14 พฤศจิกายน 2540
งบการเงิน บมจ.ผลิตไฟฟ้า สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย.40
รายงานของผู้สอบบัญชี
เสนอคณะกรรมการ
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
ข้าพเจ้าได้สอบทานงบดุลลงวันที่ 30 กันยายน 2540 และ 2539 และงบกำไรขาดทุน และ
งบกำไรสะสมประจำแต่ละไตรมาสและประจำแต่ละงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันเดียวกันตามลำดับของ
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ตามมาตรฐานที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
แห่งประเทศไทย
การสอบทานงบการเงินระหว่างกาลนี้ส่วนใหญ่ประกอบด้วย การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ
ระบบในการจัดทำงบการเงิน การใช้วิธีวิเคราะห์เปรียบเทียบในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน
และการสอบถามเจ้าหน้าที่ของบริษัทผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องทางการเงินและบัญชี ซึ่งการสอบทานนี้มีขอบเขต
จำกัดกว่าการตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไปเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินมาก
ดังนั้นข้าพเจ้าจึงไม่อาจแสดงความเห็นต่องบการเงินที่สอบทานได้
ตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 9 ส่วนได้เสียในกำไรสุทธิที่ยังไม่ได้แบ่ง
ของบริษัทย่อยจำนวน 359.97 ล้านบาท และ 1,527.71 ล้านบาท ที่แสดงในงบกำไรขาดทุนประจำ
ไตรมาสและประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2540 ตามลำดับ เป็นผลจากการบันทึก
ผลขาดทุนจากการใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัวเป็นรายการรอตัดบัญชีโดยบริษัทย่อยสองแห่ง
หากบริษัทย่อยสองแห่งนั้นได้รับรู้ผลขาดทุนดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนตามหลักการบัญชีที่
รับรองทั่วไป และหากบริษัทได้รับรู้ส่วนได้เสียในกำไรสุทธิที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัทย่อยดังกล่าวที่เป็นผล
จากการบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป จะทำให้เงินลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 30
กันยายน 2540 ที่ปรากฏในงบดุลที่แนบมานี้ลดลงจำนวน 3,592.38 ล้านบาท และกำไรสะสมยังไม่ได้
จัดสรรเปลี่ยนเป็น ขาดทุนสะสมยังไม่ได้จัดสรรจำนวน 972.74 ล้านบาท และกำไรสุทธิ และกำไร
สุทธิต่อหุ้นประจำไตรมาสและประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2540 ที่ปรากฏในงบ
กำไรขาดทุนที่แนบมานี้เปลี่ยนเป็นขาดทุนสุทธิและขาดทุนสุทธิต่อหุ้นจำนวน 3,272.28 ล้านบาท และ
2,024.63 ล้านบาท และ 6.28 บาท และ 3.89 บาท ต่อหุ้นตามลำดับ
- 2 -
ยกเว้นผลกระทบจากเรื่องที่กล่าวไว้ในวรรคที่ 3 ที่มีต่องบการเงินระหว่างกาลประจำไตรมาสและ
ประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2540 ข้าพเจ้าไม่พบสิ่งที่เป็นสาระสำคัญอื่นซึ่งควรนำ
มาปรับปรุงงบการเงินระหว่างกาลที่กล่าวในวรรคแรกให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป จากการ
สอบทานของข้าพเจ้าดังกล่าวข้างต้น
เติมศักดิ์ กฤษณามระ
กรุงเทพมหานคร ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 1106
วันที่ 30 ตุลาคม 2540 สำนักงานดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
งบดุล
ลงวันที่ 30 กันยายน
"ยังไม่ได้ตรวจสอบ"
หน่วย : พันบาท
2540 2539
