09 August 2007
บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร งวดครึ่งปีแรก ปี 2550
บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร
สำหรับผลการดำเนินงาน ครึ่งปีแรก ปี 2550
สิ้นสุด ณ 30 มิถุนายน 2550
หมายเหตุ: บทรายงานและการวิเคราะห์งบการเงินฉบับนี้ ฝ่ายบริหารได้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอ
ข้อมูลและแสดงวิสัยทัศน์ของฝ่ายบริหารให้ผู้ลงทุนทั่วไปสามารถติดตามและทำความเข้าใจฐานะการเงิน
และผลการดำเนินงานของบริษัทได้ดีขึ้น อันเป็นการส่งเสริมโครงการการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
อนึ่งเนื่องจากบทรายงานและการวิเคราะห์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอข้อมูลและคำอธิบาย
ถึงสถานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งที่นำเสนอนี้อาจเปลี่ยนแปลง
ตามปัจจัยหรือสภาวะแวดล้อมที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ฉะนั้นจึงใคร่ขอให้นักลงทุนใช้วิจารณญาณ
ในการพิจารณาใช้ประโยชน์จากเอกสารข้อมูลนี้ และหากมีคำถามหรือข้อสงสัยประการใดกรุณาติดต่อ
สอบถามได้ที่ ส่วนนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) โทร. 02-998-5145-7 หรือ
email : ir@egco.com
บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร
1. บทสรุปผู้บริหาร
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ บผฟ. เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระเอกชน (Independent
Power Producer) ซึ่งมีกำลังผลิตติดตั้งตามสัดส่วนการถือหุ้นรวมจำนวน 3,509 เมกะวัตต์ จาก
โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่และเล็กรวมทั้งสิ้น 14 โรง โดย กลุ่ม บผฟ. ได้เริ่มรับรู้ส่วนแบ่งผลกำไรจากกิจการ
ร่วมค้าบริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด (บีแอลซีพี) กำลังการผลิต 1,434 เมกะวัตต์ ในสัดส่วนร้อยละ
50 ตั้งแต่ มกราคม 2550 เป็นต้นไป
สำหรับโครงการขยายกำลังผลิตที่ อมตะ เพาเวอร์ บางปะกง (เอพีบีพี) กำลังการผลิต 55
เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าชนิดพลังงานความร้อนร่วม ได้เริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์แล้วเมื่อวันที่
25 เมษายน 2550 และ โครงการแก่งคอย 2 ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าชนิดพลังความร้อนของกิจการร่วมค้า
บริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด (จีพีจี) ได้เริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์โรงที่ 1 กำลังผลิต
734 เมกะวัตต์ เป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2550
สำหรับผลการดำเนินงานของกลุ่ม บผฟ. ในครึ่งปีแรก ปี 2550 สิ้นสุด ณ วันที่
30 มิถุนายน 2550 มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 5,025 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,372 ล้านบาท หรือคิดเป็น
ร้อยละ 38 เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก ปี 2549 ทั้งนี้หากไม่คำนึงถึงผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน
สำหรับ บผฟ. และบริษัทย่อยแล้ว ในครึ่งปีแรก ปี 2550 บริษัทจะมีกำไรจำนวน 4,922 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2549 จำนวน 1,761 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 56
โดยสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงเนื่องจาก
* บผฟ. มีกำไรลดลง 258 ล้านบาท ส่งผลให้ขาดทุนสุทธิ 144 ล้านบาท เนื่องจากรายได้ลดลง
ทั้งสิ้น 95 ล้านบาท สาเหตุหลักจากดอกเบี้ยรับและเงินปันผลรับลดลง ประกอบกับค่าใช้จ่ายใน
การบริหารที่เพิ่มขึ้น 89 ล้านบาท สาเหตุหลักจากค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์และค่าใช้จ่ายพัฒนา
โครงการที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งดอกเบี้ยจ่ายของเงินกู้ยืมระยะสั้นที่เพิ่มขึ้น 75 ล้านบาท
* กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระเอกชน (ไอพีพี) คือ บริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด (บฟร.)
บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด (บฟข.) บีแอลซีพี และ จีพีจี มีกำไรสุทธิของกลุ่มเท่ากับ 4,516
ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,868 ล้านบาท เนื่องจากการรับรู้ผลการดำเนินงานของ บีแอลซีพี ตั้งแต่เดือน
มกราคม 2550 และการรับรู้ผลการดำเนินงานของโครงการแก่งคอย 2 ที่เริ่มเดินเครื่องเชิง
พาณิชย์โรงที่ 1 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2550
* กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (เอสพีพี) ประกอบด้วย 3 กิจการร่วมค้า คือ บริษัท
กัลฟ์อิเล็คตริก จำกัด (มหาชน) (จีอีซี) (ไม่รวม จีพีจี) บริษัท อมตะ-เอ็กโก เพาเวอร์ จำกัด
(เออีพี) บริษัท อมตะ เพาเวอร์ (บางปะกง) จำกัด (เอพีบีพี) และ 2 บริษัทย่อย คือ
บริษัท เอ็กโก โคเจเนอเรชั่น จำกัด (เอ็กโก โคเจน) และ บริษัท ร้อยเอ็ด กรีน จำกัด
(ร้อยเอ็ด กรีน) มีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 585 ล้านบาท เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 377 ล้านบาท
จากกำไรสุทธิของ จีอีซี ที่เพิ่มขึ้น จากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
* กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าต่างประเทศ ประกอบด้วย 2 กิจการร่วมค้า คือ บริษัท โคแนล
โฮลดิ้ง คอร์ปอเรชั่น (โคแนล) และ โครงการน้ำเทิน 2 (เอ็นทีพีซี) มีกำไรลดลง 193 ล้านบาท
ผลให้ขาดทุนสุทธิรวม 146 ล้านบาท สาเหตุหลักเนื่องจากส่วนแบ่งผลขาดทุนจาก เอ็นทีพีซี
จำนวน 179 ล้านบาท เนื่องจากผลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน ส่วนโคแนลมีกำไรสุทธิ 34 ล้านบาท
ลดลง 41 ล้านบาท เนื่องจากรายได้ค่าไฟที่ลดลงจากการโอนโรงไฟฟ้าของบริษัท
นอร์ธเทิร์น มินดาเนา เพาเวอร์ คอร์ปอเรชั่น (เอ็นเอ็มพีซี) ให้กับ National Power Corporation
(เอ็นพีซี) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 และค่าเงินเปโซที่แข็งค่าขึ้น
* กลุ่มธุรกิจอื่นๆ ประกอบด้วย 2 บริษัทย่อย คือ บริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส
จำกัด (เอสโก) บริษัท เอ็กคอมธารา จำกัด (เอ็กคอมธารา) และกิจการร่วมค้าบริษัท อมตะ
เพาเวอร์-เอสโก เซอร์วิส จำกัด (อเมสโก) มีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 111 ล้านบาท ลดลง
33 ล้านบาท สาเหตุหลักจากรายได้ค่าบริการที่ลดลงของเอสโก
2. การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติตามแผนการดำเนินธุรกิจ
บผฟ. เป็นบริษัทผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่แห่งแรกของประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นเมื่อ
วันที่ 12 พฤษภาคม 2535 ในลักษณะบริษัทโฮลดิ้ง ที่มีการลงทุนในบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม
ต่างๆ บผฟ. ดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า ?เป็นบริษัทไทยชั้นนำที่ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้า
ครบวงจรและครอบคลุมถึงธุรกิจการให้บริการด้านพลังงานทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน
ด้วยความมุ่งมั่นที่จะธำรงไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสังคม?
บผฟ.ดำเนินธุรกิจหลักในการลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ทั้งใน
ประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน เพื่อผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
แห่งประเทศไทย (กฟผ.) ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว โดยมีเป้าหมายในการจัดหา
ผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยการบริหารจัดการโครงการที่มีอยู่ปัจจุบัน
ตลอดจนการสรรหาโครงการที่มีคุณภาพและให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต และอยู่ในระดับ
ความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้
ณ เดือนมิถุนายน 2550 ประเทศไทยมีกำลังผลิตติดตั้งรวมจำนวน 28,522.4
เมกะวัตต์ /1 ซึ่งประมาณร้อยละ 12.21 ของกำลังผลิตนี้มาจากกำลังผลิตในกลุ่ม บผฟ.
โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2550 ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้น ณ วันที่ 24 เมษายน 2550
ที่ 22,586.1 เมกะวัตต์ /1 คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 7.23 เมื่อเทียบกับความต้องการพลัง
ไฟฟ้าสูงสุด ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคมของปี 2549
ในช่วงระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน - 27 กรกฎาคม 2550 กระทรวงพลังงานได้เปิด
ให้มีการจำหน่ายเอกสารเชิญชวนรับซื้อไฟฟ้าเพื่อให้ผู้สนใจเข้ามาประมูลการผลิตไฟฟ้า
เอกชนขนาดใหญ่ระหว่างปี 2555 - 2557 จำนวน 3,200 เมกะวัตต์ ผู้ผลิตไฟฟ้าจะต้องยื่น
ข้อเสนอเข้ามาภายในเดือนตุลาคม 2550 ทั้งข้อเสนอด้านเทคนิคและด้านราคา สถานที่ตั้ง
และการเลือกใช้เชื้อเพลิง โดยอนุกรรมการจะประเมินและคัดเลือกข้อเสนอให้แล้วเสร็จ
โดยจะประกาศผู้ที่ชนะการประมูลแข่งขันได้ภายในสิ้นปี 2550 และจะลงนามสัญญาซื้อขาย
ไฟฟ้าภายในเดือนมิถุนายน 2551 ทั้งนี้มีผู้สนใจเข้าร่วมซื้อซองประมูลเป็นจำนวน 60
ซองประมูล ทำให้เชื่อมั่นว่า การแข่งขันด้านราคาจะเป็นผลดีต่อประชาชน ทำให้ได้ต้นทุน
ค่าไฟฟ้าที่ดีต่อไป ซึ่ง บผฟ. จะเข้าร่วมการประมูลดังกล่าว และจะเสนอประมูล
สร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงทั้งหมด โดยอาศัยกลยุทธ์การลงทุนที่
เหมาะสม ภายใต้การร่วมมือ ตลอดจนประสบการณ์ความเชี่ยวชาญของบุคลากรภายใน
องค์กรที่มีเพื่อร่วมการแข่งขันต่อไป
/1 ที่มา กฟผ.
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2550 บผฟ. มีกำลังผลิตติดตั้งตามสัดส่วนการถือหุ้น
รวมจำนวน 3,509 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้า 14 โรง โดยกำลังการผลิตติดตั้งส่วนใหญ่
มาจากโรงไฟฟ้าของ บฟร. กำลังผลิตติดตั้ง 1,232 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าของ บฟข.
กำลังผลิตติดตั้ง 824 เมกะวัตต์ ซึ่งทั้ง 2 โรงไฟฟ้าดังกล่าวใช้ก๊าซธรรมชาติเป็น
เชื้อเพลิงหลัก โดยกำลังการผลิตติดตั้งของโรงไฟฟ้าทั้งสอง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59
ของกำลังผลิตติดตั้งรวมของ บผฟ.
นอกจากนี้ บผฟ. มีกำลังการผลิตติดตั้งจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินบีแอลซีพี
กำลังการผลิต 1,434 เมกะวัตต์ ในสัดส่วนร้อยละ 50 สัดส่วนการถือหุ้นของ บผฟ.
จำนวน 717 เมกะวัตต์ หรือร้อยละ 20 ของกำลังการผลิตติดตั้งรวมของ บผฟ.
