15 November 2004
คำอธิบายงบการเงินไตรมาสที่ 3
บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร
สำหรับผลการดำเนินงาน ประจำงวด 9 เดือน
สิ้นสุด ณ 30 กันยายน 2547
หมายเหตุ:บทรายงานและการวิเคราะห์งบการเงินฉบับนี้ ฝ่ายบริหารได้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอ
ข้อมูลและแสดงวิสัยทัศน์ของฝ่ายบริหารให้ผู้ลงทุนทั่วไปสามารถติดตามและทำความเข้าใจฐานะการ
เงินและผลการดำเนินงานของบริษัทได้ดีขึ้น อันเป็นการส่งเสริมโครงการการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
อนึ่งเนื่องจากบทรายงานและการวิเคราะห์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอข้อมูล
และคำอธิบายถึงสถานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งที่นำเสนอนี้
อาจเปลี่ยนแปลงตามปัจจัยหรือสภาวะแวดล้อมที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ฉะนั้นจึงใคร่ขอให้นัก
ลงทุนใช้วิจารณญาณในการพิจารณาใช้ประโยชน์จากเอกสารข้อมูลนี้ และหากมีคำถามหรือข้อสงสัย
ประการใดกรุณาติดต่อสอบถามได้ที่ ส่วนนักลงทุนสัมพันธ์ ฝ่ายสื่อสารองค์กรและนักลงทุนสัมพันธ์
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) โทร. 02-998-5131-2 หรือ email : ir@egco.com
บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร
1. การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติตามแผนการดำเนินธุรกิจ
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) (บผฟ.) เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระรายใหญ่ (Independent
Power Producer "IPP") แห่งแรกของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นในปี 2535 ในลักษณะบริษัท
โฮลดิ้ง บผฟ. มีวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจ มุ่งเน้นที่จะเป็นบริษัทชั้นนำของคนไทย ที่
ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าครบวงจร ให้บริการด้านพลังงานทั้งประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน
โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประโยชน์ทางสังคมเป็นสำคัญ
บผฟ. มีแผนการเพิ่มสัดส่วนของส่วนแบ่งการตลาดของธุรกิจผลิตไฟฟ้า จากการพัฒนาหรือ
ซื้อโครงการจากผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระรายใหญ่ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน โดย
พิจารณาความเหมาะสมของโครงการ และคำนึงถึงประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทาง
ธุรกิจ ด้วยต้นทุนที่ประหยัดต่อขนาด ผลตอบแทนการลงทุนและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับ
ได้ของโครงการ นอกจากนั้น ยังมุ่งเน้นในการนำมาซึ่งการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน นอก
เหนือจากการเพิ่มผลกำไรจากการบริหารที่มีประสิทธิภาพแล้ว บผฟ. ยังตระหนักถึงหลักการ
กำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) ตลอดมา
ณ ปลายเดือนตุลาคม 2547 ประเทศไทยมีกำลังผลิตติดตั้งรวมจำนวน 26,040 เมกะวัตต์ /1 ซึ่ง
ร้อยละ 9.1 ของกำลังผลิตนี้มาจากกำลังผลิตในกลุ่ม บผฟ. โดยในปี 2547 นี้ ความต้องการ
พลังไฟฟ้าสูงสุดอยู่ในช่วงเดือนมีนาคมที่ 19,326 เมกะวัตต์ /2 คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ
6.65 เมื่อเทียบกับความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคมของปี 2546
ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ซึ่งจัดทำโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ
ไทย (กฟผ.) (หรือ Power Development Plan "PDP 2004") นั้น ประเทศไทยจะต้องการ
