20 February 2009
บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร ปี 2551
บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร
สำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2551
สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551
หมายเหตุ: บทรายงานและการวิเคราะห์งบการเงินฉบับนี้ ฝ่ายบริหารได้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอ
ข้อมูลและแสดงวิสัยทัศน์ของฝ่ายบริหารให้ผู้ลงทุนทั่วไปสามารถติดตามและทำความเข้าใจฐานะ
การเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทได้ดีขึ้น อันเป็นการส่งเสริมโครงการการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
อนึ่งเนื่องจากบทรายงานและการวิเคราะห์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอข้อมูล
และคำอธิบายถึงสถานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งที่นำเสนอนี้
อาจเปลี่ยนแปลงตามปัจจัยหรือสภาวะแวดล้อมที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ฉะนั้นจึงใคร่ขอให้นัก
ลงทุนใช้วิจารณญาณในการพิจารณาใช้ประโยชน์จากเอกสารข้อมูลนี้ และหากมีคำถามหรือข้อสงสัย
ประการใดกรุณาติดต่อสอบถามได้ที่ ส่วนนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) โทร.
02-998-5145-7 หรือ email : ir@egco.com
บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร
1. บทสรุปผู้บริหาร
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก ดำเนินธุรกิจในรูปบริษัทโฮลดิ้ง ที่มี
การลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้าต่างๆ รวม 15 แห่ง ซึ่ง
สามารถจัดประเภทการลงทุนได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1. ธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี) ได้แก่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า
ระยอง จำกัด (บฟร.) บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด (บฟข.) บริษัท บีแอลซีพี
เพาเวอร์ จำกัด (บีแอลซีพี) และ บริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด (จีพีจี)
2. ธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (เอสพีพี) ได้แก่ บริษัท กัลฟ์อิเล็คตริก
จำกัด (มหาชน) (จีอีซี) (ไม่รวม จีพีจี) บริษัท เอ็กโก โคเจนเนอเรชั่น จำกัด (เอ็กโก
โคเจน) บริษัท ร้อยเอ็ด กรีน จำกัด (ร้อยเอ็ด กรีน) บริษัท อมตะ-เอ็กโก เพาเวอร์
จำกัด (เออีพี) และ บริษัท อมตะ เพาเวอร์ (บางปะกง) จำกัด (เอพีบีพี)
3. ธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าต่างประเทศ ได้แก่ บริษัท โคแนล โฮลดิ้ง คอร์ปอเรชั่น (โคแนล)
บริษัท โรงไฟฟ้าน้ำเทิน 2 (เอ็นทีพีซี) และ บริษัท Quezon
Power (Philippines) Limited Co. (เควซอน)
4. ธุรกิจอื่นๆ ได้แก่ บริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด
(เอสโก) บริษัท เอ็กคอมธารา จำกัด (เอ็กคอมธารา) และ บริษัท อมตะ เพาเวอร์-
เอสโก เซอร์วิส จำกัด (อเมสโก)
โดยรวมแล้วกลุ่มเอ็กโก (อันหมายถึง เอ็กโก บริษัทย่อย บริษัทร่วม และส่วนได้เสีย
ในกิจการร่วมค้า)/1 มีโรงไฟฟ้าจำนวน 13 โรง คิดเป็นกำลังผลิตติดตั้งตามสัดส่วนการถือ
หุ้นรวมจำนวน 3,967.6 เมกะวัตต์ และในปี 2551 ได้มีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นซึ่งทำให้
มีรายได้เพิ่มขึ้นและส่วนแบ่งการตลาด (เมกะวัตต์) เปลี่ยนแปลง ดังนี้
- โรงไฟฟ้าชนิดพลังความร้อนร่วมของ จีพีจี โครงการแก่งคอย 2 โรงที่ 2 กำลัง
ผลิตติดตั้ง 755 เมกะวัตต์ ได้เริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์
2551
/1 บริษัทย่อย ได้แก่ บฟร. บฟข. เอ็กโก โคเจน ร้อยเอ็ด กรีน เอสโก และ เอ็กคอมธารา
บริษัทร่วม ได้แก่ เออีพี
ส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า ได้แก่ บีแอลซีพี จีพีจี เอพีบีพี จีอีซี (ไม่รวม จีพีจี) โคแนล เอ็นทีพีซี
เควซอน และ อเมสโก