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินสดและเงินฝากธนาคาร 29,177 30,782
เงินลงทุนระยะสั้น (หมายเหตุข้อ 3.1)
เงินฝากสถาบันการเงิน 1,222,419 3,341,900
เงินฝากธนาคารประเภทเงินฝากประจำ 1,457,000 -
หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดและอื่นๆ 610,705 704,744
ลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน (หมายเหตุข้อ 5) 4,897 6,751
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
เงินจ่ายล่วงหน้าค่าก่อสร้าง 24,393 -
ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า 22,916 9,075
ภาษีมูลค่าเพิ่มรอเรียกคืน 14,349 -
อื่นๆ 8,214 62,823
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 3,394,070 4,156,075
เงินลงทุนและเงินให้กู้ยืม (หมายเหตุข้อ 3.2)
กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 12,419,089 10,928,628
อื่นๆ 81,300 35,635
ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ - สุทธิ (หมายเหตุข้อ 3.3) 439,918 342,656
สินทรัพย์อื่น
ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี (หมายเหตุข้อ 3.4) 3,431 5,061
เงินมัดจำ 4,707 4,362
อื่นๆ 2,950 788
รวมสินทรัพย์ 16,345,465 15,473,205
ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล
"สอบทานแล้ว"
(นายสมบูรณ์ มณีนาวา) (นายวรวิทย์ ขำขนิษฐ์)
ประธานกรรมการ กรรมการผู้จัดกา
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
งบดุล
ลงวันที่ 30 กันยายน
"ยังไม่ได้ตรวจสอบ"
หน่วย : พันบาท
2540 2539
หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
หนี้สินหมุนเวียน
หนี้สินหมุนเวียนอื่น
เจ้าหนี้อื่น 48,571 5,507
เงินปันผลค้างจ่าย 14,971 5,880
อื่นๆ 11,316 25,270
รวมหนี้สินหมุนเวียน 74,858 36,657
รวมหนี้สิน 74,858 36,657
ส่วนของผู้ถือหุ้น
ทุนเรือนหุ้น (หมายเหตุข้อ 6)
ทุนจดทะเบียน
หุ้นสามัญ 530,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10.00 บาท 5,300,000 5,300,000
ทุนที่ออกและชำระแล้ว
หุ้นสามัญ 520,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 10.00 บาท
ชำระครบแล้ว 5,200,000 5,200,000
ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น 12,338 -
ส่วนเกินมูลค่าหุ้น 8,496,676 8,472,000
กำไรสะสม
จัดสรรแล้ว
สำรองตามกฎหมาย (หมายเหตุข้อ 7) 19,792 8,693
ยังไม่ได้จัดสรร 2,541,801 1,755,855
รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 16,270,607 15,436,548
รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 16,345,465 15,473,205
ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล
สอบทานแล้ว
(นายสมบูรณ์ มณีนาวา) (นายวรวิทย์ ขำขนิษฐ์)
ประธานกรรมการ กรรมการผู้จัดการ
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
งบกำไรขาดทุนและกำไรสะสม
"ยังไม่ได้ตรวจสอบ"
หน่วย : พันบาท
ประจำไตรมาสสิ้นสุด ประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุด
เพียงวันที่ 30 กันยายน เพียงวันที่ 30 กันยายน
2540 2539 2540 2539
รายได้
ส่วนได้เสียในกำไรสุทธิที่ยังไม่ได้แบ่ง
ของบริษัทย่อย (หมายเหตุข้อ 9) 349,221 529,078 1,494,330 979,712
รายได้อื่น
ดอกเบี้ยรับ 46,706 103,662 221,572 417,623
เงินปันผลรับ 17,685 550 87,545 1,842
อื่นๆ 1,774 1,925 3,728 9,705
รวมรายได้ 415,386 635,215 1,807,175 1,408,882
