25 กุมภาพันธ์ 2541
การเงินปี 40 ของบมจ.ผลิตไฟฟ้า
- 15 -
ในวันที่ทำสัญญากู้ยืมเงินข้างต้น บริษัทย่อยแห่งนั้นได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกับธนาคาร
ต่างประเทศแห่งหนึ่ง สัญญามีผลบังคับให้เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นอัตราคงที่ ร้อยละ 8.12 ต่อปี
สำหรับเงินกู้ยืม 141 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สัญญานี้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2537 ถึงวันที่ 7
ธันวาคม 2547
เงินกู้ยืมระยะยาวของบริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งเป็นเงินกู้ยืมภายใต้สัญญา Master Agreement และสัญญา
Bank Credit Agreement สัญญาแต่ละฉบับลงวันที่ 3 มิถุนายน 2539 ซึ่งประกอบด้วย
- วงเงินกู้ยืม 265 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กำหนดผ่อนชำระคืนเงินต้นภายใน 12 ปี อัตราดอกเบี้ยลอยตัว
ตาม LIBOR บวกส่วนต่างที่กำหนด สัญญานี้มีข้อกำหนดให้กันเงินสำรองสำหรับภาระหนี้สินดัง
กล่าว และมีเงื่อนไขต่างๆ ตามที่ระบุในสัญญา (ดูหมายเหตุข้อ 16)
- วงเงินกู้ยืม 225 ล้านบาท อายุสัญญา 15 ปี อัตราดอกเบี้ย MLR ลบส่วนต่างที่กำหนด ขณะนี้ยังไม่
ได้มีการเบิกใช้
ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2539 บริษัทย่อยข้างต้นได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกับสถาบันการเงิน
ต่างประเทศแห่งหนึ่ง สัญญามีผลบังคับให้เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นอัตราคงที่ร้อยละ 8.0275
ต่อปี สำหรับเงินกู้ยืม 165 ล้านดอลลาร์สหรัฐและอัตราคงที่ร้อยละ 11 ต่อปี สำหรับเงินกู้ยืม 100
ล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินกู้ยืม 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐดังกล่าว บริษัทได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนเป็นสกุล
เงินบาท สัญญานี้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2539 ถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2551
เงินกู้ยืมระยะยาวของบริษัทย่อยทั้งสองแห่ง ดังกล่าวมีการจดจำนองที่ดิน อาคารและจดจำนำอุปกรณ์
ของโรงไฟฟ้าตามที่ระบุในสัญญาและมีสัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่เจ้าหนี้เงินกู้ยืมเพื่อเป็นหลัก
ประกัน
เงินกู้ยืมของบริษัทย่อยสองแห่งดังกล่าวข้างต้นคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 และ 2539 จำนวน
เงินประมาณ 407.49 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 425.37 ล้านเหรียญสหรัฐตามลำดับ
.../16
- 16-
16. หุ้นกู้
หุ้นกู้เป็นหุ้นกู้ของบริษัทย่อยสองแห่งประกอบด้วย
งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะของบริษัท
ตามวิธีส่วนได้เสีย
2540 2539 2540 2539
หุ้นกู้ 10,519,099,143 10,811,494,132 - -
หัก ส่วนที่ครบกำหนด
ชำระภายในหนึ่งปี (310,130,420) (274,664,132) - -
10,208,968,723 10,536,830,000 - -
หุ้นกู้ของบริษัทย่อยแห่งหนึ่งเป็นเงินกู้ยืมภายใต้สัญญา Master Agreement (ดูหมายเหตุข้อ 15) และ
สัญญา Debenture Holder Representative Appointment Agreement NO.1 และ NO.2 สัญญาแต่ละ
ฉบับลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2537 หุ้นกู้ครั้งที่ 1 แบ่งเป็น 4 ส่วน อายุ 5 ปี 7 ปี 10 ปี และ 12 ปี โดยมี
กำหนดไถ่ถอนในปี 2542 2544 2547 และ 2549 หุ้นกู้ครั้งที่ 2 แบ่งเป็น 12 ส่วน อายุ 1-12 ปี โดยมี
กำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ตั้งแต่ปี 2538-2549 มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 11.25 ต่อปี และจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง
หุ้นกู้ของบริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งเป็นเงินกู้ยืมภายใต้สัญญา Master Agreement (ดูหมายเหตุข้อ 15) และ
ข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ และเป็นหุ้นกู้มีประกันชนิดระบุชื่อผู้
ถือหุ้นจำนวน 750,000 หน่วย มีมูลค่าที่ตราไว้หน่วยละ 10,000 บาท โดยมีมูลค่ารวมหุ้นกู้ จำนวน
7,500 ล้านบาท ซึ่งได้เสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป อายุหุ้นกู้ 15 ปี นับจากวันออกหุ้นกู้คือวันที่ 14
มิถุนายน 2539 วันครบกำหนดไถ่ถอนเป็นงวด ๆ ทุก 6 เดือน ตั้งแต่ปี 2539 ถึง 2554 มีอัตราดอกเบี้ย
คงที่ร้อยละ 11.5625 ต่อปี และจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง
หุ้นกู้ของบริษัทย่อยสองแห่งดังกล่าวมีการจดจำนองที่ดิน และอาคารและจดจำนำอุปกรณ์ของ
โรงไฟฟ้าตามที่ระบุในสัญญาและมีสัญญาจะโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่เจ้าหนี้หุ้นกู้เพื่อเป็นหลักประกัน
.../17
- 17 -
17. ทุนเรือนหุ้น
ผู้ถือหุ้นบริษัทได้มีมติเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2538 ให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 4,000 ล้านบาทเป็น 5,300
ล้านบาท โดยออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 130 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ซึ่งบริษัทได้
จดทะเบียนมติเพิ่มทุนกับกรมทะเบียนการค้าแล้วเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2538
ตามมติผู้ถือหุ้นดังกล่าวข้างต้นให้นำหุ้นสามัญใหม่ออกจัดสรรดังนี้
- เสนอขายหุ้นสามัญให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม จำนวน 40 ล้านหุ้น ในสัดส่วนหุ้นเดิม 10 หุ้นต่อหุ้นสามัญ
ใหม่ 1 หุ้น ในราคาหุ้นละ 30 บาท บริษัทได้รับชำระค่าหุ้นครบถ้วนแล้วและได้จดทะเบียนเพิ่มทุน
กับกรมทะเบียนการค้าแล้วเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2538
- ออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญจำนวน 10 ล้านหน่วย โดยเสนอขายให้แก่พนักงานของ
บริษัทและบริษัทในเครือในราคาหน่วยละ 0 บาท และใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 หน่วยมีสิทธิในการ
จองซื้อหุ้นสามัญใหม่ 1 หุ้น ในราคา 30 บาท โดยกำหนดให้ใช้สิทธิภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ออก
ใบสำคัญแสดงสิทธิ
ต่อมาคณะกรรมการบริษัทได้มีมติเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2539 ให้เสนอขายหุ้นดังกล่าวให้แก่ผู้ลงทุนใน
ประเทศจำนวน 56 ล้านหุ้น ราคาเสนอขายหุ้นละ 72 บาท และเสนอขายแก่ผู้ลงทุนในต่างประเทศ
จำนวน 24 ล้านหุ้น ราคาเสนอขายหุ้นละ 83 บาท
บริษัทได้รับเงินชำระค่าหุ้นจากการเสนอขายหุ้นดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน 6,024 ล้านบาทครบถ้วนแล้ว
และได้จดทะเบียนเพิ่มทุนเรียกชำระแล้วกับกรมทะเบียนการค้าเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2539 ดังนั้นจึงมี
ทุนชำระแล้วเพิ่มขึ้นจำนวน 800 ล้านบาท และมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นจำนวน 5,224 ล้านบาท
คณะกรรมการบริษัทได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2539 มอบอำนาจให้กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท
เป็นผู้กำหนดและแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดของการออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิตามที่เห็น
สมควรและจำเป็น เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งหรือคำแนะนำของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลัก
ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง และบริษัทจะออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะ
ซื้อหุ้นสามัญจำนวนที่จัดสรร 10 ล้านหน่วย โดยเสนอขายให้แก่พนักงานของบริษัทและบริษัทในเครือ
ราคาที่ใช้สิทธิ 30 บาทต่อหุ้น โดยจะให้ใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญได้ในวันที่ 17 เมษายน 2540 หรือวันที่
ครบกำหนดหนึ่งปีนับจากวันออกใบสำคัญแสดงสิทธิ
.../18
- 18 -
สำหรับใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่เหลือหลังจากเสนอขายภายใน 5 ปีแล้ว ให้อยู่ในดุลยพินิจของ
ที่ประชุมผู้ถือหุ้น
เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2540 พนักงานของบริษัทและบริษัทในเครือได้ใช้สิทธิใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะ
ซื้อหุ้นสามัญในปีแรกจำนวน 1,233,800 หุ้น ราคาที่ใช้สิทธิ 30 บาทต่อหุ้น บริษัทได้รับเงินชำระค่าหุ้น
จากการเสนอขายหุ้นดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน 37,014,000 บาท ครบถ้วนแล้ว และได้จดทะเบียนเพิ่มทุน
ชำระแล้วกับกรมทะเบียนการค้าเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2540 ดังนั้นจึงมีทุนชำระแล้วเพิ่มขึ้นจำนวน
12,338,000 บาท และมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นจำนวน 24,676,000 บาท
ต่อมาเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติให้จัดสรรใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะ
ซื้อหุ้นสามัญในปีที่ 2 ให้แก่กรรมการบริษัทและบริษัทย่อยที่จะมีสิทธิได้รับการจัดสรรใบสำคัญแสดง
สิทธิ จำนวน 124,900 หน่วย
18. สำรองตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด บริษัทจะต้องจัดสรรกำไรสุทธิประจำปีส่วนหนึ่งไว้เป็นทุน
สำรองไม่น้อยกว่าร้อยละห้าของกำไรสุทธิประจำปี หักด้วยยอดขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) จนกว่าทุน
สำรองนี้จะมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของทุนจดทะเบียน
บริษัทจัดสรรสำรองตามกฎหมายจากกำไรสุทธิปีปัจจุบันที่ไม่รวมส่วนได้เสียในกำไรสุทธิที่ยังไม่ได้
แบ่งของบริษัทย่อย
19. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
บริษัทและบริษัทย่อยได้จัดตั้งกองทุนเงินสะสมพนักงานสำหรับพนักงานของบริษัทและบริษัทย่อยที่
สมัครเป็นสมาชิกของกองทุนโดยหักจากเงินเดือนของพนักงานส่วนหนึ่งและบริษัทจ่ายสมทบให้อีก
ส่วนหนึ่ง บริษัทและบริษัทย่อยได้แต่งตั้งผู้จัดการกองทุนเพื่อบริหารกองทุนดังกล่าวตามกฎเกณฑ์และ
ข้อกำหนดพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
.../19
- 19 -
20. รายได้จากการขาย
20.1 รายได้จากการขายได้แก่ ค่าขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย
2540 2539
รายได้ค่าพลังไฟฟ้า 7,572,694,564 5,894,945,745
รายได้ค่าพลังงานไฟฟ้า 104,413,518 91,864,221
รวม บาท 7,677,108,082 5,986,809,966
รายได้ค่าไฟฟ้าในส่วนของรายได้ค่าพลังงานไฟฟ้าของบริษัทตั้งแต่เริ่มดำเนินงานจนถึงวันที่ 31
ธันวาคม 2540 และ 2539 ไม่ได้รวมคำนวณต้นทุนค่าก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่
บริษัทไม่มีต้นทุนค่าก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับภาระ
ต้นทุนก๊าซธรรมชาติ จนกว่าบริษัทจะมีสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับการปิโตเลียมแห่ง
ประเทศไทย ตามเงื่อนไขของสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ทั้งนี้บริษัทต้องรอให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง
ประเทศไทยแจ้งความประสงค์ให้กับบริษัทดำเนินการเจรจากับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
