23 February 2000
การเงินประจำปี 2542
หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินของบริษัทฯในหน้า 11 ถึง 29 เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
งบการเงินของบริษัทฯ
หมายเหตุ พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2541
(ปรับปรุงใหม่)
บาท บาท
กำไร(ขาดทุน)สะสมส่วนที่ยังไม่ได้จัดสรร
ยอดคงเหลือต้นปี
- ตามที่รายงานไว้เดิม 1,574,163,635 (4,412,022,769)
- รายการปรับปรุงย้อนหลังเนื่องจากการเปลี่ยน
แปลงหลักการบัญชีสำหรับค่าใช้จ่ายก่อนเปิด
กิจการและค่าใช้จ่ายรอตัดจ่ายอื่น ๆ จากที่เคย
บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชีมาเป็นค่าใช้จ่าย
เมื่อเกิดขึ้น 2 (717,907,246) (830,062,280)
- ตามที่ได้ปรับปรุงใหม่ 856,256,389 (5,242,085,049)
หัก การจัดสรร
- สำรองตามกฎหมาย 19 (132,397,729) (82,850,718)
- เงินปันผล 24 (663,967,684) -
- โบนัสกรรมการ (21,804,400) -
(818,169,813) (82,850,718)
กำไรสุทธิสำหรับปี 2,647,954,570 6,181,192,156
กำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรรปลายปี 2,686,041,146 856,256,389
กำไรสะสมส่วนที่จัดสรรแล้ว
สำรองตามกฎหมาย 235,041,127 102,643,398
กำไรสะสมส่วนที่จัดสรรแล้วปลายปี 235,041,127 102,643,398
รวมกำไรสะสมปลายปี 2,921,082,273 958,899,787
หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินของบริษัทฯในหน้า 11 ถึง 29 เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
งบกระแสเงินสด
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม
งบการเงินรวม
พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2541
(ปรับปรุงใหม่)
บาท บาท
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
กำไรสุทธิ 2,647,954,570 6,181,192,156
รายการปรับปรุง
ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 1,683,735,279 1,640,563,658
ขาดทุน(กำไร)จากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้น 250,914,152 (3,443,731,618)
กำไรจากการขายหลักทรัพย์ในความต้องการ
ของตลาด (43,133,461) -
สำรองเผื่อการลดมูลค่าของหลักทรัพย์ในความ
ต้องการของตลาด - (14,945,741)
สำรองผลขาดทุนจากการด้อยค่าเกี่ยวกับต้นทุนการ
พัฒนาโครงการต่างๆ 161,647,426 -
เงินปันผลรับจากบริษัทอื่น (93,093,457) -
ส่วนแบ่งผลกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทย่อย
และบริษัทร่วม (8,457,958) (72,812,258)
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (93,854,574) (4,852,777)
อื่นๆ (14,759,195) 1,318,062
กระแสเงินสดก่อนการเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียน 4,490,952,782 4,286,731,482
การเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน
(ไม่รวมผลกระทบของการซื้อและการจำหน่าย)
- เงินฝากธนาคารและสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลักประกัน (314,352,683) (2,299,413,566)
- ลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 16,544,243 (49,791,959)
- ลูกหนี้การค้า (127,295,117) (338,607,208)
- วัสดุสำรองคลัง (93,481,742) 61,084,980
- สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น (114,041,445) 305,729,686
- สินทรัพย์อื่น (14,611,507) (1,432,054)
- เจ้าหนี้การค้า (104,776,248) (109,689,800)
- เจ้าหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 1,195,106 72,074,087
- หนี้สินหมุนเวียนอื่น (101,887,739) (25,512,796)
กระแสเงินสดได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมการดำเนินงาน 3,638,245,650 1,901,172,852
หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินของบริษัทฯในหน้า 11 ถึง 29 เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
งบการเงินของบริษัทฯ
พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2541
(ปรับปรุงใหม่)
บาท บาท
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
กำไรสุทธิ 2,647,954,570 6,181,192,156
รายการปรับปรุง
ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย 44,530,835 13,271,187
ค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงานของบริษัทย่อยตัดจำหน่าย - -
ขาดทุน(กำไร)จากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้น - -
กำไรจากการขายหลักทรัพย์ในความต้องการ
ของตลาด (43,133,461) -
สำรองเผื่อการลดมูลค่าของหลักทรัพย์ในความ
ต้องการของตลาด - (14,945,741)
สำรองผลขาดทุนจากการด้อยค่าเกี่ยวกับต้นทุนการ
พัฒนาโครงการต่างๆ - -
เงินปันผลรับจากบริษัทอื่น (93,093,457) -
ส่วนแบ่งผลกำไรจากการดำเนินงานของบริษัทย่อย
และบริษัทร่วม (2,671,947,009) (5,925,565,753)
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย - -
อื่นๆ (27,008,850) 24,650
กระแสเงินสดก่อนการเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียน (142,697,372) 253,976,499
การเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน
(ไม่รวมผลกระทบของการซื้อและการจำหน่าย)
- เงินฝากธนาคารและสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลักประกัน - -
- ลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (13,874,121) 5,634,689
- ลูกหนี้การค้า - -
- วัสดุสำรองคลัง - -
- สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น (48,076,872) 187,963,366
- สินทรัพย์อื่น (12,788,078) 24,666,896
- เจ้าหนี้การค้า - -
- เจ้าหนี้บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 4,721,312 -
- หนี้สินหมุนเวียนอื่น (6,334,320) 129,027,613
กระแสเงินสดได้มา (ใช้ไป) จากกิจกรรมการดำเนินงาน (219,049,451) 601,269,063
หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินของบริษัทฯในหน้า 11 ถึง 29 เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
งบการเงินรวม
พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2541
(ปรับปรุงใหม่)
บาท บาท
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน
ซื้อที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (324,535,065) (466,497,891)
เงินลงทุนในบริษัทย่อย - -
เงินลงทุนในบริษัทร่วมและเงินลงทุนอื่นๆ 324,058,796 (698,546,799)
เงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด 153,491,377 136,079,426
เงินกู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (60,241,725) -
เงินลงทุนระยะสั้น 6,382,297 38,346,428
เงินปันผลรับ 93,093,457 -
เงินสดสุทธิได้มา(ใช้ไป) จากกิจกรรมลงทุน 192,249,137 (990,618,836)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน
ออกหุ้นเพิ่มทุน 46,857,000 44,262,000
เงินรับชำระค่าหุ้นเพิ่มเติมจากบริษัทย่อย 108,600,000 -
เงินสดรับจากการออกหุ้นกู้ 4,700,000,000 -
จ่ายคืนเงินกู้ยืมระยะยาว (2,173,536,380) (1,683,534,600)
เงินปันผลจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น (621,063,016) -
เงินสดสุทธิได้มา(ใช้ไป) จากกิจกรรมจัดหาเงิน 2,060,857,604 (1,639,272,600)
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น(ลดลง)สุทธิ 5,891,352,391 (728,718,584)
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือต้นปี 2,452,164,670 3,180,883,254
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือปลายปี 8,343,517,061 2,452,164,670
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดประกอบด้วย
เงินสดและเงินฝากธนาคาร 1,680,602,753 1,044,418,442
เงินลงทุนระยะสั้น 6,662,914,308 1,407,746,228
8,343,517,061 2,452,164,670
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับงบกระแสเงินสด
ดอกเบี้ยจ่าย 2,921,933,298 3,327,696,577
ภาษีเงินได้จ่าย - -
หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินของบริษัทฯในหน้า 11 ถึง 29 เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
งบการเงินของบริษัทฯ
พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2541
(ปรับปรุงใหม่)
บาท บาท
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน
ซื้อที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ (173,670,454) (373,087,044)
