12 May 2008
บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร งวด 3 เดือน ปี 2551
3) กลุ่มธุรกิจเอสพีพี ประกอบด้วย 5 บริษัท คือ จีอีซี (ไม่รวม จีพีจี) เออีพี เอพีบีพี เอ็กโก โคเจน
และ ร้อยเอ็ด กรีน ในงวด 3 เดือน ปี 2551 มีรายได้รวมทั้งสิ้น 556 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี
2550 จำนวน 7 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 1 ค่าใช้จ่ายรวม จำนวน 452 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี
2550 จำนวน 4 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 1 และส่วนแบ่งผลกำไรในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า จำนวน
235 ล้านบาท (รวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 143 ล้านบาทแล้ว) เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกัน
ของปีก่อน จำนวน 162 ล้านบาท หรือร้อยละ 224 โดยมีรายละเอียดดังนี้
รายได้ ค่าใช้จ่าย และส่วนแบ่งผลกำไร (ขาดทุน) จากกิจการร่วมค้า
ของกลุ่มธุรกิจเอสพีพี: หน่วย : ล้านบาท
เอ็กโก โคเจน ร้อยเอ็ด กรีน จีอีซี
(ไม่รวม จีพีจี)
3M51 3M50 3M51 3M50 3M51 3M50
รายได้รวม 482 494 74 68 - -
ค่าใช้จ่ายรวม 413 413 39 35 - -
กำไรก่อนส่วนแบ่งผลกำไร
(ขาดทุน)จากกิจการร่วมค้า 69 81 35 34 - -
ส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน)
จากกิจการร่วมค้า - - - - 194 62
กำไรสุทธิก่อน Fx
ของบริษัทย่อย และ MI 69 81 35 34 194 62
เอพีบีพี และ เออีพี รวม
3M51 3M50 3M51 3M50 %เปลี่ยนแปลง
รายได้รวม - - 556 563 (1%)
ค่าใช้จ่ายรวม - - 452 448 1%
กำไรก่อนส่วนแบ่งผลกำไร
(ขาดทุน)จากกิจการร่วมค้า - - 104 115 (10%)
ส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน)
จากกิจการร่วมค้า 41 10 235 73 224%
กำไรสุทธิก่อน Fx
ของบริษัทย่อย และ MI 41 10 339 188 81%
- รายได้ค่าไฟฟ้าของกลุ่มธุรกิจเอสพีพี เป็นจำนวนรวม 551 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลา
เดียวกันปี 2550 จำนวน 3 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 1 ส่วนใหญ่มาจากรายได้ค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของ
ร้อยเอ็ด กรีน จำนวน 13 ล้านบาท เนื่องจากค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Charge) ที่เพิ่มขึ้นจาก
ราคาน้ำมันเตาที่สูงขึ้น ซึ่งสัมพันธ์กับสูตรค่าไฟ ในขณะที่ เอ็กโก โคเจน มีรายได้ค่าไฟฟ้าลดลง
จำนวน 10 ล้านบาท จากรายได้ค่าไฟฟ้าจาก กฟผ. ที่ลดลงจากการหยุดซ่อมตามแผน
รายได้ค่าไฟฟ้ากลุ่มธุรกิจเอสพีพี: หน่วย : ล้านบาท
3M51 3M50 %เปลี่ยนแปลง
เอ็กโก โคเจน 479 489 (2%)
ร้อยเอ็ด กรีน 72 59 22%
รวมรายได้ค่าไฟฟ้า-เอสพีพี 551 548 1%
- รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 5 ล้านบาท ลดลง 11 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 70 สาเหตุหลักเกิดจากเงินช่วยเหลือค่า Guarantee fee ที่ ร้อยเอ็ด กรีน ได้รับจาก UNDP
เป็นเวลา 4 ปี ได้สิ้นสุดในปี 2550 อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ทำให้ดอกเบี้ยรับของ ร้อยเอ็ด กรีน
และ เอ็กโก โคเจน ลดลงเช่นกัน
- ต้นทุนขาย จำนวน 422 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2550 จำนวน 3 ล้านบาท
หรือร้อยละ 1 สาเหตุหลักจากต้นทุนขายของร้อยเอ็ด กรีน เพิ่มขึ้น 4 ล้านบาท เนื่องจากราคาเชื้อเพลิง
ที่เพิ่มขึ้น
ต้นทุนขายกลุ่มธุรกิจเอสพีพี: หน่วย : ล้านบาท
3M51 3M50 %เปลี่ยนแปลง
เอ็กโก โคเจน 387 388 (0.33%)
ร้อยเอ็ด กรีน 35 31 15%
รวมต้นทุนขาย-เอสพีพี 422 419 1%
- ค่าใช้จ่ายในการบริหารและภาษี จำนวน 9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
