EN | TH
17 พฤษภาคม 2547

คำอธิบายงบการเงินไตรมาสที่ 1

บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร สำหรับผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 สิ้นสุด ณ 31 มีนาคม 2547 หมายเหตุ:บทรายงานและการวิเคราะห์งบการเงินฉบับนี้ ฝ่ายบริหารได้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลและแสดงวิสัยทัศน์ ของฝ่ายบริหารให้ผู้ลงทุนทั่วไปสามารถติดตามและทำความเข้าใจฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทได้ดีขึ้น อันเป็นการส่งเสริมโครงการการกำกับดูแลกิจการที่ดีของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) อนึ่งเนื่องจากบทรายงานและการวิเคราะห์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอข้อมูลและคำอธิบายถึงสถานะ การเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งที่นำเสนอนี้อาจเปลี่ยนแปลงตามปัจจัยหรือสภาวะ แวดล้อมที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ฉะนั้นจึงใคร่ขอให้นักลงทุนใช้วิจารณญาณในการพิจารณาใช้ประโยชน์จาก เอกสารข้อมูลนี้ และหากมีคำถามหรือข้อสงสัยประการใดกรุณาติดต่อสอบถามได้ที่ ส่วนนักลงทุนสัมพันธ์ ฝ่ายสื่อสาร องค์กรและนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) โทร. 02-998-5131-2 หรือ email : ir@egco.com บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร 1. การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติตามแผนการดำเนินธุรกิจ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ (บผฟ.) เป็นผู้ผลิตไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) แห่งแรกของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นในปี 2535 มีวิสัยทัศน์ที่จะเป็นบริษัทชั้นนำ ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าครบวงจร และครอบคลุมทั้งธุรกิจการ ให้บริการด้านพลังงานทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประโยชน์ ทางสังคมเป็นสำคัญ บริษัทมีนโยบายมุ่งเน้นที่จะครองสัดส่วนการตลาดของกำลังการผลิตใหม่จากการพัฒนาหรือ ซื้อโครงการโรงไฟฟ้าอันจะนำมาซึ่งผลกำไรด้วยต้นทุนที่ประหยัดต่อขนาดและอยู่ในขอบข่ายความเสี่ยงและกำไรจาก โครงการอันเหมาะสม นอกจากนั้น บผฟ. ได้ทำการวิเคราะห์ บริหารสินทรัพย์ และแสวงหาโอกาสพัฒนาโครงการ ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มศักยภาพของโครงการเหล่านั้น บริษัทมีแผนที่จะจำหน่ายสินทรัพย์ที่ไม่เกี่ยวข้อง กับธุรกิจหลักของ บผฟ. หรือธุรกิจผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ ในราคาอันเหมาะสมภายใต้นโยบายการลงทุนของบริษัท ณ ไตรมาสแรกของปี 2547 ประเทศไทยมีกำลังผลิตติดตั้งรวมจำนวน 25,325 เมกะวัตต์ ซึ่งร้อยละ 9.4 ของกำลังผลิตนี้มาจากกำลังผลิตในกลุ่ม บผฟ. โดยความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดในไตรมาสนี้อยู่ในช่วงเดือน มีนาคมที่ 19,326 เมกะวัตต์ /1 คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 6.65 เมื่อเทียบกับความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคมของปี 2546 จากการที่เศรษฐกิจของประเทศมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความ ต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเติบโตอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ต้องมีการเร่งสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เพื่อเพิ่มกำลังผลิตให้ เพียงพอต่อความต้องการ และมีความมั่นคงต่อระบบไฟฟ้าของประเทศ /1 ข้อมูลมาจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ปัจจุบัน บผฟ. มีกำลังผลิตติดตั้งตามการถือหุ้นรวมจำนวน 2,414 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้า 12 โรง โดยร้อยละ 85 ของกำลังผลิต มาจากโรงไฟฟ้าของ บริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด (บฟร.) กำลังผลิตติดตั้ง 1,232 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าของ บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด (บฟข.) กำลังผลิตติดตั้ง 824 เมกะวัตต์ โดยทั้ง 2 โรงไฟฟ้าดังกล่าวใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก นอกเหนือจากโครงการที่มีอยู่ บริษัทคาดว่า จะสามารถเพิ่มกำลังผลิตจากโครงการซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อเข้าร่วมพัฒนาอีก 