โครงการดังกล่าวตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง
โดยใช้ถ่านหินคุณภาพดีนำเข้ามาจากประเทศออสเตรเลียเป็นเชื้อเพลิง
ทั้งนี้ยังมีโครงการแก่งคอย 2 โรงที่ 1 ซึ่งเป็นโครงการใหญ่ที่เพิ่งแล้วเสร็จ
และเดินเครื่องเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2550 ซึ่งคิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้ง
ในส่วนการถือหุ้นของ บผฟ. จำนวนรวม 367 เมกะวัตต์ (บผฟ. ถือหุ้นร้อยละ 50 ในจีอีซี
ซึ่งถือหุ้นในบริษัทที่ดูแลโครงการคือ จีพีจี ร้อยละ 99.99) ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระบุรี
กำลังผลิตรวม 1,468 เมกะวัตต์ โดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก
นอกเหนือจากนั้น บริษัทกำลังพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าอีก 2 โครงการ
ซึ่งคิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งในส่วนการถือหุ้นของ บผฟ. จำนวนรวม 635 เมกะวัตต์ ได้แก่
1.โครงการแก่งคอย 2 โรงที่ 2 กำลังผลิต 734 เมกะวัตต์ โครงการนี้มี
กำหนดเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในเดือนมีนาคม 2551 ขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้าง
โครงการแล้วเสร็จไปประมาณร้อยละ 96.75
2.โครงการน้ำเทิน 2 (บผฟ. ถือหุ้นร้อยละ 25 ในเอ็นทีพีซี ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการ)
ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีกำลังผลิต
1,070 เมกะวัตต์ และกำหนดจำหน่ายกระแสไฟฟ้าได้ในเดือนธันวาคม ปี 2552 โดยมี
สัญญาขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. จำนวน 995 เมกะวัตต์ และขายไฟฟ้าส่วนที่เหลือให้กับ
รัฐบาลลาว ความคืบหน้าในการก่อสร้างโครงการปัจจุบันอยู่ที่ประมาณร้อยละ 55
ในส่วนนโยบายการจ่ายเงินปันผลนั้น บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่
ผู้ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิงบการเงินรวมหลังหักภาษีเงินได้ หรือ
ในจำนวนที่ทยอยเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ หากไม่มีเหตุจำเป็นอื่นใด เช่น การขยาย
ธุรกิจของบริษัทในโครงการต่าง ๆ ในอนาคต หรือการจ่ายเงินปันผลที่มีผลกระทบ
ต่อการดำเนินงานปกติของบริษัทอย่างมีสาระสำคัญโดยการจ่ายเงินปันผลต้อง
ไม่เกินกว่ากำไรสะสมของงบการเงินเฉพาะกิจการ
3. รายงานและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
โครงสร้างการดำเนินธุรกิจ ของ บผฟ. อยู่ในรูปของบริษัทโฮลดิ้ง เพื่อให้แต่ละ
บริษัทดำเนินธุรกิจด้านการผลิตไฟฟ้าหรือธุรกิจเกี่ยวเนื่องได้อย่างอิสระต่อกัน โดย บผฟ.
มีรายได้หลัก คือเงินปันผลที่มาจากกำไรของบริษัทย่อย บริษัทร่วม และส่วนได้เสียใน
กิจการร่วมค้า การจัดโครงสร้างดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อได้รับความสะดวกในการ
ขยายกิจการ และเพิ่มความสามารถในการระดมเงินกู้สำหรับโครงการใหม่ โดยไม่มี
ผลกระทบใดๆ ต่อโครงการเก่า
เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 กลุ่มบริษัทได้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการ
บัญชี 2 รายการดังนี้
1. มาตรฐานการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และส่วนได้
เสียในกิจการร่วมค้าในงบการเงินเฉพาะกิจการ
ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชีฉบับที่ 26/2549 ลงวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549
และฉบับที่ 32/2549 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ได้มีการแก้ไขมาตรฐานการบัญชี
ฉบับที่ 44 เรื่องงบการเงินรวมและการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อยและฉบับที่ 45
เรื่องการบัญชีสำหรับเงินลงทุนในบริษัทร่วม โดยกำหนดให้เปลี่ยนวิธีการบัญชีจากวิธี
ส่วนได้เสียเป็นวิธีราคาทุนสำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ที่แสดงไว้ใน
งบการเงินเฉพาะกิจการ ตามวิธีราคาทุน รายได้จากเงินลงทุนจะรับรู้เมื่อมีการประกาศ
จ่ายเงินปันผล ประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550
เป็นต้นไป ทั้งนี้กลุ่มบริษัทได้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกันสำหรับส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า
ที่แสดงในงบการเงินเฉพาะกิจการ โดยกลุ่มบริษัทเริ่มใช้วิธีราคาทุนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม
2550 และ ได้ปรับปรุงงบการเงินที่แสดงเปรียบเทียบย้อนหลังด้วย
จากการเปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกบัญชีดังกล่าวทำให้กำไรสุทธิในงบการเงิน
เฉพาะกิจการไม่เท่ากับกำไรสุทธิในงบการเงินรวม โดยในครึ่งปีแรก ของปี 2550 สิ้นสุด
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2550 งบการเงินรวมมีกำไรสุทธิจำนวน 5,025 ล้านบาท หรือคิดเป็น
9.54 บาทต่อหุ้น งบการเงินเฉพาะมีกำไรสุทธิ 5,264 ล้านบาท หรือคิดเป็น 10.00 บาทต่อหุ้น
ผลแตกต่างของกำไรสุทธิจากงบการเงินทั้งสองดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงวิธี
การบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อยและกิจการร่วมค้าในงบการเงินเฉพาะ โดยที่กำไรสุทธิ
ในงบการเงินรวมได้รวมผลการดำเนินงานของบริษัทย่อยและกิจการร่วมค้าตามสัดส่วนการ
ถือหุ้น ในขณะที่กำไรสุทธิในงบการเงินเฉพาะจะรับรู้เฉพาะผลการดำเนินงานของ บผฟ.
