห่งมีเงินฝากสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลัก
ประกันจำนวนประมาณ 87 ล้านบาท กับสถาบันการเงินแห่งหนึ่งซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบัน
การเงินที่กระทรวงการคลัง มีคำสั่งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2540 ให้ระงับการดำเนิน
กิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นเวลา 30 วัน
4. ลูกหนี้การค้า
ลูกหนี้การค้าเป็นยอดค้างรับชำระค่าไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง
ประเทศไทย(กฟผ.) รายเดียว
5. ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2539 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้รับโอนโรงไฟฟ้า
ขนอมจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตามสัญญาซื้อขายโรงไฟฟ้ากับ
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
.../4
- 4 -
6. เงินกู้ยืมระยะยาว
เงินกู้ยืมระยะยาวของบริษัทย่อย 2 แห่ง เป็นเงินกู้ยืมสกุลเงินบาทและ ดอลลาร์สหรัฐ
จากสถาบันการเงินต่าง ๆ ดังนี้
หน่วย : พันบาท
2540 2539
เงินกู้ยืมสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ 10,748,058 11,004,932
เงินกู้ยืมสกุลเงินบาท 5,546,080 5,842,250
16,294,138 16,847,182
หัก ส่วนที่ครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (811,349) (731,809)
15,482,789 16,115,373
เงินกู้ยืมของบริษัทย่อยแห่งหนึ่งเป็นเงินกู้ยืมภายใต้สัญญา Master Agreement สัญญา
Credit Agreement และสัญญา Institutional Loan Agreement สัญญาแต่ละฉบับลง
วันที่ 30 พฤศจิกายน 2537 ซึ่งประกอบด้วยเงินกู้ยืมจำนวน 282 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
และ 3,550 ล้านบาท โดยเป็นเงินกู้ยืมจากวงเงินรวมคือ 282 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ
4,200 ล้านบาท มีกำหนดผ่อนชำระคืนเงินต้นภายใน 10 ปี 12 ปี และ 15 ปี และมีอัตรา
ดอกเบี้ยลอยตัวตาม LIBOR บวกและ MLR ลบส่วนต่างที่กำหนด และอัตราดอกเบี้ยคงที่
ตามที่กำหนดในสัญญา
สัญญา Master Agreement ดังกล่าวมีข้อกำหนดให้กันเงินสำรองสำหรับ
ภาระหนี้สินดังกล่าว และมีเงื่อนไขต่าง ๆ ตามที่ระบุในสัญญา (ดูหมายเหตุข้อ 7)
ในวันที่ทำสัญญากู้ยืมเงินข้างต้น บริษัทย่อยแห่งนั้นได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกับ
ธนาคารต่างประเทศแห่งหนึ่ง สัญญามีผลบังคับให้เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นอัตราคงที่
ร้อยละ 8.12 ต่อปี สำหรับเงินกู้ยืม 141 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สัญญานี้มีผลบังคับ
ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2537 ถึงวันที่ 7 ธันวาคม 2547
.../5
- 5 -
เงินกู้ยืมระยะยาวของบริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งเป็นเงินกู้ยืมภายใต้สัญญา Master Agreement
และสัญญา Bank Credit Agreement สัญญาแต่ละฉบับลงวันที่ 3 มิถุนายน 2539 ซึ่ง
ประกอบด้วย
- วงเงินกู้ยืม 265 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กำหนดผ่อนชำระคืนเงินต้นภายใน 12 ปี
อัตราดอกเบี้ยลอยตัวตาม LIBOR บวกส่วนต่างที่กำหนดสัญญานี้มีข้อกำหนดให้กันเงินสำรองสำหรับ
ภาระหนี้สินดังกล่าว และมีเงื่อนไขต่างๆ ตามที่ระบุในสัญญา
- วงเงินกู้ยืม 225 ล้านบาท อายุสัญญา 15 ปี อัตราดอกเบี้ย MLR ลบ
ส่วนต่างที่กำหนด ขณะนี้ยังไม่ได้มีการเบิกใช้
ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2539 บริษัทย่อยข้างต้นได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยน
อัตราดอกเบี้ยกับสถาบันการเงินต่างประเทศแห่งหนึ่ง สัญญามีผลบังคับ
ให้เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยลอยตัวตาม LIBOR บวกส่วนต่างที่กำหนดเป็นอัตราคงที่
ร้อยละ 8.0275 สำหรับเงินกู้ยืม 165 ล้านดอลลาร์สหรัฐและอัตราคงที่
ร้อยละ 11 ต่อปี สำหรับเงินกู้ยืม 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินกู้
ยืม 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐดังกล่าว บริษัทได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนเป็น
สกุลเงินบาท สัญญานี้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2539 ถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2551
เงินกู้ยืมระยะยาวของบริษัทย่อยทั้ง 2 แห่ง ดังกล่าวมีการจดจำนอง
ที่ดิน และอาคารและจดจำนำอุปกรณ์ของโรงไฟฟ้าตามที่ระบุในสัญญาและมี
สัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่เจ้าหนี้เงินกู้ยืมเพื่อเป็นหลักประกัน
.../6
- 6 -
7. หุ้นกู้
หุ้นกู้เป็นหุ้นกู้ของบริษัทย่อย 2 แห่ง ประกอบด้วย
หน่วย : พันบาท
2540 2539
หุ้นกู้ 10,707,140 10,960,000
หัก ส่วนที่ครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (287,002) (252,860)
10,420,138 10,707,140
หุ้นกู้ของบริษัทย่อยแห่งหนึ่งเป็นเงินกู้ยืมภายใต้สัญญา Master Agreement(ดูหมายเหตุข้อ 6)
และสัญญา Debenture Holder Representative Appointment Agreement NO.1
และ NO.2 สัญญา แต่ละฉบับลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2537 หุ้นกู้ครั้งที่ 1 แบ่งเป็น 4 ส่วน
อายุ 5 ปี 7 ปี 10 ปี และ 12 ปี โดยมีกำหนดไถ่ถอนในปี 2542 2544 2547 และ 2549
หุ้นกู้ครั้งที่ 2 แบ่งเป็น 12 ส่วน อายุ 1-12 ปี โดยมีกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ตั้งแต่
ปี 2538-2549 มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 11.25 ต่อปี และจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง
หุ้นกู้ของบริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งเป็นเงินกู้ยืมภายใต้สัญญา Master Agreement(ดูหมายเหตุข้อ 6)
และข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ และเป็นหุ้นกู้มีประกันชนิดระบุ
ชื่อผู้ถือ จำนวน 750,000 หน่วย มีมูลค่าที่ตราไว้หน่วยละ 10,000 บาท โดยมีมูลค่ารวมหุ้นกู้
จำนวน 7,500 ล้านบาท ซึ่งได้เสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป อายุหุ้นกู้ 15 ปี นับจากวันออกหุ้นกู้
คือวันที่ 14 มิถุนายน 2539 วันครบกำหนดไถ่ถอน เป็นงวด ๆทุก 6 เดือน ตั้งแต่ปี 2539 ถึง
2554 มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 11.5625 ต่อปี และจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง
หุ้นกู้ของบริษัทย่อย 2 แห่งดังกล่าวมีการจดจำนองที่ดิน และอาคารและจดจำนำอุปกรณ์ของโรง
ไฟฟ้าตามที่ระบุในสัญญาและมีสัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่เจ้าหนี้หุ้นกู้เพื่อเป็นหลักประกันสัญญา
.../7
- 7 -
8. ทุนเรือนหุ้น
ผู้ถือหุ้นบริษัทได้มีมติเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2538 ให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 4,000 ล้านบาท
เป็น 5,300 ล้านบาท โดยออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 130 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
ซึ่งบริษัทได้จดทะเบียนมติเพิ่มทุนกับกรมทะเบียนการค้าแล้วเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2538
ตามมติผู้ถือหุ้นดังกล่าวข้างต้นให้นำหุ้นสามัญใหม่ออกจัดสรรดังนี้
- เสนอขายหุ้นสามัญให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม จำนวน 40 ล้านหุ้น ในสัดส่วนหุ้นเดิม 10 หุ้น
ต่อหุ้นสามัญใหม่ 1 หุ้น ในราคาหุ้นละ 30 บาท บริษัทได้รับชำระค่าหุ้นครบถ้วนแล้วและได้
จดทะเบียนเพิ่มทุนกับกรมทะเบียนการค้าแล้ว เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2538
