13 สิงหาคม 2546
คำอธิบายงบการเงินไตรมาสที่ 2
บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร
สำหรับผลการดำเนินงาน ครึ่งปีแรก ปี2546
หมายเหตุ:บทรายงานและการวิเคราะห์งบการเงินฉบับนี้ ฝ่ายบริหารได้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลและแสดงวิสัยทัศน์ของฝ่ายบริหารให้ผู้ลงทุนทั่วไปสามารถติดตามและทำความเข้าใจ
ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทได้ดีขึ้น อันเป็นการส่งเสริมโครงการการกำกับดูแลกิจการที่ดีของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
อนึ่งเนื่องจากบทรายงานและการวิเคราะห์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอข้อมูลและคำอธิบายถึงสถานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งที่นำเสนอนี้
อาจเปลี่ยนแปลงตามปัจจัยหรือสภาวะแวดล้อมที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ฉะนั้นจึงใคร่ขอให้นักลงทุนใช้วิจารณญาณในการพิจารณาใช้ประโยชน์จากเอกสารข้อมูลนี้ และหากมีคำถามหรือ
ข้อสงสัยประการใดกรุณาติดต่อสอบถามได้ที่ ส่วนนักลงทุนสัมพันธ์ ฝ่ายสื่อสารองค์กรและนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) โทร. 02-998-5131-2 หรือ
email : ir@egco.com
บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร
1. การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติตามแผนการดำเนินธุรกิจ
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ บผฟ. มีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นบริษัทชั้นนำในภูมิภาคอาเซียน ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าครบวงจร และครอบคลุมทั้งธุรกิจการให้บริการด้านพลังงาน
โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประโยชน์ทางสังคมเป็นสำคัญ กลยุทธในการดำเนินธุรกิจของบริษัท มุ่งเน้นไปยังธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการผลิตไฟฟ้ารายใหญ่
(IPP) ซึ่งผลิตกระแสไฟฟ้าและจำหน่ายให้กับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว โครงการดังกล่าวจะสามารถนำมาซึ่งผลกำไรด้วยต้นทุนที่ประหยัด
ต่อขนาด นขณะเดียวกันบริษัทมีแผนการวิเคราะห์และบริหารสินทรัพย์โครงการผลิตไฟฟ้ารายเล็ก(SPP) เพื่อเพิ่มศักยภาพของโครงการ และนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดจากการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
และจากการวิเคราะห์สินทรัพย์ของบริษัทที่มีอยู่ บริษัทมีนโยบายที่จะจำหน่ายโครงการที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจผลิตไฟฟ้า ซึ่งหมายถึงธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำประปา (บจ. เอ็กคอมธารา)
นโยบายในการขยายธุรกิจของบริษัท มุ่งเน้นที่จะลงทุนในโครงการที่ผลิตกระแสไฟฟ้าทั้งในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวกับ กฟผ. นอกจากนั้น
บริษัทมีเจตนารมย์ในการคัดสรร IPP ที่มีคุณภาพด้วยความเสี่ยงซึ่งต้องยอมรับได้ จากการพัฒนาโครงการใหม่ หรือจากการซื้อสินทรัพย์ในโครงการที่ดำเนินงานแล้วในปัจจุบัน
ปัจจุบัน บริษัทมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 2,426 เมกะวัตต์ โดยยังมิได้รวมถึง IPP ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนา อีก 3 โครงการ ได้แก่
1. โครงการปรับปรุงและขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าขนอม ที่บรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ปี 2546 เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตประมาณ 385 เมกะวัตต์ โดยใช้ก๊าซธรรมชาติ
เป็นเชื้อเพลิงหลัก และคาดว่าจะสามารถผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าได้ในเดือนมกราคม 2550
2. โครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอกของบริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด โครงการนี้ บผฟ. มีสัดส่วนการลงทุนอยู่ที่ร้อยละ 30 โดยลงทุนผ่าน บริษัท กัลฟ์ อิเล็คตริก จำกัด (มหาชน)
และมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว 25 ปีกับ กฟผ. ปัจจุบันอยู่ระหว่างการเลือกพื้นที่ตั้งโครงการที่เหมาะสม และจะมีการเปลี่ยนเชื้อเพลิงจากถ่านหินเป็นก๊าซธรรมชาติ คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จ
