EN | TH
18 February 2010

บทรายงานการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร ประจำปี 2552

บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร สำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2552 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 หมายเหตุ: บทรายงานและการวิเคราะห์งบการเงินฉบับนี้ ฝ่ายบริหารได้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอ ข้อมูลและแสดงวิสัยทัศน์ของฝ่ายบริหารให้นักลงทุนสามารถติดตามและทำความเข้าใจฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทได้ดีขึ้น อันเป็นการส่งเสริมโครงการการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) อนึ่งเนื่องจากบทรายงานและการวิเคราะห์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอข้อมูลและคำ อธิบายถึงสถานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งที่นำเสนอนี้อาจ เปลี่ยนแปลงตามปัจจัยหรือสภาวะแวดล้อมที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ฉะนั้นจึงใคร่ขอให้นัก ลงทุนใช้วิจารณญาณในการพิจารณาใช้ประโยชน์จากเอกสารข้อมูลนี้ และหากมีคำถามหรือข้อสงสัย ประการใดกรุณาติดต่อสอบถามได้ที่ ส่วนนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) โทร. 02-998-5145-7 หรือ email : ir@egco.com บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร 1. บทสรุปผู้บริหาร บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก ดำเนินธุรกิจในรูปบริษัทโฮลดิ้ง ที่มีการลงทุนใน บริษัทย่อย และส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้าต่างๆ ทั้งนี้ในปี 2551 ได้มีการขายหุ้นของบริษัท อมตะ- เอ็กโก เพาเวอร์ จำกัด (เออีพี) บริษัท อมตะ เพาเวอร์ (บางปะกง) จำกัด (เอพีบีพี) และ บริษัท อมตะ เพาเวอร์-เอสโก เซอร์วิส จำกัด (อเมสโก) ออกไป และมีการซื้อหุ้นของ บริษัท เคซอน เพาเวอร์ (ฟิลิปปินส์) จำกัด (เคซอน) และในปี 2552 มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น ดังนี้ - การซื้อหุ้นของ เคซอน ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินกำลังผลิตติดตั้ง 502.50 เมกะวัตต์ เพิ่มในสัดส่วน ร้อยละ 2.60 ในเดือนมีนาคม - การลงทุนในบริษัท พัฒนาพลังงานธรรมชาติ จำกัด (เอ็นอีดี) ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาโครงการพลังงาน หมุนเวียน ในสัดส่วนร้อยละ 33.33 ในเดือนกรกฎาคม และ เอ็นอีดี อยู่ระหว่างการศึกษาโครงการ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลมในประเทศไทย - การรับโอนกิจการทั้งหมดของ บริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด (บฟร.) ในเดือนตุลาคม ซึ่งทำให้ผล การดำเนินงานในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน 2552 จะรวมอยู่ในงบการเงินของ บฟร. ซึ่งเป็นบริษัท ย่อย และผลการดำเนินงานในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2552 จะรวมอยู่ในงบการเงินของเอ็กโก โดยที่ผลการดำเนินงานทั้งสองช่วงนี้รวมอยู่ในงบการเงินรวม ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกหน่วยงานดังกล่าวว่า โรงไฟฟ้าระยอง - การซื้อหุ้นของบริษัท พาวเวอร์ เจเนอเรชั่น เซอร์วิสส์ จำกัด (พีจีเอส) ซึ่งเป็นบริษัทที่เดินเครื่อง และซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าของ บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด (บีแอลซีพี) ในสัดส่วนร้อยละ 50 ใน เดือนธันวาคม