25 เมษายน 2545
รายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ
F24-3
รายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
ด้วยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 3/2545 เมื่อวันที่ 22 เมษายน
2545 ได้มีมติแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบ คือ นายชัยพัฒน์ สหัสกุล
มีผลให้ ณ วันที่ 22 เมษายน 2545
1. สมาชิกคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทประกอบด้วย
ประธานกรรมการตรวจสอบ นายอัศวิน คงสิริ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ 2 ปี 2 เดือน
กรรมการตรวจสอบ นายวรวิทย์ ขำขนิษฐ์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ 2 ปี 2 เดือน
กรรมการตรวจสอบ นายชัยพัฒน์ สหัสกุล วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ 2 ปี 2 เดือน
พร้อมนี้ได้แนบหนังสือรับรองประวัติของกรรมการตรวจสอบ จำนวน 1 ท่านมาด้วยแล้ว
2. คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท
ดังต่อไปนี้
หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ
1. สอบทานรายงานทางการเงิน ว่าจัดทำอย่างถูกต้อง และเปิดเผยเพียงพอ
2. สอบทานระบบการควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายในว่าเหมาะสมและมีประสิทธิผล
3. สอบทานว่าบริษัทปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ และข้อกำหนด
ของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
4. เสนอชื่อผู้สอบบัญชีแก่คณะกรรมการบริษัท พร้อมทั้งผลตอบแทนในการสอบบัญชีประจำปี เพื่อ
ขอรับการแต่งตั้งจากที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น
5. พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัท ในกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมี
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน
6. จัดทำรายงานการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเปิดเผยไว้ในรายงาน
ประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ
7. พิจารณาและสอบทานงานของฝ่ายตรวจสอบภายใน ในเรื่องต่อไปนี้
7.1 พิจารณาขอบเขตการปฏิบัติงาน แผนการตรวจสอบประจำปี และงบประมาณรวมทั้ง
บุคลากร ว่าเหมาะสม สอดคล้องกับขอบเขตการปฏิบัติงาน และเพียงพอที่จะสนับสนุน
งานในหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ
7.2 พิจารณาความดีความชอบ แต่งตั้ง ถอดถอน โยกย้าย หรือเลิกจ้าง ผู้จัดการฝ่ายตรวจ
สอบภายใน
7.3 การนำเสนอรายงานผลการปฏิบัติงาน
7.4 ความเป็นอิสระของฝ่ายตรวจสอบภายใน
8. รายงานภารกิจของคณะกรรมการตรวจสอบ เสนอคณะกรรมการบริษัท
9. ทบทวนกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อให้มีความเหมาะสมกับ
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจขององค์กร
10.ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย และคณะกรรมการตรวจสอบเห็นชอบด้วย
เช่น ทบทวนนโยบายการบริหารทางการเงิน และการบริหารความเสี่ยง ทบทวนการปฏิบัติตาม
จรรยาบรรณทางธุรกิจของผู้บริหาร ทบทวนร่วมกับผู้บริหารในรายงานสำคัญๆ ที่ต้องเสนอต่อ
สาธารณชนตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ บทรายงาน และการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร เป็นต้น
ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบมีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทโดยตรง และคณะกรรมการ
บริษัทยังคงมีความรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทต่อบุคคลภายนอก
อำนาจของคณะกรรมการตรวจสอบ
1. สามารถเชิญกรรมการ ผู้บริหาร หรือเจ้าหน้าที่ของบริษัท มาร่วมประชุม หารือ ชี้แจงหรือตอบ
ข้อซักถาม ในเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่ และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ
2. สามารถที่จะปรึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาของบริษัท (ถ้ามี) หรือจ้างที่ปรึกษาหรือผู้
เชี่ยวชาญภายนอกในกรณีจำเป็น ด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัท
3. มีอำนาจในการดำเนินการตรวจสอบ และสอบสวนตามที่จำเป็น ในเรื่องต่างๆ เพื่อให้การปฏิบัติ
งานภายใต้หน้าที่ความรับผิดชอบ สำเร็จลุล่วงด้วยดี
ทั้งนี้ บริษัทขอยืนยันว่ากรรมการดังกล่าวมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
ทุกประการ
ลงชื่อ ...................... กรรมการ และ
(นายชัยพัฒน์ สหัสกุล) กรรมการตรวจสอบ
ลงชื่อ ...................... กรรมการ และ
(นายสิทธิพร รัตโนภาส) กรรมการผู้จัดการใหญ่