3 โครงการ โดยเป็นส่วนของ บผฟ. รวม 1,003 เมกะวัตต์ ได้แก่ 1. โครงการปรับปรุงและขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าขนอม (บผฟ. ถือหุ้นร้อยละ 100) กำลังผลิตไฟฟ้าประมาณ 385 เมกะวัตต์ โดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก ซึ่งมีกำหนดการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าได้ในเดือน มกราคม 2550 เพื่อรองรับการขาดแคลนไฟฟ้าในภาคใต้ ปัจจุบัน บผฟ. อยู่ระหว่างการเจรจาสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ระยะยาว (PPA) กับ กฟผ. คาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในปี 2547 2. โครงการแก่งคอย 2 (บผฟ. ถือหุ้นร้อยละ 50) จังหวัดสระบุรี กำลังผลิต 700 เมกะวัตต์ โดยใช้ก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงหลัก เดิมใช้ชื่อว่า "โครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก" โดยมีกำหนดการจ่ายกระแสไฟฟ้าในเดือนมีนาคม 2551 ปัจจุบันโครงการอยู่ระหว่างการเจรจาสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ฉบับใหม่กับ กฟผ. เนื่องจากมีการเปลี่ยนสถานที่และ เชื้อเพลิงการผลิต 3. โครงการน้ำเทิน 2 (บผฟ. ถือหุ้นร้อยละ 25) ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำ มีกำลังผลิต 1,070 เมกะวัตต์ ได้มีการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้วเสร็จตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2546 และมีกำหนดจำหน่ายกระแสไฟฟ้าได้ในครึ่งปี หลังของปี 2552 โดยมีสัญญาขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. จำนวน 995 เมกะวัตต์ ปัจจุบันโครงการอยู่ระหว่างการจัดหา เงินกู้ในรูปแบบต่างๆจากธนาคารไทย ธนาคารต่างประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ ในส่วนนโยบายการจ่ายเงินปันผลนั้น บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราประมาณร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้ หากไม่มีเหตุจำเป็นอื่นใด เช่น โอกาสการขยายธุรกิจของบริษัทในโครงการต่างๆ ในอนาคต ภาวะเศรษฐกิจ ภาวะทางการเงิน และหากการจ่ายเงินปันผลนั้นจะมีผลกระทบต่อการดำเนินงานปกติ ของบริษัทอย่างมีสาระสำคัญ 2. รายงานและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน บผฟ. เป็นบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) ที่มีวัตถุประสงค์ในการลงทุนในธุรกิจผลิตไฟฟ้าครบวงจรและครอบคลุม ถึงธุรกิจที่ให้การบริการด้านพลังงาน โดยมีรายได้หลัก คือเงินปันผลที่มาจากกำไรของบริษัทย่อย บริษัทร่วม และส่วนได้ เสียในกิจการร่วมค้า การจัดโครงสร้างดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อได้รับความสะดวกในการขยายกิจการ และเพิ่มความ สามารถหรือยกระดับคุณภาพการบริหารในแต่ละโครงการของบริษัทย่อย และเพื่อให้การระดมเงินกู้สำหรับโครงการใหม่ เป็นไปโดยไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อโครงการเก่า เมื่อ ปี พ.ศ. 2546 กลุ่มบริษัทได้ถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีไทยฉบับที่ 51 เรื่องสินทรัพย์ไม่มีตัวตนและได้เปลี่ยนแปลง นโยบายการบัญชี 2 นโยบาย ได้แก่นโยบายเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงรักษาหลักและค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการ เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงรายการเปรียบเทียบจึงได้มีการปรับปรุงงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะบริษัท ระหว่างกาล สำหรับงวดสามเดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2546 ย้อนหลัง ซึ่งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต่องบดุลรวมและ งบดุลเฉพาะบริษัท ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2546 และงบกำไรขาดทุนรวมและงบกำไรขาดทุนเฉพาะบริษัทสำหรับงวดสาม เดือนสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2546 มีดังนี้ 31 มีนาคม พ.ศ. 2546 งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท พันบาท พันบาท งบดุล เงินลงทุนในบริษัทย่อย เพิ่มขึ้น - 947,498 ส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า สุทธิ ลดลง (506,866) (763,292) วัสดุสำรองคลัง สุทธิ เพิ่มขึ้น 6,025 - ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สุทธิ เพิ่มขึ้น 960,801 - สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น สุทธิ ลดลง (275,754) - กำไรสะสมปลายงวด ณ วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2546 เพิ่มขึ้น 184,206 184,206 31 มีนาคม พ.