10 มกราคม 2538
ตลาดหลักทรัพย์เพิ่มสินค้า
-1-
ตลาดหลักทรัพย์เพิ่มสินค้า
ฝ่ายบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขอแจ้งว่า คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทยได้สั่งให้รับหุ้นสามัญของบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด(มหาชน) เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน
ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2538 เป็นต้นไป
ตลาดหลักทรัพย์จึงเห็นควรกำหนดให้หุ้นสามัญของบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) (ELECTRICITY
GENERATING PUBLIC COMPANY LIMITED) จำนวน 400 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท รวม
4,000 ล้านบาท ทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้โดยจัดอยู่ในหมวดพลังงาน และใช้
ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า "EGCOMP" ทั้งนี้กำหนด ให้เริ่มซื้อขายได้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2538
เป็นต้นไป
- สรุปข้อสนเทศ -
++++++++++++++
บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด(มหาชน) - EGCOMP -
ELECTRICITY GENERATING PUBLIC COMPANY LIMITED ++++++++++++++
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ : 444 ตึกโอลิมเปียไทย ทาวเวอร์ ถนนรัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โทร. 5132330 โทรสาร. (662) 5137335-6
--------------------------------------------------------------------------------------
ประเภทกิจการและ บริษัทดำเนินธุรกิจในรูปของบริษัทโฮลดิ้ง จำกัด และถือหุ้นร้อยละ 99.99 ในบริษัท
ลักษณะการดำเนินงาน ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด (บฟร.) ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อซื้อโรงไฟฟ้าระยองจากการ
ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การจัดตั้งบริษัทเป็นไปตามนโยบายของ
รัฐเพื่อให้เอกชนเข้ามีบทบาทในการลงทุนเพื่อผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า โดยการ
ดำเนินธุรกิจในรูปของบริษัทโฮลดิ้ง ถือว่าเป็นการจำกัดความเสี่ยงเฉพาะ
โครงการ ทำให้บริษัทมีความสะดวกในการขยายกิจการโดยไม่ติดเงื่อนไขของ
ผู้ให้กู้
ปัจจุบัน บฟร. เป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าระยอง ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าชนิด
พลังความร้อนร่วม มีกำลังการผลิตติดตั้ง 1,232 เมกะวัตต์ และมีกำลังการ
ผลิตพึ่งได้ (Dependable Capacity) 1,180 เมกะวัตต์ โดยมีก๊าซธรรมชาติ
เป็นเชื้อเพลิงหลัก ปัจจุบัน บฟร. มีลูกค้ารายเดียวคือ กฟผ. โดยดำเนินการผลิต
และจ่ายไฟฟ้าตามคำสั่งจ่าย (Dispatchable Basis) (บฟร. เริ่มมีรายได้
จากการผลิตไฟฟ้า เมื่อมีการโอนโรงไฟฟ้าจาก กฟผ. เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2537)
โดย บฟร. และ กฟผ. มีการทำสัญญาหลักร่วมกัน 3 ฉบับ ได้แก่
1. สัญญาซื้อขายโรงไฟฟ้าระยอง มูลค่า 17,180.605 ล้านบาท ซึ่งได้มี
การโอนโรงไฟฟ้าแล้วเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2537 นอกจากนี้ตามสัญญาได้ให้สิทธิ