- การขายหุ้นของ เออีพี เอพีบีพี และอเมสโก ให้กับบริษัท อมตะ เพาเวอร์ จำกัด
(อมตะ เพาเวอร์) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2551
- การซื้อหุ้นของ เควซอน ในสัดส่วนร้อยละ 23.4 ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินกำลัง
ผลิตติดตั้ง 502.50 เมกะวัตต์ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2551
เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าในระบบได้ปรับตัวลดลงสืบเนื่องมาจาก
สภาวะทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ฐานะทาง
การเงินและผลการดำเนินงานในอนาคตของกลุ่มเอ็กโก ดังนั้นกลุ่มเอ็กโกจึงได้ปรับกลยุทธ์
ในการขยายการลงทุนไปยัง (1)โรงไฟฟ้าในกลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้น
(2)โครงการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิง และ (3)โครงการภายในประเทศไทยที่ใช้พลังงาน
หมุนเวียนเป็นเชื้อเพลิง เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดในฐานะบริษัทชั้นนำทางด้านพลังงาน
และเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มเอ็กโก
ผลการดำเนินงานของกลุ่มเอ็กโก ประจำปี 2551 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม
2551 มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 6,927 ล้านบาท ลดลง 1,475 ล้านบาท หรือร้อยละ 18 เมื่อเทียบ
กับปี 2550 และหากไม่คำนึงถึงผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนของกลุ่มเอ็กโก เนื่องจาก
การอ่อนตัวของค่าเงินบาท ซึ่งเป็นเพียงตัวเลขทางบัญชี ที่แสดงเพื่อให้เป็นไปตาม
มาตรฐานการบัญชีไทย ในปี 2551 กลุ่มเอ็กโกจะมีกำไรจำนวน 7,491 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
99 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.34 โดยสาเหตุหลักเนื่องจาก จีพีจี ได้รับรู้ผลการดำเนินงาน
ของโครงการแก่งคอย 2 โรงที่ 2 ที่เริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551
ในขณะที่ บฟข. มีกำไรลดลงจากรายได้ค่าไฟฟ้าที่ลดลงจากอัตราค่าไฟซึ่งเป็นไปตาม
สัญญาซื้อขายไฟฟ้า
2. การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติตามแผนการดำเนินธุรกิจ
เอ็กโกเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่แห่งแรกของประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นเมื่อ
วันที่ 12 พฤษภาคม 2535 ในลักษณะบริษัทโฮลดิ้ง ที่มีการลงทุนในบริษัทย่อย บริษัท
ร่วม และกิจการร่วมค้าต่างๆ เอ็กโกดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า ?เป็นบริษัทไทยชั้น
นำที่ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าครบวงจรและครอบคลุมถึงธุรกิจการให้บริการด้านพลังงาน
ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนด้วยความมุ่งมั่นที่จะธำรงไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมและ
การพัฒนาสังคม?
เอ็กโกดำเนินธุรกิจหลักในการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้า
ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว และหาโอกาส
ในการลงทุนในธุรกิจพลังงานทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยมีเป้าหมายใน
การหาผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยการบริหารจัดการโครงการที่มีอยู่
ปัจจุบัน ตลอดจนการสรรหาโครงการที่มีคุณภาพและให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต และ
อยู่ในระดับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ คือต้องไม่ต่ำกว่าต้นทุนของเงินทุน
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2551 ประเทศไทยมีกำลังผลิตติดตั้งรวมจำนวน
29,891.65 เมกะวัตต์/2 และความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในเดือนเมษายน
2551 ที่ 22,568 เมกะวัตต์/2 ซึ่งต่ำกว่าความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือน
เมษายนของปี 2550 คิดเป็นร้อยละ 0.08
/2 ที่มา: กฟผ.