ศ. 2546 งบการเงินรวม งบการเงินเฉพาะบริษัท พันบาท พันบาท งบกำไรขาดทุน ต้นทุนขาย ลดลง 966,826 - ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เพิ่มขึ้น (105,272) - ผลขาดทุนจากการด้อยค่า เพิ่มขึ้น (170,482) - ส่วนแบ่งผลกำไรในบริษัทย่อยและ กิจการร่วมค้า เพิ่มขึ้น (ลดลง) (506,866) 184,206 184,206 184,206 ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงขอแสดงรายงานวิเคราะห์งบการเงินรวมของ บผฟ. และบริษัทย่อย เพื่อให้เห็นถึงภาพรวม ที่ชัดเจนของผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้ 2.1 สรุปผลการดำเนินงาน กำไรสุทธิ ของกลุ่ม บผฟ. สำหรับไตรมาสแรก สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2547 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,408 ล้านบาท ลดลง 273 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 16 เมื่อเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานของช่วงเวลาเดียวกัน ปี 2546 หน่วย:ล้านบาท กำไรสุทธิ ไตรมาส 1 ปี 2547 กำไรสุทธิ ไตรมาส 1 ปี 2546 ก่อน FX หลัง FX ก่อน FX หลัง FX บผฟ. 189 190 (44) (44) กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) 1,131 1,153 2,316 2,357 กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) (9) 2 (164) (157) กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ(Overseas) 31 23 (464) (481) กลุ่มธุรกิจอื่นๆ (Others) 39 39 5 5 หมายเหตุ: - IPP ประกอบด้วย บฟร. บฟข. - SPP ประกอบด้วย จีอีซี เออีพี เอพีบีพี ทีแอลพีโคเจน ร้อยเอ็ดกรีน - Overseas ประกอบด้วย โคแนล น้ำเทิน 2 - Others ประกอบด้วย เอสโก เอ็กคอมธารา ในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 บริษัทมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 27 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว บผฟ. มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 32 ล้านบาท ทั้งนี้กำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นตัวเลขทางบัญชี เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีไทย ซึ่งเกิดขึ้นจาก ผลต่างของการแปลงมูลค่าหนี้คงค้างสุทธิเฉพาะที่เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศกลับมาเป็นเงินตราสกุลบาท ณ วันสิ้นสุด งวดของบัญชีปัจจุบัน (วันที่ 31 มีนาคม 2547) กับงวดก่อนหน้านี้ (วันที่ 31 ธันวาคม 2546) หากไม่คำนึงถึงผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว บริษัทมีกำไรสุทธิ จำนวน 1,381 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน 268 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16 นอกจากนี้หากไม่คำนึงถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีใหม่ อัตราแลกเปลี่ยน และ ภาษีเงินได้ กำไรสุทธิของกลุ่ม บผฟ. สำหรับไตรมาส 1 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2547 เป็นจำนวน 1,517 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 62 ล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2546 อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ มีดังนี้ - อัตราส่วนกำไรขั้นต้น เท่ากับร้อยละ 53 - อัตราส่วนกำไรสุทธิ (ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน) เท่ากับร้อยละ 32 - กำไรสุทธิ (ที่ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน) ต่อหุ้น เท่ากับ 2.63 บาท อัตรากำไรสุทธิในไตรมาสที่ 1 ปี 2547 (ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน) เท่ากับร้อยละ 32 นั้นต่ำกว่า ไตรมาส 1 ปี 2546 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 48 โดยมีสาเหตุหลักมาจากอัตราการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายสูงกว่าอัตรารายได้ที่เพิ่มขึ้นซึ่งเป็นผล กระทบจากการเปลี่ยนนโยบายบัญชี กล่าวคือ ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 68 ในขณะที่รายได้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 26 2.2 การวิเคราะห์รายได้ ผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2547 