โรงไฟฟ้าใหม่เกิดขึ้นในช่วงปี 2554-2558 จำนวน 18 โรงไฟฟ้า รวมกับไฟฟ้าพลังงานหมุน
เวียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของโรงไฟฟ้าใหม่ (คิดเป็นกำลังผลิตรวมประมาณ 13,230 เมกะวัตต์ /2)
ดังนั้น บริษัทคาดการณ์ไว้ว่าจะมีการเริ่มเปิดประมูลเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เหล่านั้น
ในเร็ววัน ทั้งนี้จะเป็นโอกาสอันดีให้ บผฟ. สามารถขยายส่วนแบ่งตลาดของกำลังผลิตใหม่ที่
เพิ่มขึ้นนี้ด้วย
ปัจจุบัน บผฟ. มีกำลังผลิตติดตั้งตามสัดส่วนการถือหุ้นรวมจำนวน 2,414 เมกะวัตต์ จากโรง
ไฟฟ้า 12 โรง โดยร้อยละ 85 ของกำลังผลิต มาจากโรงไฟฟ้าของ บริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง
จำกัด (บฟร.) กำลังผลิตติดตั้ง 1,232 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าของ บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม
จำกัด (บฟข.) กำลังผลิตติดตั้ง 824 เมกะวัตต์ โดยทั้ง 2 โรงไฟฟ้าดังกล่าวใช้ก๊าซธรรมชาติ
เป็นเชื้อเพลิงหลัก นอกจากโครงการที่มีอยู่นั้น บริษัทกำลังพัฒนาโครงการอีก 3 โครงการ ซึ่ง
คิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งในส่วนการถือหุ้นของ บผฟ. จำนวนรวม 1,012 เมกะวัตต์ ได้แก่
1. โครงการแก่งคอย 2 (บผฟ. ถือหุ้นร้อยละ 50) จังหวัดสระบุรี กำลังผลิต 1,468 เมกะวัตต์
โดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก เดิมมีกำลังผลิต 700 เมกะวัตต์ และเดิมใช้ชื่อว่า
"โครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก" ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2547 บริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น
จำกัด (จีพีจี) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการแก่งคอย 2 ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power
Purchase Agreement "PPA") กับ กฟผ. ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว 25 ปี และมี
กำหนดเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์โรงที่ 1 และ 2 กำลังผลิต หน่วยละ 734 เมกะวัตต์ ในวันที่ 1
มีนาคม 2550 และวันที่ 1 มีนาคม 2551 ตามลำดับ
2. โครงการน้ำเทิน 2 (บผฟ. ถือหุ้นร้อยละ 25) ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน
ลาว ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำ มีกำลังผลิต 1,070 เมกะวัตต์ ได้มีการลงนามสัญญาซื้อขาย
ไฟฟ้าในเดือนพฤศจิกายน 2546 และมีกำหนดจำหน่ายกระแสไฟฟ้าได้ในครึ่งปีหลังของปี
2552 โดยมีสัญญาขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. จำนวน 995 เมกะวัตต์ ปัจจุบันโครงการอยู่ระหว่าง
การจัดหาเงินกู้ในรูปแบบต่างๆจากธนาคารไทย ธนาคารต่างประเทศ และองค์กรระหว่าง
ประเทศ
3. โครงการกัลฟ์ ยะลา กรีน (บผฟ. ถือหุ้นผ่านทางบริษัท กัลฟ์ อิเล็คตริก จำกัด (มหาชน) คิด
เป็นสัดส่วน ร้อยละ 47.5) จังหวัดยะลา กำลังผลิต 23 เมกะวัตต์ โดยใช้เศษไม้ยางพาราเป็นเชื้อ
เพลิง โครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2548
ในส่วนนโยบายการจ่ายเงินปันผลนั้น บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นใน
อัตราประมาณร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้ หากไม่มีเหตุจำเป็นอื่นใด เช่น
โอกาสการขยายธุรกิจของบริษัทในโครงการต่างๆในอนาคต ภาวะเศรษฐกิจ ภาวะทางการ
เงิน และหากการจ่ายเงินปันผลนั้นจะมีผลกระทบต่อการดำเนินงานปกติของบริษัทอย่างมี
สาระสำคัญ
/1 ที่มา: การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
/2 ที่มา: แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2547-2558 (Power Development Plan "PDP 2004")
จัดทำโดย กฟผ.
2. รายงานและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
บผฟ. เป็นบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) ที่มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟ้า
ครบวงจรและครอบคลุมถึงธุรกิจที่ให้การบริการด้านพลังงาน โดยมีรายได้หลัก คือเงินปันผลที่
มาจากกำไรของบริษัทย่อย บริษัทร่วม และส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า การจัดโครงสร้างดัง
กล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อได้รับความสะดวกในการขยายกิจการ และเพิ่มความสามารถหรือยก
ระดับคุณภาพการบริหารในแต่ละโครงการของบริษัทย่อย และเพื่อให้การระดมเงินกู้สำหรับ
โครงการใหม่เป็นไปโดยไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อโครงการเก่า
เมื่อ ปี พ.ศ. 2546 กลุ่มบริษัทได้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีไทยฉบับที่ 51 เรื่องสินทรัพย์
ไม่มีตัวตนและได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี 2 นโยบาย ได้แก่ นโยบายเกี่ยวกับการซ่อม
บำรุงรักษาหลักและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการ เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงรายการ
เปรียบเทียบจึงได้มีการปรับปรุงงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัท ระหว่างกาลสำหรับ
งวด 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2546 ย้อนหลัง ซึ่งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงดัง
กล่าวต่องบดุลรวมและงบดุลเฉพาะบริษัท ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2546 และงบกำไรขาดทุน
รวมและงบกำไรขาดทุนเฉพาะบริษัทสำหรับงวด 9 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2546
มีดังนี้
30 กันยายน พ.ศ. 2546
งบการเงินรวม งบการเงิน
เฉพาะบริษัท
พันบาท พันบาท
งบดุล
เงินลงทุนในบริษัทย่อย เพิ่มขึ้น - 1,105,644
ส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า สุทธิ ลดลง (558,710) (846,782)
วัสดุสำรองคลัง สุทธิ เพิ่มขึ้น 2,831 -
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สุทธิ เพิ่มขึ้น 1,102,813 -
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น สุทธิ ลดลง (288,072) -
กำไรสะสมปลายงวด ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2546 เพิ่มขึ้น 258,862 258,862
30 กันยายน พ.ศ. 2546
งบการเงินรวม งบการเงิน
เฉพาะบริษัท
พันบาท พันบาท
งบกำไรขาดทุน
ต้นทุนขาย ลดลง 1,105,644 -
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร เพิ่มขึ้น (117,590) -
ผลขาดทุนจากการด้อยค่า เพิ่มขึ้น (170,482) (66,133)
ส่วนแบ่งผลกำไรในบริษัทย่อยและกิจการร่วมค้า เพิ่มขึ้น (ลดลง) (588,710) 324,995
กำไรสะสมปลายงวด ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2546 เพิ่มขึ้น 258,862 258,862
ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงขอแสดงรายงานวิเคราะห์งบการเงินรวมของ บผฟ. และบริษัทย่อย เพื่อให้
เห็นถึงภาพรวมที่ชัดเจนของผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
2.1 สรุปผลการดำเนินงาน
กำไรสุทธิของกลุ่ม บผฟ. สำหรับ 9 เดือนแรก สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2547 เป็นจำนวนทั้งสิ้น
3,801 ล้านบาท ลดลง 1,290 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 25 เมื่อเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานของช่วง
เวลาเดียวกัน ปี 2546
หน่วย:ล้านบาท
กำไรสุทธิ 9 เดือน ปี 2547 กำไรสุทธิ 9 เดือนปี 2546
ก่อน FX หลัง FX ก่อน FX หลัง FX
บผฟ. 157 171 45 45
กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) 3,571 3,391 4,703 5,112
กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) 256 96 26 289
กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ
(Overseas) 72 64 (399) (431)