ภายในเดือนมีนาคม 2551
3. โครงการน้ำเทิน 2 เป็นโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ กำลังการผลิต 1,070 เมกะวัตต์ ปัจจุบัน บผฟ. มีสัดส่วนการลงทุนอยู่ที่ร้อยละ 25 โดยโครงการจะจำหน่ายกระแสไฟฟ้า
ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว 25 ปี และตามกำหนดการเดิม โครงการนี้จะมีการลงนามสัญญาในวันที่ 18 กรกฎาคม 2546 ที่ผ่านมา แต่เนื่องจาก Electricite de France
International (EDFI) ซึ่งถือหุ้นร้อยละ 35 ได้แถลงข่าวว่าจะถอนตัวออกจากโครงการนี้ เนื่องจากการปรับกลยุทธเพื่อมุ่งเน้นการลงทุนในยุโรปเป็นหลัก ปัจจุบันกลุ่มผู้ร่วมลงทุนที่เหลือ
ในโครงการน้ำเทิน 2 อยู่ระหว่างการหาแนวทางในการดำเนินโครงการที่เหมาะสมต่อไป
ในส่วนนโยบายการจ่ายเงินปันผลนั้น บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นปีละ 2 ครั้ง ในอัตราประมาณร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิ หรือไม่ต่ำกว่าจำนวนเงินปันผลในปีที่ผ่านมา
(2.50 บาทต่อหุ้น) โดยบริษัทพยายามจะจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับแผนการใช้เงินเพื่อการลงทุนระยะยาวอย่างมีคุณภาพ
2. รายงานและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
บผฟ. เป็นบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) ที่มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟ้าครบวงจรและครอบคลุมถึงธุรกิจที่ให้การบริการด้านพลังงาน โดยมีรายได้หลัก คือ
เงินปันผลที่มาจากกำไรของบริษัทย่อย บริษัทร่วม และส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า การจัดโครงสร้างดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อได้รับความสะดวกในการขยายกิจการ และเพิ่มความสามารถหรือ
ยกระดับคุณภาพการบริหารในแต่ละโครงการของบริษัทย่อย และเพื่อให้การระดมเงินกู้สำหรับโครงการใหม่เป็นไปโดยไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อโครงการเก่า ดังนั้น ฝ่ายบริหารจึงขอแสดงรายงาน
เชิงวิเคราะห์จากงบการเงินรวมของ บผฟ. และบริษัทย่อย เพื่อให้เห็นถึงภาพรวมที่ชัดเจนของผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
2.1 สรุปผลการดำเนินงาน
กำไรสุทธิ ของกลุ่ม บผฟ. สำหรับครึ่งปีแรก ปี 2546 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน เป็นจำนวนทั้งสิ้น 3,075 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 803 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานของช่วงเวลา
เดียวกันปี 2545 คิดเป็นร้อยละ 35 ซึ่งประกอบด้วย
หน่วย : ล้านบาท
กำไรสุทธิ ครึ่งปี 2546 กำไรสุทธิ ครึ่งปี 2545
ก่อน FX หลัง FX ก่อน FX หลัง FX
บผฟ. (136) (136) (455) (455)
กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) 2,609 2,771 1,938 2,357
กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) 179 272 78 191
กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ (Oversea) 125 123 77 102
กลุ่มธุรกิจอื่น (Others) 45 45 77 77
หมายเหตุ - IPP ประกอบด้วย บฟร. และ บฟข. - SPP ประกอบด้วย จีอีซี เอพีบี ทีแอลพีโคเจน ร้อยเอ็ดกรีน
- Overseas ประกอบด้วย โคแนล - Others ประกอบด้วย เอสโก เอ็กคอมธารา
ในครึ่งปีแรก ปี 2546 บริษัทมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 251 ล้านบาท ในขณะที่ในช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว บผฟ. มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 557 ล้านบาท
ทั้งนี้กำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นตัวเลขทางบัญชี เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีไทย ซึ่งเกิดขึ้นจากผลต่างของการแปลงมูลค่าหนี้คงค้างสุทธิเฉพาะที่เป็นเงินตราสกุล
ต่างประเทศกลับมาเป็นเงินตราสกุลบาท ณ วันสิ้นสุดงวดของบัญชีปัจจุบัน (วันที่ 30 มิถุนายน 2546) กับงวดก่อนหน้านี้ (วันที่ 31 ธันวาคม 2545)
หากไม่คำนึงถึงผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว บริษัทมีกำไรสุทธิ จำนวน 2,823 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 1,108 ล้านบาท หรือร้อยละ 65
อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ มีดังนี้
- อัตราส่วนกำไรขั้นต้น เท่ากับร้อยละ 59
- อัตราส่วนกำไรสุทธิ (ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน) เท่ากับร้อยละ 35
- กำไรสุทธิ (ที่ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน) ต่อหุ้น เท่ากับ 5.36 บาท
อัตรากำไรสุทธิ (ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน) เท่ากับร้อยละ 35 สูงกว่าปี 2545 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 27 โดยมีสาเหตุหลักมาจากรายได้เพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่มากกว่าค่าใช้จ่าย
กล่าวคือ รายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 27 ในขณะที่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 13
2.2 การวิเคราะห์รายได้
ผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก ปี 2546 รายได้รวมของ บผฟ. บริษัทย่อย และส่วนแบ่งกำไรในเงินลงทุนในบริษัทร่วมและส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า มีจำนวนทั้งสิ้น 8,043 ล้านบาท
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2545 เพิ่มขึ้นจำนวน 1,708 ล้านบาท หรือร้อยละ 27 โดยมีรายละเอียดดังนี้
รายได้รวม:
หน่วย : ล้านบาท
ครึ่งปีแรก ปี 2546 ครึ่งปีแรก ปี 2545 %เปลี่ยนแปลง
บผฟ. 122 199 (38%)
กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) 5,097 4,854 5%
กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) 2,053 566 263%
กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ (Overseas) 531 511 4%
กลุ่มธุรกิจอื่นๆ (Others) 239 205 17%
1) รายได้ของ บผฟ. จำนวน 122 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 76 ล้านบาท หรือร้อยละ 38 สาเหตุหลักคือ ผลตอบแทนจากการลงทุนลดลงเนื่องจาก
เงินฝากและอัตราดอกเบี้ยลดลง และมีส่วนแบ่งค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการน้ำเทิน 2 (Nam Theun 2 Electricity Consortium หรือ NTEC) จำนวน 17 ล้านบาท
2) รายได้จากกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) คือ บริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด (บฟร.) และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด (บฟข.) จำนวน 5,097 ล้านบาท แบ่งเป็น
* รายได้ค่าไฟฟ้า จำนวน 4,972 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 279 ล้านบาท หรือร้อยละ 6 โดยแบ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจาก บฟร. 728 ล้านบาท
ในขณะที่รายได้ค่าไฟฟ้าของ บฟข. ลดลง 449 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสูตรค่าพลังไฟฟ้า ในลักษณะ "Cost Plus" หรือต้นทุนบวกกำไรส่วนเพิ่มที่ให้แก่ผู้ประกอบการ
ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) และเป็นไปตามที่ได้ประมาณการไว้แล้ว
สัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าในแต่ละปีเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายหลักคือ ค่าใช้จ่ายเงินกู้ และค่าบำรุงรักษาหลัก ซึ่งจะใช้อัตราดังกล่าวตามที่ได้ตกลงในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
ในการคำนวณค่าไฟฟ้าในแต่ละงวด
รายได้ค่าไฟฟ้ากลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP)
หน่วย : ล้านบาท
ครึ่งปีแรก ปี 2546 ครึ่งปีแรก ปี 2545 %เปลี่ยนแปลง
บฟร. 3,013 2,285 32%
บฟข. 1,959 2,408 (19%)
นอกจากนั้น ในการคำนวณรายได้ค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า ได้รับการปรับเพื่อชดเชยผลกระทบที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับภาระค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมเงินที่เป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ
และค่าอะไหล่ที่ใช้ในการบำรุงรักษาหลัก ซึ่ง บฟร. และ บฟข. จะได้รับการชดเชยทุกเดือนตามงวดกำหนดชำระค่าไฟฟ้า โดยจะได้รับค่าพลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนสูงกว่าระดับ
28 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐฯ และได้รับค่าพลังไฟฟ้าลดลงเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนต่ำกว่าระดับ 28 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ รายได้ค่าไฟฟ้าจากบริษัทย่อยหลักได้รวมส่วนค่าไฟฟ้าที่ได้รับ
จากการชดเชยจากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นเงิน 421 ล้านบาท
* รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 124 ล้านบาท ลดลง 36 ล้านบาท หรือร้อยละ 23 สาเหตุหลักคือ ผลตอบแทนจากการลงทุนของ บฟร. ลดลง เนื่องจากเงินฝากและ
อัตราดอกเบี้ยลดลง
3) รายได้จากกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) จำนวน 2,053 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 1,488 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 263 สำหรับกลุ่มธุรกิจ
โรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ประกอบด้วย 4 บริษัท คือ บริษัทกัลฟ์ อิเล็คตริก จำกัด (มหาชน) (จีอีซี) บริษัท อมตะ เพาเวอร์ (บางปะกง) จำกัด (เอพีบี)บริษัท ทีแอลพี โคเจเนอเรชั่น จำกัด
(ทีแอลพี โคเจน) และ บริษัท ร้อยเอ็ดกรีน จำกัด (ร้อยเอ็ดกรีน) โดยมีรายละเอียดดังนี้
* รายได้ค่าไฟฟ้า ของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) จำนวน 2,007 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 1,492 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 290
รายได้ค่าไฟฟ้ากลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP):
หน่วย : ล้านบาท
ครึ่งปีแรก ปี 2546 ครึ่งปีแรก ปี 2545 %เปลี่ยนแปลง
จีอีซี 1,299 397 227%
ทีแอลพี โคเจน 567 - -
เอพีบี 136 117 16%
ร้อยเอ็ดกรีน 5 - -
ซึ่งส่วนแบ่งรายได้ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากรายได้ของ จีอีซี อันเนื่องมาจาก บริษัท หนองแค โคเจนเนอเรชั่น จำกัด (เอ็นเคซีซี) และ บริษัท สมุทรปราการ โคเจนเนอเรชั่น จำกัด
(เอสซีซี) ได้เริ่มรับรู้รายได้เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 อีกทั้ง ทีแอลพี โคเจน และ ร้อยเอ็ดกรีน ก็เริ่มรับรู้รายได้เป็นปีแรกหลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนมกราคม และ เมษายน 2546
ตามลำดับ
* รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 12 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7 ล้านบาท ส่วนใหญ่เพิ่มจาก ดอกเบี้ยรับของจีอีซี
* ส่วนแบ่งผลกำไรจากกิจการร่วมค้า จำนวน 36 ล้านบาท ลดลง 12 ล้านบาท หรือร้อยละ 25 ซึ่งมาจาก เออีพี
4) รายได้จากกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ จำนวน 531 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 20 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 4 สำหรับกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ
ประกอบด้วยบริษัท โคแนล โฮลดิ้ง คอร์ปอเรชั่น(โคแนล) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
* รายได้ค่าไฟฟ้า จำนวน 508 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 23 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 5 ซึ่งเกิดจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2546 มากกว่า
ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
* รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 23 ล้านบาท ลดลง 3 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 12
5) รายได้จากกลุ่มธุรกิจอื่นๆ จำนวน 239 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 34 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 17 สำหรับกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ประกอบด้วย 2 บริษัทย่อยคือ
บริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (เอสโก) และ บริษัท เอ็กคอมธารา จำกัด (เอ็กคอมธารา) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
รายได้จากกลุ่มธุรกิจอื่นๆ:
หน่วย : ล้านบาท
ครึ่งปีแรก ปี 2546 ครึ่งปีแรก ปี 2545 %เปลี่ยนแปลง
รายได้ค่าบริการ - เอสโก 168 138 22%
รายได้ค่าน้ำ - เอ็กคอมธารา 68 61 12%
* รายได้ค่าบริการ จำนวน 168 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 30 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 22 เนื่องจากเป็นการเพิ่มขึ้นของการให้บริการบำรุงรักษา
และเดินเครื่องของ เอสโก กับบริษัทนอกเครือ บผฟ.
