EN | TH
05 พฤศจิกายน 2542

การเงินไตรมาสสาม 2542 ของ บริษัทผลิตไฟฟ้าจำกัด(มหาชน)

งบการเงินนี้ได้จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปซึ่งถือปฏิบัติในประเทศไทย เกณฑ์ในการจัดทำงบการเงินรวม งบการเงินรวมได้รวมงบการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ดังต่อไปนี้ สัดส่วนการถือหุ้น (ร้อยละ) 2542 2541 บริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด 99.99 99.99 บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด 99.99 99.99 บริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด 99.99 99.99 บริษัท เอ็กโก ร่วมทุนและพัฒนา จำกัด 99.99 99.99 บริษัท เอ็กโก ธุรกิจเหมือง จำกัด 69.99 69.99 บริษัท เอ็กคอมธารา จำกัด 70.00 - รายการบัญชีระหว่างบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยได้ตัดออกจากงบการเงินรวมแล้ว ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หน้า 8 หมายเหตุประกอบงบการเงินบริษัทฯ และหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม - วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 (ต่อ) บริษัทฯ ซื้อหุ้นใน บริษัท เอ็กคอมธารา จำกัด ในระหว่างไตรมาสที่สามปี 2542 บริษัท เอ็กคอมธารา จำกัด ยังมิได้เริ่มดำเนินกิจการค้าตามปกติ เงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด เงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดที่มีไว้เผื่อขาย แสดงด้วยราคายุติธรรม บริษัทฯ บันทึกการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของเงินลงทุนเป็นรายการแยกต่างหากโดยแสดงอยู่ในส่วน ของผู้ถือหุ้น และจะรับรู้ผลกำไรหรือขาดทุนโดยบันทึกในงบกำไรขาดทุนเมื่อบริษัทฯ ได้จำหน่าย เงินลงทุนนั้น สำหรับหลักทรัพย์ที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ราคายุติธรรมคือราคาปิดของตลาด ณ วันที่ในงบการเงิน ส่วนกรณีที่หลักทรัพย์ไม่มีราคาซื้อขายดังกล่าว ราคายุติธรรมจะคำนวณจากมูลค่า ปัจจุบันสุทธิ โดยใช้อัตราผลตอบแทนที่เหมาะสม วัสดุสำรองคลัง วัสดุสำรองคลัง แสดงในราคาทุน หลังหักสำรองการเสื่อมค่าของวัสดุ ราคาทุนคำนวณตามวิธี ถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ วัสดุสำรองคลังแยกประเภทได้เป็นวัสดุสำรองหลักและวัสดุสำรองทั่วไป วัสดุสำรองหลักเป็นวัสดุที่ สำรองไว้สำหรับอุปกรณ์เฉพาะในโรงไฟฟ้า การตั้งสำรองสำหรับวัสดุสำรองหลักจะคำนวณจาก ยอดคงเหลือ ณ วันสิ้นปีของวัสดุสำรองหลักหารด้วยจำนวนปีที่คงเหลืออยู่ตามอายุของสัญญา ซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ส่วนวัสดุสำรองทั่วไปจะตั้งสำรองโดยพิจารณา จากรายงานการเคลื่อนไหวของวัสดุ เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และบริษัทอื่น เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม บันทึกบัญชีตามวิธีส่วนได้เสีย เงินลงทุนในบริษัทอื่นบันทึก บัญชีตามวิธีราคาทุน ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หน้า 9 หมายเหตุประกอบงบการเงินบริษัทฯ และหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม - วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 (ต่อ) ค่าเสื่อมราคา ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ แสดงในราคาทุน ค่าเสื่อมราคาคิดตามวิธีอัตราเส้นตรง เพื่อตัดต้นทุนของสินทรัพย์ถาวรเป็นค่าใช้จ่ายตามอายุการ ใช้งานโดยประมาณของสินทรัพย์นั้นดังนี้ จำนวนปี โรงไฟฟ้า 15 และ 20 อาคารและสิ่งปลูกสร้าง 20 ระบบส่งพลังไฟฟ้า 20 เครื่องมือ เครื่องใช้ในการผลิตและบำรุงรักษา 5 และ 10 เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องตกแต่งและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 5 ยานพาหนะ 5 