กลุ่มธุรกิจอื่นๆ (Others) 80 80 76 76
หมายเหตุ:- IPP ประกอบด้วย บฟร. บฟข. - SPP ประกอบด้วย จีอีซี เออีพี เอพีบีพี ทีแอลพีโคเจน ร้อยเอ็ดกรีน
- Overseas ประกอบด้วย โคแนล น้ำเทิน 2 - Others ประกอบด้วย เอสโก เอ็กคอมธารา
ใน 9 เดือนแรก ปี 2547 บริษัทมีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 335 ล้านบาท เมื่อเปรียบ
เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว บผฟ. มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 639 ล้านบาท
ทั้งนี้กำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นตัวเลขทางบัญชี เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการ
บัญชีไทย ซึ่งเกิดขึ้นจากผลต่างของการแปลงมูลค่าหนี้คงค้างสุทธิเฉพาะที่เป็นเงินตราสกุลต่าง
ประเทศกลับมาเป็นเงินตราสกุลบาท ณ วันสิ้นสุดงวดของบัญชีปัจจุบัน (วันที่ 30 กันยายน
2547) กับงวดก่อนหน้านี้ (วันที่ 31 ธันวาคม 2546)
หากไม่คำนึงถึงผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว บริษัทมีกำไรสุทธิ จำนวน 4,136 ล้านบาท
ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 315 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7 นอกจากนี้หากไม่คำนึงถึง
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีใหม่จำนวน 213 ล้านบาท อัตราแลกเปลี่ยนและ
ภาษีเงินได้ จำนวน 382 ล้านบาท กำไรสุทธิของกลุ่ม บผฟ. สำหรับเก้าเดือนแรก สิ้นสุด ณ วันที่
30 กันยายน 2547 เป็นจำนวน 4,518 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 221 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 5 เมื่อ
เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2546
อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ มีดังนี้
- อัตราส่วนกำไรขั้นต้น เท่ากับร้อยละ 55
- อัตราส่วนกำไรสุทธิ (ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน) เท่ากับร้อยละ 33
- กำไรสุทธิ (ที่ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน) ต่อหุ้น เท่ากับ 7.88 บาท
อัตรากำไรสุทธิ 9 เดือนแรก ปี 2547 (ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน) เท่ากับร้อยละ
33 นั้นต่ำกว่า 9 เดือนแรก ปี 2546 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 38 ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงนโยบาย
บัญชีในปี 2546 ทั้งนี้หากไม่รวมผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีอัตรากำไรสุทธิ 9
เดือนแรก ปี 2547 จะเท่ากับร้อยละ 35
2.2 การวิเคราะห์รายได้
ผลการดำเนินงาน 9 เดือนแรก ปี 2547 รายได้รวมของ บผฟ. บริษัทย่อย และส่วนแบ่งกำไรใน
เงินลงทุนในบริษัทร่วมและส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า มีจำนวนทั้งสิ้น 12,604 ล้านบาท เมื่อ
เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2546 เพิ่มขึ้นจำนวน 887 ล้านบาท หรือร้อยละ 8 โดยมี
รายละเอียดดังนี้
รายได้รวม: หน่วย:ล้านบาท
9 เดือนแรก ปี 2547 9 เดือนแรก ปี 2546 %เปลี่ยนแปลง
บผฟ. 439 411 7%
กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) 7,664 7,628 0.48%
กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) 3,539 3,231 10%
กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ (Overseas) 573 162 253%
กลุ่มธุรกิจอื่นๆ (Others) 388 285 36%
1) รายได้ของ บผฟ. จำนวน 439 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 29 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 7 ส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยรับจำนวน 30 ล้านบาท เงินปันผลรับจากการลงทุน
ทางการเงินเพิ่มขึ้น 10 ล้านบาท ในขณะที่รายได้อื่นลดลง 12 ล้านบาท
ทั้งนี้รายได้หลักส่วนใหญ่ของ บผฟ. ยังคงมาจากเงินปันผลรับจากกองทุนเปิดกรุงไทยหุ้น