จำนวน 4 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 88 สาเหตุหลักเกิดจากการจ่ายค่าปรับให้แก่ กฟผ. จำนวน 5
ล้านบาท จากการที่เอ็กโก โคเจนไม่สามารถขายไอน้ำให้แก่ลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมได้ครบ
ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
- ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 20 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2550 จำนวน 4 ล้านบาท
หรือ ร้อยละ 15 สาเหตุหลักเกิดจากจำนวนเงินต้นที่ลดลงของ เอ็กโก โคเจน
- ส่วนแบ่งผลกำไรในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า คือ จีอีซี (ไม่รวม จีพีจี) เอพีบีพี
และ เออีพี จำนวนรวม 235 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 162 ล้านบาท หรือร้อยละ 224 เมื่อเปรียบเทียบกับ
ช่วงเวลาเดียวกันปี 2550 โดยส่วนใหญ่เป็นส่วนแบ่งกำไรจาก จีอีซี จำนวน 194 ล้านบาท (รวมกำไร
จากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 134 ล้านบาทแล้ว) เพิ่มขึ้น 132 ล้านบาท หรือร้อยละ 212 สาเหตุหลัก
เนื่องจากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ยังมีส่วนแบ่งผลกำไรจาก เอพีบีพีและเออีพี จำนวน 41 ล้านบาท (รวมกำไร
จากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 10 ล้านบาทแล้ว) เพิ่มขึ้น 31 ล้านบาท หรือร้อยละ 299 เมื่อเทียบกับ
ช่วงเวลาเดียวกันปี 2550 สาเหตุหลักมาจากรายได้ค่าไฟฟ้าที่ขายให้กับ กฟผ. เพิ่มขึ้น และ
ค่าบำรุงรักษาที่ลดลงของ เออีพี
4) กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าต่างประเทศ ประกอบด้วย โคแนล และ เอ็นทีพีซี มีส่วนแบ่งผล
ขาดทุนจากส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า จำนวน 237 ล้านบาท โดยขาดทุนเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกัน
ของปีก่อน จำนวน 168 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นส่วนแบ่งผลขาดทุนจาก เอ็นทีพีซี จำนวน 251
ล้านบาท (รวมขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 235 ล้านบาทแล้ว) ขาดทุนเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลา
เดียวกันของปีก่อน จำนวน 172 ล้านบาท หรือร้อยละ 218 สาเหตุหลักมาจากผลขาดทุนจากอัตรา
แลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น จำนวน 167 ล้านบาท ในขณะที่ส่วนแบ่งผลกำไรจาก โคแนล จำนวน 15 ล้านบาท
(รวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 4 ล้านบาทแล้ว) เพิ่มขึ้น 4 ล้านบาท หรือร้อยละ 39 จาก
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ภาษี และดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลง
5) กลุ่มธุรกิจอื่นๆ ประกอบด้วย 2 บริษัทย่อยคือ เอสโก และ เอ็กคอมธารา และกิจการร่วมค้า
1 แห่ง คือ อเมสโก มีรายได้รวมทั้งสิ้น 313 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2550 จำนวน
57 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 22 ค่าใช้จ่ายรวมจำนวน 215 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของ
ปีก่อน จำนวน 54 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 33 และส่วนแบ่งผลกำไรในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า
จำนวน 2.41 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.42 ล้านบาท หรือร้อยละ 144 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ
ปีก่อน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
รายได้ ค่าใช้จ่าย และส่วนแบ่งผลกำไร (ขาดทุน) จากกิจการร่วมค้า