และรับรู้รายได้จากการลงทุนในบริษัทย่อยและกิจการร่วมค้าก็ต่อเมื่อบริษัทย่อยและกิจการ
ร่วมค้าประกาศจ่ายเงินปันผลเท่านั้น และในกรณีนี้ บผฟ. มีกำไรจากการดำเนินงาน 6 ล้านบาท
และ บริษัทย่อยได้ประกาศจ่ายเงินปันผลให้กับ บผฟ. จำนวน 5,257 ล้านบาท
นอกจากนั้นผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่มีต่องบดุลเฉพาะกิจการ
งวดสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 เป็นดังนี้
หน่วย:ล้านบาท
เงินลงทุนในบริษัทย่อย ลดลง (5,036)
ส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า สุทธิ เพิ่มขึ้น 723
หนี้สินสุทธิในกิจการร่วมค้า ลดลง (620)
หนี้สินอื่นลดลง (911)
ผลกระทบจากการแปลงค่างบการเงินของบริษัท
ที่อยู่ในต่างประเทศ เพิ่มขึ้น 14
กำไรสะสม ลดลง (2,796)
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีดังกล่าวส่งผลต่อการแสดงรายการบัญชี
ที่เกี่ยวข้องกับเงินลงทุนในบริษัทย่อยและส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้าในงบการเงินเฉพาะ
กิจการเท่านั้น ไม่ได้มีผลกระทบต่อการจัดทำงบการเงินรวมแต่อย่างใด
2. มาตรฐานการบัญชีสำหรับการบันทึกส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้าในงบการเงินรวม
เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2550 กลุ่มบริษัทได้เปลี่ยนนโยบายการบัญชีสำหรับ
การบันทึกส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้าในงบการเงินรวมจากวิธีรวมตามสัดส่วนเป็นวิธีส่วน
ได้เสีย เนื่องจากกลุ่มบริษัทพิจารณาและเห็นว่าการบันทึกส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้าโดย
วิธีส่วนได้เสียในงบการเงินรวมจะสะท้อนถึงลักษณะธุรกิจของกลุ่มบริษัทได้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ซึ่งมีผลทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจถึงลักษณะและการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทได้ดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้าของกลุ่มบริษัทส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในกิจการโรงไฟฟ้า
ซึ่งเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ดังนั้นเงินทุนส่วนใหญ่จะมาจากการกู้ยืม
ซึ่งโดยปกติแล้วเงินกู้ยืมของกิจการร่วมค้าจะค้ำประกันโดยสินทรัพย์ของกิจการร่วมค้าเองและ
ไม่มีผลผูกพันต่อผู้ร่วมทุน กลุ่มบริษัทใช้วิธีปรับย้อนหลังสำหรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการ
บัญชีดังกล่าว
ทั้งนี้ งบดุลรวม ณ 31 ธันวาคม 2549 และงบกำไรขาดทุนรวมสำหรับงวด 6 เดือนสิ้นสุด
30 มิถุนายน 2549 ได้มีการปรับใหม่เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ และผลจากการเปลี่ยนแปลง
นโยบายดังกล่าวทำให้ กลุ่ม บผฟ. รับรู้ส่วนได้เสียจาก กิจการร่วมค้า 7 บริษัท คือ บีแอลซีพี
จีอีซี เอพีบีพี เออีพี โคแนล เอ็นทีพีซี และอเมสโก
ฝ่ายบริหารจึงขอแสดงรายงานวิเคราะห์งบการเงินรวมของ บผฟ. บริษัทย่อย และ
ส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า เพื่อให้เห็นถึงภาพรวมที่ชัดเจนของผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
3.1 สรุปผลการดำเนินงาน
กำไรสุทธิของกลุ่ม บผฟ. สำหรับครึ่งปีแรก ปี 2550 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2550