ค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชี ค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายจัดตั้งบริษัทและค่าใช้จ่ายรอตัดบัญชีอื่น ตัดจำหน่ายโดย วิธีเส้นตรง ภายในระยะเวลา 5 - 10 ปี การแปลงค่าเงินตราต่างประเทศ รายการที่เกิดขึ้นระหว่างงวดที่มีค่าเป็นเงินตราต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินไทย โดยใช้อัตรา แลกเปลี่ยน ณ วันที่ที่เกิดรายการนั้น ๆ สินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นเงินตราต่างประเทศแปลงค่า เป็นเงินไทยโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ในงบดุล กำไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าเงินตรา ต่างประเทศ ได้บันทึกเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนของบริษัทฯ และงบกำไร ขาดทุนรวม กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น กำไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นคำนวณโดยใช้จำนวนหุ้นถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักตามระยะเวลาที่หุ้นออกอยู่ระหว่างงวด ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หน้า 10 หมายเหตุประกอบงบการเงินบริษัทฯ และหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม - วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 (ต่อ) การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการตีราคาเงินลงทุน 3. เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 บริษัทฯ บันทึกเงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของ ตลาดตามราคายุติธรรม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 40 ซึ่งมี ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542 โดยในปีก่อนๆ บริษัทฯ บันทึกเงินลงทุนเหล่านี้ในราคาทุน รวมหรือราคาตลาดรวมแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า ทั้งนี้ตามมาตรฐานดังกล่าวไม่ต้องทำการปรับปรุงย้อน หลัง งบกระแสเงินสด 4. เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดประกอบด้วยเงินสด เงินฝากธนาคาร และเงินฝากสถาบัน การเงินที่เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือน รายการกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 5. รายการที่มีสาระสำคัญที่เกิดขึ้นระหว่างงวดมีดังนี้ งบการเงินรวม 2542 2541 ไตรมาสที่สาม งวดเก้าเดือน ไตรมาสที่สาม งวดเก้าเดือน (พันบาท) (พันบาท) (พันบาท) (พันบาท) รายการระหว่างงวด รายได้ค่าไฟฟ้า 2,183 6,455 2,061 6,867 ค่าบริการซ่อมบำรุงรักษา 65 194 148 446 งบการเงินเฉพาะบริษัทฯ 2542 2541 (พันบาท) (พันบาท) ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 30 กันยายน เงินลงทุนในกองทุนปิดและหุ้นกู้ของบริษัทย่อย 278 110 ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หน้า 11 หมายเหตุประกอบงบการเงินบริษัทฯ และหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม - วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 (ต่อ) ลูกหนี้การค้าเป็นยอดค้างชำระค่าไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายหนึ่งของบริษัทฯ บริษัทย่อยสองแห่งได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. สัญญาดังกล่าวมีอายุ 15 ปี และ 20 ปี ตามมติที่ ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 และวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2539 ได้กำหนด ให้ราคาค่าไฟฟ้าตามสัญญาดังกล่าวถูกกำหนดตามหลักเกณฑ์ต้นทุนบวกกำไรส่วนเพิ่ม โดยสัญญาดังกล่าว มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการขายไฟฟ้าของบริษัทย่อยให้กับบุคคลที่สามตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา