EN | TH
25 กุมภาพันธ์ 2541

การเงินปี 40 ของบมจ.ผลิตไฟฟ้า

- 2 - 3. นโยบายการบัญชีที่สำคัญ 3.1 รายได้และค่าใช้จ่าย บริษัทและบริษัทย่อยรับรู้รายได้ และค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์สิทธิ 3.2 เงินลงทุนระยะสั้น เงินลงทุนระยะสั้นที่เป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด แสดงตามราคาทุนรวมหรือราคา ตลาดรวมแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า (ราคาตลาดใช้ราคาปิดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อสิ้นวันทำการวันสุดท้ายของงวดบัญชี) ตราสารหนี้ประเภทหุ้นกู้จะใช้ราคาซื้อขายครั้งล่าสุดของชมรมผู้ค้าตราสารหนี้เป็นราคาตลาด สำหรับเปรียบเทียบกับราคาทุน กรณีไม่มีราคาซื้อขายดังกล่าวจะคำนวณราคาตลาดขึ้นโดยใช้ เส้นอัตราผลตอบแทนปรับด้วยค่าความเสี่ยงที่เหมาะสม เงินลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนแสดงในราคาทุน 3.3 วัสดุสำรองคลัง วัสดุสำรองคลังแสดงในราคาทุนหลังหักสำรองค่าวัสดุสำรองคลังล้าสมัย ราคาทุนคำนวณตาม วิธีถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ สำรองค่าวัสดุสำรองคลังล้าสมัยส่วนใหญ่คำนวณจากยอดคงเหลือ ณ วันสิ้นปีของวัสดุสำรอง คลังหารด้วยจำนวนปีที่คงเหลืออยู่ตามอายุของสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย (กฟผ.) 3.4 เงินลงทุนและเงินให้กู้ยืม เงินลงทุนแสดงตามวิธีส่วนได้เสีย ยกเว้นเงินลงทุนในบริษัทร่วมแห่งหนึ่งและเงินลงทุนของ บริษัทย่อยสองแห่งในบริษัทร่วมสามแห่ง ซึ่งแสดงในราคาทุน เนื่องจากไม่มีข้อมูลของบริษัท ร่วมดังกล่าว ที่จะนำมาแสดงตามวิธีส่วนได้เสียในขณะนี้และเงินลงทุนดังกล่าวไม่มีสาระสำคัญ ต่องบการเงินรวม เงินลงทุนในบริษัทอื่นแสดงตามราคาทุน .../3 - 3 - 3.5 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ - สุทธิ ที่ดินแสดงในราคาทุน อาคารและอุปกรณ์แสดงในราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสม ค่าเสื่อมราคาคำนวณโดยใช้วิธีเส้น ตรงตามอายุการใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์ดังนี้ โรงไฟฟ้า 15 ปี และ 20 ปี อาคารสิ่งปลูกสร้าง 20 ปี ระบบสื่อสาร 5 ปี และ 10 ปี ระบบส่งพลังไฟฟ้า 20 ปี เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตและบำรุงรักษา 5 ปี เครื่องใช้สำนักงาน 5-10 ปี เครื่องตกแต่ง 5 ปี อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 5-10 ปี ยานพาหนะ 5 ปี 3.6 ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี - สุทธิ ค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงานค่าใช้จ่ายจัดตั้งบริษัทและค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชีอื่นตัดจำหน่ายโดยวิธี เส้นตรงภายในระยะเวลา 5-10 ปี 3.7 การแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ 3.7.1 สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศคงเหลือ ณ วันสิ้นปี ได้แปลงค่าเป็น เงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้น กำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าได้รับรู้ในงบ กำไรขาดทุน เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 กระทรวงการคลังได้ประกาศใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา แบบลอยตัว .../4 - 4 - กำไร (ขาดทุน) จากการใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัว ในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับสินทรัพย์หรือหนี้สินที่มีอยู่ในบัญชี ณ วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2540 ทั้งในส่วนที่ชำระก่อนวันสิ้นปีหรือส่วนที่คงเหลืออยู่ในบัญชี