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 35,950 23,520 103,329 114,830
ค่าตอบแทนกรรมการ 1,558 1,384 4,424 4,172
ค่าใช้จ่ายอื่น
ขาดทุนจากการขายหลักทรัพย์ในความ
ต้องการของตลาด หุ้นกู้และ เงินลงทุน
ในหน่วยลงทุนในกองทุนรวม 60,749 - 70,329 -
ขาดทุนสุทธิที่ยังไม่ได้เกิดจากหลักทรัพย์
ในความต้องการของตลาดและหุ้นกู้ 22,724 9,706 110,094 12,143
อื่นๆ 26 - 15 23
รวมค่าใช้จ่าย 121,007 34,610 288,191 131,168
กำไรสุทธิก่อนภาษีเงินได้ 294,379 600,605 1,518,984 1,277,714
ภาษีเงินได้ (หมายเหตุข้อ 10) 288 24,392 29,069 93,073
กำไรสุทธิ 294,091 576,213 1,489,915 1,184,641
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
งบกำไรขาดทุนและกำไรสะสม (ต่อ)
"ยังไม่ได้ตรวจสอบ"
หน่วย : พันบาท
ประจำไตรมาสสิ้นสุด ประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุด
เพียงวันที่ 30 กันยายน เพียงวันที่ 30 กันยายน
2540 2539 2540 2539
กำไรสะสมยกมา 2,247,710 1,186,969 2,111,092 1,018,541
กำไรสุทธิ 294,091 576,213 1,489,915 1,184,641
หัก การจัดสรรปีก่อน
เงินปันผลจ่าย - - (1,040,000) (440,000)
หัก การจัดสรรประจำปี
โบนัสกรรมการบริษัทและบริษัทย่อย - (7,327) (19,206) (7,327)
กำไรสะสมยกไป 2,541,801 1,755,855 2,541,801 1,755,855
กำไรสุทธิต่อหุ้น (หมายเหตุข้อ 3.5)
ประจำไตรมาส บาท 0.56 1.18
ประจำงวดเก้าเดือน บาท 2.86 2.42
ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล
สอบทานแล้ว
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
หมายเหตุประกอบงบการเงินระหว่างกาล
ประจำไตรมาสและประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2540 และ 2539
1. เกณฑ์การเสนองบการเงิน
งบการเงินระหว่างกาลประจำไตรมาสและประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2540
แสดงรายการตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติ
บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 25 ตุลาคม 2539 ซึ่งมีผลใช้บังคับสำหรับการจัดทำงบดุลและ
บัญชีกำไรขาดทุนของบริษัทมหาชนจำกัด ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีซึ่งเริ่มต้นในวันที่ 1 มกราคม 2540
เป็นต้นไป
2. ส่วนได้เสียในกำไร (ขาดทุน) สุทธิที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัทย่อย
สำหรับไตรมาสและงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2540 และ 2539 ส่วนได้เสียในกำไร
(ขาดทุน) สุทธิที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัทย่อยที่นำมารวมในงบการเงินตามวิธีส่วนได้เสีย คำนวณจาก
งบการเงินประจำไตรมาสและประจำงวดเก้าเดือนที่สอบทานแล้ว คิดเป็นร้อยละของกำไรสุทธิมี
ดังต่อไปนี้
ประจำไตรมาสสิ้นสุด ประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุด
เพียงวันที่ 30 กันยายน เพียงวันที่ 30 กันยายน
อัตราการ 2540 2539 2540 2539
ถือหุ้น ร้อยละของ ร้อยละของ ร้อยละของ ร้อยละของ
ร้อยละ กำไรสุทธิ กำไรสุทธิ กำไรสุทธิ กำไรสุทธิ
บริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด 99.99% 38.88 35.26 46.01 51.81
บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด 99.99% 83.52 57.57 56.52 32.16
บริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง
แอนด์ เซอร์วิส จำกัด 99.99% (2.93) (0.67) (1.82) (0.83)
บริษัท เอ็กโก ร่วมทุนและ
พัฒนา จำกัด 99.99% (0.72) (0.34) (0.41) (0.44)