สัญญา ดังกล่าวใช้เป็นหลักประกันกับเจ้าหนี้เงินกู้ตามเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ นอกจากนี้ บริษัทย่อยสามารถนำผลกระทบที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับภาระหนี้สินที่เป็นเงินดอลลาร์ สหรัฐฯ มาใช้ในการคำนวณรายได้ค่าพลังไฟฟ้าของแต่ละเดือนจาก กฟผ. ตาม The First Amendment to Power Purchase Agreement ลงวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2541 ทั้งนี้รายได้จากการขายไฟฟ้าส่วน ที่ได้รับจากการชดเชยสำหรับไตรมาสที่สามสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 และ 2541 เป็นจำนวนเงิน 193 ล้านบาทและ 208 ล้านบาทและสำหรับงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันเดียวกันเป็นจำนวน 520 ล้านบาท และ 774 ล้านบาท ตามลำดับ ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาซื้อขายไฟฟ้า กฟผ.เป็นผู้รับภาระต้นทุนก๊าซธรรมชาติ จนกว่าบริษัทย่อยดังกล่าว จะทำสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ดังนั้นรายได้ค่าพลังงานไฟฟ้าและ ต้นทุนขายจึงไม่ได้รวมคำนวณต้นทุนในส่วนนี้ ทั้งนี้ กฟผ.ได้แจ้งความความประสงค์ให้บริษัทย่อยดำเนิน การเจรจากับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยแล้ว เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2541 บริษัทย่อยได้แจ้งความประสงค์ให้กับ กฟผ.เป็นผู้รับภาระต้นทุนก๊าซ ธรรมชาติดังเช่นที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน และ กฟผ.ได้มีหนังสือแสดงความเห็นชอบตามที่บริษัทย่อยเสนอแล้ว เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2541 บริษัทย่อยทั้งสองแห่งได้ทำสัญญาการบำรุงรักษาหลักกับ กฟผ.เพื่อการบริการดูแลและรักษาหลัก การ ซ่อมแซม การจัดการและการบริการเพิ่มเติมอื่นที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าของบริษัทย่อย ค่าบริการดังกล่าว ถูกกำหนดตามหลักเกณฑ์ต้นทุนบวกกำไรส่วนเพิ่ม โดยค่าบริการของแต่ละปีสัญญาจะถูกปรับเพิ่มตาม ดัชนีราคาผู้บริโภค สัญญาทั้งสองนี้มีอายุ 6 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2537 และวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 และต่อสัญญาได้อีก 6 ปี บริษัทย่อยทั้งสองได้ใช้สัญญาดังกล่าวเป็นหลักประกันกับ เจ้าหนี้เงินกู้ตามเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หน้า 12 หมายเหตุประกอบงบการเงินบริษัทฯ และหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม - วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 (ต่อ) เงินลงทุนระยะสั้น 6. ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้นำเงินฝากประจำไปวางเป็นหลักประกัน สำหรับเป็นเงินประกันผลงานจำนวน 30 ล้านบาท เงินฝากธนาคารและสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลักประกัน 7. เงินฝากธนาคารและสถาบันการเงินที่ใช้เป็นหลักประกันของบริษัทย่อยสองแห่ง เป็นเงินสำรองซึ่ง กันจากรายได้ค่าไฟฟ้า เพื่อใช้ในการจ่ายชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยที่จะถึงกำหนดชำระคืนภายใน 1 ปี และเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ตามเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญาเงินกู้ (ดูหมายเหตุ 9 และ 10) ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 และ 2541 บริษัทย่อยทั้งสองแห่งมีเงินสำรองเพื่อใช้ในการจ่ายชำระ คืนเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นจำนวนรวม 4,856 ล้านบาท และ 4,489 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนยอดสำรอง ที่เหลือจำนวน 2,730 ล้านบาท และ 2,633 ล้านบาท ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 และ 