23 February 2000
การเงินประจำปี 2542
23 กำไรต่อหุ้น
กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานคำนวณโดยการหารกำไรสุทธิที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญด้วยจำนวนหุ้น
สามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่มีอยู่ในระหว่างปี
งบการเงินรวม งบการเงินของบริษัทฯ
พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2541
บาท บาท บาท บาท
กำไรสุทธิที่เป็นของผู้ถือหุ้นสามัญ 2,647,954,570 6,181,192,156 2,647,954,570 6,181,192,156
จำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 523,888,958 522,292,351 523,888,958 522,282,351
กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน 5.05 11.83 5.05 11.83
สำหรับกำไรต่อหุ้นปรับลด จำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยที่มีอยู่ในระหว่างปีได้ปรับด้วยจำนวน
หุ้นสามัญเทียบเท่าปรับลด ซึ่งก็คือใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นที่ให้แก่พนักงานของกลุ่มบริษัท
ภายใต้โครงการ Employee Stock Ownership Plan โดยสมมุติว่าสิทธิซื้อหุ้นที่ยังคงค้างเหล่า
นั้นได้แปลงเป็นหุ้นสามัญทั้งหมด
ในการคำนวณกำไรต่อหุ้นปรับลด บริษัทฯ ได้สมมุติว่าสิทธิซื้อหุ้นทั้งสิ้นได้แปลงเป็นหุ้น
สามัญ บริษัทฯ คำนวณจำนวนหุ้นเทียบเท่าปรับลด โดยไม่มีการปรับปรุงกำไรสุทธิแต่อย่าง
ใด
งบการเงินรวม งบการเงินของบริษัทฯ
พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2542 พ.ศ. 2541
หุ้น หุ้น หุ้น หุ้น
จำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 523,888,958 522,292,351 523,888,958 522,292,351
การปรับปรุงสำหรับสิทธิในการซื้อหุ้น 5,582,100 7,190,800 5,582,100 7,190,800
จำนวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่ใช้
คำนวณกำไรต่อหุ้นปรับลด 529,471,058 529,483,151 529,471,058 529,483,151
กำไรต่อหุ้นปรับลด 5.00 11.67 5.00 11.67
24 เงินปันผล
จากการประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 ที่ประชุมได้อนุมัติให้
จ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานสำหรับปี พ.ศ. 2541 จำนวน 1.27 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็น
จำนวนเงินทั้งสิ้น 663,967,684 บาท เงินปันผลดังกล่าวได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นในระหว่างไตร
มาสที่สอง
25 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
บริษัทฯ ได้จัดตั้งกองทุนเงินสะสมพนักงานสำหรับพนักงานของบริษัทฯ ที่สมัครเป็นสมาชิก
ของกองทุน โดยหักจากเงินเดือนของพนักงานส่วนหนึ่ง และบริษัทฯ จ่ายสมทบให้อีกส่วน
หนึ่ง บริษัทฯ ได้แต่งตั้งผู้จัดการกองทุนเพื่อบริหารกองทุนดังกล่าวตามเกณฑ์ และข้อกำหนด
พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
26 การส่งเสริมการลงทุน
บริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด และบริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ
บริษัทฯ ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เมื่อวันที่
15 มิถุนายน พ.ศ. 2538 และ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ตามลำดับ สำหรับกิจการผลิตไฟฟ้า
โดยบริษัทย่อยทั้งสองจะได้รับสิทธิและประโยชน์จากการได้รับยกเว้นภาษีอากรต่างๆ หลาย
ประการ รวมทั้งการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบ
กิจการที่ได้รับการส่งเสริมมีกำหนดเวลา 8 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการ
นั้น ในฐานะที่เป็นบริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการอุตสาหกรรม บริษัทย่อยทั้งสอง
จะต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขและข้อกำหนดต่างๆ ตามที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริมการลงทุน
27 เครื่องมือทางการเงิน
กลุ่มบริษัทต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางการเงินที่สำคัญได้แก่ ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย
ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และความเสี่ยงจากสินเชื่อ ซึ่งบริษัทย่อยได้กู้ยืมเงินเพื่อใช้ใน
การดำเนินงานและต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยทั้งแบบคงที่และแบบลอยตัว
บริษัทฯ ใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อลดความไม่แน่นอนของกระแสเงินสดในอนาคตที่เกิด
จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยและอัตรา
แลกเปลี่ยน และเพื่อช่วยในการบริหารสภาพคล่องของเงินสด ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยได้
ป้องกันโดยการทำสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย ในกรณีมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
บริษัทฯ สามารถนำผลกระทบที่เกิดขึ้นจากอัตราแลกเปลี่ยนมาใช้ในการคำนวณรายได้ค่า
พลังไฟฟ้าของแต่ละเดือนที่เรียกเก็บจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ดังกล่าวไว้ใน
หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 4 การตัดสินใจที่จะรับระดับความเสี่ยงขึ้นอยู่กับคณะ
กรรมการบริหารซึ่งกำหนดระดับความเสี่ยงที่สามารถรองรับได้ตามประเภทของรายการและ
ของคู่ค้า
28 ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นในภายหน้า
(ก) ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 บริษัทฯ มีภาระผูกพันในการทำสัญญาค้ำประกัน
ให้แก่บริษัทย่อยและบริษัทร่วม ดังต่อไปนี้
สกุลเงิน
(บาท) (ดอลล่าร์สหรัฐฯ)
การซื้อวัตถุดิบ - 5,292,300
การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา 73,196,752 196,938
(ข) ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 กลุ่มบริษัทมีรายจ่ายฝ่ายทุนคงค้างจำนวน 355
ล้านบาท
(ค) ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 บริษัทย่อยสองแห่งมิได้ทำสัญญาซื้อเงินตราต่าง
ประเทศล่วงหน้า เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงสำหรับภาระหนี้ที่
เป็นเงินตราต่างประเทศจำนวน 366.09 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม บริษัทย่อยทั้งสอง
จะได้รับชดเชยผลกระทบจากความเสี่ยงดังกล่าวบางส่วน จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ
ไทย ตาม " The First Amendment to Power Purchase Agreement " ลงวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.