ของกลุ่มธุรกิจอื่นๆ: หน่วย : ล้านบาท
เอสโก เอ็กคอมธารา รวม
3M51 3M50 3M51 3M50 3M51 3M50 %เปลี่ยนแปลง
รายได้รวม 254 199 60 57 313 256 22%
ค่าใช้จ่ายรวม 198 145 17 17 215 161 33%
กำไรก่อนส่วนแบ่งผลกำไร
(ขาดทุน) จากกิจการร่วมค้า 56 54 43 41 98 95 3%
ส่วนแบ่งผลกำไร (ขาดทุน)
จากกิจการร่วมค้า 2.41 1 - - 2.41 1 144%
กำไรสุทธิก่อน Fx ของ
บริษัทย่อย และ MI 58 55 43 41 101 96 5%
- รายได้ค่าบริการ ของเอสโก จำนวน 251 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2550
จำนวน 54 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 28 สาเหตุหลักจากรายได้การให้บริการบำรุงรักษาและรายได้จาก
การขายอุปกรณ์เครื่องจักรในการผลิตไฟฟ้าให้กับโรงไฟฟ้าต่างประเทศเพิ่มขึ้น
- รายได้ค่าน้ำ ของเอ็กคอมธารา จำนวน 57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2550
จำนวน 3 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 5 เนื่องจากปริมาณน้ำประปาขั้นต่ำ (Minimum Take)
และอัตราค่าน้ำที่เพิ่มขึ้นตามสัญญาระยะยาวกับการประปาส่วนภูมิภาค
- รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.18 ล้านบาท หรือ
คิดเป็นร้อยละ 4
- ต้นทุนบริการ จำนวน 169 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2550 จำนวน 60 ล้านบาท
หรือร้อยละ 55 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการให้บริการบำรุงรักษา ซึ่งสอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น
- ต้นทุนขายน้ำประปา จำนวน 16 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 1
ล้านบาท หรือ ร้อยละ 6 เนื่องจากค่าซ่อมบำรุงที่เกิดขึ้นในปีก่อน
- ค่าใช้จ่ายในการบริหารและภาษี จำนวน 29 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
จำนวน 5 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 15 สาเหตุหลักจากค่าใช้จ่ายในการบริหารและภาษีของเอสโกลดลง 6 ล้านบาท
- ส่วนแบ่งกำไรในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า ของเอสโก จำนวน 2.41 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.42
ล้านบาท จาก อเมสโก
4. รายงานและวิเคราะห์ฐานะการเงิน
4.1 การวิเคราะห์สินทรัพย์
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 บผฟ. บริษัทย่อยและส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า มีสินทรัพย์
รวมจำนวน 56,187 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,587 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2550
โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้
1) เงินสด เงินฝากสถาบันการเงิน เงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด
ทั้งระยะสั้นและระยะยาว จำนวน 6,875 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12 ของสินทรัพย์รวม
เพิ่มขึ้น 1,382 ล้านบาท หรือร้อยละ 25 สาเหตุหลักจาก เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น
1,319 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากเงินสดรับจากการดำเนินงาน 655 ล้านบาท และการได้รับเงินปันผล
จากกิจการร่วมค้า 875 ล้านบาท และเงินปันผลจากอีสท์ วอเตอร์ จำนวน 78 ล้านบาท ในขณะที่มี
การจ่ายชำระเงินต้นและดอกเบี้ยของเงินกู้ 125 ล้านบาท
2) เงินลงทุนระยะสั้นและระยะยาวที่ใช้เป็นหลักประกัน จำนวน 1,316 ล้านบาท คิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 2 ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น 401 ล้านบาท หรือร้อยละ 44 สาเหตุหลักจากการ
สำรองเงินไว้สำหรับการชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยที่ครบกำหนดชำระคืนของ บฟข.