บริษัทหรือบริษัทในเครือ ในการเข้าซื้อโรงไฟฟ้าขนอมจาก กฟผ. (First Right
of Refusal) ภายใน 120 วันหลังจากเซ็นสัญญาซื้อขายทรัพย์สิน หรือภายใน
60 วันหลังจากที่บริษัทได้รับแจ้งจาก กฟผ. ว่าโรงไฟฟ้าขนอมสามารถจ่ายไฟฟ้า
ในเชิงพาณิชย์ได้สมบูรณ์ แล้วแต่เวลาใดจะช้ากว่า
2. สัญญาซื้อขายไฟฟ้า มีอายุสัญญา 20 ปี โดย กฟผ. ตกลงจะจ่าย
ค่าไฟฟ้าแบ่งเป็น
- ค่าพลังไฟฟ้า (Capacity Charge) ซึ่ง กฟผ. จะจ่ายตาม
ความพร้อมจ่ายไฟฟ้า (ระยะเวลาที่มีความพร้อมจ่ายไฟฟ้าในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ /
ระยะเวลาทั้งหมดในช่วงเวลานั้น ๆ) โดยไม่ขึ้นกับปริมาณการสั่งจ่ายจริง เป็น
ส่วนที่สะท้อนถึงต้นทุนคงที่ในการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการกู้ยืม
ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ค่าบำรุงรักษาหลัก ค่าใช้จ่ายในการบริหาร การผลิต
และการบำรุงรักษาคงที่ และค่าเบี้ยประกัน
- ค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Charge) ซึ่งจะคิดตามปริมาณการ
สั่งซื้อจริงของ กฟผ. เป็นส่วนที่สะท้อนถึงต้นทุนผันแปรที่เกิดจากการเดินเครื่อง
ผลิตกระแสไฟฟ้า ได้แก่ ค่าเชื้อเพลิง และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาผันแปร
โดยในสัญญาระบุว่า กฟผ. จะต้องรับซื้อไฟฟ้าจาก บฟร. ในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า
ร้อยละ 40 ของกำลังการผลิตพึ่งได้
รายได้ของ บฟร. ตลอดอายุสัญญาได้ถูกประมาณไว้แล้ว ตามระยะ
เวลาการจ่ายคืนเงินกู้ ค่าความพร้อมจ่ายที่ร้อยละ 86 ค่าใช้จ่ายคงที่และผันแปร
ปริมาณการสั่งซื้อไฟฟ้าของ กฟผ. ที่เฉลี่ยร้อยละ 80 ต่อปี และอัตราความร้อน
ที่ระดับ 8,400 บีทียูต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลตอบแทนต่อส่วนของ
ผู้ถือหุ้นเฉลี่ยที่ร้อยละ 20.9 และ Debt Service Coverage ที่ประมาณ
1.4 เท่า ตลอดอายุสัญญา
- 2 -
3. สัญญาการบำรุงรักษาหลัก อายุสัญญา 6 ปี โดย กฟผ. เป็นผู้ให้
บริการทางด้านบำรุงรักษาหลักและการซ่อมที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าแก่ บฟร.
โดยมีการกำหนดอัตราค่าบริการที่แน่นอน
การผลิต โรงไฟฟ้าระยองตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 466-2-87 ไร่ ในเขต
ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง มีเครื่องผลิตไฟฟ้า 4 ชุด มีกำลัง
การผลิตติดตั้งชุดละ 308 เมกะวัตต์ รวมกำลังการผลิตติดตั้ง 1,232 เมกะวัตต์
โดยมีกำลังผลิตสุทธิที่ 1,180 เมกะวัตต์ โดยเครื่องผลิตไฟฟ้าแต่ละชุดประกอบด้วย
เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันแก๊ส 2 เครื่อง และเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันไอน้ำ
1 เครื่อง
โครงสร้างต้นทุนการผลิตไฟฟ้า ประกอบด้วย ค่าเชื้อเพลิง และ
ค่าใช้จ่ายในการผลิตและบำรุงรักษา ในสัดส่วนประมาณเท่ากับ 84 : 16 โดยมี
วัตถุดิบที่สำคัญได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลัก น้ำ และสารเคมีต่าง ๆ
เช่น สารปรับคุณภาพน้ำ และสารเติมแต่งในเชื้อเพลิง นอกจากนี้ยังมีน้ำมันดีเซล
เป็นเชื้อเพลิงสำรองเพื่อทดแทนก๊าซธรรมชาติได้ด้วย ณ ปัจจุบันตามสัญญาซื้อขาย
ไฟฟ้า กำหนดว่าในระยะแรก กฟผ. จะเป็นผู้จัดหาก๊าซให้กับ บฟร. โดย กฟผ.