118.75 91.82 100.30 82.70
.../2
- 2 -
3. นโยบายการบัญชีที่สำคัญ
3.1 เงินลงทุนระยะสั้น
เงินลงทุนที่เป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดแสดงตามราคาทุนรวมหรือราคาตลาดรวม
แล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า (ราคาตลาดใช้ราคาปิดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อสิ้นวัน
ทำการวันสุดท้ายของงวดบัญชี)
ตราสารหนี้ประเภทหุ้นกู้จะใช้ราคาซื้อขายครั้งล่าสุดของชมรมผู้ค้าตราสารหนี้เป็นราคาตลาด
สำหรับเปรียบเทียบกับราคาทุน กรณีไม่มีราคาซื้อขายดังกล่าวจะคำนวณราคาตลาดขึ้นโดยใช้เส้น
อัตราผลตอบแทนปรับด้วยค่าความเสี่ยงที่เหมาะสม
เงินลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนรวมแสดงในราคาทุน
3.2 เงินลงทุนและเงินให้กู้ยืม
เงินลงทุนแสดงตามวิธีส่วนได้เสีย ยกเว้นเงินลงทุนของบริษัทในบริษัทร่วมแห่งหนึ่ง และเงิน
ลงทุนของบริษัทย่อยสองแห่งในบริษัทร่วมสามแห่ง ซึ่งแสดงในราคาทุน เนื่องจากไม่มีข้อมูลของ
บริษัทร่วมดังกล่าว ที่จะนำมาแสดงตามวิธีส่วนได้เสียในขณะนี้ และเงินลงทุนดังกล่าวไม่มี
สาระสำคัญต่องบการเงินของบริษัท
เงินลงทุนในบริษัทอื่นแสดงตามราคาทุน
3.3 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ
ที่ดินแสดงในราคาทุน
อาคารและอุปกรณ์แสดงในราคาทุนหลังหักค่าเสื่อมราคาสะสม ค่าเสื่อมราคาคำนวณโดยใช้วิธี
เส้นตรงตามอายุการใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์ดังนี้
เครื่องมือเครื่องใช้ในการดำเนินงานและบำรุงรักษา 5 ปี
ระบบสื่อสาร 10 ปี
เครื่องใช้สำนักงาน 5-10 ปี
เครื่องตกแต่ง 5 ปี
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 5-10 ปี
ยานพาหนะ 5 ปี
.../3
- 3 -
3.4 ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี
ค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายจัดตั้งบริษัทและค่าใช้จ่ายรอตัดจ่ายอื่น ตัดจำหน่ายโดยวิธี
เส้นตรงภายในระยะเวลา 5-10 ปี
3.5 กำไรสุทธิต่อหุ้น
กำไรสุทธิต่อหุ้นคำนวณโดยการหารกำไรสุทธิด้วยจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วตามระยะ
เวลาที่มีการเพิ่มทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก
3.6 การจัดประเภทรายการ
งบการเงินระหว่างกาลประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2539 บางรายการได้มีการ
จัดประเภทใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับการแสดงในงบการเงินระหว่างกาลประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุด
เพียงวันที่ 30 กันยายน 2540
4. นโยบายการบริหารความเสี่ยงสำหรับทรัพย์สินและหนี้สินที่อยู่ในรูปเงินตราต่างประเทศ
ตามที่ได้มีประกาศเปลี่ยนแปลงการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรามาเป็นระบบอัตราแลก
เปลี่ยนแบบลอยตัว (MANAGED FLOAT EXCHANGE SYSTEM) เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 มีผล
กระทบให้บริษัทย่อยสองแห่งมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม ในสัญญาการซื้อขายกระแสไฟฟ้า (PPA) ที่บริษัทย่อยสองแห่งได้ทำไว้กับการ
ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นั้น บริษัทย่อยสามารถนำผลกระทบที่เกิดจากขาดทุนจากอัตรา
แลกเปลี่ยนไปเจรจาขอรับเป็นค่าใช้จ่ายชดเชยคืนจากกฟผ.ได้ตามข้อกำหนดเรื่อง CHANGE IN LAW "
ของสัญญา PPA ดังกล่าว ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจรจากับกฟผ.
