13 สิงหาคม 2540
งบการเงิน บมจ.ผลิตไฟฟ้า วันที่ 30 มิถุนายน 2540
รายงานของผู้สอบบัญชี
เสนอคณะกรรมการ
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
ข้าพเจ้าได้สอบทานงบดุลลงวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539 และงบกำไรขาดทุน
ประจำแต่ละไตรมาสและประจำแต่ละงวดหกเดือนสิ้นสุดเพียงวันเดียวกันตามลำดับของ บริษัท
ผลิตไฟฟ้า จำกัด(มหาชน) ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่ง
ประเทศไทย
การสอบทานงบการเงินระหว่างกาลนี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วย การทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ
ในการจัดทำงบการเงิน การใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน และการ
สอบถามเจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทางการเงินและบัญชี ซึ่งการสอบทานนี้มีขอบเขตจำกัด
กว่าการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินมาก ดังนั้น
ข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินที่สอบทานได้
ข้าพเจ้าไม่พบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งควรนำมาปรับปรุงงบการเงินระหว่างกาลที่กล่าว
ในวรรคแรกให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป จากการสอบทานของข้าพเจ้าดังกล่าวข้างต้น
เติมศักดิ์ กฤษณามระ
กรุงเทพมหานคร ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 1106
วันที่ 24 กรกฎาคม 2540 สำนักงานดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
งบดุล
ลงวันที่ 30 มิถุนายน
"ยังไม่ได้ตรวจสอบ"
หน่วย : พันบาท
2540 2539
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินฝากสถาบันการเงิน 1,598,824 3,673,610
เงินลงทุนระยะสั้น 1,770,929 160,711
ลูกหนี้บริษัทย่อย 5,815 180,974
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 180,345 163,495
3,555,913 4,178,790
เงินลงทุนในบริษัทย่อย 12,091,866 10,422,521
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ 404,725 342,155
สินทรัพย์อื่น 10,605 10,111
รวม 16,063,109 14,953,577
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน
หนี้สินหมุนเวียนอื่น 86,593 85,914
86,593 85,914
ส่วนของผู้ถือหุ้น 15,976,516 14,867,663
รวม 16,063,109 14,953,577
ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล
"สอบทานแล้ว"
(นายสมบูรณ์ มณีนาวา) (นายวรวิทย์ ขำขนิษฐ์)
ประธานกรรมการ กรรมการผู้จัดการ
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
งบกำไรขาดทุน
"ยังไม่ได้ตรวจสอบ"
หน่วย : พันบาท
ประจำไตรมาสสิ้นสุด ประจำงวดหกเดือนสิ้นสุด
พียงวันที่ 30 มิถุนายน เพียงวันที่ 30 มิถุนายน
2540 2539 2540 2539
รายได้
ส่วนได้เสียในกำไรสุทธิที่ยัง
ไม่ได้แบ่งของบริษัทย่อย 711,176 203,743 1,145,109 450,634
รายได้อื่น 138,345 229,553 246,680 323,032
849,521 433,296 1,391,789 773,666
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายอื่น 103,056 59,612 167,184 96,557
ภาษีเงินได้ 11,136 51,739 28,782 68,681
กำไรสุทธิ 735,329 321,945 1,195,823 608,428
849,521 433,296 1,391,789 773,666
กำไรสุทธิต่อหุ้น
ประจำไตรมาส บาท 1.41 0.68
ประจำงวดหกเดือน บาท 2.30 1.29
ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล
"สอบทานแล้ว"
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
หมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล
ประจำไตรมาสและประจำงวดหกเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539
1. ส่วนได้เสียในกำไร (ขาดทุน) สุทธิที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัทย่อย
สำหรับไตรมาสสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539 ส่วนได้เสียในกำไร (ขาดทุน)
สุทธิ ที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัทย่อยที่นำมารวมในงบการเงินตามวิธีส่วนได้เสียคำนวณจากงบการเงิน
