EN | TH
18 สิงหาคม 2542

การเงินไตรมาสสอง2542 แก้ไขหมายเหตุประกอบข้อ 7.2

งบการเงินรวม 2541 ไตรมาสที่สอง งวดหกเดือน (พันบาท) (พันบาท) กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน ซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ (65,314) (171,547) ขายหลักทรัพย์ในความต้องการ ของตลาด 91,034 315,356 เงินลงทุนระยะยาว - - เงินลงทุนและให้กู้ยืมในบริษัทย่อย บริษัทร่วมและบริษัทอื่น (172,645) (281,947) เงินปันผลจากบริษัทอื่น - 960 เงินปันผลจากบริษัทย่อย - - เงินสดสุทธิได้มา (ใช้ไป) จาก กิจกรรมลงทุน (146,925) (137,178) กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน ออกหุ้นเพิ่มทุน 135,563 226,962 จ่ายชำระคืนเงินกู้ระยะยาวและหุ้นกู้ (665,503) (749,772) เงินปันผลจ่าย - - ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (406) (3,384) เงินสดสุทธิได้มา (ใช้ไป) จาก กิจกรรมจัดหาเงิน (530,346) (526,194) เงินสดและรายการเทียบเท่า เงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) 84,032 (118,657) เงินสดและรายการเทียบเท่า เงินสด ณ วันต้นงวด 3,002,728 3,205,417 เงินสดและรายการเทียบเท่า เงินสด ณ วันปลายงวด 3,086,760 3,086,760 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดประกอบด้วย เงินสดและเงินฝากธนาคาร 42,850 42,850 เงินลงทุนระยะสั้น 3,043,910 3,043,910 3,086,760 3,086,760 ข้อมูลกระแสเงินสดเปิดเผยเพิ่มเติม เงินสดจ่ายในระหว่างปี - ดอกเบี้ยจ่าย 1,591,305 1,701,216 - ภาษีจ่าย - - หมายเหตุประกอบงบการเงิน ในหน้า 7 ถึง 21 เป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ รายงานของผู้สอบบัญชี หน้า 1 ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หน้า 7 หมายเหตุประกอบงบการเงินบริษัทฯ และหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม - วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2542 การจัดทำงบการเงินระหว่างกาล 1. งบการเงินในหน้า 2 ถึง 6 ได้จัดทำขึ้นจากสมุดบัญชีของบริษัทฯและบริษัทย่อย และยังมิได้รับ การตรวจสอบ ในความเห็นของฝ่ายบริหารข้อมูลทางการเงินดังกล่าวแสดงฐานะการเงินและผลการ ดำเนินงานของบริษัทฯ และฐานะการเงินรวมและผลการดำเนินงานรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยโดย ถูกต้องตามที่ควรและได้จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป งบการเงินนี้ควรจะใช้ประกอบกับงบการ เงินและงบการเงินรวมสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2541 นโยบายการบัญชีที่สำคัญ 2. สรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญซึ่งได้ถือปฏิบัติโดยสม่ำเสมอ มีดังต่อไปนี้ เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงิน งบการเงินนี้ได้จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปซึ่งถือปฏิบัติในประเทศไทย เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม งบการเงินรวมได้รวมงบการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ดังต่อไปนี้ 2542 2541 อัตราร้อยละ อัตราร้อยละ บริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด 99.99 99.99 บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด 99.99 99.99 บริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด 99.99 99.99 บริษัท เอ็กโก ร่วมทุนและพัฒนา จำกัด 99.99 99.99 บริษัท เอ็กโก ธุรกิจเหมือง จำกัด 69.99 66.70 รายการบัญชีระหว่างบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยได้ตัดออกจากงบการเงินรวมแล้ว ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หน้า 8 หมายเหตุประกอบงบการเงินบริษัทฯ และหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม - วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2542 (ต่อ) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด เงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดที่มีไว้เผื่อขาย แสดงด้วยราคายุติธรรม บริษัทฯ บันทึกการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของเงินลงทุนเป็นรายการแยกต่างหากโดยแสดงอยู่ในส่วน