อนึ่งบริษัทย่อยสองแห่งอยู่ในระหว่างพิจารณาหาเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน
เช่น CURRENCY SWAP , FORWARD และ OPTIONS ตลอดจนการออกตราสารหนี้เงินบาทอัตราดอกเบี้ย
คงที่ ทดแทนการทำ INTEREST RATE SWAP แต่เนื่องจากค่าเงินบาทในขณะนี้ยังไม่มีเสถียรภาพเพียง
พอ การหาเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงและดำเนินการโดยเสียค่าใช้จ่ายในอัตราค่อนข้างสูง จึงต้องระ
มัดระวังอย่างมาก ทำให้บริษัทไม่สามารถที่จะทำการป้องกันความเสี่ยงโดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสมได้ใน
ขณะนี้
.../4
- 4 -
ผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าวกระทบถึงส่วนได้เสียในกำไร(ขาดทุน)สุทธิที่ยังไม่ได้
แบ่งของบริษัทย่อยที่นำมารวมในงบการเงินตามวิธีส่วนได้เสียของบริษัทประจำไตรมาสและประจำงวด
เก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2540 (ดูหมายเหตุข้อ 9)
5. ลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกัน
ลูกหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกันส่วนใหญ่เป็นเงินทดรองที่จ่ายแทนไปสำหรับค่าธรรมเนียมที่ปรึกษา
ทางการเงินและการจัดหาเงินทุน ค่าธรรมเนียมที่ปรึกษาทางกฎหมาย และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพื่อโครง
การของบริษัทเหล่านั้น ดังนี้
หน่วย:พันบาท
บริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด 87 2,298
บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด 3,866 2,827
บริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด 189 43
บริษัท เอ็กโก ร่วมทุนและพัฒนา จำกัด 431 184
บริษัท เอ็กโก ธุรกิจเหมือง จำกัด 324 1,399
4,897 6,751
6. ทุนเรือนหุ้น
ผู้ถือหุ้นบริษัทได้มีมติเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2538 ให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 4,000 ล้านบาท
เป็น 5,300 ล้านบาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุน จำนวน 130 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
ซึ่งบริษัทได้จดทะเบียนมติเพิ่มทุนกับกรมทะเบียนการค้าแล้ว เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2538
ตามมติผู้ถือหุ้นดังกล่าวข้างต้นให้นำหุ้นสามัญใหม่ออกจัดสรรดังนี้
- เสนอขายหุ้นสามัญให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม จำนวน 40 ล้านหุ้น ในสัดส่วนหุ้นเดิม 10 หุ้น ต่อหุ้น
สามัญใหม่ 1 หุ้น ในราคาหุ้นละ 30 บาท บริษัทได้รับชำระค่าหุ้นครบถ้วนแล้ว และได้จดทะเบียนเพิ่ม
ทุนกับกรมทะเบียนการค้าแล้ว เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2538
- เสนอขายหุ้นสามัญใหม่ให้แก่ประชาชนทั่วไป เป็นจำนวน 80 ล้านหุ้น ซึ่งราคาเสนอขายให้
อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการของบริษัท
.../5
- 5 -
- ออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญจำนวน 10 ล้านหน่วย โดยเสนอขายให้แก่พนักงาน
ของบริษัทและบริษัทในเครือในราคาหน่วยละ 0 บาท และใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วยมีสิทธิในการ
จองซื้อหุ้นสามัญใหม่ 1 หุ้น ในราคา 30 บาท โดยกำหนดให้ใช้สิทธิภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ออก
ใบสำคัญแสดงสิทธิ
ต่อมา คณะกรรมการบริษัทได้มีมติเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2539 ให้เสนอขายหุ้นดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุนใน
ประเทศจำนวน 56 ล้านหุ้น ราคาเสนอขายหุ้นละ 72 บาท และเสนอขายแก่ผู้ลงทุนในต่างประเทศ
จำนวน 24 ล้านหุ้น ราคาเสนอขายหุ้นละ 83 บาท