การดำเนินธุรกิจของกลุ่มเอ็กโกแบ่งตามประเภทการลงทุนได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. ธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี) ได้แก่ โรงไฟฟ้าระยอง บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด (บฟข.) บีแอลซีพี และ บริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด (จีพีจี) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท กัลฟ์อิเล็คตริก จำกัด (มหาชน) (จีอีซี) 2. ธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (เอสพีพี) ได้แก่ บริษัท เอ็กโก โคเจนเนอเรชั่น จำกัด (เอ็กโก โคเจน) บริษัท ร้อยเอ็ด กรีน จำกัด (ร้อยเอ็ด กรีน) และ บริษัทย่อย 4 บริษัทของ จีอีซี ได้แก่ บริษัท กัลฟ์ โคเจนเนอเรชั่น จำกัด (จีซีซี) บริษัท หนองแค โคเจนเนอเรชั่น จำกัด (เอ็นเคซีซี) บริษัท สมุทรปราการ โคเจนเนอเรชั่น จำกัด (เอสซีซี) และ บริษัท กัลฟ์ ยะลา กรีน จำกัด (จีวายจี) 3. ธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าต่างประเทศ ได้แก่ บริษัท โคแนล โฮลดิ้ง คอร์ปอเรชั่น (โคแนล) บริษัท น้ำเทิน 2 เพาเวอร์ จำกัด (เอ็นทีพีซี) และ เคซอน 4. ธุรกิจอื่นๆ ได้แก่ บริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (เอสโก) บริษัท เอ็กคอมธารา จำกัด (เอ็กคอมธารา) และ เอ็นอีดี โดยรวมแล้วกลุ่มเอ็กโก (หมายถึง เอ็กโก บริษัทย่อย และส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า) /1 มี โรงไฟฟ้าจำนวน 13 โรง คิดเป็นกำลังผลิตติดตั้งตามสัดส่วนการถือหุ้นรวมจำนวน 3,980.70 เมกะวัตต์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2551 จำนวน 13.10 เมกะวัตต์ เนื่องจากการซื้อหุ้นของ เคซอน เพิ่มใน สัดส่วนร้อยละ 2.60 รวมเป็นถือหุ้นใน เคซอน ร้อยละ 26 /1 บริษัทย่อย ได้แก่ บฟร. บฟข. เอ็กโก โคเจน ร้อยเอ็ด กรีน เอสโก และ เอ็กคอมธารา ส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า ได้แก่ บีแอลซีพี จีพีจี จีซีซี เอ็นเคซีซี เอสซีซี จีวายจี โคแนล เอ็นทีพีซี เคซอน และ เอ็นอีดี ผลการดำเนินงานของกลุ่มเอ็กโก สำหรับปี 2552 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีกำไรสุทธิ ทั้งสิ้น 7,936 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,009 ล้านบาท หรือร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปี 2551 และหากไม่ คำนึงถึงผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนของกลุ่มเอ็กโก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตัวเลขทางบัญชี ที่แสดง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีไทย ในปี 2552 กลุ่มเอ็กโกจะมีกำไรจำนวน 7,505 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.19 สาเหตุหลักเกิดจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรที่เพิ่มขึ้นของ เคซอน รายได้ค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของ จีพีจี และรายได้อื่นๆของ เอ็นทีพีซี ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่รายได้ ค่าไฟฟ้าของ โรงไฟฟ้าระยอง บฟข. และ บีแอลซีพี ลดลง 2. การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติตามแผนการดำเนินธุรกิจ กลุ่มเอ็กโกเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่แห่งแรกของประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2535 ในลักษณะบริษัทโฮลดิ้ง ปัจจุบันมีการลงทุนในบริษัทย่อย และกิจการร่วมค้าต่างๆ เอ็กโกดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า ?