ณ วันดังกล่าวแสดง เป็นกำไร (ขาดทุน) จากการใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัวซึ่งเป็นรายการ พิเศษในงบกำไรขาดทุน 3.7.2 สำหรับไตรมาสและงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2540 ขาดทุนที่เกิดขึ้นจาก การแปลงค่าสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ บันทึกบัญชีเป็นขาดทุนจาก การใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัวรอตัดบัญชี โดยแสดงเป็นรายการหักจาก ส่วนของผู้ถือหุ้นในงบการเงินประจำงวดดังกล่าว และตัดจำหน่ายตามส่วนเฉลี่ยของ ระยะเวลาการชำระหนี้ ซึ่งเป็นไปตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 72/2540 ทั้งนี้วิธีการ ดังกล่าวไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป 3.7.3 ในการนำเสนองบการเงินประจำปีสิ้นสุดเพียงวันที่ 31 ธันวาคม 2540 บริษัทได้เปลี่ยน แปลงวิธีการบันทึกขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการแปลงค่าสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตรา ต่างประเทศจากการบันทึกเป็นรายการรอตัดบัญชีดังกล่าวในหมายเหตุประกอบงบการ เงินข้อ 3.7.2 เป็นการบันทึกรับรู้ผลขาดทุนดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน เพื่อ ให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยได้ปรับปรุงรายการบัญชีที่เกี่ยวข้อง ในไตรมาสและงวดเก้าเดือนสิ้นสุดเพียงวันที่ 30 กันยายน 2540 ตามวิธีการบัญชีที่ได้ เปลี่ยนแปลงดังกล่าวแล้ว 3.8 กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้นคำนวณโดยการหารกำไร (ขาดทุน) สุทธิ ด้วยจำนวนหุ้นที่ออกและ เรียกชำระแล้ว ตามระยะเวลาที่มีการเพิ่มทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก 3.9 การจัดประเภทรายการ งบการเงินรวมประจำปีสิ้นสุดเพียงวันที่ 31 ธันวาคม 2539 บางรายการได้มีการจัดประเภทใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการแสดงในงบการเงินรวมสำหรับปีสิ้นสุดเพียงวันที่ 31 ธันวาคม 2540 .../5 - 5 - 4 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกระแสเงินสดเพิ่มเติม 4.1 เงินสดที่จ่ายในระหว่างปีสำหรับ ตามวิธีส่วนได้เสีย 2540 2539 2540 2539 ดอกเบี้ย บาท 3,138,600,337 2,256,602,436 - 1,350 ภาษีเงินได้ บาท 113,893,202 168,438,285 61,253,169 90,356,528 4.2 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดประกอบด้วย รายการเงินสดและเงินฝากธนาคาร และเงินฝาก สถาบันการเงิน ซึ่งเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน 5. นโยบายการบริหารความเสี่ยงสำหรับสินทรัพย์และหนี้สินที่มีอยู่ในรูปเงินตราต่างประเทศ บริษัทย่อยสองแห่งอยู่ในระหว่างพิจารณาหาเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเช่น CURRENCY SWAP, FORWARD และ OPTIONS ตลอดจนการออกตราสารหนี้เงินบาทอัตรา ดอกเบี้ยคงที่ ทดแทนการทำ INTEREST RATE SWAP แต่เนื่องจากค่าเงินบาทในขณะนี้ยังไม่มี เสถียรภาพเพียงพอ การหาเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงและดำเนินการโดยเสียค่าใช้จ่ายในอัตราค่อน ข้างสูง จึงต้องระมัดระวังอย่างมาก ทำให้บริษัทไม่สามารถที่จะดำเนินการป้องกันความเสี่ยงโดยใช้ เครื่องมือที่เหมาะสมได้ในขณะนี้ 6. เงินฝากธนาคารและสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลักประกัน เงินฝากธนาคารและสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลักประกันเป็นเงินฝากธนาคารและสถาบันการเงินของ บริษัทย่อยสองแห่ง ส่วนหนึ่งของเงินฝากสถาบันการเงินดังกล่าว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 และ 2539 เป็นจำนวนเงินประมาณ 