รายได้รวมของ บผฟ. บริษัทย่อย และส่วนแบ่งกำไรในเงินลงทุนในบริษัทร่วมและส่วนได้ เสียในกิจการร่วมค้า มีจำนวนทั้งสิ้น 4,351 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2546 เพิ่มขึ้นจำนวน 909 ล้านบาท หรือร้อยละ 26 โดยมีรายละเอียดดังนี้ รายได้รวม: หน่วย:ล้านบาท ไตรมาส 1 ปี 2547 ไตรมาส 1 ปี 2546 %เปลี่ยนแปลง บผฟ. 285 75 281% กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) 2,555 2,581 (1%) กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) 1,163 965 21% กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ(Overseas) 183 (252) 172% กลุ่มธุรกิจอื่นๆ (Others) 164 74 122% 1) รายได้ของ บผฟ. จำนวน 285 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 210 ล้านบาท หรือร้อยละ 281 สาเหตุหลักจากเงินปันผล รับจากการลงทุนทางการเงิน แบ่งเป็นเงินปันผลรับจากกองทุนเปิดกรุงไทยหุ้นผสมตราสารหนี้ปันผล (KTSF) จำนวน 227 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 195 ล้านบาท เงินปันผลรับจากหลักทรัพย์ในความต้องการตลาด จำนวน 40 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2 ล้านบาท รายได้จาก ดอกเบี้ยรับจำนวน 15 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณเงินฝากธนาคารเพิ่มขึ้น 2) รายได้จากกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) คือ บฟร. และ บฟข. จำนวน 2,555 ล้านบาท แบ่งเป็น * รายได้ค่าไฟฟ้า จำนวน 2,511 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน จำนวน 2 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.07 โดยแบ่งเป็นการลดลงจาก รายได้ค่าไฟฟ้าของ บฟร. 161 ล้านบาท เนื่องจากอัตราค่าไฟฟ้า (Capacity Rate) ที่ลดลง ในขณะที่ บฟข. มีรายได้ค่าไฟฟ้า เพิ่มขึ้น 159 ล้านบาท เนื่องจากอัตราค่าไฟ (Base Availability Credit) ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสูตรค่าพลังไฟฟ้า ในลักษณะ "Cost Plus" หรือต้นทุนบวกกำไรส่วนเพิ่มที่ให้แก่ผู้ประกอบการภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) และเป็นไปตามที่ได้ประมาณ การไว้แล้ว สัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าในแต่ละปีเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายหลักคือ ค่าใช้จ่ายเงินกู้ และค่าบำรุงรักษาหลัก ซึ่งจะใช้อัตราดังกล่าวตามที่ได้ตกลงในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในการคำนวณค่าไฟฟ้าในแต่ละงวด รายได้ค่าไฟฟ้ากลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP): หน่วย : ล้านบาท ไตรมาส 1 ปี 2547 ไตรมาส 1 ปี 2546 %เปลี่ยนแปลง บฟร. 1,336 1,497 (11%) บฟข. 1,175 1,016 16% นอกจากนั้น ในการคำนวณรายได้ค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า ได้รับการปรับเพื่อชดเชยผลกระทบที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับภาระ ค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมเงินที่เป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ และค่าอะไหล่ที่ใช้ในการบำรุงรักษาหลัก ซึ่ง บฟร. และ บฟข. จะได้รับการชดเชย ทุกเดือนตามงวดกำหนดชำระค่าไฟฟ้า โดยจะได้รับค่าพลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนสูงกว่าระดับ 28 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐฯ และได้รับค่าพลังไฟฟ้าลดลงเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนต่ำกว่าระดับ 28 บาทต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ รายได้ค่าไฟฟ้าจากบริษัทย่อยหลักได้ รวมส่วนค่าไฟฟ้าที่ได้รับจากการชดเชยจากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นเงิน 242 ล้านบาท * รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 44 ล้านบาท ลดลง 24 ล้านบาท หรือร้อยละ 36 สาเหตุหลักคือ ผลตอบแทนจากการ ลงทุนของ บฟร. และ บฟข. ลดลง 16 ล้านบาท เนื่องจากเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยลดลง 3) รายได้จากกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) จำนวน 1,163 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 198 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 21 สำหรับกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ประกอบด้วย 5 บริษัท คือ บริษัทกัลฟ์ อิเล็คตริก