ของผู้ถือหุ้น และจะรับรู้ผลกำไรหรือขาดทุนโดยบันทึกในงบกำไรขาดทุนเมื่อบริษัทฯ ได้จำหน่าย เงินลงทุนนั้น สำหรับหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ราคายุติธรรมคือราคาปิดของ ตลาด ณ วันที่ในงบการเงิน ส่วนกรณีที่หลักทรัพย์ไม่มีราคาซื้อขายดังกล่าว ราคายุติธรรมจะ คำนวณจากมูลค่าปัจจุบันสุทธิ โดยใช้อัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงที่เหมาะสม วัสดุสำรองคลัง วัสดุสำรองคลัง แสดงในราคาทุน หลังหักสำรองการเสื่อมค่าของวัสดุ ราคาทุนคำนวณตามวิธี ถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ วัสดุสำรองคลังแยกประเภทได้เป็นวัสดุสำรองหลักและวัสดุสำรองทั่วไป วัสดุสำรองหลักเป็น วัสดุที่สำรองไว้สำหรับอุปกรณ์เฉพาะในโรงไฟฟ้า การตั้งสำรองสำหรับวัสดุสำรองหลักจะ คำนวณจากยอดคงเหลือ ณ วันสิ้นปีของวัสดุสำรองหลักหารด้วยจำนวนปีที่คงเหลืออยู่ตามอายุ ของสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ส่วนวัสดุสำรองทั่วไปจะตั้งสำรอง โดยพิจารณาจากรายงานการเคลื่อนไหวของวัสดุ เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทอื่น เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม บันทึกบัญชีตามวิธีส่วนได้เสีย เงินลงทุนในบริษัทอื่นบันทึก บัญชีตามวิธีราคาทุน ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หน้า 9 หมายเหตุประกอบงบการเงินบริษัทฯ และหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม - วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2542 (ต่อ) ค่าเสื่อมราคา ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ แสดงในราคาทุน ค่าเสื่อมราคาคิดตามวิธีอัตราเส้นตรง เพื่อตัดต้นทุนของสินทรัพย์ถาวรเป็นค่าใช้จ่ายตามอายุ การใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์นั้นดังนี้ จำนวนปี โรงไฟฟ้า 15 และ 20 อาคารและสิ่งปลูกสร้าง 20 ระบบส่งพลังไฟฟ้า 20 เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและบำรุงรักษา 5 และ 10 เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องตกแต่งและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 5 ยานพาหนะ 5 ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายจัดตั้งบริษัทและค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชีอื่น ตัดจำหน่ายโดย วิธีเส้นตรง ภายในระยะเวลา 5 - 10 ปี การแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ รายการที่เกิดขึ้นระหว่างงวดที่มีค่าเป็นเงินตราต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินไทย โดยใช้อัตรา แลกเปลี่ยน ณ วันที่ที่เกิดรายการนั้น ๆ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศแปลงค่า เป็นเงินไทยโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ในงบดุล กำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าเงิน ตราต่างประเทศ ได้บันทึกเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนของบริษัทฯ และ งบกำไรขาดทุนรวม กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นคำนวณโดยใช้จำนวนหุ้นถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามระยะเวลาที่หุ้นออกอยู่ ระหว่างงวด ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หน้า 10 หมายเหตุประกอบงบการเงินบริษัทฯ และหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม - วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2542 (ต่อ) การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการตีราคาเงินลงทุน 3. เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 บริษัทฯ บันทึกเงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการ ของตลาดตามราคายุติธรรม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40 ซึ่ง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 โดยในปีก่อนๆ บริษัทฯ บันทึกเงินลงทุนเหล่านี้ในราคาทุน รวมหรือราคาตลาดรวมแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า ทั้งนี้ตามมาตรฐานดังกล่าวไม่ต้องทำการปรับปรุงย้อนหลัง งบกระแสเงินสด 4. เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดประกอบด้วยเงินสด