บริษัทได้รับเงินชำระค่าหุ้นจากการเสนอขายหุ้นดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน 6,024 ล้านบาท ครบถ้วนแล้ว
และได้จดทะเบียนเพิ่มทุนชำระแล้วกับกรมทะเบียนการค้าเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2539 ดังนั้น จึงมีทุน
ชำระแล้วเพิ่มขึ้นจำนวน 800 ล้านบาท และมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นจำนวน 5,224 ล้านบาท
คณะกรรมการบริษัทได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2539 มอบอำนาจให้กรรมการผู้มีอำนาจของ
บริษัท เป็นผู้กำหนดและแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดของการออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิตาม
ที่เห็นสมควรและจำเป็น เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งหรือคำแนะนำของสำนักงานคณะกรรมการกำกับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และบริษัทจะออกใบสำคัญแสดง
สิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญจำนวนที่จัดสรร 10 ล้านหน่วย ระยะเวลาโครงการ 5 ปี ในสัดส่วน 22%,
21%, 20%, 19% และ 18% ในปีที่ 1-5 ตามลำดับ โดยเสนอขายให้แก่พนักงานของบริษัทและบริษัทใน
เครือ ราคาที่ใช้สิทธิ 30 บาทต่อหุ้น โดยจะให้ใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญได้ในวันที่ 17 เมษายน 2540 หรือวัน
ที่ครบกำหนดหนึ่งปีนับจากวันออกใบสำคัญแสดงสิทธิ
สำหรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เหลือหลังจากเสนอขายภายใน 5 ปีแล้ว ให้อยู่ในดุลยพินิจของ
ที่ประชุมผู้ถือหุ้น
เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2540 พนักงานของบริษัทและบริษัทในเครือได้ใช้สิทธิใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะ
ซื้อหุ้นสามัญในปีแรกจำนวน 1,233,800 หุ้น ราคาที่ใช้สิทธิ 30 บาทต่อหุ้น บริษัทได้รับเงินชำระ
ค่าหุ้นจากการเสนอขายหุ้นดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน 37,014,000 บาท ครบถ้วนแล้ว และได้จดทะเบียน
เพิ่มทุนชำระแล้วกับกรมทะเบียนการค้าเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2540 ดังนั้นจึงมีทุนชำระแล้วเพิ่มขึ้น
จำนวน 12,338,000 บาท และมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นจำนวน 24,676,000 บาท
ต่อมาเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้จัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิที่
จะซื้อหุ้นสามัญให้แก่กรรมการบริษัทและบริษัทย่อยที่จะมีสิทธิได้รับการจัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิ
จำนวน 124,900 หน่วย
.../6
- 6 -
7. สำรองตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจะต้องจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีส่วนหนึ่งไว้เป็นทุน
สำรองไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของกำไรสุทธิประจำปี หักด้วยยอดขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) จนกว่าทุน
สำรองนี้จะมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของทุนจดทะเบียน
บริษัทจัดสรรสำรองตามกฎหมายจากกำไรสุทธิปีปัจจุบันที่ไม่รวมส่วนได้เสียในกำไรสุทธิที่ยังไม่ได้
แบ่งของบริษัทย่อย
8. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
บริษัทได้จัดตั้งกองทุนเงินสะสมพนักงานสำหรับพนักงานของบริษัทที่สมัครเป็นสมาชิกของกองทุน
โดยหักจากเงินเดือนของพนักงานส่วนหนึ่ง และบริษัทจ่ายสมทบให้อีกส่วนหนึ่ง บริษัทได้แต่งตั้ง
ผู้จัดการกองทุนเพื่อบริหารกองทุนดังกล่าวตามกฎเกณฑ์และข้อกำหนดพระราชบัญญัติกองทุนสำรอง
เลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
9. ส่วนได้เสียในกำไรสุทธิที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัทย่อย