เป็นบริษัทไทยชั้นนำที่ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าครบวงจรและ ครอบคลุมถึงธุรกิจการให้บริการด้านพลังงานทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนด้วยความมุ่งมั่นที่ จะธำรงไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสังคม? เอ็กโกดำเนินธุรกิจหลักในการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ไทย (กฟผ.) ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว และหาโอกาสในการลงทุนในธุรกิจพลังงานทั้งใน ประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยมีเป้าหมายในการหาผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนให้แก่ผู้ถือ หุ้นโดยการบริหารจัดการโครงการที่มีอยู่ปัจจุบัน ตลอดจนการสรรหาโครงการที่มีคุณภาพและให้ ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต และอยู่ในระดับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ประเทศไทยมีกำลังผลิตติดตั้งรวมจำนวน 29,212 เมกะวัตต์/2 และ ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในวันที่ 24 เมษายน 2552 ที่ 22,045 เมกะวัตต์/2 ซึ่งต่ำกว่า ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนเมษายนของปี 2551 คิดเป็นร้อยละ 2.32 /2 ที่มา: กฟผ. จากวิกฤติภาวะเศรษฐกิจในช่วงปี 2552 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ความต้องการใช้ไฟฟ้ามีการลดลง อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงต้นปี ดังนั้นสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จึงอยู่ระหว่างการปรับปรุงแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ PDP ฉบับใหม่ เพื่อให้ สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนมกราคม 2553 และจะเริ่ม นำมาใช้ในเดือนเมษายน 2553 แผน PDP ฉบับใหม่จะเป็นการปรับปรุงแผน PDP ปี 2550 ฉบับ ปรับปรุงครั้งที่ 2 และเมื่อแผนฯ ดังกล่าวแล้วเสร็จ สนพ. จะดำเนินการเปิดรับฟังความเห็นจาก ประชาชนต่อแนวทางการปรับปรุงแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศก่อนที่จะนำเสนอต่อ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติต่อไป ขณะนี้ ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ที่ผ่านการประมูลครั้งล่าสุดจำนวน 4 ราย คิดเป็นกำลังการ ผลิตรวม 4,200 เมกะวัตต์ กำลังประสบปัญหาความล่าช้าในการดำเนินโครงการ สืบเนื่องมาจากการ ต้องดำเนินการทำการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment; HIA) เพื่อให้ สอดคล้องตามรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ความล่าช้าของโครงการฯที่เกิดขึ้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อ ระบบไฟฟ้าในระยะเวลาสั้น เนื่องจากการคาดการณ์อัตราเติบโตของความต้องการใช้ไฟฟ้า ภายในประเทศในปี 2553 อยู่ที่ร้อยละ 4 ในขณะที่ประเทศมีกำลังสำรองการผลิตสูงกว่าร้อยละ 20 สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจ กลุ่มเอ็กโกได้ปรับกลยุทธ์ในการขยายการลงทุนไปยังธุรกิจ ผลิตไฟฟ้าในกลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้น ตลอดจนลงทุนในโครงการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิง และ โครงการอื่นๆ ภายในประเทศไทยที่ใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดในฐานะบริษัทชั้น นำทางด้านพลังงาน และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของฐานะการเงินและผลการดำเนินงานให้กับ กลุ่มเอ็กโก อย่างต่อเนื่อง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 กลุ่มเอ็กโก มีกำลังผลิตติดตั้งตามสัดส่วนการถือหุ้นรวมจำนวน 3,980.70 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้า 13 โรง ซึ่งในจำนวนนี้ เอ็กโกได้จำหน่ายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเป็นจำนวน 3,599.60 เมกะวัตต์ เมื่อเทียบกับกำลังการผลิตติดตั้งรวมของ ประเทศที่ 29,212 เมกะวัตต์ คิดเป็นร้อยละ 12.32 ของกำลังการผลิตทั้งประเทศ นอกจากนี้ เอ็กโก ยังถือหุ้นในโครงการน้ำเทิน 2 (เอ็กโก ถือหุ้นร้อยละ 25 ในเอ็นทีพีซี ซึ่งเป็น เจ้าของโครงการ) ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง คิดเป็นกำลังผลิตติดตั้งในส่วนการถือหุ้นของเอ็กโก จำนวนรวม 271.70 เมกะวัตต์ โดยโครงการน้ำเทิน 2 ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำในประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีกำลังผลิตติดตั้ง 1,086.80 เมกะวัตต์ และมีกำหนดเลื่อน จำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากเดือนธันวาคม 2552 เป็นไตรมาสแรกของปี 2553 โดยมีสัญญาขายไฟฟ้า ให้กับ กฟผ. จำนวน 995 เมกะวัตต์ และขายไฟฟ้าส่วนที่เหลือให้กับรัฐบาลลาว ความก้าวหน้าในการ ก่อสร้างโครงการ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2552 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 99.87 บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิงบการเงินรวมหลัง หักภาษีเงินได้ หรือ ในจำนวนที่ทยอยเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ หากไม่มีเหตุจำเป็นอื่นใด เช่น การ ขยายธุรกิจของบริษัทในโครงการต่าง ๆ ในอนาคต หรือการจ่ายเงินปันผลที่มีผลกระทบต่อการ ดำเนินงานปกติของบริษัทอย่างมีสาระสำคัญโดยการจ่ายเงินปันผลต้องไม่เกินกว่ากำไรสะสมของงบ การเงินเฉพาะกิจการ 3. รายงานและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ฝ่ายบริหารขอแสดงรายงานวิเคราะห์งบการเงินรวมของ เอ็กโก บริษัทย่อย และ ส่วนได้เสียใน กิจการร่วมค้า เพื่อให้เห็นถึงภาพรวมที่ชัดเจนของผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้ 3.1 สรุปผลการดำเนินงาน หน่วย : ล้านบาท ปี 2552 ปี 2551 ก่อน FX หลัง FX ก่อน FX หลัง FX เอ็กโก (550) (550) (598) (565) ธุรกิจไอพีพี 6,680 7,169 7,195 6,707 ธุรกิจเอสพีพี 516 634 599 452 ธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าต่างประเทศ 693 523 21 57 ธุรกิจอื่น ๆ 166 160 274 275 รวม 7,505/3 7,936 7,491/3 6,927 หมายเหตุ: - กำไรก่อน FX ได้แยกผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของ เอ็กโก บริษัทย่อย และ กิจการร่วมค้าออก - ไอพีพี ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าระยอง บฟข. บีแอลซีพี จีพีจี - เอสพีพี ประกอบด้วย จีซีซี เอ็นเคซีซี เอสซีซี จีวายจี เอ็กโก โคเจน ร้อยเอ็ด กรีน เอพีบีพี เออีพี - ต่างประเทศ ประกอบด้วย โคแนล เอ็นทีพีซี เคซอน - อื่นๆ ประกอบด้วย เอสโก เอ็กคอมธารา เอ็นอีดี และ อเมสโก - ได้ขาย เอพีบีพี เออีพี และ อเมสโก ในเดือนพฤษภาคม 2551, ซื้อ เคซอน ในเดือนพฤศจิกายน 2551 และลงทุนใน เอ็นอีดี เดือนกรกฎาคม 2552 /3 กำไรก่อน FX ที่แสดงในที่นี้แตกต่างจากกำไรก่อน FX ที่คำนวณได้จากงบการเงินรวม เนื่องจากรายการกำไร(ขาดทุน)จากอัตราแลกเปลี่ยนในงบการเงินรวมมาจาก FX ของ เอ็กโก และบริษัทย่อย