เงินลงทุนในบริษัทย่อย (241,500,000) (322,050,000)
เงินลงทุนในบริษัทร่วมและเงินลงทุนอื่นๆ 317,558,797 (500,000,000)
เงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด 153,491,377 28,810,146
เงินกู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (20,000,000) (30,000,000)
เงินลงทุนระยะสั้น - 625,000
เงินปันผลรับ 1,150,599,723 27,618,687
เงินสดสุทธิได้มา(ใช้ไป) จากกิจกรรมลงทุน 1,186,479,443 (1,168,083,211)
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน
ออกหุ้นเพิ่มทุน 46,857,000 44,262,000
เงินรับชำระค่าหุ้นเพิ่มเติมจากบริษัทย่อย - -
เงินสดรับจากการออกหุ้นกู้ 5,000,000,000 -
จ่ายคืนเงินกู้ยืมระยะยาว - -
เงินปันผลจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น (621,062,997) -
เงินสดสุทธิได้มา(ใช้ไป) จากกิจกรรมจัดหาเงิน 4,425,794,003 44,262,000
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น(ลดลง)สุทธิ 5,393,223,995 (522,552,148)
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือต้นปี 2,141,725,970 2,664,278,118
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคงเหลือปลายปี 7,534,949,965 2,141,725,970
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดประกอบด้วย
เงินสดและเงินฝากธนาคาร 1,413,455,703 975,525,756
เงินลงทุนระยะสั้น 6,121,494,262 1,166,200,214
7,534,949,965 2,141,725,970
ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับงบกระแสเงินสด
ดอกเบี้ยจ่าย - -
ภาษีเงินได้จ่าย 13,722,829 -
หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินของบริษัทฯในหน้า 11 ถึง 29 เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมและงบการเงินของบริษัทฯ
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 และ พ.ศ. 2541
1 นโยบายการบัญชีที่สำคัญ
นโยบายการบัญชีที่สำคัญที่ใช้ในการจัดทำงบการเงินรวมและงบการเงินของบริษัทฯ มีดังต่อ
ไปนี้
เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงิน
งบการเงินรวมและงบการเงินของบริษัทฯ ได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป
ในประเทศไทย
งบการเงินรวม
บริษัทย่อยหมายถึงบริษัทที่บริษัทใหญ่ในกลุ่มบริษัทมีสิทธิออกเสียงทั้งทางตรงและทางอ้อ
มมากกว่ากึ่งหนึ่งของสิทธิในการออกเสียงทั้งหมด หรือมีอำนาจในการควบคุมนโยบายการ
เงินและการดำเนินงานของบริษัทย่อย บริษัทย่อยดังกล่าวได้ถูกนำมารวมในการจัดทำงบการ
เงินรวมโดยเริ่มตั้งแต่วันที่บริษัทใหญ่มีอำนาจควบคุม จนถึงวันที่ได้ขายบริษัทย่อยดังกล่าว
ออกไป รายการและยอดคงเหลือระหว่างกลุ่มบริษัท ตลอดจนกำไรขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นได้
ตัดออกจากงบการเงินรวมนี้แล้ว นโยบายการบัญชีสำหรับบริษัทย่อยจะเปลี่ยนแปลงเพื่อใช้
นโยบายการบัญชีเดียวกับกลุ่มบริษัทในการจัดทำงบการเงินรวม ข้อมูลเกี่ยวกับส่วนของผู้ถือ
หุ้นส่วนน้อยได้แสดงเป็นรายการแยกต่างหากในงบดุลรวมและงบกำไรขาดทุนรวม
รายชื่อของบริษัทย่อยของกลุ่มบริษัทได้แสดงไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 11 ส่วน
ผลกระทบทางการเงินจากการซื้อบริษัทย่อยได้เปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ
29
เงินลงทุนในบริษัทย่อย
เงินลงทุนในบริษัทย่อยแสดงในงบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ โดยใช้วิธีส่วนได้เสีย เงินลงทุน
ในบริษัทย่อยดังกล่าวเป็นการลงทุนในกิจการที่บริษัทฯ ถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 50 ของสิทธิ
ในการออกเสียงทั้งหมด และกิจการที่บริษัทฯ มีอำนาจในการควบคุม
รายการและยอดคงเหลือระหว่างกลุ่มบริษัทที่มีสาระสำคัญได้ตัดออกจากงบการเงินรวมแล้ว
ในกรณีที่จำเป็นนโยบายการบัญชีสำหรับบริษัทย่อยจะเปลี่ยนแปลงเพื่อใช้นโยบายการบัญชี
เดียวกับกลุ่มบริษัทในการจัดทำงบการเงินรวม
เงินลงทุนในบริษัทร่วม
เงินลงทุนในบริษัทร่วมแสดงในงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะของบริษัทฯ โดยใช้วิธี