จำกัด (มหาชน) (จีอีซี) บริษัท อมตะ-เอ็กโก เพาเวอร์ จำกัด (เออีพี) บริษัท อมตะ เพาเวอร์ (บางปะกง) จำกัด (เอพีบีพี) บริษัท ทีแอลพี โคเจเนอเรชั่น จำกัด (ทีแอลพี โคเจน) และ บริษัท ร้อยเอ็ดกรีน จำกัด (ร้อยเอ็ดกรีน) โดยมีรายละเอียดดังนี้ * รายได้ค่าไฟฟ้า จำนวน 1,159 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 215 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 23 รายได้ค่าไฟฟ้ากลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP): หน่วย:ล้านบาท ไตรมาส 1 ปี 2547 ไตรมาส 1 ปี 2546 %เปลี่ยนแปลง จีอีซี 661 646 2% ทีแอลพี โคเจน 396 235 69% เอพีบีพี 69 64 8% ร้อยเอ็ดกรีน 34 - n/a รายได้ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นจากรายได้ของ ทีแอลพี โคเจน และ ร้อยเอ็ดกรีน ซึ่งเริ่มรับรู้รายได้หลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 28 มกราคม และ 29 พฤษภาคม 2546 ตามลำดับ ส่วนรายได้ที่เพิ่มขึ้นของ เอพีบีพี จำนวน 5 ล้านบาท เนื่องมาจาก มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายไฟให้ลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรม * รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3 ล้านบาท สาเหตุหลักจาก ร้อยเอ็ดกรีนได้รับเงินช่วยเหลือ จาก United Nations Development Program (UNDP) * ส่วนแบ่งผลขาดทุนจากกิจการร่วมค้า คือ เออีพี จำนวน 2 ล้านบาท ในขณะที่มีส่วนแบ่งกำไรจาก เออีพี จำนวน 17 ล้านบาท ณ ช่วงเวลาเดียวกันปี 2546 เนื่องจากค่าใช้จ่ายจากการซ่อมบำรุงรักษาหลัก 4) รายได้จากกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ จำนวน 183 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 435 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 172 สำหรับกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศประกอบด้วย บริษัท โคแนล โฮลดิ้ง คอร์ปอเรชั่น(โคแนล) และโครงการ น้ำเทิน 2 (Nam Theun 2 Power Co., Ltd. หรือ เอ็นทีพีซี) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ * รายได้ค่าไฟฟ้า จำนวน 180 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 74 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 29 ซึ่งเกิดจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าใน ไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ต่ำกว่าปี 2546 เนื่องจากการโอนโรงไฟฟ้านอร์ธเทิร์นมินดาเนา เพาเวอร์ คอร์เปอเรชั่น (เอ็นเอ็มพีซี) จำนวน 58 เมกะวัตต์ ออกไปให้กับ เนชั่นแนล เพาเวอร์ คอร์เปอเรชั่น (เอ็นพีซี) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2546 * รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 12 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 7 * ส่วนแบ่งค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการน้ำเทิน 2 ในไตรมาส 1 ปี 2547 เท่ากับ 9 ล้านบาท ลดลง 508 ล้านบาท เมื่อเทียบ กับไตรมาส 1 ปี 2546 ซึ่งมีการปรับปรุงค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการน้ำเทิน 2 ตามนโยบายบัญชีใหม่ โดยมีส่วนแบ่งค่าใช้จ่าย ทั้งสิ้น 518 ล้านบาท 5) รายได้จากกลุ่มธุรกิจอื่นๆ จำนวน 164 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 90 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 122 สำหรับกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ประกอบด้วย 2 บริษัทย่อยคือ บริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (เอสโก) และ บริษัท เอ็กคอมธารา จำกัด (เอ็กคอมธารา) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ รายได้จากกลุ่มธุรกิจอื่นๆ: หน่วย:ล้านบาท ไตรมาส 1 ปี 2547 ไตรมาส 1 ปี 2546 %เปลี่ยนแปลง รายได้ค่าบริการ - เอสโก 122 40 207% รายได้ค่าน้ำ - เอ็กคอมธารา 39 32 24% * รายได้ค่าบริการ จำนวน 122 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 82 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 207 สาเหตุหลัก จากการเพิ่มขึ้นของการให้บริการบำรุงรักษาและเดินเครื่องของ เอสโก กับ โรงไฟฟ้าเอลกาลี 2 ประเทศซูดาน * รายได้ค่าน้ำ ของเอ็กคอมธารา จำนวน 39 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 8 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 24 