23 กุมภาพันธ์ 2541
การรับรู้ผลกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
ที่ บผฟ. 310/055 23 กุมภาพันธ์ 2541
เรื่อง การรับรู้ผลกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
อ้างถึง 1. หนังสือบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ที่ บผฟ. 320/421 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2540
2. หนังสือบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ที่ บผฟ. 310/030 ลงวันที่ 30 มกราคม 2541
ตามหนังสือที่อ้างถึง 1. คณะกรรมการของบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ
บผฟ.ได้มีมติกำหนดนโยบาย เรื่องการรับรู้ผลกำไรหรือขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยน
เงินตราเป็นแบบลอยตัวโดยให้บันทึกผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นรายการรอ
ตัดบัญชีและตัดจ่ายตามอายุหนี้ความละเอียดแจ้งแล้วนั้น
เพื่อให้การจัดทำงบการเงินถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีซึ่งต้องเป็นไปตาม (1)
ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ กจ. 40/2540 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข
และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลัก
ทรัพย์ และ (2) ข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการจัดทำ
และส่งงบการเงินและรายงานเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน คณะ
กรรมการ บผฟ. จึงได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 3/2541 เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2541 ให้ใช้นโยบาย
การบันทึกบัญชีกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยการรับรู้ผลกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน
เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีทั้งจำนวนซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 30 เรื่อง ผลกระ
ทบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ทั้งนี้ โดยจะมีผลบังคับใช้สำหรับงบการ
เงินของ บผฟ. ในรอบไตรมาสที่ 4 ของปี 2540 และในรอบปี 2540 ซึ่ง บผฟ. จะได้เรียนให้ทราบทัน
ทีที่ผู้สอบบัญชีได้รับรองเรียบร้อยแล้ว
อนึ่ง คณะกรรมการ บผฟ.ได้พิจารณาเห็นว่าผลจากการรับรู้ผลกำไรหรือขาดทุนจาก
อัตราแลกเปลี่ยนเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีทั้งจำนวนดังกล่าว แม้จะทำให้งบกำไรขาดทุนประจำ
ปี 2540 แสดงผลการขาดทุนเป็นจำนวนค่อนข้างสูง แต่ก็จะเป็นเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นเฉพาะรอบปี
2540 เท่านั้น ประกอบกับการบันทึกบัญชีดังกล่าวซึ่งแสดงผลขาดทุนทำให้ฐานะเงินสดกลับมีความมั่นคงมาก
ยิ่งขึ้น เนื่องจากการได้รับประโยชน์ทางภาษีเงินได้และการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเกิดจากหนี้เงินกู้
สกุลดอลล่าร์สหรัฐที่มีอายุยาวนาน 10-15 ปี และทะยอยชำระคืน โดยยังมีความสามารถในการชำระ
ภาระหนี้สูงกว่า 1.2 เท่าตลอดอายุเงินกู้ทั้งสิ้น นอกจากนี้จากกรณีที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
หรือ กฟผ. ผู้ซื้อกระแสไฟฟ้าแต่ผู้เดียวจากบริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด หรือ บฟร. และบริษัท ผลิตไฟ
ฟ้าขนอม จำกัด หรือ บฟข. ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ บผฟ.ได้ปรับสูตรค่ากระแสไฟฟ้าตามผลกระทบอัตรา
แลกเปลี่ยน (รายละเอียดตามอ้างถึง 2.) ทำให้รายได้ของ บฟร. และ บฟข. เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนภา
ระหนี้ที่เพิ่มขึ้นด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
ขอแสดงความนับถือ
(นายมัชฌิมา กุญชร ณ อยุธยา)
รองกรรมการผู้จัดการสายบัญชีและการเงิน