ในปี 2551 ความต้องการใช้ไฟฟ้าในระบบได้ปรับตัวลดลงสืบเนื่องมาจาก
สภาวะทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้ กฟผ.เลื่อนแผนการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ
ออกไป 1 ปี ทั้งในส่วนของผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ 3 โรงไฟฟ้าที่ชนะการประมูลไอพีพี
ในปี 2550 โรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินและนิวเคลียร์ ตลอดจนการเลื่อนซื้อไฟฟ้าจากประเทศ
เพื่อนบ้าน ในขณะเดียวกัน กระทรวงพลังงานกำลังอยู่ในระหว่างการปรับแผนที่จะรับ
ซื้อไฟฟ้าจากเอสพีพีเพิ่มเติม เพื่อเป็นการกระตุ้นการลงทุนในภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง
หลังจากที่มีการเลื่อนแผนการจ่ายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ออกไป ขณะนี้กำลังอยู่
ในระหว่างการปรับปรุงแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า หรือ พีดีพี ปี 2550
สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจ กลุ่มเอ็กโกได้ปรับกลยุทธ์ในการขยายการ
ลงทุนไปยังโรงไฟฟ้าในกลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้น ตลอดจนลงทุนในโครงการที่
เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิง และโครงการอื่นๆภายในประเทศไทยที่ใช้พลังงานหมุนเวียนเป็น
เชื้อเพลิง เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดในฐานะบริษัทชั้นนำทางด้านพลังงาน และเสริมสร้าง
ความแข็งแกร่งของฐานะการเงินและผลการดำเนินงานให้กับกลุ่มเอ็กโก อย่างต่อเนื่อง
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 กลุ่มเอ็กโก มีโรงไฟฟ้าทั้งหมด 13 โรง/3 ซึ่งคิดเป็น
กำลังผลิตติดตั้งตามสัดส่วนการถือหุ้นรวมจำนวน 3,967.6 เมกะวัตต์ หรือร้อยละ
13.27 ของกำลังผลิตติดตั้งรวมของประเทศไทย ในจำนวนนี้เป็นการจำหน่าย
กระแสไฟฟ้าให้กับ กฟผ. ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าจำนวน 3,589.5 เมกะวัตต์ โดย
กำลังการผลิตติดตั้งส่วนใหญ่มาจากโรงไฟฟ้าของ บฟร. กำลังผลิตติดตั้ง 1,232 เมกะวัตต์
และโรงไฟฟ้าของ บฟข. กำลังผลิตติดตั้ง 824 เมกะวัตต์ ซึ่งโรงไฟฟ้าทั้งสองโรง
ดังกล่าวใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก และมีกำลังการผลิตติดตั้งคิดเป็นสัดส่วน
ร้อยละ 51.82 ของกำลังผลิตติดตั้งรวมของกลุ่มเอ็กโก
/3 เอ็กโก ได้ขายหุ้นของโรงไฟฟ้า 2 โรง คือ เออีพี และ เอพีบีพี กำลังการผลิตรวม
41.3 เมกะวัตต์ ให้แก่ อมตะ เพาเวอร์ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2551
นอกจากนี้กลุ่มเอ็กโก มีกำลังการผลิตติดตั้งจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินบีแอลซีพี
กำลังการผลิตรวม 1,434 เมกะวัตต์ ในสัดส่วนร้อยละ 50 หรือ จำนวน 717 เมกะวัตต์
โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.07 ของกำลังการผลิตติดตั้งรวมของกลุ่มเอ็กโก
โครงการดังกล่าวตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยใช้ถ่านหิน
คุณภาพดีนำเข้ามาจากประเทศออสเตรเลียเป็นเชื้อเพลิง
อีกทั้งกลุ่มเอ็กโก ยังมีกำลังการผลิตติดตั้งจากโครงการแก่งคอย 2 ซึ่งมีกำลัง
การผลิตรวม 1,510 เมกะวัตต์ ในสัดส่วนร้อยละ 50 (เอ็กโก ถือหุ้นร้อยละ 50 ใน จีอีซี
ซึ่งถือหุ้นในบริษัทที่ดูแลโครงการคือ จีพีจี ร้อยละ 99.99) หรือ 755 เมกะวัตต์ โดยคิด
เป็นสัดส่วนร้อยละ 19.03 ของกำลังการผลิตติดตั้งรวมของ เอ็กโก โครงการดังกล่าว
ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระบุรี ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมจำนวน 2 ชุด (โรงที่ 1
และโรงที่ 2) มีกำลังการผลิตติดตั้งชุดละ 755 เมกะวัตต์ ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง
หลัก สำหรับโครงการแก่งคอย 2 โรงที่ 1 ได้เริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 5
พฤษภาคม 2550 และโรงที่ 2 ได้เริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551
และเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2551 บริษัท เอ็กโก อินเตอร์เนชั่นแนล บี.วี.ไอ.