2541 ส่วนใหญ่เป็นยอดบัญชี Holding accounts ของบริษัทย่อยทั้งสองและ Borrower's accounts ในส่วนของบริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้ นอกจากนี้ บริษัทย่อยสองแห่งยังต้องสำรองเงินซึ่งกันจากรายได้ค่าไฟฟ้าเพื่อลดความเสี่ยงจากอัตรา แลกเปลี่ยน สำหรับหนี้สกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ ที่ไม่มีการประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนจนกว่า เงินสำรองจะครบร้อยละ 25 ของยอดหนี้คงค้างสกุลดอลล่าร์สหรัฐฯ หรือจำนวน 103 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 บริษัทย่อยทั้งสองแห่งมียอดสำรองครบ ตามจำนวนดังกล่าวแล้ว ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หน้า 13 หมายเหตุประกอบงบการเงินบริษัทฯ และหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม - วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 (ต่อ) เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วมและอื่น ๆ 8. 8.1 เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และอื่น ๆ ในงบการเงินบริษัทฯ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ชื่อบริษัท ประเภทกิจการ ทุนชำระแล้ว สัดส่วน (พันบาท) เงินลงทุน บริษัทย่อย (ร้อยละ) บริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด ผลิตไฟฟ้า 4,700,000 99.99 บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด ผลิตไฟฟ้า 4,850,000 99.99 บริษัท เอ็กโกเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ ให้บริการรับจ้าง ซ่อมแซมและรับจ้างเดิน เซอร์วิส จำกัด เครื่องจักรโรงไฟฟ้าและโรงงาน 210,000 99.99 บริษัท เอ็กโกร่วมทุนและพัฒนา จำกัด ลงทุนในโครงการต่างๆ ทางด้าน 447,720 99.99 ธุรกิจพลังงานไฟฟ้า บริษัท เอ็กโกธุรกิจเหมือง จำกัด ธุรกิจเหมืองแร่และพลังงานอื่นๆ 176,000 69.99 บริษัท เอ็กคอมธารา จำกัด ธุรกิจผลิตน้ำประปา 345,000 70.00 บริษัทร่วม บริษัท อมตะ เอ็กโกเพาเวอร์ จำกัด ผลิตไฟฟ้า 1,350,000 29.70 บริษัท บางจาก เพาเวอร์ จำกัด ผลิตไฟฟ้า 40,000 30.00 บริษัท อมตะ เพาเวอร์เอสโกเซอร์วิส รับจ้างเดินเครื่องจักรโรงไฟฟ้า 2,000 50.00 จำกัด (เดิมชื่อบริษัท ซีเอ็มเอสโก จำกัด) บริษัท เอสโกวู้ด จำกัด ให้บริการซ่อมแซมเครื่องจักร โรงไฟฟ้า 20,000 45.00 รวมเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม อื่น ๆ บริษัท ไทยแอล เอ็น จี เพาเวอร์ จำกัด 10.00 บริษัท พีเอ็ม ไอ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 10.00 เงินลงทุนในกองทุนเปิดตราสารหนี้ เงินลงทุนในกองทุนปิด หุ้นกู้ระยอง รวมเงินลงทุนอื่น ๆ เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หน้า 13 หมายเหตุประกอบงบการเงินบริษัทฯ และหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม - วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 (ต่อ) เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วมและอื่น ๆ 8. 8.1 เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วม และอื่น ๆ ในงบการเงินบริษัทฯ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ งบการเงินเฉพาะบริษัทฯ ชื่อบริษัท 2542 2541 วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย บริษัทย่อย (พันบาท) (พันบาท) (พันบาท) (พันบาท) บริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด 4,700,000 5,958,903 4,700,000 4,237,976 บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด 4,850,000 5,396,411 4,850,000 5,563,877 บริษัท เอ็กโกเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด 210,000 107,143 210,000 143,144 บริษัท เอ็กโกร่วมทุนและพัฒนา จำกัด 447,720 20,636 