ส่วนได้เสียในกำไรสุทธิที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัทย่อยเป็นการรับรู้ส่วนได้เสียในกำไรสุทธิและ
ขาดทุนสุทธิของบริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด บริษัท เอ็กโกเอ็นจิเนียริ่ง
แอนด์ เซอร์วิส จำกัด และ บริษัท เอ็กโก ร่วมทุนและพัฒนา จำกัด ซึ่งบริษัทถือหุ้นอยู่ในอัตราร้อยละ
99.99
.../7
- 7-
ส่วนได้เสียในกำไรสุทธิที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัทย่อยจำนวน 359.97 ล้านบาท และ 1,527.71 ล้านบาท
ที่แสดงในงบกำไรขาดทุนประจำไตรมาสและประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2540
ตามลำดับ เป็นผลจากการบันทึกผลขาดทุนจากการใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัวเป็น
รายการรอตัดบัญชีโดยบริษัทย่อยสองแห่ง หากบริษัทย่อยสองแห่งนั้นได้รับรู้ผลขาดทุนดังกล่าวเป็น
ค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และหากบริษัทได้รับรู้ส่วนได้เสียใน
กำไรสุทธิที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัทย่อยที่เป็นผลจากการบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
จะทำให้เงินลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 ที่ปรากฏในงบดุลข้างต้นนี้ลดลง
จำนวน 3,592.38 ล้านบาท และกำไรสะสมยังไม่ได้จัดสรรเปลี่ยนเป็นขาดทุนสะสมยังไม่ได้จัดสรร
จำนวน 972.74 ล้านบาท และกำไรสุทธิ และกำไรสุทธิต่อหุ้นประจำไตรมาสและประจำงวดเก้าเดือน
สิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2540 ที่ปรากฏในงบกำไรขาดทุนข้างต้นนี้เปลี่ยนเป็นขาดทุนสุทธิและ
ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น จำนวน 3,272.28 ล้านบาท และ 2,024.63 ล้านบาท และ 6.28 บาท และ
3.89 บาท ต่อหุ้นตามลำดับ
ขาดทุนจากการใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัวรอตัดบัญชี ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 ของ
บริษัทย่อยสองแห่งดังกล่าวมีจำนวน 3,592.78 ล้านบาท
ผลกระทบของกำไรสะสมยังไม่ได้จัดสรร ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 ที่เปลี่ยนเป็นขาดทุนสะสม
ยังไม่ได้จัดสรร จำนวน 972.74 ล้านบาท ดังกล่าวข้างต้นแสดงได้ดังนี้
หน่วย:ล้านบาท
กำไรสะสมยังไม่ได้จัดสรร ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 2,541.80
หัก ขาดทุนจากการใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัว
ของบริษัทย่อยที่ควรรับรู้เป็นค่าใช้จ่าย (3,592.38)
บวก ภาษีเงินได้ที่ประหยัดได้ 77.84
ขาดทุนสะสมยังไม่ได้จัดสรร ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 (972.74)
.../8
- 8-
10. ภาษีเงินได้
ภาษีเงินได้คำนวณในอัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิก่อนภาษีที่ไม่รวมส่วนได้เสียในกำไรสุทธิ
และขาดทุนสุทธิที่ยังไม่ได้แบ่งของบริษัทย่อย
11. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น
เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2540 บริษัทได้ทำสัญญา Sponsor Support Agreement
กับสถาบันการเงินซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทร่วมแห่งหนึ่ง เพื่อค้ำประกันหนี้สินของบริษัทดังกล่าว ในวงเงิน
ไม่เกิน 451.87 ล้านบาท
ในเดือนมีนาคม 2540 บริษัทได้ทำสัญญาค้ำประกันภายใต้สัญญาการดำเนินงานและบำรุงรักษาโรง
ไฟฟ้าของบริษัทร่วมแห่งหนึ่ง ในวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท
ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 และ 2539 บริษัทมีภาระผูกพันที่ต้องจ่ายเงินตามสัญญาก่อสร้าง และสัญญา
อื่นเป็นจำนวนเงินประมาณ 339 ล้านบาท และ 193 ล้านบาท ตามลำดับ