เป็นผู้ชำระค่าเชื้อเพลิงตามจำนวนก๊าซที่ใช้จริง ภายใต้อัตราความร้อน (Heat
Rate) ที่ กฟผ. และ บฟร. ตกลงกัน หาก บฟร. ผลิตไฟฟ้าโดยใช้ก๊าซจำนวน
มากกว่าที่ตกลงกันตามสัญญา บฟร. จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าเชื้อเพลิงส่วนเกินเอง
ทั้งนี้ บฟร. จะเริ่มเจรจาซื้อขายก๊าซโดยตรงกับ ปตท. หลังจากที่สัญญาซื้อขายก๊าซ
ระหว่าง กฟผ. และ ปตท. มีผลบังคับใช้ โดย บฟร. จะเป็นผู้รับผิดชอบในการ
ชำระค่าก๊าซเอง และผ่านค่าเชื้อเพลิงนั้นไปให้ กฟผ. ในสูตรคำนวณค่า
พลังงานไฟฟ้า
รายงานการศึกษาความเป็นไปได้ โครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมระยอง มีการศึกษาความเป็นไปได้โดย
Stone & Webster Management Consultants Ltd. เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม
2537
มูลค่าเงินลงทุนในโครงการ ประกอบด้วย
ค่าโรงไฟฟ้าและเชื้อเพลิงสำรอง 17,181 ล้านบาท
บัญชีสำรองสำหรับเจ้าหนี้ 953 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายทางธุรกรรมและพัฒนาโครงการ 660 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายในการโอนโรงไฟฟ้าและภาษีธุรกิจ 94 ล้านบาท
เงินทุนหมุนเวียน 562 ล้านบาท
รวม 19,450 ล้านบาท
โดยมี แหล่งที่มาของเงิน ประกอบด้วย
ส่วนของผู้ถือหุ้น 4,700 ล้านบาท
เงินกู้ - สกุลบาท 7,700
- สกุลดอลลาร์ 7,050 14,750 ล้านบาท
รวม 19,450 ล้านบาท
และตามที่ Stone & Webster ฯ ได้ทำการตรวจสอบการออกแบบโรงไฟฟ้า
ผลการทดสอบโรงไฟฟ้า การเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าและการสัมภาษณ์ สามารถ
สรุปได้ว่า
1. โรงไฟฟ้ามีการออกแบบและก่อสร้างตามวิธีการทางวิศวกรรมที่ดี
2. โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมระยองเป็นโรงไฟฟ้าประเภทที่ดำเนินการได้ดี
- 3 -
3. ในกรณีที่โรงไฟฟ้าได้รับการบำรุงรักษาตามแผนงานที่ได้วางไว้
โรงไฟฟ้าจะสามารถดำเนินการผลิตไฟฟ้าได้ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและ
ประมาณการงบการเงิน
โครงการดำเนินงานในอนาคต 1. เข้าซื้อโรงไฟฟ้าขนอม ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2537
ให้ กฟผ. ดำเนินการเจรจาจัดทำสัญญาซื้อขายโรงไฟฟ้าขนอมกับบริษัท
หรือบริษัทในเครือให้แล้วเสร็จในปี 2538 ซึ่งโรงไฟฟ้าขนอมมีกำลังการผลิต
ติดตั้งรวม 824 เมกะวัตต์ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- เครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันไอน้ำ 2 เครื่อง มีขนาดกำลังผลิตติดตั้ง
เครื่องละ 75 เมกะวัตต์ รวมมีขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 150 เมกะวัตต์ และ
สามารถผลิตไฟฟ้าได้เฉลี่ยประมาณปีละ 1,100 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
- เครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันก๊าซขนาด 112 เมกะวัตต์ จำนวน 4 เครื่อง
และเครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันไอน้ำขนาด 226 เมกะวัตต์ จำนวน 1 เครื่อง
รวมขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 674 เมกะวัตต์ ขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้างคาดว่า
จะแล้วเสร็จประมาณไตรมาสแรกของปี 2538 และสามารถผลิตไฟฟ้าได้เฉลี่ย
ประมาณปีละ 4,700 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
2. จัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อให้บริการ บริหาร เดินเครื่อง และบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า
คาดว่าจะจัดตั้งเพื่อให้บริการประมาณไตรมาสสุดท้ายของปี 2538
3. ร่วมทุนกับบริษัทอื่น เพื่อทำการผลิตไฟฟ้าในประเทศลาวและขายไฟฟ้าให้แก่
กฟผ. นอกจากนี้บริษัทยังจะมีการให้บริการบำรุง บริหาร เดินเครื่อง และ
รักษาหลักแก่โรงไฟฟ้าดังกล่าว ปัจจุบันอยู่ในระหว่างศึกษาความเหมาะสม
โครงการ
จำนวนพนักงาน ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2537 บริษัทและบริษัทย่อยมีพนักงานทั้งสิ้น 164 คน แบ่งเป็น
บริษัท บริษัทย่อย บริษัทและบริษัทย่อย
สำนักงาน 28 4 32
ประจำโรงไฟฟ้า - 132 132
รวม 28 136 164
ประวัติความเป็นมาโดยสรุป 12 พฤษภาคม 2535 จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท
เพื่อรับซื้อโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมระยองจาก กฟผ. และนำไป
ดำเนินการต่อ โดย กฟผ. ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ในบริษัท
22 กันยายน 2535 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้บริษัทไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบ
ว่าด้วยงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2522 และไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบและ
มติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจทั่วไป
15 กุมภาพันธ์ 2537 คณะรัฐมนตรีมีมติในหลักการในเรื่องดังต่อไปนี้ เพื่อให้
สามารถดำเนินการต่าง ๆ ที่จำเป็นได้ครบถ้วน ดังนี้
- ให้ กฟผ. ขายโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมระยองให้บริษัท
หรือบริษัทในเครือของบริษัท ตามร่างสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สิน และอนุมัติใน
หลักการร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
- อนุมัติในหลักการให้ กฟผ. ให้ option ซื้อโรงไฟฟ้าขนอม
ทั้งโรงไฟฟ้าเดิมและใหม่แก่บริษัท หรือบริษัทในเครือของบริษัทได้ด้วย โดยให้
ระบุไว้เป็นเงื่อนไขในสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สินโรงไฟฟ้าระยอง
- 4 -
- กำหนดเป็นนโยบายให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
พิจารณาให้การส่งเสริมการลงทุนแก่บริษัท หรือบริษัทในเครือผู้รับโอนโรงไฟฟ้า
พลังความร้อนร่วมระยอง โดยให้ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา
8 ปี
- ให้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการ
จำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. 2504
ในการตีราคาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมระยอง โดยให้แต่งตั้งผู้แทนสำนักงาน
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และ กฟผ. เป็นกรรมการเพิ่มเติม
จากระเบียบด้วย แล้วนำผลการตีราคาเสนอคณะรัฐมนตรีโดยผ่านคณะกรรมการ
นโยบายพลังงานแห่งชาติ ในการตีราคานี้ให้ใช้วิธีราคาทางบัญชีสุทธิบวก
ผลตอบแทนเงินลงทุนของ กฟผ. (Original Cost Less Depreciation
Plus Interest From Fixed Deposit)
23 มีนาคม 2537 จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด
1 มิถุนายน 2537 จัดตั้งบริษัทย่อยคือ บริษัทผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด (บฟร.)