เนื่องจากอัตราค่าน้ำและปริมาณการจำหน่ายที่มากขึ้น * รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.32 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 15 ส่วนใหญ่จากรายได้อื่นๆ ของ เอสโก * ส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้า จำนวน 1 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1 ล้านบาท หรือร้อยละ 95 ซึ่งมาจาก บริษัท อมตะ เพาเวอร์- เอสโก เซอร์วิส จำกัด 2.3 การวิเคราะห์รายจ่าย ค่าใช้จ่ายรวมของ บผฟ. บริษัทย่อย บริษัทร่วม และกิจการร่วมค้า ในไตรมาส 1 ปี 2547 จำนวน 2,913 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วง เดียวกันของปีก่อน 1,183 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 68 แบ่งตามกลุ่มธุรกิจ ดังต่อไปนี้ ค่าใช้จ่ายรวม: หน่วย:ล้านบาท ไตรมาส 1 ปี 2547 ไตรมาส 1 ปี 2546 %เปลี่ยนแปลง บผฟ. 96 119 (19%) กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) 1,424 265 437% กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) 1,161 1,127 3% กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ(Overseas) 113 154 (27%) กลุ่มธุรกิจอื่นๆ (Others) 119 65 83% 1) ค่าใช้จ่ายของ บผฟ. จำนวน 96 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าใช้จ่ายในการบริหารทั่วไป 76 ล้านบาท และดอกเบี้ยจ่าย 19 ล้านบาท ซึ่งค่าใช้จ่ายของ บผฟ. นั้นลดลงจากปีก่อนรวมทั้งสิ้น 23 ล้านบาทสาเหตุหลักจากดอกเบี้ยจ่ายซึ่งลดลง 23 ล้านบาท เนื่องจากอัตรา ดอกเบี้ยหุ้นกู้ บผฟ. ลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2546 ทั้งนี้เกิดจากสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยจากอัตราคงที่ เป็นอัตราลอยตัว เมื่อเดือนมกราคม 2546 อีกทั้งจำนวนเงินต้นลดลง ส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหารทั่วไปนั้นเพิ่มขึ้นเพียง 0.44 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 0.57 2) ค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) จำนวน 1,424 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 1,160 ล้านบาท สาเหตุหลักเนื่องจากผลกระทบจากการเปลี่ยนนโยบายบัญชี รายละเอียดดังต่อไปนี้ * ต้นทุนขาย จำนวน 790 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 1,117 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 341 สาเหตุหลักมาจาก ผลกระทบจากการเปลี่ยนนโยบายบัญชีใหม่ดังกล่าว ทำให้ บฟร. มีต้นทุนเพิ่มขึ้นจำนวน 663 ล้านบาท และ บฟข. มีต้นทุนเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 455 ล้านบาท หากไม่รวมผลกระทบที่เกิดขึ้นย้อนหลังก่อนปี 2546 จากการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี บฟร. และ บฟข. มีต้นทุนเพิ่มขึ้น 134 ล้านบาท และ 11 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากงานซ่อมบำรุงรักษาหลัก ต้นทุนขายกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP): หน่วย:ล้านบาท ไตรมาส 1 ปี 2547 ไตรมาส 1 ปี 2546 %เปลี่ยนแปลง บฟร. 484 (178) 372% บฟข. 306 (149) 305% * ค่าใช้จ่ายในการบริหารและอื่นๆ จำนวน 170 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 122 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 252 สาเหตุหลักจาก ภาษีของ บฟร. จำนวน 100 ล้านบาท เนื่องจากตั้งแต่ วันที่ 20 เมษายน 2546 บฟร. จะได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ กำไรสุทธิที่ได้รับจากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งจะสิ้นสุด ณ วันที่ 19 เมษายน 2551 โดยระยะ เวลาที่ บฟร. ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลมีกำหนด 8 ปีนับจากวันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2546 * ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 464 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 80 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 15 แบ่งเป็นการ ลดลงจาก ฟร. และ บฟข. จำนวน 47 และ 33 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากเงินต้นของเงินกู้ลดลง 3) ค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) จำนวน 1,161 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 34 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 3 