จำกัด (เอ็กโก บีวีไอ) ซึ่งเป็นบริษัทที่เอ็กโกถือหุ้นร้อยละร้อย ได้ซื้อหุ้นของ GPI Quezon
Ltd. (GPIQ) ในสัดส่วนร้อยละ 90 ของหุ้นทั้งหมด ทำให้ เอ็กโก บีวีไอ เป็นผู้ถือหุ้นโดย
อ้อมของ เควซอน ซึ่งเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าถ่านหินกำลังผลิตติดตั้ง 502.50 เมกะวัตต์
และระบบส่งที่เกี่ยวข้องในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ในสัดส่วนร้อยละ 23.4 ซึ่งคิดเป็นกำลัง
ผลิต 117.60 เมกะวัตต์
ในขณะเดียวกัน เอ็กโก ยังถือหุ้นในโครงการน้ำเทิน 2 ซึ่งอยู่ในระหว่างการ
ก่อสร้าง คิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งในส่วนการถือหุ้นของ เอ็กโก จำนวนรวม 271.70
เมกะวัตต์ โดยโครงการน้ำเทิน 2 (เอ็กโก ถือหุ้นร้อยละ 25 ในเอ็นทีพีซี ซึ่งเป็นเจ้าของ
โครงการ) ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
มีกำลังผลิตติดตั้ง 1,086.80 เมกะวัตต์ และกำหนดจำหน่ายกระแสไฟฟ้าได้ใน
เดือนธันวาคม ปี 2552 โดยมีสัญญาขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. จำนวน 995 เมกะวัตต์ และ
ขายไฟฟ้าส่วนที่เหลือให้กับรัฐบาลลาว ความคืบหน้าในการก่อสร้างโครงการ ณ สิ้น
เดือนธันวาคม 2551 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 95.1
ในส่วนนโยบายการจ่ายเงินปันผลนั้น บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น
ในอัตราร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิงบการเงินรวมหลังหักภาษีเงินได้ หรือ ในจำนวน
ที่ทยอยเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ หากไม่มีเหตุจำเป็นอื่นใด เช่น การขยายธุรกิจของบริษัท
ในโครงการต่าง ๆ ในอนาคต หรือการจ่ายเงินปันผลที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน
ปกติของบริษัทอย่างมีสาระสำคัญโดยการจ่ายเงินปันผลต้องไม่เกินกว่ากำไรสะสม
ของงบการเงินเฉพาะกิจการ
เอ็กโกได้จ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานครึ่งปีแรกของปี 2551 ใน
อัตราหุ้นละ 2.50 บาท
3. รายงานและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
ฝ่ายบริหารขอแสดงรายงานวิเคราะห์งบการเงินรวมของ เอ็กโก บริษัทย่อย บริษัทร่วม
และ ส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า เพื่อให้เห็นถึงภาพรวมที่ชัดเจนของผลการดำเนินงาน
ดังต่อไปนี้
3.1 สรุปผลการดำเนินงาน
หน่วย : ล้านบาท
กำไรปี 2551 กำไรปี 2550
ก่อน FX หลัง FX ก่อน FX หลัง FX
เอ็กโก (598) (565) (393) (393)
ธุรกิจไอพีพี 7,195 6,707 6,965 7,795
ธุรกิจเอสพีพี 599 452 564 947
ธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าต่างประเทศ 21 57 1.32 (197)
ธุรกิจอื่นๆ 274 275 255 250
รวม 7,491 6,927 7,392 8,402
หมายเหตุ:- กำไรก่อน FX ได้แยกผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของ เอ็กโก บริษัทย่อย
และกิจการร่วมค้าออก
- ไอพีพี ประกอบด้วย บฟร. บฟข. บีแอลซีพี จีพีจี
- เอสพีพี ประกอบด้วย จีอีซี (ไม่รวม จีพีจี) เออีพี เอพีบีพี เอ็กโก โคเจน ร้อยเอ็ด กรีน
- ต่างประเทศ ประกอบด้วย โคแนล เอ็นทีพีซี เควซอน
- อื่นๆ ประกอบด้วย เอสโก เอ็กคอมธารา อเมสโก
ผลการดำเนินงานของกลุ่มเอ็กโก ประจำปี 2551 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม
2551 จะมีกำไรก่อนผลกระทบอัตราแลกเปลี่ยนของกลุ่มเอ็กโก จำนวน 7,491 ล้านบาท
เพิ่มขึ้น 99 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.34 เมื่อเทียบกับปี 2550 โดยสาเหตุหลักเนื่องจาก จีพีจี
ได้รับรู้ส่วนแบ่งผลกำไรที่เพิ่มขึ้นจากผลการดำเนินงานของโครงการแก่งคอย 2 โรงที่ 2 ที่
เริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551 มากกว่ากำไรที่ลดลงของ บฟข.
จากรายได้ค่าไฟฟ้าที่ลดลงจากอัตราค่าไฟซึ่งเป็นไปตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
หากคำนึงถึงผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการอ่อนตัวของค่าเงินบาท
กำไรของกลุ่มเอ็กโก ประจำปี 2551 จะเป็นจำนวน 6,927 ล้านบาท ลดลง 1,475 ล้านบาท
หรือ ร้อยละ 18 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 เนื่องจากกลุ่มเอ็กโกมีขาดทุนจากอัตรา
แลกเปลี่ยนในปี 2551 จำนวน 564 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2550 มีกำไรจากอัตรา
แลกเปลี่ยนจำนวน 1,011 ล้านบาท ซึ่งก่อให้เกิดความแตกต่างที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยน
ของปี 2550 กับปี 2551 จำนวน 1,575 ล้านบาท ทั้งนี้กำไร (ขาดทุน) จากอัตรา
แลกเปลี่ยนส่วนใหญ่เป็นตัวเลขทางบัญชี เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีไทยซึ่ง
เกิดขึ้นจากผลต่างของการแปลงมูลค่าหนี้คงค้างสุทธิเฉพาะที่เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศ
กลับมาเป็นเงินตราสกุลบาท ณ วันสิ้นสุดงวดของบัญชีปัจจุบัน (วันที่ 31 ธันวาคม 2551)
กับงวดก่อนหน้านี้ (วันที่ 31 ธันวาคม 2550)
โดยขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนในปี 2551 จำนวน 564 ล้านบาท แบ่งเป็น
- ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนของเอ็กโก และบริษัทย่อย จำนวน 25 ล้านบาท
ขาดทุนเพิ่มขึ้น 146 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ซึ่งมีกำไรจากอัตรา
แลกเปลี่ยน จำนวน 121 ล้านบาท
- ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนของกิจการร่วมค้า จำนวน 539 ล้านบาท ขาดทุน
เพิ่มขึ้น 1,428 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 ซึ่งมีกำไรจากอัตรา
แลกเปลี่ยน จำนวน 890 ล้านบาท
กำไร (ขาดทุน) จาก FX ของกิจการร่วมค้า: หน่วย : ล้านบาท
2551 2550
บีแอลซีพี (231) 591
จีพีจี (287) 170
จีอีซี (ไม่รวมจีพีจี) (61) 316
เอพีบีพีและเอพีบี 6 11
โคแนล 53 11
เอ็นทีพีซี (8) (210)
เควซอน (10) -
รวมกำไร (ขาดทุน) จาก FX (539) 890
กำไรขั้นต้นของเอ็กโกและบริษัทย่อย จำนวน 4,430 ล้านบาท ลดลง 799 ล้านบาท
หรือร้อยละ 15 สาเหตุหลักจากรายได้ค่าไฟฟ้าของ บฟข. ที่ลดลงจากอัตราค่าไฟซึ่งเป็นไป
ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และต้นทุนขายของ เอ็กโก โคเจน ที่เพิ่มขึ้นจากการซ่อมบำรุง
ตามแผน
กำไรจากการดำเนินงานของเอ็กโกและบริษัทย่อย จำนวน 3,735 ล้านบาท ลดลง
1,223 ล้านบาท หรือร้อยละ 25 โดยสาเหตุหลักเพิ่มเติมเกิดจากที่มีกำไรจากการขาย
กองทุนเปิดของเอ็กโกในปี 2550 แต่ไม่มีกำไรดังกล่าวในปี 2551