3) เงินลงทุนในบริษัทย่อยและส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551
ส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า ซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสียตามงบการเงินรวม มีมูลค่าตามบัญชี
เท่ากับ 20,611 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37 ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น 378 ล้านบาท
หรือร้อยละ 2 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้แก่
3.1) มีการเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย จำนวน 2,127 ล้านบาท
3.2) ได้รับเงินปันผลจาก บีแอลซีพี จำนวน 1,667 ล้านบาท
3.3) มีการลงทุนในหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 10 ล้านบาท
3.4) กำไรจากการแปลงค่างบการเงินของบริษัทที่อยู่ในต่างประเทศ จำนวน 91 ล้านบาท
สำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อยและส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า ซึ่งบันทึกโดยใช้ราคาทุนเดิม
เป็นราคาเริ่มต้น ตามงบการเงินเฉพาะบริษัท มีมูลค่าตามบัญชี ณ 31 มีนาคม 2551 เท่ากับ 29,673
ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจาก บผฟ. มีการลงทุนเพิ่มในกิจการร่วมค้า ซึ่งได้แก่
เอ็นทีพีซี และบริษัท พัฒนาพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อม จำกัด
4) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (สุทธิ) จำนวน 18,111 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32
ของสินทรัพย์รวม ลดลงสุทธิทั้งสิ้น 527 ล้านบาท หรือร้อยละ 3 สินทรัพย์ที่ลดลงส่วนใหญ่มาจาก
การตัดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ บผฟ. และบริษัทย่อยอื่นๆ จำนวน 535 ล้านบาท และการโอน
วัสดุสำรองหลักที่ไม่ใช้งานออกไปยังวัสดุสำรองคลังของ บฟร. จำนวน 49 ล้านบาท ในขณะที่
มีการบันทึกวัสดุสำรองหลักเป็นสินทรัพย์เนื่องจากการซ่อมบำรุงรักษาของ บฟร. จำนวน 45
ล้านบาท และซื้อสุทธิของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 12 ล้านบาท
5) สินทรัพย์อื่นๆ จำนวน 9,274 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17 ของสินทรัพย์รวม
เพิ่มขึ้น 952 ล้านบาท หรือร้อยละ 11 สาเหตุหลักเนื่องจากเงินปันผลค้างรับจากกิจการร่วมค้าที่
เพิ่มขึ้น จำนวน 792 ล้านบาท รายได้ค้างรับของเอสโกที่เพิ่มขึ้น 82 ล้านบาท
4.2 การวิเคราะห์หนี้สิน
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 บริษัทมีหนี้สินรวม จำนวน 11,442 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปี 2550
จำนวน 163 ล้านบาท หรือร้อยละ 1 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1) เงินกู้ยืมระยะยาวและหุ้นกู้ จำนวน 9,091 ล้านบาท หรือร้อยละ 79 ของหนี้สินรวม
ลดลง 146 ล้านบาท หรือร้อยละ 2 สาเหตุหลักเกิดจากการชำระหนี้เงินกู้ของ เอ็กโก โคเจน และ
ร้อยเอ็ด กรีน จำนวน 90 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดเป็นเงินตราสกุลต่างๆ ดังนี้
- เงินกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐ จำนวน 39 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- เงินกู้สกุลเยน จำนวน 823 ล้านเยน
- เงินกู้สกุลบาท จำนวน 4,677 ล้านบาท
- หุ้นกู้สกุลบาท จำนวน 2,957 ล้านบาท
กำหนดชำระคืนเงินกู้ระยะยาวและหุ้นกู้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 หน่วย : ล้านบาท
กำหนดชำระคืน บผฟ. บฟข. เอ็กโก โคเจน ร้อยเอ็ด กรีน
ภายใน 1 ปี - 1,349 150 32
1-5 ปี - 2,227 986 128
เกินกว่า 5 ปี 4,000 - 121 99
รวม 4,000 3,576 1,256 259
ทั้งนี้เงินกู้ยืมระยะยาวและหุ้นกู้ค้ำประกันโดยการจำนองที่ดิน อาคาร โรงไฟฟ้า
และเครื่องจักร และได้กันเงินสำรองเพื่อการชำระคืนเงินต้นและจ่ายดอกเบี้ยที่จะครบกำหนด
ชำระคืนภายใน 1 ปี และเพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
2) หนี้สินอื่นๆ จำนวน 2,351 ล้านบาท หรือร้อยละ 21 ของหนี้สินรวม ลดลง 16 ล้านบาท
หรือร้อยละ 1 สาเหตุหลักเนื่องจากเจ้าหนี้การค้าลดลง 281 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเอ็กโก โคเจน
และ บฟข. ในขณะที่หนี้สินสุทธิในกิจการร่วมค้าเพิ่มขึ้น 181 ล้านบาท เนื่องจากการรับรู้ส่วนแบ่ง
ขาดทุนจากเอ็นทีพีซี ภาษีเงินได้ค้างจ่ายเพิ่มขึ้น 112 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจาก บฟร. และ บฟข.