447,720 433,681 บริษัท เอ็กโกธุรกิจเหมือง จำกัด 124,800 103,275 100,400 92,815 บริษัท เอ็กคอมธารา จำกัด 241,500 241,500 - - บริษัทร่วม บริษัท อมตะ เอ็กโกเพาเวอร์ จำกัด 400,950 379,197 400,950 - บริษัท บางจาก เพาเวอร์ จำกัด 12,000 12,121 12,000 - บริษัท อมตะ เพาเวอร์เอสโกเซอร์วิส จำกัด 1,000 23,949 1,000 - (เดิมชื่อบริษัท ซีเอ็มเอสโก จำกัด) บริษัท เอสโกวู้ด จำกัด 9,000 - 9,000 - รวมเงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วม 10,996,970 12,243,135 10,731,070 10,471,493 อื่น ๆ บริษัท ไทยแอล เอ็น จี เพาเวอร์ จำกัด 37,500 37,500 บริษัท พีเอ็ม ไอ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 300 300 เงินลงทุนในกองทุนเปิดตราสารหนี้ 600,000 500,000 เงินลงทุนในกองทุนปิด หุ้นกู้ระยอง 200,000 - รวมเงินลงทุนอื่น ๆ 837,800 537,800 เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย 25,200 - งบการเงินสำหรับไตรมาสที่สามและงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 ได้รวมส่วนแบ่งผลขาดทุนสุทธิรวมทั้งสิ้น 82.84 ล้านบาทและ 80.50 ล้านบาทตามลำดับ จากบริษัทร่วมสี่แห่ง (งวดไตรมาสที่สามและเก้าเดือนของปี พ.ศ. 2541 ไม่มียอด) งบการเงินสำหรับงวดดังกล่าวของบริษัทร่วมเหล่านี้ยังไม่ได้สอบทานโดยผู้สอบบัญชี ของแต่ละบริษัท ในไตรมาสที่สามของปี พ.ศ. 2542 บริษัทฯ ได้ซื้อหุ้นสามัญของบริษัท เอ็กคอมธารา จำกัด จำนวน 24,150,000 หุ้น ซึ่งเท่ากับร้อยละ 70 ของจำนวนหุ้นสามัญทั้งหมด เนื่องจากบริษัทย่อยดังกล่าวยังไม่ได้เริ่มดำเนินกิจการตามปกติธุรกิจ ดังนั้นเงินลงทุน ดังกล่าวจึงบันทึกบัญชีตามวิธีราคาทุนในงบการเงินของบริษัทฯ ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หน้า 14 หมายเหตุประกอบงบการเงินบริษัทฯ และหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม - วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 (ต่อ) 8.2 เงินลงทุนและเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทร่วมและอื่น ๆ ในงบการเงินรวม มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ชื่อบริษัท ประเภทกิจการ ทุนชำระแล้ว สัดส่วน (พันบาท) เงินลงทุน บริษัทร่วม บริษัท อมตะ เอ็กโกเพาเวอร์ จำกัด ผลิตไฟฟ้า 1,350,000 29.70 บริษัท บางจาก เพาเวอร์ จำกัด ผลิตไฟฟ้า 40,000 30.00 บริษัท อมตะ เพาเวอร์เอสโกเซอร์วิส รับจ้างเดินเครื่องจักรโรงไฟฟ้า 2,000 50.00 จำกัด (เดิมชื่อบริษัท ซีเอ็มเอสโก จำกัด) บริษัท เอสโกวู้ด จำกัด ให้บริการซ่อมแซมเครื่องจักร โรงไฟฟ้า 20,000 45.00 รวมเงินลงทุนในบริษัทร่วม อื่น ๆ บริษัท ไทยแอล เอ็น จี เพาเวอร์ จำกัด - 10.00 บริษัท พีเอ็มไอ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด - 10.00 เงินลงทุนในกองทุนเปิดตราสารหนี้ ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หน้า 14 หมายเหตุประกอบงบการเงินบริษัทฯ และหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม - วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 (ต่อ) 8.2 เงินลงทุนและเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทร่วมและอื่น ๆ ในงบการเงินรวม มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ งบการเงินรวม ชื่อบริษัท 2542 2541 วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย บริษัทร่วม (พันบาท) (พันบาท) (พันบาท) (พันบาท) บริษัท อมตะ เอ็กโกเพาเวอร์ จำกัด 400,950 379,197 400,950 400,950 บริษัท บางจาก เพาเวอร์ จำกัด 12,000 12,121 12,000 12,000 บริษัท อมตะ เพาเวอร์เอสโกเซอร์วิส 1,000 23,949 1,000 1,000 จำกัด (เดิมชื่อบริษัท ซีเอ็มเอสโก จำกัด) บริษัท เอสโกวู้ด จำกัด 9,000 - 9,000 9,000 