ส่วน FX ของกิจการร่วมค้า จะแสดงรวมอยู่ในรายการส่วนแบ่ง กำไร(ขาดทุน)ในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า ผลการดำเนินงานของกลุ่มเอ็กโก ประจำปี 2552 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 มีกำไร ก่อนผลกระทบอัตราแลกเปลี่ยนของกลุ่มเอ็กโก จำนวน 7,505 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 0.19 เมื่อเทียบกับปี 2551 โดยสาเหตุหลักเกิดจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรที่เพิ่มขึ้นของ เคซอน อีกทั้งรายได้ค่าไฟฟ้าของ จีพีจี ที่เพิ่มขึ้น จากโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 หน่วยที่ 2 ซึ่งเริ่มเดินเครื่อง เชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551 และรายได้อื่นๆของ เอ็นทีพีซี ที่เพิ่มขึ้นจากค่าปรับงาน ก่อสร้างล่าช้า ในขณะที่รายได้ค่าไฟฟ้าของ โรงไฟฟ้าระยอง บฟข.และ บีแอลซีพี ลดลง จากอัตรา ค่าไฟที่ลดลง หากคำนึงถึงผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการแข็งค่าของเงินบาท จำนวน 430 ล้านบาท จะทำให้กำไรของกลุ่มเอ็กโก ประจำปี 2552 เป็นจำนวน 7,936 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,009 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 15 ในขณะที่ปี 2551 มีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 564 ล้านบาท ซึ่งเกิดความ แตกต่างจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 994 ล้านบาท ทั้งนี้กำไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยนส่วน ใหญ่เป็นตัวเลขทางบัญชี ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีไทยโดยเกิดจากผลต่างของการแปลง มูลค่าหนี้คงค้างสุทธิเฉพาะที่เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศเป็นเงินตราสกุลบาท ณ วันสิ้นสุดงวดของ บัญชีปัจจุบัน (วันที่ 31 ธันวาคม 2552) กับงวดก่อนหน้านี้ (วันที่ 31 ธันวาคม 2551) โดยกำไรจาก อัตราแลกเปลี่ยนในปี 2552 จำนวน 430 ล้านบาท แบ่งเป็น - กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนของเอ็กโก และบริษัทย่อย จำนวน 33 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 58 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2551 ซึ่งมีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 25 ล้านบาท - กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนของกิจการร่วมค้า จำนวน 398 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 936 ล้านบาท เมื่อ เปรียบเทียบกับปี 2551 ซึ่งมีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 539 ล้านบาท กำไร (ขาดทุน) จาก FX ของกิจการร่วมค้า: หน่วย : ล้านบาท 2552 2551 บีแอลซีพี 296 (231) จีพีจี 197 (287) จีซีซี เอ็นเคซีซี เอสซีซี และจีวายจี 75 (61) เอพีบีพีและเออีพี* - 6 โคแนล 0.38 53 เอ็นทีพีซี (180) (8) เคซอน 9 (10) รวมกำไร (ขาดทุน) จาก FX 398 (539) * ได้ขาย เอพีบีพี และ เออีพี ในเดือนพฤษภาคม 2551 กำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายทางการเงิน ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่างๆ (EBITDA) ของ กลุ่มเอ็กโก สำหรับ ปี 2552 จำนวน 15,864 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 432 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับ EBITDA ของกลุ่มเอ็กโก ในปี 2551 จำนวน 15,432 ล้านบาท กำไรขั้นต้นของเอ็กโกและบริษัทย่อย จำนวน 3,734 