ประจำไตรมาส เมื่อคิดเป็นร้อยละของกำไรสุทธิแล้วมีดังต่อไปนี้
ประจำไตรมาสสิ้นสุด ประจำงวดหกเดือนสิ้นสุด
เพียงวันที่ 30 มิถุนายน เพียงวันที่ 30 มิถุนายน
2540 2539 2540 2539
อัตราการ ร้อยละของ ร้อยละของ ร้อยละของ ร้อยละของ
ถือหุ้น กำไรสุทธิ กำไรสุทธิ กำไรสุทธิ กำไรสุทธิ
ร้อยละ
บริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด 99.99% 50.02 49.59 47.77 67.49
บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด 99.99% 48.05 15.27 49.89 8.08
บริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง
แอนด์ เซอร์วิส จำกัด 99.99% (1.03) (1.04) (1.55) (0.98)
บริษัท เอ็กโก ร่วมทุนและ
พัฒนา จำกัด 99.99% (0.32) (0.54) (0.34) (0.52)
96.72 63.28 95.77 74.07
2. นโยบายการบัญชีที่สำคัญ
2.1 เงินลงทุนระยะสั้น
เงินลงทุนที่เป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดแสดงตามราคาทุนรวมหรือราคาตลาดรวมแล้ว
แต่ราคาใดจะต่ำกว่า (ราคาตลาดใช้ราคาปิดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อสิ้นวันทำการ
วันสุดท้ายของงวดบัญชี)
ตราสารหนี้ประเภทหุ้นกู้จะใช้ราคาซื้อขายครั้งล่าสุดของชมรมผู้ค้าตราสารหนี้เป็นราคาตลาดสำหรับ
เปรียบเทียบกับราคาทุน กรณีไม่มีราคาซื้อขายดังกล่าวจะคำนวณราคาตลาดขึ้นโดยใช้เส้นอัตราผล
ตอบแทนปรับด้วยค่าความเสี่ยงที่เหมาะสม
เงินลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนแสดงในราคาทุน
.../2
- 2 -
2.2 เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วมและบริษัทอื่น
เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมแสดงตามวิธีส่วนได้เสีย ยกเว้นเงินลงทุนในบริษัทร่วมสองแห่ง
ซึ่งแสดงในราคาทุน เนื่องจากไม่มีข้อมูลของบริษัทร่วมทั้งสองแห่งดังกล่าว ที่จะนำมาแสดงตามวิธี
ส่วนได้เสียในขณะนี้ และเงินลงทุนดังกล่าวไม่มีสาระสำคัญต่อ งบการเงินของบริษัท
เงินลงทุนในบริษัทอื่นแสดงตามราคาทุน
2.3 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ
ที่ดินแสดงในราคาทุน
อาคารและอุปกรณ์แสดงในราคาทุนหลังหักค่าเสื่อมราคาสะสม ค่าเสื่อมราคาคำนวณโดยใช้วิธีเส้นตรง
ตามอายุการใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์ดังนี้
เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำเนินงานและบำรุงรักษา 5 ปี
ระบบสื่อสาร 10 ปี
เครื่องใช้สำนักงาน 5-10 ปี
เครื่องตกแต่ง 5 ปี
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 5-10 ปี
ยานพาหนะ 5 ปี
2.4 ค่าใช้จ่ายรอตัดจ่าย
ค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายจัดตั้งบริษัทและค่าใช้จ่ายรอตัดจ่ายอื่น ตัดจำหน่ายโดยวิธี
เส้นตรงภายในระยะเวลา 5-10 ปี
2.5 กำไรสุทธิต่อหุ้น
กำไรสุทธิต่อหุ้นคำนวณโดยการหารกำไรสุทธิด้วยจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วตามระยะเวลา
ที่มีการเพิ่มทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
2.6 การจัดประเภทรายการ
งบการเงินระหว่างกาลประจำงวดหกเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 มิถุนายน 2539 บางรายการได้มีการ
จัดประเภทใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการแสดงในงบการเงินระหว่างกาลประจำงวดหกเดือนสิ้นสุดเพียง
วันที่ 30 มิถุนายน 2540
.../3
- 3 -
3. ลูกหนี้ (เจ้าหนี้) บริษัทย่อย
ลูกหนี้ (เจ้าหนี้) บริษัทย่อยส่วนใหญ่เป็นเงินทดรองจ่ายแทนบริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด บริษัท
ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด บริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด และบริษัทเอ็กโก
ร่วมทุนและพัฒนา จำกัด สำหรับค่าธรรมเนียมที่ปรึกษาทางการเงินและการจัดหาเงินทุน และค่าใช้
จ่ายอื่น ๆ เพื่อโครงการของบริษัทเหล่านั้น
4. ทุนเรือนหุ้น
ผู้ถือหุ้นบริษัทได้มีมติเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2538 ให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 4,000 ล้านบาท เป็น