2541 ตามที่กล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 4
(ง) บริษัทย่อยสองแห่ง ได้ทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกันภัยภายในประเทศ
สองแห่ง สัญญาเหล่านั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้า
อุปกรณ์ที่ใช้งานในโรงไฟฟ้าตามที่ระบุในสัญญา ผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง และ
ประกันต่อบุคคลที่สาม เป็นระยะเวลา 3 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2541 โดยบริษัท
ย่อยทั้งสองจะต้องชำระค่าเบี้ยประกันปีแรกเป็นจำนวน 1,167,885 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ค่าเบี้ย
ประกันสำหรับสองปีถัดไปได้มีการกำหนดไว้ล่วงหน้า โดยมีเงื่อนไขที่ว่าบริษัทย่อยทั้งสอง
แห่งจะไม่เรียกชำระค่าเสียหายเกินกว่าวงเงินที่กำหนดไว้ ภายในระยะเวลาที่มีการประกันภัย
(จ) นอกจากนี้ บริษัทย่อยแห่งหนึ่งยังได้ทำสัญญาบริการซ่อมแซมวัสดุสำรองคลังกับ
ผู้ให้บริการสองบริษัท ซึ่งมีบริษัทหนึ่งเป็นบริษัทในเครือ ตามเงื่อนไขของสัญญา บริษัทย่อย
ดังกล่าวจะต้องให้คู่สัญญาซ่อมแซมวัสดุสำรองคลังตามที่ระบุในสัญญา สัญญาดังกล่าวมี
ระยะเวลา 2 ปี เริ่มตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2542 โดยมีมูลค่าทั้งสิ้น 49 ล้านบาท และ
895,438 ปอนด์สเตอร์ลิง
29 การซื้อธุรกิจ
ในไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2542 บริษัทฯ ได้ซื้อหุ้นสามัญของบริษัท เอ็กคอมธารา จำกัด
จำนวน 24,150,000 หุ้น ในราคาตราไว้หุ้นละ 10 บาท เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 241 ล้านบาท คิด
เป็นสัดส่วนร้อยละ 70 ของจำนวนทุนจดทะเบียนทั้งหมด โดยบริษัทดังกล่าวยังมิได้เริ่มการ
ดำเนินงานตามปกติธุรกิจ ทั้งนี้บริษัทฯ มีภาระผูกพันต่อการชำระส่วนเกินมูลค่าหุ้นเป็น
จำนวนทั้งสิ้น 157 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ จะชำระเงินดังกล่าวตามความก้าวหน้าของโครงการ
ของบริษัท เอ็กคอมธารา จำกัด ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญา Share Purchase Agreement
ลงวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
30 ปัญหาคอมพิวเตอร์ปี ค.ศ. 2000 (หมายเหตุข้อนี้ไม่ได้ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบ
บัญชี)
กลุ่มบริษัทได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาปี ค.ศ. 2000 ที่อาจเกิดขึ้นกับระบบการผลิต
และระบบสารสนเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท และระบบ
สาธารณูปโภคของประชาชนทั้งประเทศ จึงได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาปี ค.ศ.
2000 และคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2541 เพื่อดำเนิน
การแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วน รวมทั้งมีการติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการอย่างต่อ
เนื่อง ซึ่งแผนงานและขั้นตอนในการแก้ไขปัญหาอ้างอิงตามมาตรฐานของ British Standards
Institution (BSI) และศูนย์เทคโนโลยีอิเลคทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ซึ่
งบผฟ. ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาแล้วเสร็จตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2542 ทั้งนี้เพื่อให้ระบบ
งานทั้งหมดสามารถดำเนินการได้ทั้งในช่วงก่อน ระหว่าง และหลัง ปี ค.ศ. 2000 แม้ว่าจะต้อง
ใช้งบประมาณจำนวนมากก็ตามโดยบริษัทฯ ตั้งงบประมาณไว้ 68 ล้านบาท
จากการดำเนินการแก้ไขปัญหาปี ค.ศ. 2000 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
ทั้งจากผู้บริหาร พนักงาน เจ้าหน้าที่ที่ปรึกษา ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายอุปกรณ์ ทำให้สามารถ
ควบคุมให้โครงการเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยใช้เงินไปทั้งสิ้นประมาณ 56 ล้าน
บาท (ณ 31 ธ.ค. 2542) และได้จัดทำแผนฉุกเฉิน โดยมีการเขียนคู่มือการปฏิบัติการในกรณีเกิด
เหตุฉุกเฉิน จัดเตรียมบุคลากร อุปกรณ์สำรอง และงบประมาณที่พร้อมสำหรับกรณีเร่งด่วน
เพื่อรองรับในกรณีมีเหตุการณ์ผิดปกตินอกเหนือความคาดหมายทั้งจากสาเหตุภายในและภาย
นอก
จนถึงปัจจุบันนี้ กลุ่มบริษัทยังไม่ประสบกับปัญหาคอมพิวเตอร์ปี ค.ศ. 2000 แต่อย่างใด ทั้งใน
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบงานของกลุ่มบริษัท และกิจการอื่น กลุ่มบริษัทมีความมั่นใจเป็นอย่าง
สูงว่าระบบทั้งหมดดังกล่าวจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นหลังปี 2000 ได้โดยไม่มี
ปัญหารุนแรงใด ๆ