EN | TH
20 กุมภาพันธ์ 2539

งบการเงิน บ.ผลิตไฟฟ้า จำกัด(มหาชน)และบ.ย่อย ณ 31ธันวาคม2538

รายงานของผู้สอบบัญชี เสนอคณะกรรมการ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบดุลรวม ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 งบกำไรขาดทุน และกำไรสะสมรวม และงบกระแสเงินสดรวมประจำปีสิ้นสุดเพียงวันเดียวกันของ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งรวมทั้งการทดสอบรายการบัญชีและวิธีการตรวจสอบอื่นที่เห็นว่าจำเป็นแล้ว งบการเงินรวมประจำปีสิ้นสุดเพียงวันที่ 31 ธันวาคม 2537 ของบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ผู้สอบบัญชีอื่นตรวจสอบและให้ความเห็นอย่างไม่มีเงื่อนไข ไว้ในรายการสอบบัญชีลงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2538 ข้าพเจ้าเห็นว่า งบการเงินรวมที่กล่าวในวรรคแรกนี้แสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2538 ผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดประจำปีสิ้นสุดเพียงวันเดียวกันของ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย โดยถูกต้องตามที่ควร และได้ทำขึ้นตาม หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งได้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับปีก่อน เติมศักดิ์ กฤษณามระ กรุงเทพมหานคร ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 1106 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2539 สำนักงานไชยยศ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบดุลรวม ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 (ตัวเลขปีก่อนแสดงไว้เพื่อการเปรียบเทียบ) 2538 2537 สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและเงินฝากธนาคาร 42,698,555 361,060,194 เงินฝากสถาบันการเงิน 2,609,903,133 347,000,000 เงินฝากสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลักประกัน(หมายเหตุข้อ 4) 2,088,697,037 1,036,235,976 เงินลงทุนระยะสั้น (หมายเหตุข้อ 3.1 และข้อ 5) 61,376,320 - ลูกหนี้การค้า(หมายเหตุข้อ 6) 689,143,012 260,423,222 วัสดุสำรองคลัง (หมายเหตุข้อ 3.2 และข้อ 7) 850,729,099 988,304,774 ภาษีมูลค่าเพิ่มค้างรับ - 1,133,898,501 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 77,377,545 46,954,462 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 6,419,924,701 4,173,877,129 เงินลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทอื่น (หมายเหตุข้อ 3.3 และข้อ 8) 22,971,248 - ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิ (หมายเหตุข้อ 3.4 และข้อ 9) 15,617,038,165 16,121,848,011 สินทรัพย์อื่น (หมายเหตุข้อ 3.5 และข้อ 10) 639,202,170 610,305,882 รวมสินทรัพย์ บาท 22,699,136,284 20,906,031,022 หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินรวมนี้ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบดุลรวม ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 (ตัวเลขปีก่อนแสดงไว้เพื่อการเปรียบเทียบ) 2538 2537 หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สินหมุนเวียน เจ้าหนี้การค้า 32,365,077 - ส่วนของหนี้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (หมายเหตุข้อ 11 และข้อ 12) 476,247,688 394,430,600 ดอกเบี้ยเงินกู้ค้างจ่าย 68,381,549 69,411,626 ภาษีมูลค่าเพิ่มค้างจ่าย 65,868,606 14,218,879 หนี้สินหมุนเวียนอื่น 93,340,054 156,409,570 รวมหนี้สินหมุนเวียน 736,202,974 634,470,675 เงินกู้ยืมระยะยาว (หมายเหตุข้อ 11) 9,877,695,712 10,276,589,400 หุ้นกู้ (หมายเหตุข้อ 12) 3,410,000,000 3,460,000,000 รวมหนี้สิน 14,023,898,686 14,371,060,075 ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 3,072 3,867 บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบดุลรวม ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 (ตัวเลขปีก่อนแสดงไว้เพื่อการเปรียบเทียบ) 2538 2537 หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น (ต่อ) ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น (หมายเหตุข้อ 13) ทุนจดทะเบียน หุ้นสามัญ 530,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท 5,300,000,000 หุ้นสามัญ 400,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท 4,000,000,000 ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว หุ้นสามัญ 440,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท ชำระครบแล้ว 4,400,000,000 หุ้นสามัญ 400,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท ชำระครบแล้ว 4,000,000,000 ส่วนล้ำมูลค่าหุ้น 3,248,000,000 2,448,000,000 กำไรสะสม จัดสรรแล้ว-สำรองตามกฎหมาย(หมาเยหตุข้อ 14) 8,692,739 4,348,354 ยังไม่ได้จัดสรร 1,018,541,787 82,618,726 รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 8,675,234,526 6,534,967,080 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 22,699,136,284 20,906,031,022 หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินรวมนี้ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบกำไรขาดทุนและกำไรสะสมรวม ประจำปีสิ้นสุดเพียงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 (ตัวเลขปีก่อนแสดงไว้เพื่อการเปรียบเทียบ) 2538 2537 รายได้ รายได้จากการขาย (หมายเหตุข้อ 16) 3,858,779,991 243,386,188 รายได้อื่น 403,289,967 113,773,413 รวมรายได้ 4,262,069,958 357,159,601 ค่าใช้จ่าย ต้นทุนขาย (หมายเหตุข้อ 17) 1,318,296,571 76,469,176 ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร 392,906,272 43,599,592 ดอกเบี้ยจ่าย 1,459,911,864 105,129,145 ภาษีเงินได้ (หมายเหตุข้อ 18) 150,688,910 39,588,506 รวมค่าใช้จ่าย 3,321,803,617 264,786,419 กำไรสุทธิรวม 940,266,341 92,373,182 หัก ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย 5 3,787 การปรับปรุงกำไรสุทธิส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยปี 2537 (1,110) - กำไรสุทธิ บาท 940,267,446 92,369,395 กำไร (ขาดทุน) สะสมยกมาต้นปี 82,618,726 (5,402,315) กำไรสุทธิ 940,267,446 92,369,395 หัก การจัดสรรประจำปี สำรองตามกฎหมาย (หมายเหตุข้อ 14) (4,344,385) (4,348,354) กำไรสะสมยกไป 1,018,541,787 82,618,726 กำไรสุทธิต่อหุ้น (หมายเหตุข้อ 3.8) บาท 2.30 1.32 หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินรวมนี้ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบกระแสเงินสดรวม ประจำปีสิ้นสุดเพียงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 กระแสเงินสดจากกิจกรรมการดำเนินงาน กำไรสุทธิ 940,267,446 บวก (หัก) รายการปรับปรุงเพื่อกระทบยอดกำไรสุทธิเป็นเงินสดสุทธิ ค่าเสื่อมราคา 812,859,435 ค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชีตัดจ่าย 64,287,208 ค่าเผื่อผลขาดทุนจากการลดค่าของหลักทรัพย์ 1,860,333 ค่าเผื่อวัสดุสำรองคลังล้าสมัย 35,356,905 ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 27,354,000 กำไรจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงใน สินทรัพย์และหนี้สินดำเนินงาน 1,881,985,327 สินทรัพย์ดำเนินงาน (เพิ่ม) ลด เงินฝากสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลักประกัน (1,052,461,061) ลูกหนี้การค้า (428,719,790) วัสดุสำรองคลัง 102,218,770 ภาษีมูลค่าเพิ่มค้างรับ 1,133,898,501 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น (30,423,083) สินทรัพย์อื่น (93,183,496) หนี้สินดำเนินงานเพิ่ม (ลด) เจ้าหนี้การค้า 32,365,077 หนี้สินหมุนเวียนอื่น (63,069,516) ดอกเบี้ยเงินกู้ค้างจ่าย (1,030,077) ภาษีมูลค่าเพิ่มค้างจ่าย 51,649,727 เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน 1,533,230,379 กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน เงินลงทุนระยะสั้น (เพิ่มขึ้น) (63,236,653) เงินลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทอื่น (เพิ่มขึ้น) (22,971,248) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (เพิ่มขึ้น) (308,049,589) เงินสดสุทธิ (ใช้ไปใน) กิจกรรมลงทุน (394,257,490) บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย งบกระแสเงินสดรวม (ต่อ) ประจำปีสิ้นสุดเพียงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินทุน เงินกู้ยืมระยะยาวลดลง (344,430,600) หุ้นกู้ลดลง (50,000,000) ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (795) เงินสดรับจากการเพิ่มทุน 1,200,000,000 เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมจัดหาเงินทุน 805,568,605 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น - สุทธิ 1,944,541,494 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 1 มกราคม 708,060,194 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม บาท 2,652,601,688 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกระแสเงินสดเพิ่มเติม : 1.เงินสดที่จ่ายในระหว่างปีสำหรับ : ดอกเบี้ยจ่าย บาท 1,500,178,172 ภาษีเงินได้ บาท 158,129,103 2.เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดประกอบด้วย รายการเงินสดและเงิน ฝากธนาคาร และเงินฝากสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่มี ระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน หมายเหตุประกอบงบการเงินรวมเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินรวมนี้ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หมายเหตุประกอบงบการเงินรวม ประจำปีสิ้นสุดเพียงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 (ตัวเลขปีก่อนแสดงไว้เพื่อการเปรียบเทียบ) 1.เกณฑ์การเสนองบการเงินรวม 1.1งบการเงินรวมเป็นการรวมรายการบัญชีของบริษัทและบริษัทย่อย โดยได้ตัดรายการ การค้าและยอดคงเหลือระหว่างกันออกแล้ว รายการบัญชีของบริษัทย่อยดังต่อไปนี้ได้ นำมารวมในงบการเงินนี้ 2538 2537 อัตราการถือหุ้น อัตราการถือหุ้น ร้อยละ ร้อยละ บริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด 99.99 99.99 บริษัทผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด 99.99 - บริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด 99.99 - บริษัท เอ็กโก ร่วมทุนและพัฒนา จำกัด 99.99 - 1.2เนื่องจากปี 2537 เป็นปีแรกที่จัดทำงบการเงินรวม จึงไม่มีงบกระแสเงินสดรวมในปี 2537 2.การดำเนินงานของบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2535 และได้แปลงสภาพเป็นบริษัทมหาชน จำกัด เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2537 โดยมีวัตถุ ประสงค์ในการดำเนินธุรกิจในรูปบริษัทโฮลดิ้งของบริษัทย่อยต่าง ๆ เช่น บริษัทที่ดำเนิน ธุรกิจด้านการผลิตไฟฟ้า เป็นต้น 3.นโยบายการบัญชีที่สำคัญ 3.1 เงินลงทุนระยะสั้น เงินลงทุนระยะสั้นที่เป็นหลักทรัพย์ แสดงตามราคาทุนรวมหรือราคาตลาดรวมแล้วแต่ราคา ใดจะต่ำกว่า (ราคาตลาดใช้ราคาปิดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อสิ้นวันทำการ วันสุดท้ายของงวดบัญชี) 3.2 วัสดุสำรองคลัง วัสดุสำรองคลังแสดงในราคาทุนหลังหักสำรองค่าวัสดุสำรองคลังล้าสมัย ราคาทุนคำนวณ ตามวิธีถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ สำรองค่าวัสดุสำรองคลังล้าสมัยส่วนใหญ่คำนวณจากยอดคงเหลือของวัสดุสำรองคลังหาร ด้วยจำนวนปีที่คงเหลืออยู่ตามอายุของสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ไทย (กฟผ.) 3.3 เงินลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทอื่น