5,300 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน จำนวน 130 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
ซึ่งบริษัทได้จดทะเบียนมติเพิ่มทุนกับกรมทะเบียนการค้าแล้ว เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2538
ตามมติผู้ถือหุ้นดังกล่าวข้างต้นให้นำหุ้นสามัญใหม่ออกจัดสรรดังนี้
- เสนอขายหุ้นสามัญให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม จำนวน 40 ล้านหุ้น ในสัดส่วนหุ้นเดิม 10 หุ้น ต่อหุ้น
สามัญใหม่ 1 หุ้น ในราคาหุ้นละ 30 บาท บริษัทได้รับชำระค่าหุ้นครบถ้วนแล้ว และได้ จดทะเบียน
เพิ่มทุนกับกรมทะเบียนการค้าแล้ว เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2538
- เสนอขายหุ้นสามัญใหม่ให้แก่ประชาชนทั่วไป เป็นจำนวน 80 ล้านหุ้น ซึ่งราคาเสนอขายให้อยู่ใน
ดุลยพินิจของคณะกรรมการของบริษัท
- ออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญจำนวน 10 ล้านหน่วย โดยเสนอขายให้แก่พนักงานของบริษัท
และบริษัทในเครือในราคาหน่วยละ 0 บาท และใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วยมีสิทธิในการจองซื้อ
หุ้นสามัญใหม่ 1 หุ้น ในราคา 30 บาท โดยกำหนดให้ใช้สิทธิภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ออกใบสำคัญ
แสดงสิทธิ
ต่อมาคณะกรรมการบริษัทได้มีมติเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2539 ให้เสนอขายหุ้นดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุน
ในประเทศจำนวน 56 ล้านหุ้น ราคาเสนอขายหุ้นละ 72 บาท และเสนอขายแก่ผู้ลงทุนในต่างประเทศ
จำนวน 24 ล้านหุ้น ราคาเสนอขายหุ้นละ 83 บาท
บริษัทได้รับเงินชำระค่าหุ้นจากการเสนอขายหุ้นดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน 6,024 ล้านบาท ครบถ้วนแล้ว
และได้จดทะเบียนเพิ่มทุนชำระแล้วกับกรมทะเบียนการค้าเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2539 ดังนั้น จึงมี
ทุนชำระแล้วเพิ่มขึ้นจำนวน 800 ล้านบาท และมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นจำนวน 5,224 ล้านบาท
.../4
- 4 -
คณะกรรมการบริษัทได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2539 มอบอำนาจให้กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท
เป็นผู้กำหนดและแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดของการออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิตามที่เห็น
สมควรและจำเป็น เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งหรือคำแนะนำของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์
และตลาดหลักทรัพย์ หรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และบริษัทจะออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
สามัญจำนวนที่จัดสรร 10 ล้านหน่วย ระยะเวลาโครงการ 5 ปี ในสัดส่วน 22% , 21% , 20% ,
19% และ 18% ในปีที่ 1-5 ตามลำดับ โดยเสนอขายให้แก่พนักงานของบริษัทและบริษัทในเครือ
ราคาที่ใช้สิทธิ 30 บาทต่อหุ้น โดยจะให้ใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญได้ในวันที่ 17 เมษายน 2540 หรือวันที่
ครบกำหนดหนึ่งปีนับจากวันออกใบสำคัญแสดงสิทธิ
สำหรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เหลือหลังจากเสนอขายภายใน 5 ปีแล้ว ให้อยู่ในดุลยพินิจของ
ที่ประชุมผู้ถือหุ้น
เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2540 ในปีแรกพนักงานของบริษัทและบริษัทในเครือได้ใช้สิทธิใบสำคัญแสดง
สิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญจำนวน 1,233,800 หุ้น ราคาที่ใช้สิทธิ 30 บาท ต่อหุ้น บริษัทได้รับเงินชำระ
ค่าหุ้นจากการเสนอขายหุ้นดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน 37,014,000 บาท ครบถ้วนแล้ว และได้จด
ทะเบียนเพิ่มทุนชำระแล้วกับกรมทะเบียนการค้าเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2540 ดังนั้นจึงมีทุนชำระ
แล้วเพิ่มขึ้นจำนวน 12,338,000 บาท และมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นจำนวน 24,676,000 บาท