* รายได้ค่าน้ำ ของ เอ็กคอมธารา จำนวน 68 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 7 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 12 เนื่องจากอัตราค่าน้ำสูงขึ้น
* รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 3 ล้านบาท ลดลง 1 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 20
2.3 การวิเคราะห์รายจ่าย
ค่าใช้จ่ายรวมของ บผฟ. บริษัทย่อย บริษัทร่วม และกิจการร่วมค้า ในครึ่งปีแรกของปี 2546 จำนวน 5,042 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 582 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 13 จากช่วงเวลาเดียวกัน
ของปีก่อน แบ่งตามกลุ่มธุรกิจดังต่อไปนี้
ค่าใช้จ่ายรวม:
หน่วย : ล้านบาท
ครึ่งปีแรก ปี 2546 ครึ่งปีแรก ปี 2545 %เปลี่ยนแปลง
บผฟ. 258 654 (61%)
กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) 2,488 2,916 (15%)
กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) 1,860 487 282%
กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ (Overseas) 251 281 (10%)
กลุ่มธุรกิจอื่นๆ (Others) 185 123 51%
1) ค่าใช้จ่ายของ บผฟ. จำนวน 258 ล้านบาท คือค่าใช้จ่ายในการบริหารทั่วไป 188 ล้านบาท และดอกเบี้ยจ่าย 70 ล้านบาท สำหรับค่าใช้จ่ายในการบริหารทั่วไปนั้นลดลง 367
ล้านบาท หรือ ร้อยละ 66 เนื่องจาก ในปี 2545 มีการด้อยค่าของเงินลงทุนในโครงการบ่อนอก จำนวน 342 ล้านบาท อีกทั้งยังมีผลขาดทุนจากการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า จำนวน 38
ล้านบาท ในขณะที่ดอกเบี้ยจ่ายครึ่งปีแรก ของปี 2546 จำนวน 70 ล้านบาท ลดลง 28 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ บผฟ. ลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี
2545 ซึ่งเกิดจากสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยจากอัตราลอยตัวเป็นอัตราคงที่ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2545 และจากอัตราคงที่เป็นอัตราลอยตัว เมื่อเดือนมกราคม 2546
2) ค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) จำนวน 2,488 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 429 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 15 รายละเอียดดังต่อไปนี้
* ต้นทุนขาย จำนวน 1,316 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 319 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 20 สาเหตุหลักมาจาก บฟร. และ บฟข. จำนวน 165 และ 155
ล้านบาท ตามลำดับ
ต้นทุนขายกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP):
หน่วย : ล้านบาท
ครึ่งปีแรก ปี 2546 ครึ่งปีแรก ปี 2545 %เปลี่ยนแปลง
บฟร. 727 892 (18%)
บฟข. 589 744 (21%)
* ค่าใช้จ่ายในการบริหารและอื่นๆ จำนวน 102 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 2 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 2
* ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 1,070 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 111 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 9 มาจาก บฟร. และ บฟข. จำนวน 67 และ 44 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากเงินต้นลดลง
3) ค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) จำนวน 1,860 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 1,373 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 282 รายละเอียดดังต่อไปนี้
* ต้นทุนขาย จำนวน 1,601 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 1,200 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 299 สาเหตุหลักเนื่องจากต้นทุนขายของ จีอีซี เพิ่มขึ้น 708 ล้านบาท
(ซึ่งเพิ่มขึ้นมาจาก เอ็นเคซีซี และ เอสซีซี ซึ่งสอดคล้องกับรายได้ค่าไฟฟ้าจากทั้ง 2 บริษัทที่เพิ่มขึ้น) นอกจากนี้ ยังมีต้นทุนขายของ ทีแอลพี โคเจน เอพีบี และ ร้อยเอ็ดกรีน เพิ่มขึ้น 473
ล้านบาท 12 ล้านบาท และ 8 ล้านบาท ตามลำดับ
ต้นทุนขายกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP):