- เสนอขายหุ้นสามัญใหม่ให้แก่ประชาชนทั่วไปเป็นจำนวน 80 ล้านหุ้น ซึ่งราคาเสนอขาย
ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการของบริษัท
- ออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญจำนวน 10 ล้านหน่วย โดยเสนอขายให้แก่พนักงาน
ของบริษัทและบริษัทในเครือในราคาหน่วยละ 0 บาท และใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วย
มีสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญใหม่ 1 หุ้น ในราคา 30 บาท โดยกำหนดให้ใช้สิทธิภายใน
1 ปีนับตั้งแต่วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ
ต่อมาคณะกรรมการบริษัทได้มีมติเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2539 ให้เสนอขายหุ้นดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุน
ในประเทศจำนวน 56 ล้านหุ้น ราคาเสนอขายหุ้นละ 72 บาท และเสนอขายแก่ผู้ลงทุนในต่าง
ประเทศจำนวน 24 ล้านหุ้น ราคาเสนอขายหุ้นละ 83 บาท
บริษัทได้รับเงินชำระค่าหุ้นจากการเสนอขายหุ้นดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน 6,024 ล้านบาทครบ
ถ้วนแล้ว และได้จดทะเบียนเพิ่มทุนเรียกชำระแล้วกับกรมทะเบียนการค้าเมื่อวันที่ 17เมษายน
2539 ดังนั้นจึงมีทุนชำระแล้วเพิ่มขึ้นจำนวน 800 ล้านบาท และมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นจำนวน
5,224 ล้านบาท
.../8
- 8 -
คณะกรรมการบริษัทได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2539 มอบอำนาจให้กรรมการผู้มีอำนาจของ
บริษัท เป็นผู้กำหนดและแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดของการออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิ
ตามที่เห็นสมควรและจำเป็น เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งหรือคำแนะนำของสำนักงานคณะกรรมการกำกับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และบริษัทจะออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่
จะซื้อหุ้นสามัญจำนวนที่จัดสรร 10 ล้านหน่วย ระยะเวลาโครงการ 5 ปีในสัดส่วน 22%, 21%,
20%, 19% และ 18% ในปีที่ 1-5 ตามลำดับ โดยเสนอขายให้แก่พนักงานของบริษัทและบริษัท
ในเครือ ราคาที่ใช้สิทธิ 30 บาทต่อหุ้น โดยจะให้ใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญได้ในวันที่ 17 เมษายน 2540
หรือวันที่ครบกำหนดหนึ่งปีนับจากวันออกใบสำคัญแสดงสิทธิ
สำหรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เหลือหลังจากเสนอขายภายใน 5 ปีแล้ว ให้อยู่ในดุลยพินิจ
ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น
เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2540 ในปีแรกพนักงานของบริษัท และบริษัทในเครือได้ใช้สิทธิใบสำคัญ
แสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญจำนวน 1,233,800 หุ้น ราคาที่ใช้สิทธิ 30 บาทต่อหุ้น บริษัทได้รับ
เงินชำระค่าหุ้นจากการเสนอขายหุ้นดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน 37,014,000 บาท ครบถ้วนแล้ว
และได้จดทะเบียนเพิ่มทุนชำระแล้วกับกรมทะเบียนการค้าเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2540 ดังนั้นจึง
มีทุนชำระแล้วเพิ่มขึ้นจำนวน 12,338,000 บาท และมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นจำนวน 24,676,000 บาท
ต่อมาเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้จัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิที่
จะซื้อหุ้นสามัญในปีที่2 ให้แก่กรรมการบริษัทและบริษัทย่อยที่จะมีสิทธิได้รับการจัดสรรใบสำคัญแสดง
สิทธิ จำนวน 124,900 หน่วย
9. สำรองตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจะต้องจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีส่วนหนึ่งไว้เป็นทุนสำรอง
ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของกำไรสุทธิประจำปี หักด้วยยอดขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) จนกว่าทุนสำรอง
นี้จะมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของทุนจดทะเบียน
บริษัทจัดสรรสำรองตามกฎหมายจากกำไรสุทธิปีปัจจุบันที่ไม่รวมส่วนได้เสียในกำไรสุทธิที่ยังไม่ได้แบ่ง
ของบริษัทย่อย
.../9
- 9 -
10. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
บริษัทได้จัดตั้งกองทุนเงินสะสมพนักงานสำหรับพนักงานของบริษัทที่สมัครเป็นสมาชิกของกองทุนโดย
หักจากเงินเดือนของพนักงานส่วนหนึ่งและบริษัทจ่ายสมทบให้อีกส่วนหนึ่ง บริษัทได้แต่งตั้งผู้จัดการ
กองทุนเพื่อบริหารกองทุนดังกล่าวตามกฎเกณฑ์และข้อกำหนดพระราชบัญญัติกองทุน
สำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
11. รายได้ค่าไฟฟ้า
รายได้ค่าไฟฟ้าในส่วนของรายได้ค่าพลังงานไฟฟ้าของบริษัทย่อย 2 แห่ง ตั้งแต่เริ่มดำเนินงาน
จนถึงไตรมาสสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 มิถุนายน 2540 ไม่ได้รวมคำนวณต้นทุนค่าก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็น
ผลมาจากการที่บริษัทย่อยยังไม่มีต้นทุนค่าก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
เป็นผู้รับภาระต้นทุนก๊าซธรรมชาติจนกว่าบริษัทดังกล่าวจะมีสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับการปิโตร
เลียมแห่งประเทศไทยตามเงื่อนไขของสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
12. ต้นทุนขาย
ต้นทุนขายของบริษัทย่อย 2 แห่งประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายหลักที่สำคัญ ได้แก่ ค่าเบี้ยประกันภัย
ค่าบำรุงรักษา ค่าสัมปทานและค่าเสื่อมราคา โดยไม่รวมคำนวณต้นทุนค่าก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นผล
จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับภาระต้นทุนก๊าซธรรมชาติแทนบริษัทจนกว่าบริษัทจะ
มีสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยตามเงื่อนไขของสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
13. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากการผลิตไฟฟ้า โดยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติ
บุคคลเป็นเวลา 8 ปี (ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2538 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2546)และได้รับลด
หย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติมีกำหนดเวลา 5 ปี
นับจากพ้นกำหนดเวลา 8 ปีดังกล่าว (ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2546 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2551)
.../10
- 10 -
บริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุน จากการผลิตไฟฟ้าโดยได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้
นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี (ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2539 ถึงวันที่ 25 กันยายน 2547)และได้รับลด
หย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติมีกำหนดเวลา 5 ปี นับ
จากพ้นกำหนดเวลา 8 ปี ดังกล่าว (ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2547 ถึงวันที่ 25 กันยายน 2552)
สำหรับรายได้อื่นที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30
ของกำไรสุทธิก่อนภาษีเงินได้
14. สัญญาที่สำคัญ
14.1 สัญญาค้ำประกัน
ในเดือนมีนาคม 2540 บริษัทได้ทำสัญญาค้ำประกันภายใต้สัญญาการดำเนินงานและบำรุง
รักษาโรงไฟฟ้าของบริษัทร่วมแห่งหนึ่ง ในวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท
14.2 SPONSOR SUPPORT AGREEMENT
เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2540 บริษัทได้ทำสัญญา Sponsor Support Agreement กับ
สถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทร่วมแห่งหนึ่ง เพื่อค้ำประกันหนี้สินของบริษัทดังกล่าว
ในวงเงินไม่เกิน 451.87 ล้านบาท
14.3 สัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ในปี 2537 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ
ไทย สัญญาดังกล่าวมีอายุ 20 ปี นับตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2537 และมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการขาย
ไฟฟ้าของบริษัทให้กับบุคคลที่สามตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา ตลอดจนภาระผูกพันตามสัญญา
จะโอนสิทธิเรียกร้อง (ดูหมายเหตุข้อ 14.5)
ในปี 2539 บริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ
ไทย สัญญาดังกล่าวมีอายุ 15 ปี และ 20 ปี นับตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2539 และมีข้อ
จำกัดเกี่ยวกับการขายไฟฟ้าของบริษัทให้กับบุคคลที่สามตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาตลอดจนภาระ
ผูกพันตามสัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้อง (ดูหมายเหตุข้อ 14.5)
.../11
- 11 -
14.4 สัญญาการบำรุงรักษาหลัก
บริษัทย่อยสองแห่งได้ทำสัญญาการบำรุงรักษาหลักการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(กฟผ.) เพื่อการบริการดูและและรักษาหลัก การซ่อมแซม การจัดการและการบริการเพิ่มเติมอื่น
ที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าของบริษัท บริษัทจะต้องจ่ายค่าบริการดังกล่าวตามข้อกำหนดในสัญญา สัญญา
นี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2538 และวันที่ 19 มิถุนายน 2539 ตามลำดับ และจะต่อไป
ได้อีก 6 ปี สัญญานี้มีภาระผูกพันตามสัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้อง (ดูหมายเหตุข้อ 14.5)
14.5 สัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้อง
บริษัทย่อย 2 แห่งได้ทำสัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้องของบริษัทตามสัญญาซื้อขายโรงไฟฟ้า
สัญญาซื้อขายไฟฟ้า สัญญาบำรุงรักษาหลักและกรมธรรม์ประกันภัย ตลอดจนสัญญาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ให้เจ้าหนี้เงินกู้ยืมและเจ้าหนี้หุ้นกู้เพื่อเป็นหลักประกันตามข้อกำหนดของสัญญากู้ยืม
15. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
15.1 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539 บริษัทมีภาระผูกพันที่
ต้องจ่ายเงินตามสัญญาก่อสร้างและสัญญาอื่นเป็นจำนวนเงิน
ประมาณ 291 ล้านบาท และ 207 ล้านบาท ตามลำดับ
15.2 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีภาระผูกพัน
ที่จะต้องจ่ายเงินตามสัญญาซ่อมบำรุงเป็นจำนวนเงิน 1,566,789 ปอนด์สเตอร์ลิง
15.3 ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีภาระผูกพัน
ที่จะต้องจ่ายเงินตามสัญญาซื้อวัสดุสำรองคลังเป็นเงิน 644,439 ดอลลาร์สหรัฐ
.../12
- 12 -
16. เหตุการณ์สำคัญภายหลังวันสิ้นงวด
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศใช้ระบบอัตรา
แลกเปลี่ยนเงินตรา แบบลอยตัว ซึ่งค่าเงินบาทจะถูกกำหนดโดยกลไกทาง
การตลาดที่มีผลสะท้อนมาจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
บริษัทย่อย 2 แห่ง อาจมีผลขาดทุนจากการปรับปรุงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่ง
คำนวณจากการแปลงค่าสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่
มีอยู่ในบัญชี ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 ให้เป็นเงินบาท หากใช้อัตราอ้างอิง
ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ถัวเฉลี่ยสำหรับระยะเวลาตั้งแต่
วันที่ 2 ถึง 24 กรกฎาคม 2540 แล้วจะมีจำนวนรวมประมาณ 1,400 ล้านบาท