82.71 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 52.31 ล้านนเหรียญสหรัฐตามลำดับซึ่งกันไว้จาก รายได้ค่าขายไฟฟ้า เพื่อเป็นเงินสำรองสำหรับภาระหนี้สินดังกล่าวในหมายเหตุข้อ 15 และ16 .../6 - 6 - เงินฝากสถาบันการเงินระยะยาวที่ใช้เป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินแห่งหนึ่งของบริษัทย่อยหนึ่งแห่ง จำนวน 41,807,523 บาท เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดยสถาบันการเงินแห่งหนึ่งที่ได้เปลี่ยนกับตั๋วสัญญาใช้เงินของสถาบันการ เงินที่กระทรวงการคลังมีคำสั่งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2540 ให้ระงับการดำเนินการ และเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2540 ให้หยุด ดำเนินการ 7. หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดและอื่นๆ หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดและอื่นๆ งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท ตามวิธีส่วนได้เสีย 2540 2539 2540 2539 ราคาทุน ราคาตลาด ราคาทุน ราคาตลาด ราคาทุน ราคาตลาด ราคาทุน ราคาตลาด หลักทรัพย์จดทะเบียน หุ้นสามัญ 198,588,556 221,586,446 289,769,181 236,208,369 198,588,556 221,586,446 289,769,181 236,208,369 ใบสำคัญแสดงสิทธิ ที่จะซื้อหุ้นสามัญ 328,000 5,600 328,000 76,000 328,000 5,600 328,000 76,000 198,916,556 221,592,046 290,097,181 236,284,369 198,916,556 221,592,046 290,097,181 236,284,369 หัก สำรองเผื่อการลด ค่าของหลักทรัพย์ - - (53,812,812) - - - (53,812,812) - 198,916,556 221,592,046 236,284,369 236,284,369 198,916,556 221,592,046 236,284,369 236,284,369 หลักทรัพย์อื่น หุ้นกู้ - - 198,316,334 196,077,203 - - 198,316,334 196,077,203 หัก สำรองเผื่อการลด ค่าของหลักทรัพย์ - - (2,239,131) - - - (2,239,131) - - - 196,077,203 196,077,203 - - 196,077,203 196,077,203 หน่วยลงทุนในกองทุน 79,231,486 79,231,486 790,000,000 - 79,231,486 79,231,486 790,000,000 - หัก สำรองเผื่อการลดค่า (14,945,741) - - - (14,945,741) - - - 64,285,745 79,231,486 790,000,000 - 64,285,745 79,231,486 790,000,000 - บาท 263,202,301 1,222,361,572 263,202,301 1,222,361,572 .../7 - 7 - 8. ลูกหนี้และตั๋วเงินรับการค้า ลูกหนี้และตั๋วเงินรับการค้าเป็นยอดค้างรับชำระค่าไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รายเดียว 9. รายการกับบริษัทที่เกี่ยวข้อง บริษัทมีรายการบัญชีที่เกิดขึ้นกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ดังนั้นงบการเงินนี้จึงแสดงรวมถึงผลของรายการ ดังกล่าวตามมูลฐานที่ได้ตกลงร่วมกัน โดยกลุ่มของบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ด้วยรายการบัญชีที่สำคัญ ระหว่างบริษัทกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน ได้แก่ งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท ตามวิธีส่วนได้เสีย 2540 2539 2540 2539 เงินทดรอง แก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด - - 15,679 32,574 บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด - - 4,122,237 - บริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด - - 316,099 883,348 บริษัท เอ็กโก ร่วมทุนและพัฒนา จำกัด - - (2,830) 699,780 บริษัท เอ็กโก ธุรกิจเหมือง จำกัด - - 988,372 - บาท - - 5,439,557 1,615,702 หุ้นกู้บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน บาท - - 17,733,777 - ค่าซ่อมบำรุงจ่ายบริษัท ที่เกี่ยวข้องกัน - - 12,800,000 - .../8 (ยังมีต่อ)