หน่วย : ล้านบาท
ครึ่งปีแรก ปี 2546 ครึ่งปีแรก ปี 2545 %เปลี่ยนแปลง
จีอีซี 1,023 315 224%
ทีแอลพี โคเจน 473 - -
เอพีบี 98 86 13%
ร้อยเอ็ดกรีน 8 - -
* ค่าใช้จ่ายในการบริหารและอื่นๆ จำนวน 82 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 42 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 102 สาเหตุหลักมาจาก จีอีซี จำนวน 40 ล้านบาท
* ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 177 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 132 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 292 สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยจ่าย ของ จีอีซี จำนวน
89 ล้านบาท เนื่องจากมีการลงทุนในโครงการ เอ็นเคซีซี และเอสซีซี สำหรับ ทีแอลพี โคเจน และ ร้อยเอ็ดกรีน ดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้นจำนวน 43 และ 1 ล้านบาทตามลำดับเนื่องจากมีการ
เบิกเงินกู้เพิ่มขึ้น ในขณะที่ เอพีบี ลดลง 2 ล้านบาท นื่องจากเงินต้นลดลง
4) ค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ จำนวน 251 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 29 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 10 รายละเอียดดังต่อไปนี้
* ต้นทุนขาย จำนวน 107 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 27 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 20 เกิดจากค่าเสื่อมราคาของโรงไฟฟ้านอร์ธเทิร์น มินดาเนา เพาเวอร์
คอร์ปอเรชั่น (เอ็นเอ็มพีซี) ที่ลดลงอันเนื่องมาจากประมาณการการผลิตที่เพิ่มขึ้น
* ค่าใช้จ่ายในการบริหารและอื่นๆ จำนวน 100 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 16 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 19
* ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 44 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 18 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 29 เนื่องจากเงินต้นลดลง
5) ค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจอื่นๆ จำนวน 185 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 62 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 51 รายละเอียดดังต่อไปนี้
* ต้นทุนบริการ จำนวน 118 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 55 ล้านบาท หรือร้อยละ 86 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของการให้บริการบำรุงรักษาและเดินเครื่องของ เอสโก กับบริษัทนอก
เครือ บผฟ. ซึ่งสอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น
* ต้นทุนขายน้ำประปา จำนวน 28 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 1 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 4 มาจาก เอ็กคอมธารา
* ค่าใช้จ่ายในการบริหารและอื่นๆ จำนวน 30 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 10 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 51 สาเหตุหลักมาจาก เอสโกซึ่งมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
11 ล้านบาท ในขณะที่ เอ็กคอมธาราลดลง 1 ล้านบาท
* ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 9 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 4 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 28 เนื่องจากเงินต้นคงเหลือและอัตราดอกเบี้ยของ เอ็กคอมธารา ลดลง
3. รายงานและวิเคราะห์ฐานะการเงิน
3.1 การวิเคราะห์สินทรัพย์
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2546 บผฟ. บริษัทย่อย บริษัทร่วมและกิจการร่วมค้า มีสินทรัพย์รวม จำนวน 56,837 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 964 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2545
โดยมีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้
1) เงินสด เงินฝากธนาคารและสถาบันการเงิน และเงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ทั้งระยะสั้นและระยะยาว จำนวน 6,314 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11
ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น 812 ล้านบาท หรือร้อยละ 15 ส่วนใหญ่มาจากการดำเนินงานจำนวน 2,971 ล้านบาท และจากการจัดหาเงิน โดยเป็นการเบิกเงินกู้เพิ่มของ ทีแอลพี โคเจน และ
ร้อยเอ็ด กรีน และ การปรับโครงสร้างเงินกู้ (รีไฟแนนซ์) โครงการเอ็นเคซีซี และโครงการเอสซีซี จำนวน 3,074 ล้านบาท ในขณะที่มีการชำระเงินกู้ หุ้นกู้ และจ่ายปันผล จำนวน 5,082
ล้านบาท
2) เงินลงทุนระยะสั้นและระยะยาวที่ใช้เป็นหลักประกัน จำนวน 10,015 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18 ของสินทรัพย์รวม ลดลง 396 ล้านบาท หรือร้อยละ 4 ส่วนใหญ่เกิดจากการ
ชำระหนี้เงินกู้ของ บฟร. และ บฟข. โดยเงินสำรองบางส่วนเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน 123 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
3) เงินลงทุนในบริษัทย่อยและบริษัทร่วมและส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า จำนวน 884 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2 ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น 62 ล้านบาท หรือร้อยละ 8 ซึ่งเป็นการ
ลงทุนเพิ่มในโครงการน้ำเทิน 2 จำนวน 42 ล้านบาท และส่วนแบ่งผลกำไรจาก เออีพี และ อมตะ เพาเวอร์-เอสโก เซอร์วิส จำนวน 37 ล้านบาท และโดยมีส่วนแบ่งค่าใช้จ่ายของโครงการ
น้ำเทิน 2 จำนวน 17 ล้านบาท
4) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ จำนวน 31,435 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55 ของสินทรัพย์รวม ลดลง 598 ล้านบาท หรือร้อยละ 2 เนื่องมาจากสาเหตุหลัก จากการตัดค่าเสื่อมราคา
ของทรัพย์สิน บผฟ. และบริษัทย่อยอื่นๆ จำนวน 1,128 ล้านบาท และผลต่างจากการแปลงค่างบการเงินของทรัพย์สินของบริษัทที่อยู่ในต่างประเทศ จำนวน 52 ล้านบาท ในขณะที่ทรัพย์สินเพิ่มขึ้น
จากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มของ ทีแอลพี โคเจน และ โรงไฟฟ้าร้อยเอ็ด กรีน จำนวน 378 ล้านบาท และ 148 ล้านบาท ตามลำดับ
5) สินทรัพย์อื่นๆ จำนวน 8,188 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14 ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น 1,084 ล้านบาท หรือร้อยละ 15 ส่วนใหญ่เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของลูกหนี้การค้า จำนวน
54 ล้านบาท ลูกหนี้การค้าที่เกี่ยวข้องกัน (ส่วนใหญ่คือ กฟผ.) จำนวน 632 ล้านบาท และ วัสดุสำรองคลัง จำนวน 257 ล้านบาท
3.2 การวิเคราะห์หนี้สิน
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2546 บริษัทมีหนี้สินรวม จำนวน 33,190 ล้านบาท ลดลง 1,735 ล้านบาท หรือร้อยละ 5 เนื่องจากการชำระคืนเงินกู้และหุ้นกู้ของ บผฟ. บฟร. และ บฟข.
ส่วนประกอบของหนี้สินรวม ได้แก่
1) เงินกู้ยืมระยะยาวและหุ้นกู้ จำนวน 30,831 ล้านบาท หรือร้อยละ 93 ของหนี้สินรวม ซึ่งลดลง 1,613 ล้านบาท หรือร้อยละ 54 โดยมีรายละเอียดเป็นเงินตราสกุลต่างๆ ดังนี้
- เงินกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน 415 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
- เงินกู้สกุลเยน จำนวน 873 ล้านเยน
- เงินกู้สกุลเปโซ จำนวน 119 ล้านเปโซ
- เงินกู้สกุลบาท จำนวน 4,085 ล้านบาท
- หุ้นกู้ จำนวน 8,911 ล้านบาท
ในไตรมาส 2 ของปี 2546 เงินกู้สกุลบาท เงินกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐฯ รวมทั้งหุ้นกู้ลดลงรวม 1,680 ล้านบาท จากการชำระคืนเงินต้นของ บผฟ. บฟร. และ บฟข. ในขณะที่มีเงินกู้สกุลเยน
เพิ่มขึ้น 74 ล้านบาท มาจากการเบิกเงินกู้ในการสร้างโรงไฟฟ้าร้อยเอ็ด กรีน
2) หนี้สินอื่นๆ จำนวน 2,359 ล้านบาท ส่วนใหญ่ได้แก่ ดอกเบี้ยค้างจ่าย เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ระยะสั้น เจ้าหนี้การค้า ภาษีมูลค่าเพิ่มค้างจ่าย เงินปันผลค้างจ่าย และเงินกู้ยืมระยะยาวจาก
ผู้ถือหุ้นอื่นของ จีอีซี บผฟ. มีการบริหารภาระผูกพันหนี้สินให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดย บผฟ. ได้ตั้งบัญชีสำรองเพื่อภาระผูกพันในการชำระหนี้ไว้ในอัตราร้อยละ 25 ของภาระ
