EN | TH
09 พฤศจิกายน 2548

บทรายงานและการิวเคราะห์ของฝ่ายบริหาร งวด 9 เดือน ปี 2548

บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร สำหรับผลการดำเนินงาน ประจำงวด 9 เดือน สิ้นสุด ณ 30 กันยายน 2548 หมายเหตุ: บทรายงานและการวิเคราะห์งบการเงินฉบับนี้ ฝ่ายบริหารได้จัดทำขึ้นเพื่อ นำเสนอข้อมูลและแสดงวิสัยทัศน์ของฝ่ายบริหารให้ผู้ลงทุนทั่วไปสามารถติดตามและทำความ เข้าใจฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทได้ดีขึ้น อันเป็นการส่งเสริมโครงการ การกำกับดูแลกิจการที่ดีของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) อนึ่งเนื่องจากบทรายงานและการวิเคราะห์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอ ข้อมูลและคำอธิบายถึงสถานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่ง สิ่งที่นำเสนอนี้อาจเปลี่ยนแปลงตามปัจจัยหรือสภาวะแวดล้อมที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ฉะนั้นจึงใคร่ขอให้นักลงทุนใช้วิจารณญาณในการพิจารณาใช้ประโยชน์จากเอกสารข้อมูลนี้ และ หากมีคำถามหรือข้อสงสัยประการใดกรุณาติดต่อสอบถามได้ที่ ส่วนนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) โทร. 02-998-5131-2 หรือ email : ir@egco.com บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร 1. บทสรุปผู้บริหาร บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ บผฟ. เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ซึ่งมี กำลังผลิตติดตั้ง ณ ปัจจุบันตามสัดส่วนการถือหุ้นรวมจำนวน 2,414 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้า ขนาดใหญ่และเล็กรวมทั้งสิ้น 12 โรง และมีโครงการสำคัญที่กำลังพัฒนา 2 โครงการ คือ โครงการน้ำเทิน 2 ซึ่งธนาคารโลก (World Bank) และธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) พร้อมกลุ่มสถาบันทางการเงินที่เป็นธนาคารพาณิชย์และ องค์กรระหว่างประเทศได้ให้การสนับสนุนโครงการอันนำไปสู่การเบิกเงินกู้งวดแรกเป็น จำนวนเทียบเท่า 238 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2548 และ โครงการ แก่งคอย 2 ซึ่ง บริษัท กัลฟ์อิเล็คตริก จำกัด (มหาชน) (จีอีซี) กำลังดำเนินการปรับเปลี่ยน เจ้าหนี้เงินกู้ดอลลาร์สหรัฐฯโดยให้ Japan Bank for International Cooperation (JBIC) และกลุ่มธนาคารต่างประเทศมาแทนที่ธนาคารพาณิชย์ไทยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2548 สำหรับผลการดำเนินงานของกลุ่ม บผฟ. ใน 9 เดือนแรก ปี 2548 สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2548 มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 3,224 ล้านบาท ลดลง 577 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน หากไม่คำนึงถึงผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว ใน 9 เดือนแรก ปี 2548 บริษัทจะมีกำไรจำนวน 3,531 ล้านบาท ลดลงจาก 9 เดือนแรก ปี 2547 จำนวน 605 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15 สาเหตุการลดลงของกำไรสุทธิก่อน ผลกระทบอัตราแลกเปลี่ยนเนื่องจาก - บผฟ. มีกำไรสุทธิเท่ากับ 39 ล้านบาท ลดลง 82 ล้านบาท เนื่องจากเงินปันผล รับจากการลงทุนทางการเงินลดลง - กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) คือ บริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด (บฟร.) และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด (บฟข.) มีกำไรสุทธิของกลุ่มเท่ากับ 3,246 ล้านบาท ลดลง 325 ล้านบาท สาเหตุหลักจากรายได้ค่าไฟที่ลดลงซึ่งเป็นไปตาม ประมาณการ - กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ประกอบด้วย 5 บริษัท คือ จีอีซี บริษัท อมตะ-เอ็กโก เพาเวอร์ จำกัด (เออีพี) บริษัท อมตะ เพาเวอร์ (บางปะกง) จำกัด (เอพีบีพี) บริษัท ทีแอลพี โคเจเนอเรชั่น จำกัด (ทีแอลพี โคเจน) และ บริษัท ร้อยเอ็ด กรีน จำกัด (ร้อยเอ็ด กรีน) มีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 283 ล้านบาท เพิ่มขึ้นรวมทั้งสิ้น 17 ล้านบาท เนื่องจากรายได้ค่าไฟที่เพิ่มขึ้นของ จีอีซี และ ทีแอลพีโคเจน และ ค่าใช้จ่ายในการบริหารที่ลดลงของ ทีแอลพีโคเจน - กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ ประกอบด้วย บริษัท โคแนล โฮลดิ้ง คอร์ปอเรชั่น (โคแนล) และ โครงการน้ำเทิน 2 (เอ็นทีพีซี) ขาดทุนสุทธิเท่ากับ 201 ล้านบาท ลดลงทั้งสิ้น 294 ล้านบาท เนื่องจาก เอ็นทีพีซี ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้า และนำมาจัดทำงบการเงินรวมตามสัดส่วน ซึ่งขาดทุนจำนวน 341 ล้านบาท - กลุ่มธุรกิจอื่นๆ ประกอบด้วย บริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (เอสโก) และ บริษัท เอ็กคอมธารา จำกัด (เอ็กคอมธารา) มีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 164 ล้านบาท เพิ่มขึ้นรวมทั้งสิ้น 78 ล้านบาท เนื่องจากรายได้ค่าบริการที่เพิ่มขึ้นของ เอสโก 2. การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติตามแผนการดำเนินธุรกิจ บผฟ. เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (Independent Power Producer "IPP") แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งแปรรูปมาจากส่วนของการผลิตบางส่วนของ บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) หรือ กฟผ. (ชื่อเดิมคือ ?การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย?) จัดตั้งขึ้นในปี 2535 ในลักษณะบริษัทโฮลดิ้งโดยการลงทุนในบริษัทย่อย หรือบริษัทร่วมต่าง ๆ ภายใต้ วิสัยทัศน์แห่งการเป็นบริษัทไทยชั้นนำที่ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าครบวงจร และครอบคลุมถึง ธุรกิจการให้บริการด้านพลังงานทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ด้วยความมุ่งมั่นที่จะ ธำรงไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาสังคม สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจของ บผฟ. เรามุ่งเน้นการประกอบธุรกิจในการผลิต กระแสไฟฟ้าและจำหน่ายให้ กฟผ. ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว นอกจากนั้น เรายัง แสวงหาการลงทุนจากการพัฒนาหรือซื้อโครงการจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ทั้งใน ประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยมีเป้าหมายในการสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว จากการลงทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยการเพิ่มพูนกำไรจากโครงการที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนการ สรรหาโครงการที่มีคุณภาพและให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต และอยู่ในระดับความเสี่ยงที่ สามารถยอมรับได้ ณ ปลายเดือนกันยายน 2548 ประเทศไทยมีกำลังผลิตติดตั้งรวมจำนวน 26,430.56 เมกะวัตต์ /1 ซึ่งประมาณร้อยละ 9.1 ของกำลังผลิตนี้มาจากกำลังผลิตใน กลุ่ม บผฟ. โดยในปี 2548 ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดอยู่ในช่วงเดือนเมษายนที่ 20,537.5 เมกะวัตต์ /1 คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 6.27 เมื่อเทียบกับความต้องการ พลังไฟฟ้าสูงสุด ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคมของปี 2547 /1 ที่มา : บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2548 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นควรให้ กฟผ. มีสัดส่วนกำลัง การผลิตไฟฟ้าเป็นจำนวนอย่างน้อยร้อยละ 50 ของกำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่ในช่วงปี พ.