มีจำนวนทั้งสิ้น 5,025 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,372 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 38 เมื่อเปรียบเทียบกับ
ช่วงเวลาเดียวกันปี 2549 สาเหตุหลักมาจากส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้าที่เพิ่มขึ้น 3,356
ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจาก บีแอลซีพี และ จีพีจี สำหรับกำไรขั้นต้นมีจำนวนเท่ากับ 2,573
ล้านบาท ลดลง 1,811 ล้านบาท หรือร้อยละ 41 สาเหตุหลักจากรายได้ค่าไฟฟ้าของ บฟร.
และ บฟข. ที่ลดลงจากอัตราค่าไฟซึ่งเป็นไปตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และมีกำไรจากการ
ดำเนินงานจำนวน 2,542 ล้านบาท ลดลง 2,544 ล้านบาท หรือร้อยละ 50 โดยปัจจัยหลัก
ของการเปลี่ยนแปลงคือรายได้ค่าไฟฟ้า กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนและดอกเบี้ยรับที่ลดลง หน่วย:ล้านบาท
หน่วย : ล้านบาท
กำไรสุทธิ ครึ่งปีแรก ปี 2550 กำไรสุทธิครึ่งปีแรก ปี 2549
ก่อน FX หลัง FX ก่อน FX หลัง FX
บผฟ. (144) (144) 113 113
กลุ่มธุรกิจไอพีพี 4,516 4,567 2,648 3,055
กลุ่มธุรกิจเอสพีพี 585 641 208 293
กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้า
ต่างประเทศ (146) (146) 47 47
กลุ่มธุรกิจอื่นๆ 111 106 144 144
หมายเหตุ:-ไอพีพี ประกอบด้วย บฟร. บฟข. บีแอลซีพี และจีพีจี
- เอสพีพี ประกอบด้วย จีอีซี (ไม่รวมจีพีจี) เออีพี เอพีบีพี เอ็กโก โคเจน ร้อยเอ็ด กรีน
- ต่างประเทศ ประกอบด้วย โคแนล เอ็นทีพีซี
- อื่นๆ ประกอบด้วย เอสโก เอ็กคอมธารา อเมสโก
ในครึ่งปีแรก ปี 2550 กลุ่ม บผฟ. มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับ บผฟ. และ
บริษัทย่อย จำนวน 103 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ปี 2549 ซึ่ง
กลุ่ม บผฟ. มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 491 ล้านบาท ทั้งนี้กำไรจากอัตรา
แลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจำนวน 87 ล้านบาทเป็นตัวเลขทางบัญชี เพื่อให้เป็นไป
ตามมาตรฐานการบัญชีไทยซึ่งเกิดขึ้นจากผลต่างของการแปลงมูลค่าหนี้คงค้างสุทธิเฉพาะที่
เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศกลับมาเป็นเงินตราสกุลบาท ณ วันสิ้นสุดงวดของบัญชีปัจจุบัน
(วันที่ 30 มิถุนายน 2550) กับงวดก่อนหน้านี้ (วันที่ 31 ธันวาคม 2549)
หากไม่คำนึงถึงผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับ บผฟ.และบริษัทย่อยแล้ว
ในครึ่งปีแรก ปี 2550 บริษัทจะมีกำไรจำนวน 4,922 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกัน
ปี 2549 จำนวน 1,761 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 56
นอกจากนี้หากไม่คำนึงถึงกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับ บผฟ.และบริษัทย่อย
จำนวน 103 ล้านบาท ดอกเบี้ยจ่ายจำนวน 412 ล้านบาท ภาษีเงินได้จำนวน 273 ล้านบาท
และค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่างๆ จำนวน 1,066 ล้านบาท กำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่าย
ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่างๆ (EBITDA) ของกลุ่ม บผฟ. ในครึ่งปีแรก ปี 2550
จะเป็นจำนวน 6,673 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,228 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับ
กำไรของกลุ่ม บผฟ. ในช่วงเวลาเดียวกันปี 2549 จำนวน 5,445 ล้านบาท ซึ่งไม่รวมผลกำไร
จากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 491 ล้านบาท ดอกเบี้ยจ่ายจำนวน 668 ล้านบาท ภาษีเงินได้
จำนวน 569 ล้านบาท และค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่างๆ จำนวน 1,047 ล้านบาท
อัตราส่วนแสดงความสามารถในการหากำไร (Profitability Ratio) มีดังนี้
- อัตรากำไรขั้นต้นเท่ากับร้อยละ 48.44
- อัตรากำไรจากการดำเนินงานเท่ากับร้อยละ 47.87
- อัตรากำไรสุทธิเท่ากับร้อยละ 56.66
- อัตรากำไรสุทธิ (ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของ บผฟ. และบริษัทย่อย)
เท่ากับร้อยละ 55.50
- กำไรสุทธิ ต่อหุ้น เท่ากับ 9.54 บาท
- กำไรสุทธิ (ที่ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของ บผฟ. และบริษัทย่อย)
ต่อหุ้น เท่ากับ 9.35 บาท
- อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นเท่ากับร้อยละ 13.41
อัตรากำไรขั้นต้น เท่ากับร้อยละ 48.44 นั้นต่ำกว่าครึ่งปีแรก ปี 2549 ซึ่งเท่ากับร้อยละ
61.21 เนื่องจากกำไรสุทธิของ บฟร. และ บฟข. ลดลง สาเหตุหลักจากรายได้ค่าไฟฟ้าที่ลดลง
ในขณะที่อัตรากำไรสุทธิ (ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน) เท่ากับร้อยละ 55.50 นั้น
สูงกว่าครึ่งปีแรก ปี 2549 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 41.53 สาเหตุหลักจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรใน
ส่วนได้เสียจากกิจการร่วมค้าของ บีแอลซีพี และจีพีจี
3.2 การวิเคราะห์รายได้ ค่าใช้จ่าย และส่วนแบ่งผลกำไรในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า
ผลการดำเนินงานในครึ่งปีแรก ปี 2550 (ที่ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนและ
กำไรสุทธิของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย) เป็นดังนี้
- รายได้รวมของ บผฟ. และบริษัทย่อย มีจำนวนทั้งสิ้น 5,622 ล้านบาท เมื่อ
เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ปี 2549 เพิ่มขึ้นจำนวน 2,099 ล้านบาท
หรือร้อยละ 27
- ค่าใช้จ่ายรวมของ บผฟ. และบริษัทย่อย มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 3,868 ล้านบาท
ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 495 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 11
สำหรับส่วนแบ่งผลกำไรในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้าในครึ่งปีแรก ปี 2550 จำนวน
3,246 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,356 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีส่วนแบ่ง
ผลขาดทุนจำนวน 110 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดแบ่งตามกลุ่มธุรกิจ ดังต่อไปนี้
รายได้รวม ค่าใช้จ่ายรวม และส่วนแบ่งผลกำไร หน่วย : ล้านบาท
บผฟ. ไอพีพี เอสพีพี
1H?50 1H?49 1H?50 1H?49 1H?50 1H?49
รายได้รวม 218 313 3,911 5,780 1,087 1,114
ค่าใช้จ่ายรวม 362 199 2,346 2,935 884 876
ส่วนแบ่งผลกำไร - - 2,951 (198) 438 37
ต่างประเทศ อื่นๆ รวม
1H?50 1H?49 1H?50 1H?49 1H?50 1H?49
รายได้รวม - - 407 514 5,622 7,721
ค่าใช้จ่ายรวม - - 276 354 3,868 4,363
ส่วนแบ่งผลกำไร (146) 47 3 3 3,246 (110)
1) บผฟ. มีรายได้ในครึ่งปีแรก ปี 2550 รวมจำนวน 218 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินปันผลรับ
จากการลงทุนทางการเงิน 109 ล้านบาท ดอกเบี้ยรับ 40 ล้านบาท และ รายได้อื่นๆ 69 ล้านบาท
ทั้งนี้รายได้รวมของ บผฟ. ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2549 ทั้งสิ้น 95 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 30 สาเหตุหลักมาจากเงินปันผลรับจากการลงทุนทางการเงินซึ่งเป็นรายได้หลักของ
บผฟ. ลดลงทั้งสิ้น 59 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35 สาเหตุการลดลงมาจากเงินปันผลรับจาก
กองทุนเปิดกรุงไทยหุ้นผสมตราสารหนี้ปันผล (เคทีเอสเอฟ) ลดลง 104 ล้านบาท ในขณะที่
เงินปันผลรับจากบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ
อีสท์ วอเตอร์ เพิ่มขึ้น 31 ล้านบาท เงินปันผลรับจากกองทุนเปิดอื่นๆ เพิ่มขึ้น 14 ล้านบาท
สำหรับดอกเบี้ยรับลดลง 37 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 48 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยและจำนวน
เงินฝากที่ลดลง
ค่าใช้จ่ายของ บผฟ. รวมทั้งสิ้น 362 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 163 ล้านบาท หรือร้อยละ 82
เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก ปี 2549 สาเหตุหลักมาจากค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อการปรับ
ภาพลักษณ์องค์กรใหม่ (Re-branding) ที่เพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายพัฒนาโครงการ ซึ่งส่วนใหญ่
ได้แก่ ค่าที่ปรึกษาที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังมีดอกเบี้ยจ่ายจำนวน 75 ล้านบาท ซึ่งเกิดจาก
เงินกู้ยืมระยะสั้นจำนวน 4,350 ล้านบาท ซึ่งได้เริ่มเบิกเงินกู้งวดแรก จากธนาคารพาณิชย์ไทย
2 แห่ง เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2550
2) กลุ่มธุรกิจไอพีพี คือ บฟร. บฟข. บีแอลซีพี และ จีพีจี มีรายได้รวมทั้งสิ้น 3,911
ล้านบาท ลดลง 1,870 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 32 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ปี 2549
ค่าใช้จ่ายรวมจำนวน 2,346 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกัน ปีก่อน 589 ล้านบาท
หรือร้อยละ 20 และส่วนแบ่งผลกำไรในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า 2,951 ล้านบาท
เพิ่มขึ้น 3,148 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีส่วนแบ่งผล
ขาดทุนจำนวน 198 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
รายได้ ค่าใช้จ่าย และส่วนแบ่งผลกำไรของกลุ่มธุรกิจไอพีพี: หน่วย : ล้านบาท
บฟร. บฟข. บีแอลซีพี
1H?50 1H?49 1H?50 1H?49 1H?50 1H?49
รายได้รวม 1,804 2,855 2,107 2,925 - -
ค่าใช้จ่ายรวม 1,062 1,388 1,283 1,546 - -
ส่วนแบ่งผลกำไร - - - - 2,528 -
จีพีจี รวม
1H?50 1H?49 1H?50 1H?49 %เปลี่ยนแปลง
รายได้รวม - - 3,911 5,780 (32%)
ค่าใช้จ่ายรวม - - 2,346 2,935 (20%)
ส่วนแบ่งผลกำไร 422 (198) 2,951 (198) n.a.
* รายได้ค่าไฟของกลุ่ม จำนวนรวม 3,847 ล้านบาท ลดลงจากครึ่งปีแรก ปี 2549
จำนวน 1,719 ล้านบาท หรือร้อยละ 31 โดยแบ่งเป็นรายได้ค่าไฟของ บฟร. จำนวน
1,788 ล้านบาท ลดลง 932 ล้านบาท เนื่องจากอัตราค่าไฟ (Capacity Rate) ที่ลดลง
โดยบางส่วนเกิดจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และ รายได้ค่าไฟ บฟข. จำนวน 2,059
(ยังมีต่อ)