เงินลงทุนในบริษัทร่วมแสดงตามวิธีส่วนได้เสีย เงินลงทุนในบริษัทอื่นแสดงตามราคาทุน 3.4 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิ แสดงในราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสม ค่าเสื่อมราคาคำนวณ โดยใช้วิธีเส้นตรงตามอายุการใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์ดังนี้ โรงไฟฟ้า 20 ปี อาคารสิ่งปลูกสร้าง 20 ปี ระบบสื่อสาร 10 ปี ระบบส่งพลังไฟฟ้า 20 ปี เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและบำรุงรักษา 5 ปี เครื่องใช้สำนักงาน 5-10 ปี เครื่องตกแต่ง 5 ปี อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 5-10 ปี ยานพาหนะ 5 ปี 3.5 ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายจัดตั้งบริษัทและค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชีอื่นตัดจำหน่าย โดยวิธีเส้นตรงภายในระยะเวลา 5-10 ปี 3.6 รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ได้บันทึกไว้ในบัญชีโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ เกิดรายการ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศคงเหลือ ณ วันสิ้นปี ได้แปลงค่า เป็นเงินบาท ตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้น กำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าเงินตราต่างประเทศได้บันทึกเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายเมื่อ เกิดขึ้น 3.7 การแปลงค่าเงินตราต่างประเทศสำหรับหนี้สินระยะยาว ในปี 2538 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้เปลี่ยนแปลงการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการแปลงค่าเงินกู้ยืม ระยะยาวที่เป็นเงินตราต่างประเทศ จากเดิมที่เคยบันทึกผลกำไรและขาดทุนจากการแปลง ค่าเป็นรายจ่ายรอตัดบัญชีและตัดจ่ายตามอายุหนี้ มาเป็นการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายในงวด บัญชีที่มีการแปลงค่านั้นทั้งจำนวน การเปลี่ยนแปลงวิธีการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการแปลงค่าเงินกู้ยืมที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ดังกล่าวมีผลกระทบทำให้กำไรสะสมยกมาลดลงจำนวนเงินประมาณ 16 ล้านบาท และ เนื่องจากจำนวนนี้ไม่เป็นสาระสำคัญ บริษัทย่อยนั้นจึงได้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของปี 2538 3.8 กำไรสุทธิต่อหุ้น กำไรสุทธิต่อหุ้นคำนวณโดยการหารกำไรสุทธิด้วยจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้ว ถัวเฉลี่ย ถ่วงน้ำหนักตามระยะเวลาที่มีการเพิ่มทุน 3.9 การจัดประเภทรายการ รายการย่อและหมายเหตุประกอบงบการเงินรวมประจำปีสิ้นสุดเพียงวันที่ 31 ธันวาคม 2537 บางรายการได้มีการจัดประเภทใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับรายการย่อและหมายเหตุประกอบ งบการเงินรวมสำหรับปีสิ้นสุดเพียงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 4.เงินฝากสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลักประกัน เงินฝากสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลักประกันของบริษัทย่อย เป็นเงินสำรองสำหรับภาระหนี้สิน ซึ่งกันไว้จากรายได้ค่าขายไฟฟ้าตามสัญญาการกู้ยืมดังกล่าวในหมายเหตุข้อ 11 และข้อ 12 5.เงินลงทุนระยะสั้น เงินลงทุนระยะสั้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2538 ประกอบด้วย ราคาทุน ราคาตลาด หลักทรัพย์จดทะเบียน หุ้นสามัญ 55,338,653 53,727,320 ใบสำคัญแสดงสิทธิ 2,098,000 1,849,000 57,436,653 55,576,320 หัก สำรองเผื่อการลดค่าของ หลักทรัพย์ (1,860,333) - 55,576,320 55,576,320 หลักทรัพย์อื่น หุ้นกู้ 5,800,000 5,800,000 5,800,000 5,800,000 บาท 61,376,320 61,376,320 6.ลูกหนี้การค้า ลูกหนี้การค้าเป็นยอดค้างรับชำระค่าไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รายเดียว 7.