ล้านบาท ลดลง 714 ล้านบาท หรือร้อยละ 16 สาเหตุหลักจากรายได้ค่าไฟฟ้าของ บฟข. และ โรงไฟฟ้าระยอง ที่ลดลงจากอัตราค่าไฟซึ่งเป็นไป ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า กำไรจากการดำเนินงานของเอ็กโกและบริษัทย่อย จำนวน 2,965 ล้านบาท ลดลง 770 ล้านบาท หรือร้อยละ 21 โดยมีสาเหตุหลักเช่นเดียวกับการลดลงของกำไรขั้นต้น อัตราส่วนแสดงความสามารถในการหากำไร (Profitability Ratio) สำหรับผลการดำเนินงาน ประจำปี 2552 มีดังนี้ - อัตรากำไรขั้นต้นเท่ากับร้อยละ 40.83 - อัตรากำไรจากการดำเนินงานเท่ากับร้อยละ 32.42 - อัตรากำไรสุทธิเท่ากับร้อยละ 50.33 - อัตรากำไรสุทธิ (ที่ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของเอ็กโกและบริษัทย่อย) เท่ากับ ร้อยละ 50.12 - กำไรสุทธิ ต่อหุ้น เท่ากับ 15.07 บาท - กำไรสุทธิ (ที่ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของ เอ็กโกและบริษัทย่อย) ต่อหุ้นเท่ากับ 15.01 บาท - อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นเท่ากับร้อยละ 16.60 อัตรากำไรขั้นต้นที่ยังไม่ได้รวมส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้า เท่ากับร้อยละ 40.83 นั้นต่ำกว่าปี 2551 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 43.10 สาเหตุหลักจากรายได้ค่าไฟฟ้าของ บฟข. และ โรงไฟฟ้าระยอง ที่ ลดลง และจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรที่เพิ่มขึ้นของ จีพีจี และ เคซอน ทำให้อัตรากำไรสุทธิ (ที่ไม่รวม ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของ เอ็กโก และบริษัทย่อย) เท่ากับร้อยละ 50.12 สูงกว่าปี 2551 ซึ่ง เท่ากับร้อยละ 45.39 3.2 การวิเคราะห์รายได้ ค่าใช้จ่าย และส่วนแบ่งผลกำไรในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า ผลการดำเนินงานประจำปี 2552 ที่ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของกลุ่มเอ็กโก (FX) และกำไรสุทธิของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (MI) เป็นดังนี้ - รายได้รวมของ เอ็กโก และบริษัทย่อย จำนวน 9,495 ล้านบาท ลดลง 1,218 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 11 - ค่าใช้จ่ายรวมของ เอ็กโก และบริษัทย่อย จำนวน 7,751 ล้านบาท ลดลง 542 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 7 - ส่วนแบ่งผลกำไรในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้าก่อน FX จำนวน 5,876 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 718 ล้านบาท หรือร้อยละ 14 โดยมีรายละเอียดแบ่งตามกลุ่มธุรกิจดังต่อไปนี้ รายได้รวม ค่าใช้จ่ายรวม และส่วนแบ่งผลกำไร (ขาดทุน) ในกิจการร่วมค้าก่อน FX หน่วย : ล้านบาท เอ็กโก ไอพีพี เอสพีพี 2552 2551 2552 2551 2552 2551 รายได้รวม 242 249 6,124 7,195 2,237 2,234 ค่าใช้จ่ายรวม 792 847 4,312 4,767 1,972 1,961 กำไรก่อนส่วนแบ่ง ผลกำไร(ขาดทุน) (550) (598) 1,812 2,428 265 273 ส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน) ในกิจการร่วมค้าก่อน FX - - 4,869 4,767 325 365 กำไรสุทธิก่อน FX และ MI (550) (598) 6,681 7,195 590 638 หน่วย : ล้านบาท ต่างประเทศ อื่น ๆ รวม 2552 2551 2552 2551 2552 2551 รายได้รวม - - 891 1,034 9,495 10,712 ค่าใช้จ่ายรวม - - 674 717 7,751 8,293 กำไรก่อนส่วนแบ่ง ผลกำไร(ขาดทุน) - - 217 317 1,744 2,419 ส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน) ในกิจการร่วมค้าก่อน FX 693 21 (11) 