นอกจากนี้หากไม่คำนึงถึงขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 564 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายทางการเงินจำนวน 2,618 ล้านบาท ภาษีเงินได้จำนวน 913 ล้านบาท และค่า
เสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่างๆ จำนวน 4,410 ล้านบาท กำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายทาง
การเงิน ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่างๆ (EBITDA) ของกลุ่มเอ็กโก ปี 2551
จะเป็นจำนวน 15,432 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 479 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับ
EBITDA ของกลุ่มเอ็กโก ปี 2550 จำนวน 14,953 ล้านบาท ซึ่งไม่รวมผลกำไรจากอัตรา
แลกเปลี่ยนของกลุ่มเอ็กโก จำนวน 1,011 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายทางการเงินจำนวน 2,663
ล้านบาท ภาษีเงินได้จำนวน 753 ล้านบาท และค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่างๆ
จำนวน 4,146 ล้านบาท
อัตราส่วนแสดงความสามารถในการหากำไร (Profitability Ratio) มีดังนี้
- อัตรากำไรขั้นต้นเท่ากับร้อยละ 42.93
- อัตรากำไรจากการดำเนินงานเท่ากับร้อยละ 36.19
- อัตรากำไรสุทธิเท่ากับร้อยละ 45.22
- อัตรากำไรสุทธิ (ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของ เอ็กโก และบริษัท
ย่อย) เท่ากับร้อยละ 45.39
- กำไรสุทธิ ต่อหุ้น เท่ากับ 13.16 บาท
- กำไรสุทธิ (ที่ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของ เอ็กโกและบริษัทย่อย)
ต่อหุ้นเท่ากับ 13.21 บาท
- อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นเท่ากับร้อยละ 16.01
อัตรากำไรขั้นต้น เท่ากับร้อยละ 42.93 นั้นต่ำกว่าปี 2550 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 47.80
เนื่องจากกำไรขั้นต้นของ บฟข. ลดลง สาเหตุหลักจากรายได้ค่าไฟฟ้าที่ลดลง และอัตรา
กำไรสุทธิ (ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของ เอ็กโก และบริษัทย่อย) เท่ากับร้อยละ
45.39 ต่ำกว่าปี 2550 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 49.75 สาเหตุหลักจากส่วนแบ่งกำไรในส่วนได้เสีย
จากกิจการร่วมค้าของ บีแอลซีพี ที่ลดลง
3.2 การวิเคราะห์รายได้ ค่าใช้จ่าย และส่วนแบ่งผลกำไรในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า
ผลการดำเนินงานปี 2551 ที่ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของกลุ่มเอ็กโก
(FX) และกำไรสุทธิของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (MI) เป็นดังนี้
- รายได้รวมของ เอ็กโก และบริษัทย่อย จำนวน 10,712 ล้านบาท ลดลงจากปี
ก่อน จำนวน 882 ล้านบาท หรือร้อยละ 8
- ค่าใช้จ่ายรวมของ เอ็กโก และบริษัทย่อย จำนวน 8,293 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี
ก่อน จำนวน 63 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 1
- ส่วนแบ่งผลกำไรในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า จำนวน 5,157 ล้านบาท
เพิ่มขึ้น จำนวน 995 ล้านบาท หรือร้อยละ 24 เมื่อเทียบกับปี 2550
โดยมีรายละเอียดแบ่งตามกลุ่มธุรกิจดังต่อไปนี้
รายได้รวม ค่าใช้จ่ายรวม และส่วนแบ่งผลกำไร (ขาดทุน) จากกิจการร่วมค้า หน่วย : ล้านบาท
เอ็กโก ไอพีพี เอสพีพี