รวมเงินลงทุนในบริษัทร่วม 422,950 415,267 422,950 422,950 อื่น ๆ บริษัท ไทยแอล เอ็น จี เพาเวอร์ จำกัด 37,500 37,500 บริษัท พีเอ็มไอ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 300 300 เงินลงทุนในกองทุนเปิดตราสารหนี้ 637,000 502,000 รวมเงินลงทุนอื่น ๆ 674,800 539,800 เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทร่วม 32,490 - งบการเงินสำหรับไตรมาสที่สามและงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 ได้รวมส่วนแบ่งขาดทุนสุทธิ รวมทั้งสิ้น 82.84 ล้านบาทและ 80.50 ล้านบาทตามลำดับ จากบริษัทร่วมสี่แห่ง (งวดไตรมาสที่สามและเก้าเดือนของปี พ.ศ. 2541 ไม่มียอด) งบการเงินสำหรับงวดดังกล่าวของบริษัทร่วมเหล่านี้ยังไม่ได้สอบทานโดยผู้สอบบัญชี ของแต่ละบริษัท ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หน้า 15 หมายเหตุประกอบงบการเงินบริษัทฯ และหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม - วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 (ต่อ) เงินกู้ยืมระยะยาว 9. เงินกู้ยืมระยะยาวเป็นเงินกู้ยืมสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ และสกุลเงินบาท ดังนี้ งบการเงินรวม 2542 2541 (พันบาท) (พันบาท) เงินกู้ยืมสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ 17,733,683 18,025,573 เงินกู้ยืมสกุลเงินบาท 2,627,000 2,893,250 20,360,683 20,918,823 หัก ส่วนของเงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (1,370,138) (1,184,275) 18,990,545 19,734,548 เงินกู้ยืมของบริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด เป็นเงินกู้ยืมภายใต้สัญญา Master Agreement สัญญา Credit Agreement และสัญญา Institutional Loan Agreement สัญญาแต่ละฉบับลงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 ส่วนเงินกู้ยืมระยะยาวของ บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด เป็นเงินกู้ยืมภายใต้สัญญา Master Agreement และสัญญา Bank Credit Agreement สัญญาแต่ละฉบับลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2539 รายละเอียดเงินกู้ยืมของบริษัทย่อยทั้งสองแห่ง มีดังนี้ ยอดคงเหลือ ณ วันที่ ระยะเวลา อัตราดอกเบี้ย วงเงินกู้ยืม 30 กันยายน 2542 จ่ายคืนเงินต้น (ปี) (ร้อยละต่อปี) เงินกู้ยืมของบริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด 93 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ 60.5 10 LIBOR บวกอัตราส่วนเพิ่ม 48 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ 31.2 10 LIBOR บวกอัตราส่วนเพิ่ม 141 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ 140.3 15 คงที่ 8.85 3,550 ล้านบาท 2,627.0 12 MLR ลบอัตราส่วนเพิ่ม ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หน้า 16 หมายเหตุประกอบงบการเงินบริษัทฯ และหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม - วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 (ต่อ) ยอดคงเหลือ ณ วันที่ ระยะเวลา อัตราดอกเบี้ย วงเงินกู้ยืม 30 กันยายน 2542 จ่ายคืนเงินต้น (ปี) (ร้อยละต่อปี) เงินกู้ยืมของบริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด 100 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ 88 12 LIBOR บวกอัตราส่วนเพิ่ม 165 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ 145 12 LIBOR บวกอัตราส่วนเพิ่ม 225 ล้านบาท (ยังไม่ได้เบิกใช้) 15 MLR ลบอัตราส่วนเพิ่ม บริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด ได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกับสถาบัน การเงินแห่งหนึ่ง สัญญามีผลบังคับให้เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นอัตราคงที่ ร้อยละ 8.12 และ 8.22 ต่อปี สำหรับเงินกู้ยืม 93 และ 48 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ทั้งสองจำนวน สัญญานี้มีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 ถึง วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 เจ้าหนี้เงินกู้ยืมสกุลเงินบาทได้โอนสิทธิในการรับชำระคืน เงินกู้ยืมจำนวน 1,517 ล้านบาท ให้กองทุนรวมบริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด (1) โดย ได้รับชำระคืนเงินต้นจากกองทุนรวมฯ ในวันเดียวกัน เงินกู้ยืมดังกล่าวมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อปี และมีเงื่อนไขการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยทุก 6 เดือน นอกจากนี้บริษัทย่อยดังกล่าว ได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี่ยจากอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นอัตราคงที่ร้อยละ 8 ต่อปี สำหรับเงินกู้ยืมส่วนที่เหลือจำนวน 1,110 ล้านบาท โดยมีเงื่อนไขการชำระคืนเงินต้นทุก 6 เดือน และจ่ายคืนดอกเบี้ยทุกเดือน บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด ได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยกับสถาบัน การเงินแห่งหนึ่งในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 สัญญามีผลบังคับให้เปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นอัตราคงที่ร้อยละ 8.0275 ต่อปี สำหรับเงินกู้ยืม 165 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ส่วนเงินกู้ยืมจำนวน 100 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ บริษัทฯ ได้ทำสัญญา แลกเปลี่ยนจากอัตราดอกเบี้ยลอยตัวและสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ ร้อยละ 11 ต่อปี ในสกุลเงินบาท ภายใต้สัญญาดังกล่าว ยอดคงเหลือ 88 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ณ วันที่ 30 กันยายนพ.ศ. 2542 แปลงเป็นเงินบาทได้เท่ากับ 2,220 ล้านบาท สัญญา ข้างต้นมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ถึงวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ตามเงื่อนไขของสัญญา Master Agreement ของบริษัทย่อยทั้งสอง มีข้อกำหนดให้กัน เงินสำรองสำหรับภาระหนี้สินและมีเงื่อนไขต่าง ๆ ตามที่ระบุในสัญญา โดยสำรองในรูป ของเงินฝากธนาคารและสถาบันการเงินเพื่อการชำระคืนเงินต้นและจ่ายดอกเบี้ยที่จะครบ กำหนดชำระภายในหนึ่งปี ตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 5 และ 7 และบริษัทย่อยทั้งสองแห่งยังต้องกันเงินสำรองเพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อเดียวกัน ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หน้า 17 หมายเหตุประกอบงบการเงินบริษัทฯ และหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม - วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 (ต่อ) นอกจากนั้นบริษัทย่อยทั้งสองแห่งยังได้นำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า สัญญาซื้อขาย ทรัพย์สิน สัญญาการบำรุงรักษาหลัก กรมธรรม์ประกันภัย และสัญญาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหนี้เงินกู้ วางเป็นหลักประกันตามเงื่อนไขภายใต้สัญญา Master Agreement ของบริษัทย่อยทั้งสอง หุ้นกู้ 10. งบการเงินรวม 2542 2541 (พันบาท) (พันบาท) หุ้นกู้ 9,801,021 10,292,813 หัก ส่วนของหุ้นกู้ที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี (985,650) (324,011) 8,815,371 9,968,802 หุ้นกู้ของบริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัดเป็นเงินกู้ยืมภายใต้สัญญา Master Agreement และสัญญา Debenture Holder Representative Appointment Agreement No.1 และ No.2 สัญญาแต่ละฉบับลงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 ส่วนหุ้นกู้ของบริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด เป็นเงินกู้ยืมภายใต้สัญญา Master Agreement และข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ ลงวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2539 และวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ตามลำดับ รายละเอียดของหุ้นกู้ของบริษัทย่อยทั้งสองแห่ง มีดังนี้ ยอดคงเหลือ ณ วันที่ วันที่ครบ 30 กันยายน พ.