4 5,876 5,157 กำไรสุทธิก่อน FX และ MI 693 21 206 321 7,620 7,576 1) เอ็กโก มีรายได้รวมในปี 2552 จำนวน 242 ล้านบาท ลดลง 7 ล้านบาท หรือร้อยละ 3 โดยส่วนใหญ่เกิดจากดอกเบี้ยรับลดลงจำนวน 44 ล้านบาท เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ในขณะที่ เงินปันผลรับจาก บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์ วอเตอร์ เพิ่มขึ้น 31 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวมของ เอ็กโก จำนวนทั้งสิ้น 792 ล้านบาท ลดลง 56 ล้านบาท หรือร้อยละ 7 สาเหตุ หลักมาจากค่าใช้จ่ายในการบริหารลดลง 128 ล้านบาท เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการ และค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่ลดลง ในขณะที่ค่าใช้จ่ายทางการเงินเพิ่มขึ้น 52 ล้านบาท เนื่องจาก ดอกเบี้ยจากการเบิกเงินกู้ระยะสั้น จำนวน 3,500 ล้านบาท เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2551 และเงินกู้ ระยะยาว จำนวน 4,000 ล้านบาทเมื่อเดือนกันยายน 2552 2) ธุรกิจไอพีพี มีรายได้รวมทั้งสิ้น 6,124 ล้านบาท ลดลง 1,071 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15 ค่าใช้จ่ายรวมจำนวน 4,312 ล้านบาท ลดลง 455 ล้านบาท หรือร้อยละ 10 และส่วนแบ่งผลกำไรใน ส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้าก่อน FX จำนวน 4,869 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 101 ล้านบาท หรือร้อยละ 2 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ รายได้รวม ค่าใช้จ่ายรวม และส่วนแบ่งผลกำไร (ขาดทุน) ในกิจการร่วมค้าก่อน FX ของธุรกิจไอพีพี: หน่วย : ล้านบาท โรงไฟฟ้าระยอง บฟข. บีแอลซีพี 2552 2551 2552 2551 2552 2551 รายได้รวม 3,787 3,952 2,337 3,243 - - ค่าใช้จ่ายรวม 2,406 2,448 1,906 2,319 - - กำไรก่อนส่วนแบ่ง ผลกำไร(ขาดทุน) 1,380 1,504 431 924 - - ส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน) ในกิจการร่วมค้าก่อน FX - - - - 2,930 3,200 กำไรสุทธิก่อน FX และ MI 1,380 1,504 431 924 2,930 3,200 หน่วย : ล้านบาท จีพีจี รวม 2552 2551 2552 2551 %การเปลี่ยนแปลง รายได้รวม - - 6,124 7,195 (15%) ค่าใช้จ่ายรวม - - 4,312 4,767 (10%) กำไรก่อนส่วนแบ่ง ผลกำไร(ขาดทุน) - - 1,812 2,428 (25%) ส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน) ในกิจการร่วมค้าก่อน FX 1,939 1,567 4,869 4,767 2% กำไรสุทธิก่อน FX และ MI 1,939 1,567 6,681 7,195 (7%) * รายได้ค่าไฟฟ้าของธุรกิจไอพีพี จำนวน 6,040 ล้านบาท ลดลง 1,065 ล้านบาท หรือร้อยละ 15 เนื่องจากรายได้ค่าไฟฟ้าของ บฟข. จำนวน 2,318 ล้านบาท ลดลง 893 ล้านบาท สาเหตุหลักจาก อัตราค่าไฟฟ้า (Base Availability Credit) ที่ลดลง อีกทั้งรายได้ค่าไฟฟ้าของ โรงไฟฟ้าระยอง จำนวน 3,722 ล้านบาท ลดลง 172 ล้านบาท เนื่องจากอัตราค่าไฟฟ้าที่ลดลง (Capacity Rate) ทั้งนี้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสูตรค่าพลังไฟฟ้า ในลักษณะต้นทุนบวกกำไรส่วนเพิ่ม (Cost Plus) ที่ให้แก่ผู้ประกอบการภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) และเป็นไปตามที่ได้ประมาณการไว้แล้ว รายได้ค่าไฟฟ้าธุรกิจไอพีพี: หน่วย : ล้านบาท 2552 2551 %เปลี่ยนแปลง โรงไฟฟ้าระยอง 3,722 3,894 (4%) บฟข. 2,318 3,211 (28%) รวมรายได้ค่าไฟฟ้า-ไอพีพี 6,040 7,105 (15%) สัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าในแต่ละปีเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายคงที่ คือ ค่าชำระ หนี้และค่าบำรุงรักษาหลัก ซึ่งจะใช้อัตราดังกล่าวตามที่ได้ตกลงในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในการคำนวณ ค่าไฟฟ้าในแต่ละงวด นอกจากนั้น ในการคำนวณรายได้ค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า ได้รับการปรับ เพื่อชดเชยผลกระทบที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับภาระค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมเงินและค่าอะไหล่ ที่ใช้ในการบำรุงรักษาหลักที่เป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง โรงไฟฟ้าระยอง และ บฟข. จะได้รับการ ชดเชยทุกเดือนตามงวดกำหนดชำระค่าไฟฟ้า โดยจะได้รับค่าพลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จากที่เคย กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าก่อนการเพิ่มเติมเงื่อนไขการปรับตามอัตราแลกเปลี่ยนเมื่ออัตรา แลกเปลี่ยนสูงกว่าระดับ 28 บาท ต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ และได้รับค่าพลังไฟฟ้าลดลงเมื่ออัตรา แลกเปลี่ยนต่ำกว่าระดับ 28 บาท ต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ในปี 2552 รายได้ค่าไฟฟ้าจาก โรงไฟฟ้าระยอง และ บฟข. ได้รวมส่วนค่าไฟฟ้าที่ได้รับชดเชยผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็น เงิน 214 ล้านบาท * รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 84 ล้านบาท ลดลง 6 ล้านบาท หรือร้อยละ 7 สาเหตุหลักจากดอกเบี้ยรับของ บฟข. ลดลง 21 ล้านบาท เนื่องจากจำนวนเงินฝากและอัตราดอกเบี้ย ที่ลดลง ในขณะที่ โรงไฟฟ้าระยอง มีรายได้อื่นๆเพิ่มขึ้น 13 ล้านบาท จากรายได้ค่าบริหารจัดการ สิ่งแวดล้อม * ต้นทุนขาย จำนวน 3,052 ล้านบาท ลดลง 382 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 11 จากต้นทุนขายของ บฟข. ที่ลดลง 238 ล้านบาท เนื่องจากค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาหลัก และค่าใช้จ่ายน้ำมันเตาที่เกิดจาก การสั่งเดินเครื่องของ กฟผ. ลดลง และต้นทุนขายของ โรงไฟฟ้าระยอง ที่ลดลง จำนวน 145 ล้าน บาท เนื่องจากค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาหลักที่ลดลง ต้นทุนขายธุรกิจไอพีพี: หน่วย : ล้านบาท 2552 2551 %เปลี่ยนแปลง โรงไฟฟ้าระยอง 1,690 1,835 (8%) บฟข. 1,361 1,599 (15%) รวมต้นทุนขาย-ไอพีพี 3,052 3,434 (11%) * ค่าใช้จ่ายในการบริหารและภาษี จำนวน 1,032 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 41 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 4 สาเหตุหลักจากการสำรองค่าวัสดุสำรองคลังล้าสมัยของ โรงไฟฟ้าระยอง เพิ่มขึ้น 133 ล้านบาท ในขณะที่ภาษีเงินได้ของ โรงไฟฟ้าระยอง ลดลง 50 ล้านบาท เนื่องจากรายได้ที่ลดลง ทั้งนี้การ ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้รับจากการลงทุนผลิตไฟฟ้าในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ ได้สิ้นสุดไปเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2551 และ ภาษีเงินได้ของ บฟข. ลดลง 67 ล้าน บาท เนื่องจากรายได้ที่ลดลง สำหรับ บฟข. ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ ได้รับจากการลงทุนผลิตไฟฟ้าในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นเวลา 5 ปี ได้สิ้นสุด ในวันที่ 25 กันยายน 2552 * ค่าใช้จ่ายทางการเงิน จำนวน 229 ล้านบาท ลดลง 114 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 33 เนื่องจาก (ยังมีต่อ)