4.3 การวิเคราะห์ส่วนของผู้ถือหุ้น
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 ส่วนของผู้ถือหุ้น มีจำนวน 44,745 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี
2550 จำนวน 2,750 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7 เนื่องจากปัจจัยหลักคือ กำไรสุทธิจากผลการ
ดำเนินงานตามงบการเงินรวม จำนวน 2,817 ล้านบาท
จากการวิเคราะห์โครงสร้างของเงินทุน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2551 สรุปได้ดังนี้
ส่วนของผู้ถือหุ้น จำนวน 44,745 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 79.64
หนี้สิน จำนวน 11,442 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20.36
สามารถคำนวณหา อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ ได้ดังนี้
- อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เท่ากับ 0.26 เท่า ต่ำกว่าสิ้นปี 2550 ซึ่งเท่ากับ 0.28 เท่า
- มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์สุทธิต่อหุ้น เท่ากับ 83.93 บาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2550
ซึ่งอยู่ที่ระดับ 78.78 บาท
5. รายงานการวิเคราะห์กระแสเงินสด
งบกระแสเงินสดแสดงกระแสเงินสดที่เปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน
และกิจกรรมจัดหาเงิน ณ สิ้นงวดบัญชี และแสดงเงินสดและรายการเทียบเท่าคงเหลือสิ้นงวด ณ วันที่
31 มีนาคม 2551 เงินสดและรายการเทียบเท่าคงเหลือ มีจำนวน 5,069 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2550
ทั้งสิ้น 1,319 ล้านบาท ซึ่งมีรายละเอียดของแหล่งที่มาและแหล่งที่ใช้ไปของเงินดังต่อไปนี้
- เงินสดสุทธิที่ได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน จำนวน 655 ล้านบาท มาจากเงินสดที่ได้มาจาก
การดำเนินงาน 1,732 ล้านบาท และเงินสดใช้ไปสำหรับเงินทุนหมุนเวียน 1,077 ล้านบาท
- เงินสดสุทธิที่ได้มาจากกิจกรรมลงทุน จำนวน 792 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากการได้รับ
เงินปันผลจากกิจการร่วมค้า 875 ล้านบาท และเงินปันผลรับจากอีส วอเตอร์ จำนวน 78 ล้านบาท
ในขณะที่มีการลงทุนในเงินฝากสถาบันการเงิน จำนวน 138 ล้านบาท
- เงินสดสุทธิที่ใช้ไปสำหรับกิจกรรมจัดหาเงิน จำนวน 128 ล้านบาท เกิดจากการชำระคืน
เงินกู้ เอ็กโก โคเจน และ ร้อยเอ็ด กรีน รวมทั้งสิ้น 90 ล้านบาท และการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้จำนวน 35 ล้านบาท
ในงวด 3 เดือน ปี 2551 บผฟ. มีอัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) ที่สำคัญ ดังนี้
- อัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) อยู่ที่ 5.60 เท่า เทียบกับปี 2550 ซึ่งเท่ากับ 4.22 เท่า
- อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (Quick Ratio) อยู่ที่ 3.13 เท่า เทียบกับปี 2550 ซึ่งเท่ากับ 2.26 เท่า
สาเหตุที่อัตราส่วนทั้งสองของปี 2551 สูงกว่าปี 2550 เป็นผลมาจากเงินสดและรายการเทียบเท่า
เงินสดเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่มาจากการได้รับเงินปันผลจากกิจการร่วมค้า และเงินลงทุนระยะสั้นที่ใช้เป็น
หลักประกันของ บฟข. เพิ่มขึ้น