วัสดุสำรองคลัง-สุทธิ วัสดุสำรองคลัง-สุทธิประกอบด้วย 2538 2537 น้ำมันเชื้อเพลิง 150,500,823 150,853,476 อะไหล่ 702,140,085 755,289,699 อะไหล่ระหว่างซ่อม 25,161,764 73,361,214 วัสดุและบริภัณฑ์อื่น 8,283,332 8,800,385 886,086,004 988,304,774 หัก สำรองค่าวัสดุสำรองคลังล้าสมัย (35,356,905) - บาท 850,729,099 988,304,774 8.เงินลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทอื่น เงินลงทุนในบริษัทร่วมและบริษัทอื่น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2538 ประกอบด้วย 8.1เงินลงทุนในบริษัทร่วม ถือหุ้นร้อยละ 2538 บริษัท อมตะ เอ็กโก เพาเวอร์ จำกัด 33.33 4,221,250 4,221,250 เงินลงทุนในบริษัทร่วมดังกล่าวแสดงในราคาทุน เนื่องจากบริษัทร่วมดังกล่าวยังไม่เริ่มดำเนินงาน 8.2เงินลงทุนในบริษัทอื่น บริษัท ไทย แอลเอ็นจี เพาเวอร์ จำกัด 10.00 18,749,998 18,749,998 บาท 22,971,248 9.ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิประกอบด้วย 2538 2537 ที่ดิน 404,320,044 126,531,679 โรงไฟฟ้า 14,852,223,558 14,852,223,558 อาคารสิ่งปลูกสร้าง 1,146,646,329 1,146,598,329 เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและบำรุงรักษา 26,014,285 27,204,837 ระบบส่งพลังไฟฟ้า 7,002,029 7,002,029 ระบบสื่อสาร 7,077,653 3,255,366 เครื่องใช้สำนักงาน 5,654,780 4,052,591 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 26,944,326 2,032,072 เครื่องตกแต่ง 2,207,343 1,726,323 ยานพาหนะ 7,874,063 7,874,063 อาคารระหว่างก่อสร้าง 180,000 - สินทรัพย์ระหว่างทาง 113,800 - 16,486,258,210 16,178,500,847 หัก ค่าเสื่อมราคาสะสม (869,220,045) (56,652,836) บาท 15,617,038,165 16,121,848,011 ค่าเสื่อมราคาประจำปี บาท 812,859,435 56,002,414 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้จดจำนองที่ดิน อาคารและจดจำนำอุปกรณ์ของโรงไฟฟ้าตามที่ระบุในสัญญา และมีสัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้องเป็นหลักประกันเงินกู้ยืมระยะยาวและหุ้นกู้ (ดูหมายเหตุข้อ 11 ข้อ 12 และข้อ 19.3 ตามลำดับ) 10.สินทรัพย์อื่น สินทรัพย์อื่นประกอบด้วย 2538 2537 ค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงาน 425,448 - ค่าใช้จ่ายจัดตั้งบริษัทและค่าธรรมเนียมการจัดการ 373,919,556 285,799,868 ค่าใช้จ่ายในการจัดหาเงินทุน 273,944,442 267,093,173 ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชีอื่น 55,143,985 59,863,929 เงินมัดจำ 4,050,599 1,803,940 707,484,030 614,560,910 หัก ค่าตัดจำหน่ายสะสม (68,281,860) (4,255,028) บาท 639,202,170 610,305,882 ค่าตัดจำหน่ายประจำปี บาท 64,287,208 19,936,616 11.เงินกู้ยืมระยะยาว เงินกู้ยืมระยะยาวเป็นเงินกู้ยืมที่บริษัทย่อยแห่งหนึ่งกู้ยืมจาก สถาบันการเงินต่าง ๆ ดังนี้ 2538 2537 เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินต่างประเทศ 6,895,943,400 7,081,020,000 เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินในประเทศ 3,408,000,000 3,550,000,000 10,303,943,400 10,631,020,000 หัก ส่วนของหนี้ระยะยาวที่ถึงกำหนด ชำระภายในหนึ่งปี (426,247,688) (354,430,600) บาท 9,877,695,712 10,276,589,400 เงินกู้ยืมระยะยาวดังกล่าวข้างต้นเป็นเงินกู้ยืมภายใต้สัญญา Master Agreement สัญญา Credit Agreement และสัญญา Institutional Loan Agreement สัญญาแต่ละฉบับลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2537โดยมีวงเงินกู้ยืมรวมคือ 282 ดอลลาร์สหรัฐ และ 4,200 ล้านบาท มีกำหนด ผ่อนชำระคืนเงินต้น ภายใน 10 ปี 12 ปี และ 15 ปี และมีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวตาม LIBOR และ MLR บวกส่วนต่างที่กำหนดและอัตราดอกเบี้ยคงที่ตามที่กำหนดในสัญญา เงินกู้ยืมระยะยาวดังกล่าวมีการจดจำนองที่ดินอาคาร โรงไฟฟ้าและจดจำนำอุปกรณ์ของ โรงไฟฟ้าตามที่ระบุในสัญญา และมีสัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้องของบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง ให้แก่เจ้าหนี้ เงินกู้ยืมเพื่อเป็นหลักประกัน (ดูหมายเหตุข้อ 9 และข้อ 19.3 ตามลำดับ) ในวันที่ทำสัญญากู้ยืมเงินข้างต้น บริษัทย่อยนั้นได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกับธนาคาร ต่างประเทศแห่งหนึ่ง สัญญามีผลบังคับให้เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นอัตราคงที่ร้อยละ 8.12 ต่อปี สำหรับเงินกู้ยืม 141 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สัญญานี้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2537 ถึง วันที่ 7 ธันวาคม 2547 12.หุ้นกู้ หุ้นกู้ ประกอบด้วย 2538 2537 หุ้นกู้ 3,460,000,000 3,500,000,000 หัก ส่วนของหุ้นกู้ที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (50,000,000) (40,000,000) บาท 3,410,000,000 3,460,000,000 หุ้นกู้ดังกล่าวมีการจดจำนองที่ดิน อาคาร โรงไฟฟ้าและจดจำนำอุปกรณ์ของโรงไฟฟ้าตามที่ระบุ ในสัญญาและมีสัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้องของบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง ให้แก่เจ้าหนี้หุ้นกู้เพื่อเป็นหลัก ประกัน (ดูหมายเหตุข้อ 9 และข้อ 19.3 ตามลำดับ) หุ้นกู้ดังกล่าวข้างต้นเป็นเงินกู้ยืมภายใต้สัญญา Master Agreement และสัญญา Debenture Holder Representative Appointment Agreement No.1 และ No.2 สัญญาแต่ละฉบับ ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2537 หุ้นกู้ครั้งที่ 1 แบ่งเป็น 4 ส่วน อายุ 5 ปี 7 ปี 10 ปี และ12 ปี โดยมีกำหนดไถ่ถอนในปี 2542 2544 2547 และ 2549 หุ้นกู้ครั้งที่ 2 แบ่งเป็น 12 ส่วน อายุ 1-12 ปี โดยมีกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ตั้งแต่ปี 2538 -2549 มีอัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 11.25 ต่อปี และจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง 13.ทุนเรือนหุ้น ผู้ถือหุ้นบริษัทได้มีมติเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2538 ให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 4,000 ล้านบาท เป็น 5,300 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน จำนวน 130 ล้านหุ้น มีมูลค่าที่ตราไว้หุ้น ละ 10 บาท ซึ่งบริษัทได้จดทะเบียนการเพิ่มทุนกับกรมทะเบียนการค้าแล้ว เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2538 ตามมติผู้ถือหุ้นดังกล่าวข้างต้นให้นำหุ้นสามัญใหม่ออกจัดสรรดังนี้ - เสนอขายหุ้นสามัญให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม จำนวน 40 ล้านหุ้น ในสัดส่วนหุ้นเดิม 10 หุ้น ต่อหุ้น สามัญใหม่ 1 หุ้น ในราคาหุ้นละ 30 บาท บริษัทได้รับชำระค่าหุ้นล่วงหน้า ณ วันที่ 21 กันยายน 2538 จำนวน 1,175 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 25 ล้านบาท บริษัทได้รับ ชำระภายหลังและได้จดทะเบียนเพิ่มทุนกับกรมทะเบียนการค้า เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2538 - เสนอขายหุ้นสามัญใหม่ให้แก่ประชาชนทั่วไป เป็นจำนวน 80 ล้านหุ้น ซึ่งราคาเสนอขายให้ อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการของบริษัท - ออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญจำนวน 10 ล้านหน่วย โดยเสนอขายให้แก่พนักงาน ของบริษัทและบริษัทย่อยในราคาหน่วยละ 0 บาท และใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วย มีสิทธิ ในการจองซื้อหุ้นสามัญใหม่ 1 หุ้น ในราคา 30 บาท โดยกำหนดให้ใช้สิทธิภายใน 1 ปีนับ ตั้งแต่วันที่ออกใบสำคัญแสดงสิทธิ 14.สำรองตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจะต้องจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีส่วนหนึ่งไว้เป็น ทุนสำรองไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของกำไรสุทธิประจำปี หักด้วยยอดขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) จนกว่าทุนสำรองนี้จะมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของทุนจดทะเบียน ในปี 2538 บริษัทจัดสรรสำรองตามกฎหมายจากกำไรสุทธิปีปัจจุบันที่ไม่รวมส่วนได้เสียในกำไร สุทธิที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัทย่อยและในปี 2537 จัดสรรกำไรสุทธิรวมส่วนได้เสียในกำไรสุทธิ ที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัทย่อย 15.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทได้จัดตั้งกองทุนเงินสะสมพนักงานสำหรับพนักงานของบริษัทที่สมัครเป็นสมาชิกของ กองทุนโดยหักจากเงินเดือนของพนักงานส่วนหนึ่งและบริษัทจ่ายสมทบให้อีกส่วนหนึ่ง บริษัทได้ แต่งตั้งผู้จัดการกองทุนเพื่อบริหารกองทุนดังกล่าวตามกฎเกณฑ์และข้อกำหนดพระราชบัญญัติ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 16.รายได้จากการขาย รายได้จากการขายของบริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้แก่ค่าขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ไทยประกอบด้วย 2538 2537 รายได้ค่าพลังไฟฟ้า 3,776,689,216 238,013,763 รายได้ค่าพลังงานไฟฟ้า 82,090,775 5,372,425 บาท 3,,858,779,991 243,386,188 ในการคำนวณรายได้ค่าไฟฟ้าในส่วนของรายได้ค่าพลังงานไฟฟ้าในปี 2538 และ 2537 ไม่ได้ รวมคำนวณต้นทุนค่าก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่บริษัทย่อยยังไม่มีต้นทุนค่าก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับภาระต้นทุนก๊าซธรรมชาติ จนกว่าบริษัทย่อย จะมีสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ตามเงื่อนไขของสัญญาซื้อขาย ไฟฟ้า ซึ่งต้องรอผลการเจรจาระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกับการปิโตรเลียมแห่ง ประเทศไทยให้แล้วเสร็จก่อน 17.ต้นทุนขาย ต้นทุนขายของบริษัทย่อยประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายหลักที่สำคัญ ได้แก่ ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าบำรุง รักษา ค่าสัมปทานและค่าเสื่อมราคา โดยไม่รวมค่าก๊าซธรรมชาติ ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทยเป็นผู้รับภาระต้นทุนก๊าซธรรมชาติแทนบริษัทจนกว่าบริษัทจะมีสัญญาซื้อขายก๊าซธรรม ชาติกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยตามเงื่อนไขของสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 18.ภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากการผลิตไฟฟ้าโดยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติ บุคคลเป็นเวลา 8 ปี (วันที่ 20 เมษายน 2538 ถึง 19 เมษายน 2546) และได้รับลดหย่อน ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติมีกำหนดเวลา 5 ปี(วันที่ 20 เมษายน 2546 ถึง 19 เมษายน 2551)นับจากพ้นกำหนดเวลา 8 ปีดังกล่าว สำหรับรายได้อื่นของบริษัทย่อยที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลใน อัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิก่อนภาษีเงินได้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้มีหนังสือลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2538 ถึงบริษัท ย่อยแห่งหนึ่ง ในเรื่องการจ่ายเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทดังกล่าวสรุปได้ดังนี้ - การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจะจ่ายเงินค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทย่อยดังกล่าว ช่วงระหว่างที่บริษัทยังไม่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน คือระหว่างวันที่ 7-31 ธันวาคม 2537 และวันที่ 1 มกราคม 2538 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2538 เป็นจำนวนเงินประมาณ 16 ล้านบาท และ 114 ล้านบาท ตามลำดับ ให้แก่บริษัทเมื่อได้นำส่งค่าภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังกล่าวต่อ กรมสรรพากรแล้ว - ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ บริษัทย่อยดังกล่าว สามารถจะลดลงได้ในช่วงระหว่างวันที่ 7 ธันวาคม 2545 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2551 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยขอให้บริษัท พิจารณา ส่งคืนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยตามจำนวนภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ลดลงได้จริงใน ขณะนั้น ต่อมา กฟผ. ได้มีหนังสือลงวันที่ 10 มกราคม 2539 ถึงบริษัทย่อยดังกล่าว ในเรื่องการจ่ายเงินค่า ภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทสรุปได้ดังนี้ - ให้บริษัทย่อยดังกล่าวเป็นผู้รับภาระทั้งหมด สำหรับค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2537 จำนวน ประมาณ 16. ล้านบาท และภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2538 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2538 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2538 จำนวนประมาณ 114 ล้านบาท โดยจะทำให้สิทธิการได้รับยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลในช่วงวันที่ 7 ธันวาคม 2545 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2551 ตกเป็นของ บริษัท ย่อยดังกล่าว - ส่วนการได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ อีก 5 ปี กฟผ ขอให้บริษัทย่อยดังกล่าวพิจารณาปรับ Equity Financing Charge ตามความเป็นจริง ตามหนังสือของกฟผ.ดังกล่าวมีผลทำให้บริษัทย่อยดังกล่าวต้องจ่ายค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลของกำไร สุทธิในช่วงระหว่างวันที่ 7 ธันวาคม 2537 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2538 และไม่ต้องส่งคืนภาษี เงินได้นิติบุคคลที่บริษัทสามารถลดลงได้ในช่วงระหว่างวันที่ 8 ธันวาคม 2545 ถึง วันที่ 19 เมษายน 2551 ให้แก่กฟผ. แทนที่จะต้องปฏิบัติตามหนังสือลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2538 ข้างต้นนี้ นอกจากนี้บริษัทจะต้องพิจารณาราคาขายไฟฟ้าตามต้นทุนที่เป็นจริง ในช่วงที่ได้รับลดหย่อนภาษีเงิน ได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติอีก 5 ปี (วันที่ 8 ธันวาคม 2545 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2551) ด้วย 19.สัญญาที่สำคัญ 19.1 สัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในปี 2537 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สัญญาดังกล่าวมีอายุ 20 ปี นับตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2537 และมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการขาย ไฟฟ้าของบริษัทให้กับบุคคลที่สามตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา ตลอดจนภาระผูกพันตามสัญญาจะ โอนสิทธิเรียกร้อง (ดูหมายเหตุข้อ 19.3) 19.2 สัญญาการบำรุงรักษาหลัก บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญาการบำรุงรักษาหลักกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อการบริการดูแลและรักษาหลัก การซ่อมแซม การจัดการและการบริการเพิ่มเติมอื่นที่เกี่ยวข้อง กับโรงไฟฟ้าของบริษัท บริษัทจะต้องจ่ายค่าบริการดังกล่าวตามข้อกำหนดในสัญญา สัญญานี้มีผลบังคับ ใช้ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2537 และจะต่อไปได้อีก 6 ปี สัญญานี้มีภาระผูกพันตามสัญญาจะโอน สิทธิเรียกร้อง (ดูหมายเหตุข้อ 19.3) 19.3 สัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้อง บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้องของบริษัทตามสัญญาซื้อขายโรงไฟฟ้า สัญญา ซื้อขายไฟฟ้า สัญญาบำรุงรักษาหลักและกรมธรรม์ประกันภัย ตลอดจนสัญญาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เจ้าหนี้เงินกู้ยืมและเจ้าหนี้หุ้นกู้เพื่อเป็นหลักประกันตามข้อกำหนดของสัญญากู้ยืม