ศ.2542 อายุหุ้นกู้ อัตราดอกเบี้ย กำหนดชำระ (ล้านบาท) (ปี) (ร้อยละต่อปี) บริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด หุ้นกู้ครั้งที่ 1 2,500.0 5,7,10,12 11.25 7 ธันวาคม 2549 หุ้นกู้ครั้งที่ 2 780.0 1-12 11.25 7 ธันวาคม 2549 บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด หุ้นกู้ 6,816.1 15 11.5625 14 มิถุนายน 2554 หุ้นกู้ครั้งที่ 1 ของบริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด แบ่งเป็น 4 ส่วนตาม อายุ 5 ปี 7 ปี 10 ปีและ 12 ปี โดยมีกำหนดไถ่ถอนในปี พ.ศ. 2542 2544 2547 และ 2549 ตามลำดับ ส่วนหุ้นกู้ครั้งที่ 2 แบ่งเป็น 12 ส่วน อายุ 1 ถึง12 ปี มีกำหนดไถ่ถอนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ถึง พ.ศ. 2549 โดยจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ยังไม่ได้ตรวจสอบ สอบทานแล้ว บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หน้า 18 หมายเหตุประกอบงบการเงินบริษัทฯ และหมายเหตุประกอบงบการเงินรวม - วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 (ต่อ) ส่วนหุ้นกู้ของบริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด เป็นหุ้นกู้มีประกันชนิดระบุชื่อ ผู้ถือหุ้นจำนวน 750,000 หน่วย มีมูลค่าที่ตราไว้หน่วยละ 10,000 บาท โดยมีมูลค่า รวมจำนวน 7,500 ล้านบาท ซึ่งได้เสนอขายให้แก่ประชาชนทั่วไป อายุหุ้นกู้ มีกำหนด 15 ปีนับจากวันออกหุ้นกู้คือวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ครบกำหนด ไถ่ถอนเป็นงวดๆทุก 6 เดือน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2554 และกำหนดจ่าย ดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง บริษัทย่อยทั้งสองแห่งต้องกันเงินสำรองเพื่อการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ เจ้าหนี้หุ้นกู้ในสัญญาต่างๆ รวมทั้งการนำสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องวางเป็นหลักประกัน ตามที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ข้อ 5 และ 7 ต้นทุนขาย 11. ต้นทุนขายประกอบด้วยค่าใช้จ่ายหลักที่สำคัญ ได้แก่ ค่าบำรุงรักษา ค่าเสื่อมราคาและค่าเบี้ยประกันค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าหลัก (Major repair and maintenance expenses) จะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี พ.ศ. 2541 บริษัทย่อยทั้งสองแห่งได้ตั้งสำรอง ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาหลักในงบการเงินระหว่างกาล โดยคำนวณจาก ประมาณการค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาหลักทั้งปี ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง หลักสำหรับไตรมาสที่สามและงวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2542 เป็นจำนวนเงิน 114 ล้านบาทและ 342 ล้านบาท และสำหรับไตรมาสที่สามและ งวดเก้าเดือนสิ้นสุดวันเดียวกันของปี พ.ศ. 2541 เป็นจำนวนเงิน 423 ล้านบาท และ 1,050 ล้านบาท ตามลำดับ ขาดทุน (กำไร) จากอัตราแลกเปลี่ยน 12. ขาดทุน (กำไร) จากอัตราแลกเปลี่ยนในงบการเงินรวมนี้ส่วนใหญ่เกิดจาก การแปลงค่าเงินกู้ยืมระยะยาวของบริษัทย่อยสองแห่งที่เป็นสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ (ยังมีต่อ)