ค้ำประกันของ บผฟ. ที่มีอยู่กับบริษัทย่อยและบริษัทร่วม เพื่อลดความเสี่ยงและสามารถนำเงินที่สำรองนี้มาบริหารให้ผลตอบแทนกลับมาในรูปดอกเบี้ยควบคู่กับความมั่นคงในการรับภาระค้ำประกันหรือ
ภาระผูกพันดังกล่าวณ วันที่ 30 มิถุนายน 2546 บผฟ. ได้ฝากเงินเพื่อเป็นเงินสำรองไว้จำนวนร้อยละ 25 ตามภาระค้ำประกันของ บผฟ. ดังกล่าวเป็นจำนวน 400 ล้านบาท และมีส่วนที่ต้อง
สำรองเพิ่มอีกซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 104 ล้านบาท
3.4 การวิเคราะห์ส่วนของผู้ถือหุ้น
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2546 ส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (ส่วนของสินทรัพย์สุทธิของบริษัทย่อยที่ไม่ใช่ส่วนของ บผฟ.ทั้งทางตรงและทางอ้อม) และไม่รวมหุ้นที่ซื้อคืนแล้ว
เป็นเงินจำนวน 22,970 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อน 2,694 ล้านบาท เนื่องจากปัจจัยหลักคือ บผฟ. มีกำไรจากผลการดำเนินงาน
จากการวิเคราะห์โครงสร้างของเงินทุน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2546 สรุปได้ดังนี้
ส่วนของผู้ถือหุ้น จำนวน 23,647 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42
หนี้สิน จำนวน 33,190 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 58
สามารถคำนวณหา อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ ได้ดังนี้
- อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เท่ากับ 1.40 เท่า ต่ำกว่าสิ้นปี 2545 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 1.67 เท่า
- มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์สุทธิต่อหุ้น เท่ากับ 45.02 บาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2545 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 39.89 บาท
4. รายงานและวิเคราะห์กระแสเงินสด
งบกระแสเงินสดแสดงกระแสเงินสดที่เปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน ณ สิ้นงวดบัญชี และแสดงเงินสดและรายการเทียบเท่าคงเหลือสิ้นงวด ณ วันที่
30 มิถุนายน 2546 เงินสดและรายการเทียบเท่าคงเหลือ เป็นเงินจำนวน 2,753 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากต้นงวด 479 ล้านบาท ซึ่งมีรายละเอียดของแหล่งที่มาและแหล่งที่ใช้ไปของเงินดังต่อไปนี้
- เงินสดสุทธิที่ได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน จำนวน 2,971 ล้านบาท เป็นผลจากกำไรสุทธิ ปรับด้วยรายการที่ไม่ใช่เงินสด และรายการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน โดยบริษัทมี
เงินสดจากการดำเนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลงในเงินทุนหมุนเวียน เพิ่มขึ้น 4,066 ล้านบาท และมีการเปลี่ยนแปลงกระแสเงินทุนหมุนเวียนลดลง 1,095
ล้านบาทโดยส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของลูกหนี้การค้าและลูกหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกันจากการขายไฟของ บฟร. บฟข. ทีแอลพี โคเจน และ ร้อยเอ็ด กรีน ซึ่งมีลูกค้ารายใหญ่ คือ กฟผ.
จำนวน 677 ล้านบาท และสำรองวัสดุคงคลังเพิ่มขึ้น 267 ล้านบาท
- เงินสดสุทธิที่ใช้ไปในกิจกรรมลงทุน จำนวน 326 ล้านบาท โดยเป็นเงินสดใช้ไปในการลงทุนระยะสั้นและระยะยาว จำนวน 80 ล้านบาท การลงทุนเพิ่มในการสร้างโรงไฟฟ้าทีแอลพี
โคเจน และ โรงไฟฟ้าร้อยเอ็ด กรีน จำนวน 172 ล้านบาทและ 107 ล้านบาท ตามลำดับ ในขณะที่ได้รับเงินปันผลจากบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก และ กองทุนเปิด
กรุงไทยหุ้นผสมตราสารหนี้ปันผล จำนวน 36 ล้านบาท และ 65 ล้านบาท ตามลำดับ
- เงินสดสุทธิที่ใช้ไปจากกิจกรรมจัดหาเงิน จำนวน 2,162 ล้านบาท เนื่องจากสาเหตุหลักคือ การชำระคืนเงินกู้และหุ้นกู้ของ บผฟ. บฟร. และ บฟข. จำนวน 635 ล้านบาท 767 ล้านบาท
และ 591 ล้านบาท ตามลำดับ รวมทั้ง บผฟ. จ่ายเงินปันผลหุ้นสามัญจำนวน 832 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกเงินกู้เพิ่มของ ทีแอลพี โคเจน 322 ล้านบาท และ ร้อยเอ็ด กรีน 82 ล้านบาท
และการทำปรับสัญญาเงินกู้กับสถาบันการเงินของ จีอีซี ในโครงการเอ็นเคซีซี และ โครงการเอสซีซี ทำให้โดยสุทธิมีเงินกู้เพิ่มอีกจำนวน 469 ล้านบาท