ผสมตราสารหนี้ปันผล (KTSF) จำนวน 334 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5 ล้านบาท เงินปันผลรับจากหลักทรัพย์
ในความต้องการตลาด จำนวน 40 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4 ล้านบาท ส่วนรายได้จากดอกเบี้ยรับจำนวน 58
ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30 ล้านบาท มาจากการให้กู้ยืมแก่ จีอีซี จำนวน 14 ล้านบาท โครงการน้ำเทิน 2
จำนวน 11 ล้านบาท และดอกเบี้ยรับจากธนาคารและอื่นๆ จำนวน 33 ล้านบาท ในขณะที่ รายได้อื่นๆ
จำนวน 7 ล้านบาท ลดลง 12 ล้านบาท
2) รายได้จากกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) คือ บฟร. และ บฟข. จำนวน 7,664
ล้านบาท แบ่งเป็น
* รายได้ค่าไฟฟ้า จำนวน 7,537 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน จำนวน 84 ล้านบาท หรือร้อยละ 1
โดยแบ่งเป็นการลดลงจากรายได้ค่าไฟฟ้าของ บฟร. 421 ล้านบาท เนื่องจากอัตราค่าไฟฟ้า (Capacity Rate)
ที่ลดลง ในขณะที่ บฟข. มีรายได้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 505 ล้านบาท เนื่องจากอัตราค่าไฟ (Base
Availability Credit) ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสูตรค่าพลังไฟฟ้า ในลักษณะ "Cost Plus"
หรือต้นทุนบวกกำไรส่วนเพิ่มที่ให้แก่ผู้ประกอบการภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) และเป็นไปตามที่
ได้ประมาณการไว้แล้ว
สัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าในแต่ละปีเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายหลักคือ ค่า
ใช้จ่ายเงินกู้ และค่าบำรุงรักษาหลัก ซึ่งจะใช้อัตราดังกล่าวตามที่ได้ตกลงในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในการ
คำนวณค่าไฟฟ้าในแต่ละงวด
รายได้ค่าไฟฟ้ากลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) :หน่วย:ล้านบาท
9 เดือนแรก ปี 2547 9 เดือนแรก ปี 2546 %เปลี่ยนแปลง
บฟร. 4,082 4,503 (9%)
บฟข. 3,455 2,950 17%
นอกจากนั้น ในการคำนวณรายได้ค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า ได้รับการปรับเพื่อชดเชยผล
กระทบที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับภาระค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมเงินที่เป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ และ
ค่าอะไหล่ที่ใช้ในการบำรุงรักษาหลัก ซึ่ง บฟร. และ บฟข. จะได้รับการชดเชยทุกเดือนตามงวดกำหนด
ชำระค่าไฟฟ้า โดยจะได้รับค่าพลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนสูงกว่าระดับ 28 บาทต่อหนึ่ง
ดอลลาร์สหรัฐฯ และได้รับค่าพลังไฟฟ้าลดลงเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนต่ำกว่าระดับ 28 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์
สหรัฐฯ ทั้งนี้ รายได้ค่าไฟฟ้าจากบริษัทย่อยหลักได้รวมส่วนค่าไฟฟ้าที่ได้รับชดเชยผลกระทบจากอัตรา
แลกเปลี่ยนเป็นเงิน 791 ล้านบาท
* รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 127 ล้านบาท ลดลง 47 ล้านบาท หรือร้อยละ
27 สาเหตุหลักคือ ผลตอบแทนจากการลงทุนของ บฟร. และ บฟข. ลดลง 39 ล้านบาท เนื่องจากเงินฝาก
และอัตราดอกเบี้ยลดลง
3) รายได้จากกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) จำนวน 3,539 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลา
เดียวกันของปีก่อน จำนวน 308 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 10 สำหรับกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก
(SPP) ประกอบด้วย 5 บริษัท คือ บริษัทกัลฟ์ อิเล็คตริก จำกัด (มหาชน) (จีอีซี) บริษัท อมตะ-เอ็กโก
เพาเวอร์ จำกัด (เออีพี) บริษัท อมตะ เพาเวอร์ (บางปะกง) จำกัด (เอพีบีพี) บริษัท ทีแอลพี
โคเจเนอเรชั่น จำกัด (ทีแอลพี โคเจน) และ บริษัท ร้อยเอ็ดกรีน จำกัด (ร้อยเอ็ดกรีน)
โดยมีรายละเอียดดังนี้
* รายได้ค่าไฟฟ้า จำนวน 3,499 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 328 ล้านบาท