ส่วนได้เสีย เงินลงทุนในบริษัทร่วมดังกล่าวเป็นการลงทุนในกิจการที่กลุ่มบริษัทถือหุ้น
ระหว่างร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 50 ของสิทธิในการออกเสียงทั้งหมด และกิจการที่กลุ่มบริษัทมี
อิทธิพลอย่างเป็นสาระสำคัญแต่ไม่ถึงกับควบคุม
รายชื่อของบริษัทร่วมของกลุ่มบริษัทได้แสดงไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 11
เงินลงทุน
ตราสารหนี้และตราสารทุนที่อยู่ในความต้องการของตลาดที่มีไว้เผื่อขายแสดงในงบดุลด้วย
มูลค่ายุติธรรม มูลค่ายุติธรรมของตราสารหนี้คำนวณจากสูตรอัตราผลตอบแทนที่ปลอดความ
เสี่ยง ปรับด้วยอัตราความเสี่ยงที่เหมาะสม มูลค่ายุติธรรมของตราสารทุนที่อยู่ในความ
ต้องการของตลาดคำนวณโดยอ้างอิงจากราคาเสนอซื้อในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ขณะปิดทำการ ณ วันที่ในงบดุล ราคาตามบัญชีที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงของหลักทรัพย์เผื่อขายได้
บันทึกเป็นรายการแยกต่างหากจากส่วนของผู้ถือหุ้น
เงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จัดประเภทเป็นตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด แสดงในงบดุล
ด้วยราคาทุนตัดจำหน่าย
เงินลงทุนในตราสารทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาดที่จัดประเภทเป็นเงินลงทุนทั่วไป
แสดงในงบดุลด้วยราคาทุน
กลุ่มบริษัทจะทดสอบการด้อยค่าของเงินลงทุนต่อเมื่อมีข้อบ่งชี้ว่าเงินลงทุนนั้นอาจมีการด้อย
ค่าเกิดขึ้น ถ้าราคาตามบัญชีของเงินลงทุนต่ำกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน ผลขาดทุนจากการ
ด้อยค่าที่เกิดขึ้นบันทึกในงบกำไรขาดทุนทันที
เงินลงทุนในตราสารหนี้หรือตราสารทุนชนิดเดียวกันที่มีการจำหน่ายเพียงบางส่วน ราคาตาม
บัญชีของเงินลงทุนที่จำหน่ายจะคำนวณโดยใช้วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักจากจำนวนที่ถือครอง
ทั้งหมด กำไรขาดทุนที่ได้รับจากการจำหน่ายเงินลงทุนนั้นจะบันทึกในงบกำไรขาดทุนทันที
วัสดุสำรองคลัง
วัสดุสำรองคลังแสดงในราคาทุน หลังหักสำรองค่าวัสดุสำรองคลังล้าสมัย ราคาทุนคำนวณ
ตามวิธีถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ วัสดุสำรองคลังแยกประเภทได้เป็นวัสดุสำรองหลักและวัสดุสำรอง
ทั่วไป วัสดุสำรองหลักเป็นวัสดุที่ใช้สำหรับอุปกรณ์เฉพาะในโรงไฟฟ้า การตั้งสำรองสำหรับ
วัสดุสำรองหลักจะคำนวณจากยอดคงเหลือ ณ วันสิ้นปีของวัสดุสำรองหลัก หารด้วยจำนวนปี
ที่คงเหลืออยู่ตามอายุของสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ส่วน
วัสดุสำรองทั่วไปจะตั้งสำรองโดยพิจารณาจากรายงานวิเคราะห์อายุของวัสดุ
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์รับรู้เมื่อเริ่มแรกตามราคาทุน โดยอาคารและอุปกรณ์แสดงด้วยราคา
ทุนเดิมหักค่าเสื่อมราคาสะสม
ค่าเสื่อมราคาคำนวณโดยวิธีเส้นตรง เพื่อลดราคาตามบัญชีของสินทรัพย์แต่ละชนิด ตามอายุ
การใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์ ดังต่อไปนี้ยกเว้นที่ดินซึ่งมีอายุการใช้งานไม่
จำกัด
จำนวนปี
โรงไฟฟ้า 15 และ 20
อาคารและสิ่งปลูกสร้าง 20
ระบบส่งพลังไฟฟ้า 20
เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องตกแต่ง และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 5 และ 10
เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและบำรุงรักษา 5
ยานพาหนะ 5
ในกรณีที่ราคาตามบัญชีสูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนซึ่งคำนวณจากมูลค่าปัจจุบันของ
กระแสเงินสดที่คาดว่าจะเกิดในอนาคตจากการใช้สินทรัพย์อย่างต่อเนื่อง หรือจำนวนที่จะได้
รับจากการขายสินทรัพย์หักด้วยต้นทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์นั้นแล้วแต่จำนวนใดจะสูง
กว่า ราคาตามบัญชีจะถูกปรับลดให้เท่ากับมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน
กำไรขาดทุนจากการขายที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์บันทึกโดยพิจารณาจากราคาตามบัญชี และ
ได้รวมอยู่ในการคำนวณกำไรจากการ ดำเนินงาน
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์และการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ.
2000 จะรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทันที่ทีเกิดขึ้น
การแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ
รายการที่เกิดขึ้นระหว่างงวดที่มีค่าเป็นเงินตราต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินไทย โดยใช้อัตรา
แลกเปลี่ยน ณ วันที่ที่เกิดรายการนั้น ๆ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
แปลงค่าเป็นเงินไทยโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ในงบดุล กำไรหรือขาดทุนจากการแปลง
ค่าเงินตราต่างประเทศ ได้บันทึกเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนของบริษัทฯ และ
งบกำไรขาดทุนรวม
ค่าซ่อมบำรุงรักษาหลัก
ค่าซ่อมบำรุงรักษาหลักที่เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถูกบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดขึ้นจริง และต้นทุน
ของวัสดุสำรองคลังจะถูกบันทึกเป็นค่าซ่อมบำรุงรักษาเมื่อมีการเบิกใช้งาน
ตัวเลขเปรียบเทียบ
ตัวเลขที่นำมาแสดงเปรียบเทียบได้มีการปรับปรุงเพื่อให้เปรียบเทียบได้กับการแสดงรายการที่
เปลี่ยนแปลงไปในปีปัจจุบัน
2 การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี
เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 กลุ่มบริษัทบันทึกเงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความ
ต้องการของตลาดตามราคายุติธรรม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐาน
การบัญชีฉบับที่ 40 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 โดยในปีก่อนๆ
กลุ่มบริษัทบันทึกเงินลงทุนเหล่านี้ในราคาทุนรวมหรือราคาตลาดรวมแล้วแต่ราคาใดจะต่ำ
กว่า ทั้งนี้ตามมาตรฐานดังกล่าวไม่ต้องทำการปรับปรุงย้อนหลัง
นอกจากนี้ ในไตรมาสที่สี่ของปี พ.ศ. 2542 เพื่อให้สอดคล้องกับการตีความตามมาตรฐาน
การบัญชี เรื่องที่ 4 ของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับ
อนุญาตแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2543 กลุ่มบริษัทได้สอบทานนโยบายการ
บัญชีเกี่ยวกับการบันทึกค่าใช้จ่ายก่อนเปิดกิจการและค่าใช้จ่ายรอตัดจ่ายอื่นๆ และได้เปลี่ยน
แปลงนโยบายการบัญชีดังกล่าวจากที่เคยบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชีมาเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อ
เกิดขึ้น ดังนั้นบริษัทฯ และกลุ่มบริษัทได้ปรับปรุงผลของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวย้อนหลัง
โดยปรับปรุงกับกำไรสะสมต้นปี ณ วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 และ พ.ศ. 2541
ผลจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้รายการที่เคยแสดงไว้ในงบดุลรวม และงบดุลของ
บริษัทฯ ณ วันที่ฯ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 และ พ.ศ. 2541 ได้ถูกปรับลดลง ดังนี้
งบการเงินรวม
1 มกราคม 1 มกราคม
พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2541
บาท บาท
สินทรัพย์อื่น 717,907,246 830,062,280
เงินลงทุนในบริษัทย่อย - -
กำไรสะสม 717,907,246 830,062,280
งบการเงินของบริษัทฯ
1 มกราคม 1 มกราคม
พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2541
บาท บาท
สินทรัพย์อื่น - -
เงินลงทุนในบริษัทย่อย 717,907,246 830,062,280
กำไรสะสม 717,907,246 830,062,280
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีดังกล่าวมีผลทำให้กำไรสุทธิและและกำไรต่อหุ้น
เพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2542 และ พ.ศ. 2541 ดังนี้
งบการเงินรวม งบการเงินบริษัทฯ
พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2541
บาท บาท
กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 112,056,675 112,056,675
กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น 0.21 0.21