มีทุนจดทะเบียนขั้นต้น 1 ล้านบาท โดยบริษัทถือหุ้นร้อยละ 99.99 เพื่อรับซื้อ
โครงการโรงไฟฟ้าระยองจาก กฟผ. มาดำเนินการ
3 ตุลาคม 2537 บฟร.ลงนามในสัญญาซื้อขายทรัพย์สิน สัญญาซื้อขายไฟฟ้า และ
สัญญาการบำรุงรักษาหลักกับ กฟผ. โดยสัญญาจะมีผลบังคับใช้เมื่อมีการโอนโรง
ไฟฟ้าระยอง
7-9 พฤศจิกายน 2537 บริษัทเสนอขายหุ้นต่อประชาชนจำนวน 204 ล้านหุ้น
ในราคาหุ้นละ 22 บาท โดยนำเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนไปลงทุนใน บฟร.
30 พฤศจิกายน 2537 บฟร. ทำสัญญาเงินกู้จำนวน 14,750 ล้านบาท เพื่อ
นำเงินที่ได้รวมกับเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนของบริษัททำการซื้อ
โรงไฟฟ้า โดยทำการโอนโรงไฟฟ้าในวันที่ 7 ธันวาคม 2537
เงินลงทุนในบริษัทย่อย ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2537 ปรากฏดังนี้
ประเภทกิจการ ทุนที่ออกและ มูลค่าเงินลงทุน ร้อยละของ
ชื่อบริษัท และลักษณะธุรกิจ เรียกชำระแล้ว (ล้านบาท) (ล้านบาท) หุ้นที่ถือ (%)
บริษัทผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด ดำเนินการโรงไฟฟ้า 4,700 4,700 99.99
เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2538 (เริ่มทำการซื้อขายวันที่ 16 มกราคม 2538)
ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน หุ้นสามัญ 400,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท รวม 4,000 ล้านบาท
ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว หุ้นสามัญ 400,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท รวม 4,000 ล้านบาท
การเพิ่มทุน
(ล้านบาท)
วัน/เดือน/ปี ทุนที่เพิ่ม หลังเพิ่มทุน หมายเหตุ
12 พฤษภาคม 2535 - 100 - ทุนจดทะเบียนเริ่มแรกประกอบด้วย หุ้นสามัญจำนวน
10 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
3 ตุลาคม 2537 1,860 1,960 - ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2537 เมื่อวันที่ 19
กันยายน 2537 มีมติให้เพิ่มทุนจาก 100 ล้านบาท เป็น
4,000 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 390
ล้านหุ้น จัดสรรดังนี้
- 5 -
(ล้านบาท)
วัน/เดือน/ปี ทุนที่เพิ่ม หลังเพิ่มทุน หมายเหตุ
+ จำนวน 182 ล้านหุ้น จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นเดิม
ในสัดส่วน 1: 18.2 ในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้
+ จำนวน 4 ล้านหุ้น จัดสรรให้สำนักงานทรัพย์สิน
ส่วนพระมหากษัตริย์ ในราคาตามมูลค่าที่ตราไว้
9 พฤศจิกายน 2537 2,040 4,000 + จำนวน 204 ล้านหุ้น เสนอขายต่อประชาชน
ทั่วไป เมื่อวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2537 ในราคาหุ้นละ
22 บาท โดยมีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทิสโก้ จำกัด
(มหาชน) บริษัทหลักทรัพย์ เจ.เอฟ.ธนาคม จำกัด
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และบริษัทหลักทรัพย์อื่นอีก 40
แห่ง เป็นผู้จัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย
วัตถุประสงค์ เพื่อลงทุนในบริษัทผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด
รอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม - 31 ธันวาคม
ผู้สอบบัญชี 2535-2537 สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
2538 เป็นต้นไป นายเติมศักดิ์ กฤษณามระ และ/หรือ
นางสาวจิราวรรณ ประภาสโนบล
ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ เจ.เอฟ.ธนาคม จำกัด และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทิสโก้
จำกัด (มหาชน)
นายทะเบียนหุ้น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