ก่อนซึ่งในปัจจุบันการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ยังมิได้แจ้งความประสงค์ดังกล่าวโดยยัง
คงเป็นผู้จัดหาก๊าซธรรมชาติให้แก่บริษัท
20.2 สัญญาซื้อขายกระแสไฟฟ้า (PPA) ที่บริษัทได้ทำไว้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(กฟผ.) นั้น บริษัทสามารถนำผลกระทบที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับภาระค่าใช้จ่ายของ
เงินดอลล่าร์สหรัฐไปขอปรับสูตรการคำนวณรายได้ค่าพลังไฟฟ้าของเดือนนั้นๆ จาก กฟผ. ตาม
The First Amendment to Power Purchase Agreement ลงวันที่ 30 มกราคม 2541
21. ต้นทุนขาย
ต้นทุนขายของบริษัทย่อยสองแห่งประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายหลักที่สำคัญ ได้แก่ ค่าเบี้ยประกันภัย
ค่าบำรุงรักษา ค่าสัมปทานและค่าเสื่อมราคา โดยไม่รวมคำนวณต้นทุนค่าก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลจาก
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับภาระต้นทุนก๊าซธรรมชาติแทนบริษัทจนกว่าบริษัทจะมี
สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยตามเงื่อนไขของสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
.../20
- 20 -
22. ภาษีเงินได้
บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากการผลิตไฟฟ้า โดยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็น
เวลา 8 ปี (ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2538 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2546) และได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้
สำหรับกำไรสุทธิในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติมีกำหนดเวลา 5 ปี นับจากพ้นกำหนดเวลา 8 ปีดัง
กล่าว (ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2546 ถึงวันที่ 19 เมษายน 2551)
บริษัทย่อยอีกแห่งหนึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุน จากการผลิตไฟฟ้าโดยได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้
เป็นเวลา 8 ปี (ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2539 ถึงวันที่ 25 กันยายน 2547) และได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้
สำหรับกำไรสุทธิในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติมีกำหนดเวลา 5 ปี นับจากพ้นกำหนดเวลา 8 ปี ดัง
กล่าว (ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2547 ถึงวันที่ 25 กันยายน 2552)
สำหรับรายได้อื่นที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน คำนวณภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ 30 ของกำไร
สุทธิก่อนภาษีเงินได้
23. ขาดทุนจากการใช้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัว
สำหรับปีสิ้นสุดเพียงวันที่ 31 ธันวาคม 2540 บริษัทย่อยสองแห่งมีผลขาดทุนจากการใช้ระบบการแลก
เปลี่ยนเงินตราแบบลอยตัว ซึ่งคำนวณจากการแปลงค่าสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
ให้เป็นเงินบาทตามวิธีการที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 6.6 และแสดงเป็นรายการ
พิเศษในงบกำไรขาดทุนมีจำนวน 7,235,082,720 บาท
24. สัญญาที่สำคัญ
24.1 สัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ในปี 2537 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
สัญญาดังกล่าวมีอายุ 20 ปี นับตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2537 และมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการขายไฟฟ้า
ของบริษัทให้กับบุคคลที่สามตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา ตลอดจนภาระผูกพันตามสัญญาจะ
โอนสิทธิเรียกร้อง (ดูหมายเหตุข้อ 24.3)
.../21
(ยังมีต่อ)