4 งบกระแสเงินสด
การเปลี่ยนแปลงของเงินฝากธนาคารและสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลักประกัน แสดงรวมอยู่
ในกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน เงินสดและรายการเทียบเท่า เงินสดประกอบด้วยเงินสด
เงินฝากธนาคาร และเงินฝากสถาบันการเงินที่เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือน
4 รายการกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน
รายการกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันที่มีสาระสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างปีมีดังนี้
งบการเงินรวม งบการเงินของบริษัทฯ
พ.ศ.2542 พ.ศ.2541 พ.ศ.2541 พ.ศ.2541
ล้านบาท ล้านบาท ล้านบาท ล้านบาท
รายการระหว่างปี
รายได้ค่าขายไฟฟ้า 8,438 8,764 - -
ค่าบริการซ่อมบำรุงรักษาหลัก 308 493 - -
ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม
เงินลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทย่อย - - 76 107
หุ้นกู้ที่ถือโดยบริษัทย่อย - - 300 -
ลูกหนี้การค้าส่วนใหญ่เป็นยอดค้างชำระค่าไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(กฟผ.) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายหนึ่งของบริษัทฯ
บริษัทย่อยสองแห่งได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. สัญญาดังกล่าวมีอายุ 15 ปี และ 20 ปี
ตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 และวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.
2539 ได้กำหนดให้ราคาค่าไฟฟ้าตามสัญญาดังกล่าวถูกกำหนดตามหลักเกณฑ์ต้นทุนบวก
กำไรส่วนเพิ่ม โดยสัญญาดังกล่าวมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการขายไฟฟ้าของบริษัทย่อยให้กับบุคคล
ที่สามตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา สัญญาดังกล่าวใช้เป็นหลักประกันกับเจ้าหนี้เงินกู้ตามเงื่อน
ไขของสัญญาเงินกู้
นอกจากนี้ บริษัทย่อยสามารถนำผลกระทบที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับภาระหนี้สินที่
เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มาใช้ในการคำนวณรายได้ค่าพลังไฟฟ้าของแต่ละเดือนจาก กฟผ.
ตาม "The First Amendment to Power Purchase Agreement" ลงวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2541
ทั้งนี้รายได้จากการขายไฟฟ้าส่วนที่ได้รับจากการชดเชยสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม
พ.ศ. 2542 และ พ.ศ. 2541 เป็นจำนวนเงิน 705 ล้านบาทและ 918 ล้านบาท ตามลำดับ
ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาซื้อขายไฟฟ้า กฟผ. เป็นผู้รับภาระต้นทุนก๊าซธรรมชาติ จนกว่า
บริษัทย่อยดังกล่าวจะทำสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ดัง
นั้นรายได้ค่าพลังงานไฟฟ้าและต้นทุนขายจึงไม่ได้รวมคำนวณต้นทุนในส่วนนี้ ทั้งนี้ กฟผ.ได้
แจ้งความความประสงค์ให้บริษัทย่อยดำเนินการเจรจากับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยแล้ว
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2541 บริษัทย่อย
ได้แจ้งความประสงค์ให้กับ กฟผ. เป็นผู้รับภาระต้นทุนก๊าซธรรมชาติดังเช่นที่ปฏิบัติอยู่ใน
ปัจจุบัน และ กฟผ.ได้มีหนังสือแสดงความเห็นชอบตามที่บริษัทย่อยเสนอแล้วเมื่อวันที่ 25
สิงหาคม พ.ศ. 2541
บริษัทย่อยทั้งสองแห่งได้ทำสัญญาการบำรุงรักษาหลักกับ กฟผ. เพื่อการบริการดูแลและ
รักษาหลัก การซ่อมแซม การจัดการและการบริการเพิ่มเติมอื่นที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าของ
บริษัทย่อย ค่าบริการดังกล่าวถูกกำหนดตามหลักเกณฑ์ต้นทุนบวกกำไรส่วนเพิ่ม โดยค่า
บริการของแต่ละปีสัญญาจะถูกปรับเพิ่มตามดัชนีราคาผู้บริโภค สัญญาทั้งสองนี้มีอายุ 6 ปี เริ่ม
ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2537 และวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 และต่อสัญญาได้อีก 6 ปี
บริษัทย่อยทั้งสองได้ใช้สัญญาดังกล่าวเป็นหลักประกันกับเจ้าหนี้เงินกู้ตามเงื่อนไขของสัญญา
เงินกู้
เงินลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทที่เกี่ยวข้องกันมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 11.5625 ต่อปี โดยมีกำหนด
ชำระคืนงวดสุดท้ายในปี พ.ศ. 2554
5 เงินสดและเงินฝากธนาคาร
เงินสดและเงินฝากธนาคารของบริษัทฯ และบริษัทย่อยส่วนใหญ่ประกอบด้วยเงินฝากออม
ทรัพย์ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ถึง 3.25 ต่อปี
6 เงินฝากธนาคารและสถาบันการเงิน
เงินฝากธนาคารและสถาบันการเงินส่วนใหญ่เป็นเงินฝากธนาคารและตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออก
โดยสถาบันการเงินภายในประเทศ เงินลงทุนดังกล่าวมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.25 ถึง 4.75 ต่อ
ปี
7 หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด
หลักทรัพย์เผื่อขายระยะสั้น พ.ศ. 2542
งบการเงินรวม งบการเงินของบริษัทฯ
บาท บาท
ตราสารหนี้ - 76,152,840
ตราสารทุน 52,656,000 52,656,000
บวก การปรับมูลค่าเงินลงทุนตามราคายุติธรรม 42,821,840 42,821,840
95,477,840 171,630,680
8 เงินฝากธนาคารและสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลักประกัน
งบการเงินรวม
พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2541
บาท บาท
ประเภทหมุนเวียน
เงินฝากธนาคารและสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลักประกัน
การชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย 5,898,158,621 6,433,112,131
เงินฝากธนาคารและสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน 34,255,398 9,835,480
5,932,414,019 6,442,947,611
ประเภทไม่หมุนเวียน
เงินฝากธนาคารและสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลักประกันลดความเสี่ยง
จากอัตราแลกเปลี่ยน 3,740,991,262 2,861,303,210
เงินฝากธนาคารและสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลักประกันส่วนใหญ่เป็นของบริษัทย่อยสอง
แห่ง ตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาเงินกู้ (หมายเหตุข้อ 15 และ 16) เพื่อใช้ในการจ่ายชำระ
คืนเงินต้นและดอกเบี้ยที่จะถึงกำหนดชำระคืนภายใน 1 ปี และเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจาก
อัตราแลกเปลี่ยน โดยเงินสำรองดังกล่าวกันจากรายได้ค่าไฟฟ้า
ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 และ พ.ศ. 2541 บริษัทย่อยทั้งสองแห่งมีเงินสำรองเพื่อใช้ใน
การจ่ายชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นจำนวนรวม 3,326 ล้านบาท และ 3,431 ล้านบาท ตาม
ลำดับ ส่วนยอดสำรองที่เหลือจำนวน 2,569 ล้านบาท และ 3,001 ล้านบาท ณ วันที่ 31
ธันวาคม พ.ศ. 2542 และ พ.ศ. 2541 ส่วนใหญ่เป็นยอดบัญชี Holding accounts ของบริษัทย่อย
ทั้งสองและ Borrower's accounts ในส่วนของบริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด ซึ่งเป็นไปตาม
เงื่อนไขของสัญญาเงินกู้
นอกจากนี้ บริษัทย่อยสองแห่งยังต้องสำรองเงินซึ่งกันจากรายได้ค่าไฟฟ้าเพื่อลดความเสี่ยง
จากอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับหนี้สกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่ไม่มีการประกันความเสี่ยงจาก
อัตราแลกเปลี่ยนจนกว่าเงินสำรองจะครบร้อยละ 25 ของยอดหนี้คงค้างสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯ
หรือจำนวน 103 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.
2542 บริษัทย่อยทั้งสองแห่งมียอดสำรองครบตามจำนวนดังกล่าวแล้ว
(ยังมีต่อ)