นโยบายการจ่ายเงินปันผล บริษัทได้ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทผลิตไฟฟ้า
จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2537 ว่า "บริษัทมีนโยบาย
จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราประมาณร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิ
หลังหักภาษีเงินได้ หากไม่มีเหตุจำเป็นอื่นใด เช่น การขยายธุรกิจของบริษัท
ในโครงการต่าง ๆ ในอนาคต และหากการจ่ายเงินปันผลนั้นจะมีผลกระทบ
ต่อการดำเนินงานปกติของบริษัทอย่างมีสาระสำคัญ ทั้งนี้คาดว่าบริษัทจะเริ่ม
จ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานปี 2538 เป็นต้นไป
สำหรับ บฟร. นั้นมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นร้อยละ 100
ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้และหักสำรองตามกฎหมาย โดย บฟร. จะ
จ่ายเงินปันผลได้ต่อเมื่อได้จัดสรรเงินสำหรับบัญชีเงินสำรองต่าง ๆ ตามที่
กำหนดในเงื่อนไขสัญญาเงินกู้จำนวนตามที่ระบุไว้ และจะต้องรักษาอัตราส่วน
Debt Service Coverage Ratio ภายใน 6 เดือนก่อนหน้าอยู่ในระดับ
ไม่ต่ำกว่า 1.2 เท่า"
จำนวนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2537 ปรากฏดังนี้
ร้อยละของ
จำนวนราย จำนวนหุ้น ทุนจดทะเบียน
ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นเกิน 5/1,000 ของทุนจดทะเบียน 6 234,879,785 58.72
ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นไม่เกิน 5/1,000 ของทุนจดทะเบียน 71,289 165,120,200 41.28
และไม่ต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย
ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย 15 15 -
รวม 71,310 400,000,000 100.00
- 6 -
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2537 จำนวน 6 รายแรก ปรากฏดังนี้
ชื่อ จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนจดทะเบียน
1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 191,999,985 48.00
2. BARCLAYS BANK (SINGAPORE NOMINEES) PTE LTD. 20,478,900 5.12
3. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 8,000,000 2.00
4. ROBERT FLEMING (NOMINEES) LTD. -B 6,665,000 1.67
5. HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD. 5,440,900 1.36
6. RAFFLES NOMINEES PTE LTD. 2,295,000 0.57
รวม 234,879,785 58.72
ผู้ถือหุ้นต่างด้าว ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2537
บริษัทมีผู้ถือหุ้นต่างด้าว 233 ราย
ถือหุ้นรวมกัน 57,340,400 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 14.34 ของทุนจดทะเบียน
หมายเหตุ บริษัทมีข้อจำกัดเกี่ยวกับผู้ถือหุ้นต่างด้าวตามข้อบังคับของบริษัทข้อ 7
ว่า "ห้ามมิให้บุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยถือหุ้นอยู่ในบริษัทเกินกว่าร้อยละ 30 ของ
จำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท"
คณะกรรมการ
ประธานกรรมการ นายสมบูรณ์ มณีนาวา
กรรมการผู้จัดการ นายอัมพร พงษ์ปรีชา
กรรมการ นายจามร สุทธิพงษ์ชัย
กรรมการ ร.ท.พัลลภ ไกรฤกษ์
กรรมการ ดร.จักรกฤษณ์ บูรณะสัมฤทธิ
กรรมการ นายสมหมาย ภาษี
กรรมการ ดร.หริส สูตะบุตร
กรรมการจากภายนอก นายศิรินทร์ นิมมานเหมินท์
กรรมการจากภายนอก นายชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์
ระยะเวลาห้ามจำหน่ายหุ้น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่และ/หรือกรรมการของบริษัทซึ่งถือหุ้นสามัญจำนวน 199,999,985
หุ้น คิดเป็นร้อยละ 50 ของทุนชำระแล้ว ให้คำรับรองต่อตลาดหลักทรัพย์ว่า
จะไม่นำหุ้นจำนวนดังกล่าวออกจำหน่ายเป็นระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่