รายละเอียดดังต่อไปนี้ * ต้นทุนขาย จำนวน 955 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 234 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 32 สาเหตุหลักจาก ต้นทุนขายของ จีอีซี ซึ่งเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 110 ล้านบาท ส่วนใหญ่จากการบำรุงรักษาหลัก ส่วนทีแอลพี โคเจน เพิ่มขึ้น 99 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีต้นทุนขาย ร้อยเอ็ดกรีน เพิ่มขึ้น 18 ล้านบาท และ เอพีบีพี เพิ่มขึ้น 5 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับรายได้ค่าไฟที่ เพิ่มขึ้นตามลำดับ ต้นทุนขายกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP): หน่วย:ล้านบาท ไตรมาส 1 ปี 2547 ไตรมาส 1 ปี 2546 %เปลี่ยนแปลง จีอีซี 593 482 23% ทีแอลพี โคเจน 294 195 51% เอพีบีพี 50 44 12% ร้อยเอ็ดกรีน 18 - n/a * ค่าใช้จ่ายในการบริหารและอื่นๆ จำนวน 131 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนทั้งสิ้น 190 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 59 สาเหตุหลักมาจาก จีอีซี ซึ่งลดลงทั้งสิ้น 213 ล้านบาท เนื่องจากในไตรมาส 1 ปี 2546 มีการตัดจ่ายค่าพัฒนาโครงการบ่อนอกที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2544 จนถึงไตรมาส 1 ปี 2546 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีใหม่ จำนวน 105 ล้านบาท และมีผลขาดทุนจากการด้อยค่าของที่ดิน และค่าความนิยมซึ่งเกิดจากการซื้อโครงการบ่อนอก จำนวน 170 ล้านบาท หากไม่รวมผลกระทบจากนโยบายบัญชีดังกล่าวแล้ว สำหรับ ไตรมาส 1 ปี 2547 นั้น จีอีซี มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 62 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากการปรับปรุงค่าความนิยมที่เกิดจากการลงทุนใน โครงการจำนวน 43 ล้านบาทและการตัดจ่ายค่าพัฒนาโครงการจำนวน 9 ล้านบาท ส่วนทีแอลพี โคเจน มีค่าใช้จ่ายในการบริหาร เพิ่มขึ้น 23 ล้านบาทซึ่งสอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเริ่มรับรู้รายได้หลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2546 * ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 75 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 9 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 10 สาเหตุหลักมาจากการ ลดลงของดอกเบี้ยจ่าย ของ จีอีซี จำนวน 17 ล้านบาท เนื่องจากจำนวนเงินต้นลดลงและอัตราดอกเบี้ยลดลงจากการ Refinance เงินกู้บางส่วน สำหรับ ทีแอลพี โคเจน และ ร้อยเอ็ดกรีน ดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้นจำนวน 6 ล้านบาท และ 3 ล้านบาทตามลำดับ เนื่องจากมีการเบิกเงินกู้เพิ่มขึ้น ในขณะที่ดอกเบี้ยจ่ายของ เอพีบีพี ลดลง 1 ล้านบาท เนื่องจากเงินต้นลดลง 4) ค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ จำนวน 113 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 41 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 27 รายละเอียดดังต่อไปนี้ * ต้นทุนขาย จำนวน 39 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 37 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 49 เกิดจากค่าเสื่อมราคาของ โรงไฟฟ้า เอ็นเอ็มพีซี ที่ลดลงอันเนื่องมาจากประมาณการการผลิตที่ลดลงและโอนโรงไฟฟ้าจำนวน 58 เมกะวัตต์ ให้กับเอ็นพีซี * ค่าใช้จ่ายในการบริหารและอื่นๆ จำนวน 58 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 0.05 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 0.09 * ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 16 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 5 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 22 เนื่องจากเงินต้นลดลง 5) ค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจอื่นๆ จำนวน 119 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 54 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 83 รายละเอียดดังต่อไปนี้ * ต้นทุนบริการ จำนวน 78 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 44 ล้านบาท หรือร้อยละ 128 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของการให้บริการบำรุงรักษา และเดินเครื่องของ เอสโก ซึ่งสอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น (ยังมีต่อ)