เงินฝากธนาคาร และเงินฝากสถาบันการเงิน ที่เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือน รายการกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 5. รายการที่มีสาระสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างงวดมีดังนี้ งบการเงินรวม 2542 2541 ไตรมาสที่สอง งวดหกเดือน ไตรมาสที่สอง งวดหกเดือน (พันบาท) (พันบาท) (พันบาท) (พันบาท) รายการระหว่างงวด รายได้ค่าไฟฟ้า 2,120 4,273 2,270 4,806 ค่าบริการซ่อมบำรุงรักษา 65 129 207 298 งบการเงินเฉพาะบริษัทฯ 2542 2541 (พันบาท) (พันบาท) ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 30 มิถุนายน เงินลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทย่อย 79 112 ลูกหนี้การค้าเป็นยอดค้างชำระค่าไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น รายใหญ่รายหนึ่งของบริษัทฯ ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หน้า 11 หมายเหตุประกอบงบการเงินบริษัทฯ และหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม - วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2542 (ต่อ) บริษัทย่อยสองแห่งได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. สัญญาดังกล่าวมีอายุ 15 ปี และ 20 ปี ตามมติที่ ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 และวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2539 ได้กำหนด ให้ราคาค่าไฟฟ้าตามสัญญาดังกล่าวถูกกำหนดตามหลักเกณฑ์ต้นทุนบวกกำไรส่วนเพิ่ม โดยสัญญาดังกล่าว มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการขายไฟฟ้าของบริษัทย่อยให้กับบุคคลที่สามตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา สัญญา ดังกล่าวใช้เป็นหลักประกันกับเจ้าหนี้เงินกู้ตามเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ นอกจากนี้ บริษัทย่อยสามารถนำผลกระทบที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับภาระหนี้สินที่เป็นเงินดอลลาร์ สหรัฐฯ มาใช้ในการคำนวณรายได้ค่าพลังไฟฟ้าของแต่ละเดือนจาก กฟผ. ตาม The First Amendment to Power Purchase Agreement ลงวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2541 ทั้งนี้รายได้จากการขายไฟฟ้า ส่วนที่ได้รับจากการชดเชยสำหรับไตรมาสที่สองสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2542 และ 2541 เป็น จำนวนเงิน 159 ล้านบาทและ 221 ล้านบาทและสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันเดียวกันเป็นจำนวน 328 ล้านบาทและ 565 ล้านบาท ตามลำดับ ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาซื้อขายไฟฟ้า กฟผ.เป็นผู้รับภาระต้นทุนก๊าซธรรมชาติ จนกว่าบริษัทย่อยดังกล่าว จะทำสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ดังนั้นรายได้ค่าพลังงานไฟฟ้าและ ต้นทุนขายจึงไม่ได้รวมคำนวณต้นทุนในส่วนนี้ ทั้งนี้ กฟผ.ได้แจ้งความความประสงค์ให้บริษัทย่อยดำเนิน การเจรจากับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยแล้ว เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2541 บริษัทย่อยได้แจ้งความประสงค์ให้กับ กฟผ.เป็นผู้รับภาระต้นทุนก๊าซ ธรรมชาติดังเช่นที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน และ กฟผ.ได้มีหนังสือแสดงความเห็นชอบตามที่บริษัทย่อยเสนอแล้ว เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2541 บริษัทย่อยทั้งสองแห่งได้ทำสัญญาการบำรุงรักษาหลักกับ กฟผ.เพื่อการบริการดูแลและรักษาหลัก การ ซ่อมแซม การจัดการและการบริการเพิ่มเติมอื่นที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าของบริษัทย่อย ค่าบริการดังกล่าว ถูกกำหนดตามหลักเกณฑ์ต้นทุนบวกกำไรส่วนเพิ่ม โดยค่าบริการของแต่ละปีสัญญาจะถูกปรับเพิ่มตาม ดัชนีราคาผู้บริโภค สัญญาทั้งสองนี้มีอายุ 6 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2537 และวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 และต่อสัญญาได้อีก 6 ปี บริษัทย่อยทั้งสองได้ใช้สัญญาดังกล่าวเป็นหลักประกันกับ เจ้าหนี้เงินกู้ตามเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ (ยังมีต่อ)