2551 2550 2551 2550 2551 2550
รายได้รวม 249 498 7,195 7,910 2,234 2,186
ค่าใช้จ่ายรวม 847 891 4,767 4,813 1,961 1,822
กำไรก่อนส่วนแบ่งผลกำไร
(ขาดทุน)จากกิจการร่วมค้า (598) (393) 2,428 3,097 273 364
ส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน)
จากกิจการร่วมค้า - - 4,767 3,868 365 290
กำไรสุทธิก่อน FX และ MI (598) (393) 7,195 6,965 638 654
ต่างประเทศ อื่นๆ รวม
2551 2550 2551 2550 2551 2550
รายได้รวม - - 1,034 1,000 10,712 11,594
ค่าใช้จ่ายรวม - - 717 703 8,293 8,230
กำไรก่อนส่วนแบ่งผลกำไร
(ขาดทุน)จากกิจการร่วมค้า - - 317 297 2,419 3,364
ส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน)
จากกิจการร่วมค้า 21 1.32 3.68 2.29 5,157 4,162
กำไรสุทธิก่อน FX และ MI 21 1.32 320 300 7,576 7,526
1) เอ็กโก มีรายได้รวมในปี 2551 จำนวน 249 ล้านบาท ลดลงจากปี 2550 ทั้งสิ้น
248 ล้านบาท หรือร้อยละ 50 สาเหตุหลักมาจากรายได้อื่นๆ จำนวน 61 ล้านบาท ลดลง
240 ล้านบาท หรือร้อยละ 80 เนื่องจากมีกำไรจากการขายกองทุนเปิดในปี 2550 ในขณะที่
ไม่มีกำไรดังกล่าวในปี 2551 ประกอบกับในปี 2551 เงินปันผลรับจากการลงทุนทาง
การเงิน ลดลง 56 ล้านบาท หรือร้อยละ 42 เนื่องจากคงเหลือเงินปันผลรับจาก บริษัท
จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์ วอเตอร์ เพียง
แห่งเดียว จำนวน 78 ล้านบาท ในขณะที่ดอกเบี้ยรับจำนวน 110 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 47
ล้านบาท หรือร้อยละ 75 เนื่องจากจำนวนเงินฝากที่เพิ่มขึ้น
ค่าใช้จ่ายรวมของ เอ็กโก จำนวนทั้งสิ้น 847 ล้านบาท ลดลง 44 ล้านบาท หรือร้อยละ
5 เมื่อเทียบกับปี 2550 สาเหตุหลักมาจากค่าโฆษณาที่ลดลง และค่าใช้จ่ายพัฒนาโครงการ
ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ค่าที่ปรึกษาที่ลดลง
2) ธุรกิจไอพีพี มีรายได้รวมทั้งสิ้น 7,195 ล้านบาท ลดลง 715 ล้านบาท คิดเป็น
ร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับปี 2550 ค่าใช้จ่ายรวมจำนวน 4,767 ล้านบาท ลดลง 46 ล้านบาท
หรือร้อยละ 1 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และส่วนแบ่งผลกำไรในส่วนได้เสียใน
กิจการร่วมค้า จำนวน 4,767 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 899 ล้านบาท หรือร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับ
ปี 2550 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
รายได้ ค่าใช้จ่าย และส่วนแบ่งผลกำไร (ขาดทุน) จากกิจการร่วมค้าของธุรกิจไอพีพี:หน่วย : ล้านบาท
บฟร. บฟข. บีแอลซีพี
2551 2550 2551 2550 2551 2550
รายได้รวม 3,952 3,600 3,243 4,311 - -
ค่าใช้จ่ายรวม 2,448 2,183 2,319 2,630 - -
กำไรก่อนส่วนแบ่งผลกำไร
(ขาดทุน)จากกิจการร่วมค้า 1,505 1,416 923 1,681 - -
ส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน)
จากกิจการร่วมค้า - - - - 3,200 3,315
กำไรสุทธิก่อน FX และ MI 1,505 1,416 923 1,681 3,200 3,315
จีพีจี รวม
2551 2550 2551 2550 %เปลี่ยนแปลง
รายได้รวม - - 7,195 7,910 (9%)
ค่าใช้จ่ายรวม - - 4,767 4,813 (1%)
กำไรก่อนส่วนแบ่งผลกำไร
(ขาดทุน)จากกิจการร่วมค้า - - 2,428 3,097 (22%)
