EN | TH
07 May 2003

รายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ

F 24-3 แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ด้วยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 6/2546 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2546 ได้มีมติแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบ คือ นายจารุอุดม เรืองสุวรรณ 1. มีผลให้ ณ วันที่ 30 เมษายน 2546 สมาชิกคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทประกอบด้วย : ประธานกรรมการตรวจสอบ นายอัศวิน คงสิริ วาระการดำรงตำแหน่ง คงเหลือ 1 ปี 2 เดือน กรรมการตรวจสอบ นายชัยพัฒน์ สหัสกุล วาระการดำรงตำแหน่ง คงเหลือ 1 ปี 2 เดือน กรรมการตรวจสอบ นายจารุอุดม เรืองสุวรรณ วาระการดำรงตำแหน่ง คงเหลือ 1 ปี 2เดือน เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ นางจุฑาทิพย์ มหาวีระ พร้อมนี้ได้แนบหนังสือรับรองประวัติของกรรมการตรวจสอบจำนวน 1 ท่านมาด้วยแล้ว 2. คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการ บริษัทดังต่อไปนี้ หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ 1. สอบทานให้ บผฟ. มีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้อง และเพียงพอ 2. พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของ บผฟ. ในกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือ รายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน 3. สอบทานให้ บผฟ.ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ กำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของ บผฟ. 4. พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้ง และ เสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของ บผฟ. ต่อคณะกรรมการ 5. สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และ การตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล 6. พิจารณาให้ความเห็นชอบระเบียบ บผฟ. ว่าด้วยการตรวจสอบภายใน ก่อนนำ เสนอคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติ 7. พิจารณาและสอบทานงานของฝ่ายตรวจสอบภายใน ในเรื่องต่อไปนี้ - ความเป็นอิสระของฝ่ายตรวจสอบภายใน - ขอบเขตการปฏิบัติงาน แผนการตรวจสอบประจำปี และงบประมาณ รวมทั้งบุคลากร - รายงานผลการปฏิบัติงาน 8. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง โยกย้าย หรือเลิกจ้าง และประเมินผล ปฏิบัติงานพนักงานฝ่ายตรวจสอบภายใน 9. พิจารณาความดีความชอบ และการลงโทษพนักงานฝ่ายตรวจสอบภายใน 10. สอบทานกับฝ่ายบริหารในเรื่องนโยบายและความเพียงพอในการบริหารความ เสี่ยงที่สำคัญของ บผฟ. 11. สอบทาน หรือพิจารณาปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณ ก่อนนำเสนอ คณะกรรมการเพื่อพิจารณา 12. สอบทานกับฝ่ายบริหารเพื่อให้พนักงานปฏิบัติตามจรรยาบรรณของ บผฟ. 13. สอบทานกับฝ่ายบริหารเกี่ยวกับการจัดทำบทรายงานและการวิเคราะห์ของ ฝ่ายบริหาร (Management's Discussion and Analysis หรือ MD&A) และเปิดเผยในรายงานประจำปี 14. ทบทวนกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 15. รายงานภารกิจของคณะกรรมการตรวจสอบต่อคณะกรรมการ 16. จัดทำรายงานการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเปิดเผย ไว้ในรายงานประจำปีของ บผฟ. ซึ่งรายงานดังกล่าวลงนามโดยประธาน คณะกรรมการตรวจสอบ 17. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย ด้วยความเห็นชอบจาก คณะกรรมการตรวจสอบ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการตรวจสอบมีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการโดยตรงและคณะกรรมการ ยังคงมีความรับผิดชอบในการดำเนินงานของ บผฟ. ต่อบุคคลภายนอก อำนาจของคณะกรรมการตรวจสอบ 1. เชิญกรรมการ บผฟ. ผู้บริหาร หรือเจ้าหน้าที่ของ บผฟ. มาร่วมประชุม หารือ ชี้แจงหรือตอบข้อซักถามในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการและการดำเนินงาน ของบผฟ. บริษัทย่อย บริษัทร่วมทุน และโครงการร่วมทุน ที่อยู่ในขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ 2. ปรึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาของ บผฟ. (ถ้ามี) หรือจ้างที่ปรึกษา หรือผู้เชี่ยวชาญภายนอกในกรณีจำเป็น ด้วยค่าใช้จ่ายของ บผฟ. 3. ตรวจสอบ และสอบสวนตามที่จำเป็น ในเรื่องต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติงาน ภายใต้หน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบสำเร็จลุล่วงด้วยดี ทั้งนี้ บริษัทขอยืนยันว่ากรรมการดังกล่าวมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด ทุกประการ (ตราประทับ) ลงชื่อ กรรมการและ ( นายไกรสีห์ กรรณสูต ) กรรมการผู้จัดการใหญ่