หรือ ร้อยละ 10
รายได้ค่าไฟฟ้ากลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) หน่วย:ล้านบาท
9 เดือนแรก ปี 2547 9 เดือนแรก ปี 2546 %เปลี่ยนแปลง
จีอีซี 1,971 1,973 (0.10%)
ทีแอลพี โคเจน 1,216 944 29%
เอพีบีพี 212 208 2%
ร้อยเอ็ดกรีน 101 46 117%
รายได้ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจาก ทีแอลพี โคเจน จำนวน 272 ล้านบาท ซึ่งเริ่มรับรู้รายได้
หลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2546 และ ร้อยเอ็ดกรีนที่เริ่มรับรู้รายได้หลังจาก
ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2546 โดยมีรายได้เพิ่มขึ้น จำนวน 54 ล้านบาท
* รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 21 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5 ล้านบาท
* ส่วนแบ่งผลกำไรจากกิจการร่วมค้า คือ เออีพี จำนวน 19 ล้านบาท ลดลง 25 ล้านบาท เมื่อ
เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2546 เนื่องจากค่าใช้จ่ายจากการซ่อมบำรุงรักษาหลัก
4) รายได้จากกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ จำนวน 573 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วง
เดียวกันของปีก่อน จำนวน 411 ล้านบาท สำหรับกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศประกอบด้วย
บริษัท โคแนล โฮลดิ้ง คอร์ปอเรชั่น(โคแนล) และโครงการน้ำเทิน 2 (Nam Theun 2 Power Co.,
Ltd. หรือ เอ็นทีพีซี) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
* รายได้ค่าไฟฟ้า จำนวน 560 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 152 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 21 ซึ่งเกิด
จากการผลิตพลังงานไฟฟ้าใน 9 เดือนแรก ปี 2547 ต่ำกว่าปี 2546 เนื่องจากการโอนโรงไฟฟ้านอร์ธ
เทิร์นมินดาเนา เพาเวอร์ คอร์เปอเรชั่น (เอ็นเอ็มพีซี) จำนวน 58 เมกะวัตต์ ออกไปให้กับ เนชั่นแนล
เพาเวอร์ คอร์เปอเรชั่น (เอ็นพีซี) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2546
* รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 37 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5 ล้านบาท หรือ คิดเป็น
ร้อยละ 16
* ส่วนแบ่งค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการน้ำเทิน 2 ใน 9 เดือนแรก ปี 2547 เท่ากับ 24 ล้านบาท
ลดลง 558 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ 9 เดือนแรก ปี 2546 ซึ่งมีการปรับปรุงค่าใช้จ่ายในการพัฒนา
โครงการน้ำเทิน 2 ตามนโยบายบัญชีใหม่ โดยมีส่วนแบ่งค่าใช้จ่ายก่อนปี 2546 ทั้งสิ้น 506 ล้านบาท
5) รายได้จากกลุ่มธุรกิจอื่นๆ จำนวน 388 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
จำนวน 102 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 36 สำหรับกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ประกอบด้วย 2 บริษัทย่อยคือ บริษัท เอ็กโก
เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (เอสโก) และ บริษัท เอ็กคอมธารา จำกัด (เอ็กคอมธารา) ซึ่งมี
รายละเอียดดังนี้
รายได้จากกลุ่มธุรกิจอื่นๆ: หน่วย:ล้านบาท
9 เดือนแรก ปี 2547 9 เดือนแรก ปี 2546 %เปลี่ยนแปลง
รายได้ค่าบริการ - เอสโก 260 173 50%
รายได้ค่าน้ำ - เอ็กคอมธารา 118 105 12%
* รายได้ค่าบริการ จำนวน 260 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 87 ล้าน
บาท หรือ ร้อยละ 50 สาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของการให้บริการบำรุงรักษาและเดินเครื่องของ เอสโก
กับ โรงไฟฟ้าเอลกาลี 2 ประเทศซูดาน
* รายได้ค่าน้ำ ของเอ็กคอมธารา จำนวน 118 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
จำนวน 13 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 12 เนื่องจากอัตราค่าน้ำและปริมาณการจำหน่ายที่มากขึ้น และเป็นไป
ตามที่ได้ประมาณการไว้แล้ว
* รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 8 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อย
ละ 23 ส่วนใหญ่จากรายได้อื่นๆของ เอสโก
* ส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้า จำนวน 3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2 ล้านบาท ซึ่งมาจาก บริษัท
อมตะ เพาเวอร์-เอสโก เซอร์วิส จำกัด (อเมสโก) ในขณะที่บริษัท พลังงานการเกษตร จำกัด (เออี) รับรู้
ส่วนแบ่งขาดทุนจำนวน 0.49 ล้านบาท ซึ่งทำให้ส่วนได้เสียในเออีมีมูลค่าเท่ากับศูนย์
2.3 การวิเคราะห์รายจ่าย
ค่าใช้จ่ายรวมของ บผฟ. บริษัทย่อย บริษัทร่วม และกิจการร่วมค้า ใน 9 เดือนแรก ปี 2547 จำนวน
8,292 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,287 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 18 แบ่งตามกลุ่ม
ธุรกิจ ดังต่อไปนี้
ค่าใช้จ่ายรวม: หน่วย:ล้านบาท
9 เดือนแรก ปี 2547 9 เดือนแรก ปี 2546 %เปลี่ยนแปลง
บผฟ. 282 366 (23%)
กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) 4,094 2,925 40%
กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) 3,243 3,169 2%
กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ (Overseas) 384 351 9%
กลุ่มธุรกิจอื่นๆ (Others) 289 195 48%
1) ค่าใช้จ่ายของ บผฟ. จำนวน 282 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าใช้จ่ายในการบริหารทั่วไป 239 ล้าน
บาท และดอกเบี้ยจ่าย 43 ล้านบาท ซึ่งค่าใช้จ่ายของ บผฟ.จำนวน 282 ล้านบาทนั้นลดลงจากปีก่อนรวม
ทั้งสิ้น 83 ล้านบาทสาเหตุหลักจากดอกเบี้ยจ่ายซึ่งลดลง 54 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 55 เนื่องจากจำนวน
เงินต้นลดลง ส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหารทั่วไปลดลง 29 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 11
2) ค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) จำนวน 4,094 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียว
กันของปีก่อน จำนวน 1,169 ล้านบาท สาเหตุหลักเนื่องจากผลกระทบจากการเปลี่ยนนโยบายบัญชี ราย
ละเอียดดังต่อไปนี้
* ต้นทุนขาย จำนวน 2,251 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 1,036 ล้านบาท
หรือ ร้อยละ 85 สาเหตุหลักมาจากผลกระทบที่เกิดขึ้นย้อนหลังก่อนปี 2546 จากการเปลี่ยนนโยบาย
บัญชีใหม่ดังกล่าว ทำให้ บฟร. มีต้นทุนเพิ่มขึ้นจำนวน 549 ล้านบาท และ บฟข. มีต้นทุนเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น
487 ล้านบาท หากไม่รวมผลกระทบที่เกิดขึ้นย้อนหลังก่อนปี 2546 จากการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี
บฟร. และ บฟข. มีต้นทุนเพิ่มขึ้น 20 ล้านบาทและ 44 ล้านบาทตามลำดับ เนื่องจากงานซ่อมบำรุงรักษาหลัก
ต้นทุนขายกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) :หน่วย:ล้านบาท
9 เดือนแรก ปี 2547 9 เดือนแรก ปี 2546 %เปลี่ยนแปลง
บฟร. 1,268 719 76%
บฟข. 983 496 98%
* ค่าใช้จ่ายในการบริหารและอื่นๆ จำนวน 459 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 321
ล้านบาท หรือ ร้อยละ 232 สาเหตุหลักจากภาษีของ บฟร. จำนวน 300 ล้านบาท เนื่องจากตั้งแต่ วันที่ 20
เมษายน 2546 บฟร. จะได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้รับจากการลงทุนใน
อัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งจะสิ้นสุด ณ วันที่ 19 เมษายน 2551 โดยระยะเวลาที่
บฟร. ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่มีกำหนด 8 ปีนับจากวันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการ
นั้นได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2546
* ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 1,384 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 188 ล้าน
บาท หรือ ร้อยละ 12 แบ่งเป็นการลดลงจาก บฟร. และ บฟข. จำนวน 104 ล้านบาท และ 84 ล้านบาท
