EN | TH
19 พฤศจิกายน 2540

การเงินรวม บมจ.ผลิตไฟฟ้าและบริษัทย่อย(แก้ไข) 30 กย.40

- 10 - 13. ค่าตัดจำหน่ายขาดทุนจากการใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัวรอตัดบัญชี ตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 2.6 ขาดทุนจากการใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา แบบลอยตัวของบริษัทย่อยสองแห่งแสดงเป็นรายการรอตัดบัญชี และตัดจำหน่ายตามส่วนเฉลี่ยของ ระยะเวลาการชำระหนี้ หากบริษัทย่อยดังกล่าวได้รับรู้ขาดทุนดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน ตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป จะทำให้กำไรสะสมยังไม่ได้จัดสรร ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 ที่ปรากฎในงบดุลข้างต้นนี้เปลี่ยนเป็นขาดทุนสะสมยังไม่ได้จัดสรรจำนวน 972.74 ล้านบาท และ กำไรสุทธิและกำไรสุทธิต่อหุ้นประจำไตรมาสและประจำงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2540 ที่ปรากฏในงบกำไรขาดทุนข้างต้นนี้ เปลี่ยนเป็นขาดทุนสุทธิจำนวน 3,272.28 ล้านบาท และ 2,024.63 ล้านบาท และ 6.28 บาท และ 3.89 บาท ต่อหุ้นตามลำดับ ผลกระทบของกำไรสะสมยังไม่ได้จัดสรร ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 ที่เปลี่ยนเป็นขาดทุนสะสม ยังไม่ได้จัดสรร จำนวน 972.74 ล้านบาท ดังกล่าวข้างต้นแสดงได้ดังนี้ หน่วย:ล้านบาท กำไรสะสมยังไม่ได้จัดสรร ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 2,541.80 หัก ขาดทุนจากการใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัว ของบริษัทย่อยที่ควรรับรู้เป็นค่าใช้จ่าย (3,592.38) บวก ภาษีเงินได้ที่ประหยัดได้ 77.84 ขาดทุนสะสมยังไม่ได้จัดสรร ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 (972.74) 14. รายได้จากการขาย รายได้ค่าไฟฟ้าในส่วนของรายได้ค่าพลังงานไฟฟ้าของบริษัทย่อย 2 แห่ง ตั้งแต่เริ่มดำเนินงาน จนถึง ไตรมาสสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2540 ไม่ได้รวมคำนวณต้นทุนค่าก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลมา จากการที่บริษัทย่อยยังไม่มีต้นทุนค่าก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็น ผู้รับภาระต้นทุนก๊าซธรรมชาติจนกว่าบริษัทดังกล่าวจะมีสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับการปิโตรเลียม แห่งประเทศไทยตามเงื่อนไขของสัญญาซื้อขายไฟฟ้า /11 - 11 - 15. ต้นทุนขาย ต้นทุนขายของบริษัทย่อยสองแห่งประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายหลักที่สำคัญ ได้แก่ ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าบำรุง รักษา ค่าสัมปทานและค่าเสื่อมราคา โดยไม่รวมคำนวณต้นทุนค่าก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลจากการ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับภาระต้นทุนก๊าซธรรมชาติแทนบริษัทจนกว่าบริษัทจะมีสัญญา ซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยตามเงื่อนไขของสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 16. ภาษีเงินได้ บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากการผลิตไฟฟ้า โดยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็น เวลา 8 ปี (ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2538 ถึงวันที่ 19เมษายน 2546) และได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้ สำหรับกำไรสุทธิในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติมีกำหนดเวลา 5 ปี นับจากพ้นกำหนดเวลา 8 ปีดัง กล่าว (ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2546 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2551) บริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุน จากการผลิตไฟฟ้าโดยได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ เป็นเวลา 8 ปี (ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2539 ถึงวันที่ 25 กันยายน 2547) และได้รับลดหย่อนภาษี เงินได้สำหรับกำไรสุทธิในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติมีกำหนดเวลา 5 ปี นับจากพ้นกำหนด เวลา 8 ปี ดังกล่าว (ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2547 ถึงวันที่ 25 กันยายน 2552) สำหรับรายได้อื่นที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน คำนวณภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิ ก่อนภาษีเงินได้ 17. สัญญาที่สำคัญ 17.1 สัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในปี 2537 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สัญญาดังกล่าวมีอายุ 20 ปี นับตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2537 และมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการขายไฟฟ้า ของบริษัทให้กับบุคคลที่สามตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา ตลอดจนภาระผูกพันตามสัญญาจะ โอนสิทธิเรียกร้อง (ดูหมายเหตุข้อ 17.3) .../12 - 12 - ในปี 2539 บริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ไทย สัญญาดังกล่าวมีอายุ 15 ปี และ 20 ปี นับตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2539 และมีข้อจำกัดเกี่ยว กับการขายไฟฟ้าของบริษัทให้กับบุคคลที่สามตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาตลอดจนภาระผูกพัน ตามสัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้อง (ดูหมายเหตุข้อ 17.3) 17.2 สัญญาการบำรุงรักษาหลัก บริษัทย่อยสองแห่งได้ทำสัญญาการบำรุงรักษากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อการบริการดูแลและรักษาหลักการซ่อมแซม การจัดการและการบริการเพิ่มเติมอื่นที่เกี่ยวข้อง กับโรงไฟฟ้าของบริษัท บริษัทจะต้องจ่ายค่าบริการดังกล่าวตามข้อกำหนดในสัญญา สัญญานี้มี ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2538 และวันที่ 19 มิถุนายน 2539 ตามลำดับ และจะต่อ สัญญาได้อีก 6 ปี สัญญานี้มีภาระผูกพันตามสัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้อง (ดูหมายเหตุข้อ 17.3) 17.3 สัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้อง บริษัทย่อยสองแห่งได้ทำสัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้องของบริษัทตามสัญญาซื้อขายโรงไฟฟ้า สัญญาซื้อขายไฟฟ้า สัญญาบำรุงรักษาหลักและกรมธรรม์ประกันภัย ตลอดจนสัญญาอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้องให้เจ้าหนี้เงินกู้ยืมและเจ้าหนี้หุ้นกู้เพื่อเป็นหลักประกันตามข้อกำหนดของสัญญากู้ยืม 18. ภาระผูกพันและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น 18.1 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2540 บริษัทได้ทำสัญญา Sponsor Support Agreement กับสถาบัน การเงิน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทร่วมแห่งหนึ่ง เพื่อค้ำประกันหนี้สินของบริษัทดังกล่าว ในวงเงินไม่เกิน 451.87 ล้านบาท 18.2 ในเดือนมีนาคม 2540 บริษัทได้ทำสัญญาค้ำประกันภายใต้สัญญาการดำเนินงานและบำรุงรักษา โรงไฟฟ้าของบริษัทร่วมแห่งหนึ่ง ในวงเงินไม่เกิน 50 ล้านบาท 18.3 ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 และ 2539 บริษัทมีภาระผูกพันที่ต้องจ่ายเงินตามสัญญาก่อสร้างและ สัญญาอื่นเป็นจำนวนเงินประมาณ 339 ล้านบาท และ 193 ล้านบาท ตามลำดับ 18.4 ณ วันที่ 30 กันยายน 2540 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินตามสัญญาซ่อม บำรุงเป็นจำนวนเงิน 1,566,789 ปอนด์สเตอร์ลิง