หลักทรัพย์ของบริษัทเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
เงื่อนไขในการรับหลักทรัพย์ บริษัทต้องดำรงการถือหุ้นในบริษัทผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด ร้อยละ 99.99 จนกว่า
ตลาดหลักทรัพย์จะเริ่มใช้เกณฑ์การรับบริษัทประเภท Pure Holding หรือเกณฑ์
การรับหลักทรัพย์อื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบริษัทสามารถที่จะดำเนินการให้สอดคล้องกับ
เกณฑ์ดังกล่าวต่อไป
- 7 -
บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม - 31 ธันวาคม
(หน่วย : พันบาท)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สอบทานแล้ว
ตรวจสอบแล้ว เกิดขึ้นจริง สอบทานแล้ว
-- เกิดขึ้นจริง -- งวด 9 เดือน ประมาณการ
2535 2536 สิ้นสุด 30 กย. 37 2537
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เงินฝากธนาคาร 83,777 53,742 1,890,677 31,396
เงินปันผลค้างรับ - - - 46,486
เงินลงทุนในบริษัทย่อย - - 1,000 4,683,047
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิ 2,540 2,038 2,791 6,482
รายจ่ายรอการตัดบัญชี 13,864 46,493 49,611 195,193
สินทรัพย์รวม 103,678 102,628 1,951,053 4,965,868
หนี้สินหมุนเวียนรวม 3,730 8,031 8,512 12,100
ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว 100,000 100,000 1,960,000 4,000,000
ส่วนของผู้ถือหุ้น 99,949 94,598 1,942,541 4,953,768
รายได้เงินปันผลจากบริษัทย่อย - - - 46,486
รายได้ดอกเบี้ย 4,810 6,197 3,819 22,307
ส่วนแบ่งกำไรเงินลงทุนจากบริษัทย่อย - - - 2,447
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 2,721 4,066 3,963 19,191
กำไร(ขาดทุน)สุทธิ (51) (5,351) (12,057) 41,170
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
- 8 -
(หน่วย : พันบาท)
บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) บริษัทผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด
และบริษัทย่อย
สอบทานแล้ว
-- เกิดขึ้นจริง -- สอบทานแล้ว สอบทานแล้ว สอบทานแล้ว
งวด 9 เดือน ประมาณการ เกิดขึ้นจริง ประมาณการ
สิ้นสุด 30 กย. 37 2537 1 มิย. - 30 กย. 37 2537
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เงินสดและเงินฝากธนาคาร 1,891,702 786,770 1,025 755,374
ลูกหนี้การค้า - 694,593 - 694,593
วัสดุคงคลัง - 1,081,556 - 1,081,556
บัญชีสำรองจ่ายคืนเงินกู้ - 952,100 - 952,100
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิ 2,791 16,033,782 - 16,027,300
ทรัพย์สินรวม 1,951,079 19,881,057 2,890 19,644,722
เงินกู้ยืมระยะสั้น - 423,502 - 423,502
เจ้าหนี้การค้า - 390,750 - 390,750
เงินปันผลค้างจ่าย - 4 - 46,490
เงินกู้ยืมระยะยาว - 14,041,800 - 14,041,800
หนี้สินรวม 8,520 14,927,289 1,872 14,961,675
ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว 1,960,000 4,000,000 1,000 4,680,600
ส่วนของผู้ถือหุ้น 1,942,559 4,953,768 1,018 4,683,047
รายได้ค่าพลังไฟฟ้า - 303,794 - 303,794
รายได้ค่าพลังงานไฟฟ้า - 390,799 - 390,799
ค่าก๊าซธรรมชาติ - 384,150 - 384,150
ค่าเบี้ยประกันภัย - 13,800 - 13,800
ค่าบำรุงรักษาหลัก - 10,700 - 10,700
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 3,963 22,321 - 3,130
ค่าใช้จ่ายในการผลิตและบำรุงรักษา - 20,699 - 20,699
ดอกเบี้ยจ่าย - 122,400 - 122,400
รวมค่าใช้จ่าย 15,876 658,215 - 628 145
กำไร(ขาดทุน)สุทธิ (12,031) 41,174 18 48,937
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++