ตามลำดับ เนื่องจากเงินต้นของเงินกู้ลดลง
3) ค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) จำนวน 3,243 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน
จำนวน 75 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 2 รายละเอียดดังต่อไปนี้
* ต้นทุนขาย จำนวน 2,787 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 289 ล้านบาท
หรือ ร้อยละ 12 สาเหตุหลักจากต้นทุนขายของทีแอลพี โคเจน เพิ่มขึ้น 138 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับ
รายได้ที่เพิ่มขึ้น และ ต้นทุนขายของจีอีซี ซึ่งเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 125 ล้านบาท เนื่องจากการบำรุงรักษาหลัก
และผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี นอกจากนี้ยังมีต้นทุนขาย ร้อยเอ็ดกรีน เพิ่มขึ้น 22
ล้านบาท และ เอพีบีพี เพิ่มขึ้น 3 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับรายได้ค่าไฟที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ
ต้นทุนขายกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP): หน่วย:ล้านบาท
9 เดือนแรก ปี 2547 9 เดือนแรก ปี 2546 %เปลี่ยนแปลง
จีอีซี 1,674 1,548 8%
ทีแอลพี โคเจน 904 767 18%
เอพีบีพี 153 150 2%
ร้อยเอ็ดกรีน 56 33 66%
* ค่าใช้จ่ายในการบริหารและอื่นๆ จำนวน 240 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนทั้งสิ้น 166 ล้านบาท
หรือ ร้อยละ 41 สาเหตุหลักมาจาก จีอีซี ซึ่งลดลงทั้งสิ้น 188 ล้านบาท เนื่องจากมีการตัดจ่ายค่าพัฒนา
โครงการบ่อนอกที่เกิดขึ้น ก่อนปี 2546 จากการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี จำนวน 103 ล้านบาท และมี
ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของที่ดินและค่าความนิยมซึ่งเกิดจากการซื้อโครงการบ่อนอก จำนวน 170
ล้านบาท หากไม่รวมผลกระทบจากนโยบายบัญชีดังกล่าวแล้ว สำหรับ 9 เดือนแรก ปี 2547 นั้น จีอีซี มี
ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 85 ล้านบาท ส่วนทีแอลพี โคเจน มีค่าใช้จ่ายในการบริหารเพิ่มขึ้น 21 ล้านบาทซึ่งสอด
คล้องกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเริ่มรับรู้รายได้หลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 28 มกราคม
2546
* ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 217 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 48 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 18 สาเหตุหลักมาจากการลดลงของดอกเบี้ยจ่าย ของ จีอีซี จำนวน 49 ล้านบาท เนื่องจากจำนวน
เงินต้นลดลงและอัตราดอกเบี้ยลดลงจากการ Refinance เงินกู้บางส่วน สำหรับ ร้อยเอ็ดกรีน ดอกเบี้ย
จ่ายเพิ่มขึ้นจำนวน 6 ล้านบาท เนื่องจากมีการเบิกเงินกู้เพิ่มขึ้น ในขณะที่ดอกเบี้ยจ่ายของ เอพีบีพี ลดลง
1 ล้านบาท เนื่องจากเงินต้นลดลง
4) ค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ จำนวน 384 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน จำนวน 33 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 9 รายละเอียดดังต่อไปนี้
* ต้นทุนขาย จำนวน 127 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 14 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 10 เกิดจากค่าเสื่อมราคาของโรงไฟฟ้า เอ็นเอ็มพีซี ที่ลดลงอันเนื่องมาจากประมาณการการผลิตที่
ลดลงและโอนโรงไฟฟ้าจำนวน 58 เมกะวัตต์ ให้กับเอ็นพีซี
* ค่าใช้จ่ายในการบริหารและอื่นๆ จำนวน 202 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
จำนวน 57 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 39
* ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 55 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 10 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 16 เนื่องจากเงินต้นลดลง
(ยังมีต่อ)