ส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน)
จากกิจการร่วมค้า 1,567 553 4,767 3,868 23%
กำไรสุทธิก่อน FX และ MI 1,567 553 7,195 6,965 3%
* รายได้ค่าไฟฟ้าของธุรกิจไอพีพี จำนวน 7,105 ล้านบาท ลดลงจากปี 2550
จำนวน 704 ล้านบาท หรือร้อยละ 9 เนื่องจากรายได้ค่าไฟฟ้าของ บฟข. จำนวน 3,211
ล้านบาท ลดลง 1,024 ล้านบาท สาเหตุหลักจากอัตราค่าไฟฟ้า (Base Availability
Credit) ที่ลดลง ในขณะที่รายได้ค่าไฟฟ้าของ บฟร. จำนวน 3,894 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 320
ล้านบาท เนื่องจากอัตราค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น (Capacity Rate) ทั้งนี้เป็นไปตามที่กำหนดไว้
ในสูตรค่าพลังไฟฟ้า ในลักษณะต้นทุนบวกกำไรส่วนเพิ่ม (Cost Plus) ที่ให้แก่
ผู้ประกอบการภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) และเป็นไปตามที่ได้ประมาณการไว้แล้ว
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 บฟร. ได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนรายได้ล่วงหน้ากับ
สถาบันการเงินแห่งหนึ่ง เพื่อลดความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และ ณ
วันที่ 31 ธันวาคม 2551 รายได้ค่าไฟฟ้าตามสัญญาอัตราแลกเปลี่ยนรายได้ล่วงหน้า
จำนวน 24.29 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ตามสัญญาเท่ากับ 33.80 บาท
ต่อดอลลาร์สหรัฐ สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 ถึงวันที่ 5
มกราคม 2553
รายได้ค่าไฟฟ้าธุรกิจไอพีพี: หน่วย : ล้านบาท
2551 2550 %เปลี่ยนแปลง
บฟร. 3,894 3,574 9%
บฟข. 3,211 4,235 (24%)
รวมรายได้ค่าไฟฟ้า-ไอพีพี 7,105 7,809 (9%)
สัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าในแต่ละปีเพื่อให้ครอบคลุม
ค่าใช้จ่ายคงที่ คือ ค่าชำระหนี้และค่าบำรุงรักษาหลัก ซึ่งจะใช้อัตราดังกล่าวตามที่ได้ตกลง
ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในการคำนวณค่าไฟฟ้าในแต่ละงวด นอกจากนั้น ในการคำนวณ
รายได้ค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า ได้รับการปรับเพื่อชดเชยผลกระทบที่เกิดจากอัตรา
แลกเปลี่ยน สำหรับภาระค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมเงินและค่าอะไหล่ที่ใช้ในการบำรุงรักษาหลัก
ที่เป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง บฟร. และ บฟข. จะได้รับการชดเชยทุกเดือนตามงวดกำหนด
ชำระค่าไฟฟ้า โดยจะได้รับค่าพลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จากที่เคยกำหนดไว้ในสัญญาซื้อขาย
ไฟฟ้าก่อนการเพิ่มเติมเงื่อนไขการปรับตามอัตราแลกเปลี่ยนเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนสูงกว่า
ระดับ 28 บาท ต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ และได้รับค่าพลังไฟฟ้าลดลงเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนต่ำ
กว่าระดับ 28 บาท ต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ในปี 2551 รายได้ค่าไฟฟ้าจาก บฟร. และ
บฟข. ได้รวมส่วนค่าไฟฟ้าที่ได้รับชดเชยผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงิน 320 ล้าน
บาท
* รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 90 ล้านบาท ลดลง 11 ล้าน
(ยังมีต่อ)