ต่อมาเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้จัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะ
ซื้อหุ้นสามัญในปีที่ 2 ให้แก่กรรมการบริษัทและบริษัทย่อยที่จะมีสิทธิได้รับการจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิ
จำนวน 124,900 หน่วย
5. สำรองตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจะต้องจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีส่วนหนึ่งไว้เป็นทุนสำรอง
ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของกำไรสุทธิประจำปี หักด้วยยอดขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี)
จนกว่าทุนสำรองนี้จะมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของทุนจดทะเบียน
บริษัทจัดสรรสำรองตามกฎหมายจากกำไรสุทธิปีปัจจุบันที่ไม่รวมส่วนได้เสียในกำไรสุทธิที่ยังไม่ได้แบ่ง
ของบริษัทย่อย
.../5
- 5 -
6. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
บริษัทได้จัดตั้งกองทุนเงินสะสมพนักงานสำหรับพนักงานของบริษัทที่สมัครเป็นสมาชิกของกองทุนโดยหัก
จากเงินเดือนของพนักงานส่วนหนึ่ง และบริษัทจ่ายสมทบให้อีกส่วนหนึ่ง บริษัทได้แต่งตั้งผู้จัดการกองทุน
เพื่อบริหารกองทุนดังกล่าวตามกฎเกณฑ์และข้อกำหนดพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
7. ส่วนได้เสียในกำไรสุทธิที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัทย่อย
ส่วนได้เสียในกำไรสุทธิที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัทย่อยเป็นการรับรู้ส่วนได้เสียในกำไรสุทธิและขาดทุน
สุทธิของบริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด บริษัท เอ็กโกเอ็นจิเนียริ่ง
แอนด์ เซอร์วิส จำกัด และ บริษัท เอ็กโก ร่วมทุนและพัฒนา จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้นอยู่ในอัตราร้อยละ
99.99
8. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณในอัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิก่อนภาษีที่ไม่รวมส่วนได้เสียในกำไร
สุทธิและขาดทุนสุทธิที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัทย่อย
9. SPONSOR SUPPORT AGREEMENT
เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2540 บริษัทได้ทำสัญญา Sponsor Sopport Agreement กับสถาบันการเงิน
ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทร่วมแห่งหนึ่ง เพื่อค้ำประกันหนี้สินของบริษัทดังกล่าว ในวงเงินไม่เกิน 451.87
ล้านบาท
10. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
ในเดือนมีนาคม 2540 บริษัทได้ทำสัญญาค้ำประกันภายใต้สัญญาการดำเนินงานและบำรุงรักษาโรง
ไฟฟ้าของบริษัทร่วมแห่งหนึ่ง ในวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 และ 2539 บริษัทมีภาระผูกพันที่ต้องจ่ายเงินตามสัญญาก่อสร้าง และ
สัญญาอื่นเป็นจำนวนเงินประมาณ 291 ล้านบาท และ 207 ล้านบาท ตามลำดับ
.../6
- 6 -
11. เหตุการณ์สำคัญภายหลังวันสิ้นงวด
เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
แบบลอยตัว ซึ่งค่าเงินบาทจะถูกกำหนดโดยกลไกทางการตลาดที่มีผลสะท้อนมาจากปัจจัยพื้นฐานทาง
เศรษฐกิจ
บริษัทไม่มีสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 จึงไม่มีผลกระทบ
โดยตรงจากเหตุการณ์ดังกล่าวในวรรคหนึ่ง
บริษัทย่อย 2 แห่งของบริษัทอาจมีผลขาดทุนจากการปรับปรุงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่ง
คำนวณจากการแปลงค่าสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่มีอยู่ในบัญชี ณ วันที่
30 มิถุนายน 2540 ให้เป็นเงินบาท หากใช้อัตราอ้างอิงตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย
ถัวเฉลี่ยสำหรับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 2 ถึง 24 กรกฎาคม 2540 แล้วจะมีจำนวนรวมเป็นเงิน
ประมาณ 1,400 ล้านบาท ดังนั้นบริษัทอาจได้รับผลกระทบจากการรับรู้ส่วนได้เสียในขาดทุนของ
บริษัทย่อย จากการปรับปรุงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามที่กล่าวข้างต้น