ศ. 2554-2558 โดยไม่ต้องเข้าประมูล สำหรับการเปิดประมูลโรงไฟฟ้าใหม่ที่เหลือร้อยละ 50 สำหรับภาคเอกชนนั้นยังต้องรอนโยบายจากคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าช่วงเปลี่ยน ผ่าน (Interim Regulator) ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดตั้งจากภาครัฐ โดยหน่วยงานดังกล่าว จะดำเนินการภายใต้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวง พลังงาน อย่างไรก็ดี บผฟ. ได้ดำเนินการวางแผนโดยอาศัยความร่วมมือ ตลอดจนความ เชี่ยวชาญของบุคลากรในองค์กรเพื่อเตรียมการประมูลดังกล่าวแล้ว ปัจจุบัน บผฟ. มีกำลังผลิตติดตั้งตามสัดส่วนการถือหุ้นรวมจำนวน 2,414 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่และเล็กรวมทั้งสิ้น 12 โรง ซึ่งร้อยละ 85 ของกำลังผลิต มาจากโรงไฟฟ้าของ บฟร. ซึ่งมีกำลังผลิตติดตั้ง 1,232 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าของ บฟข. ซึ่งมีกำลังผลิตติดตั้ง 824 เมกะวัตต์ ทั้ง 2 โรงไฟฟ้าดังกล่าวใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง หลัก นอกจากนี้บริษัทยังได้ดำเนินการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าอีก 3 โครงการ ซึ่งคิดเป็น กำลังการผลิตติดตั้งในส่วนการถือหุ้นของ บผฟ. จำนวนรวม 1,011 เมกะวัตต์ ได้แก่ 1. โครงการแก่งคอย 2 (บผฟ. ถือหุ้นร้อยละ 50 ในจีอีซี ซึ่งถือหุ้นในบริษัทที่ดูแล โครงการคือ บริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด (จีพีจี) ร้อยละ 99.99) ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระบุรี กำลังผลิต 1,468 เมกะวัตต์ โดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง หลัก โครงการนี้มีกำหนดเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์โรงที่ 1 และ 2 กำลังผลิตโรงละ 734 เมกะวัตต์ ในวันที่ 1 มีนาคม 2550 และวันที่ 1 มีนาคม 2551 ตามลำดับ 2. โครงการน้ำเทิน 2 (บผฟ. ถือหุ้นร้อยละ 25 ในเอ็นทีพีซี (บริษัทเจ้าของ โครงการ)) ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว มีกำลังผลิต 1,070 เมกะวัตต์ งานก่อสร้างยังเป็นไปตามแผนที่ กำหนดไว้ในช่วงนี้ โดยโครงการมีกำหนดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในเดือนธันวาคม 2552 และมีสัญญาขายไฟให้กับ กฟผ. จำนวน 995 เมกะวัตต์ ส่วนที่เหลือขาย ให้กับรัฐบาลลาว 3. โครงการกัลฟ์ ยะลา กรีน (บผฟ. ถือหุ้นผ่านทาง จีอีซี คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 47.5) ในจังหวัดยะลา กำลังผลิต 23 เมกะวัตต์ โดยใช้เศษไม้ยางพาราเป็น เชื้อเพลิง เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ต้นปี 2547 ทำให้การก่อสร้างล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ ในเดือนมิถุนายน 2549 และฝ่ายบริหารอยู่ระหว่างการเจรจาเลื่อนกำหนดเริ่มเดิน เครื่องเชิงพาณิชย์กับ กฟผ. ออกไป ในส่วนนโยบายการจ่ายเงินปันผลนั้น บผฟ. มีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ในอัตราประมาณร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้ หรือ ในจำนวนที่ทยอยเพิ่มขึ้น อย่างสม่ำเสมอ หากไม่มีเหตุจำเป็นอื่นใด เช่น การขยายธุรกิจของบริษัทในโครงการต่างๆ ในอนาคต หรือการจ่ายเงินปันผลมีผลกระทบต่อการดำเนินงานปกติของบริษัทอย่างมี สาระสำคัญ 3. รายงานและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน โครงสร้างการดำเนินธุรกิจ ของ บผฟ. อยู่ในรูปของบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company) เพื่อให้แต่ละบริษัทดำเนินธุรกิจด้านการผลิตไฟฟ้าหรือธุรกิจเกี่ยวเนื่องได้อย่าง อิสระต่อกัน โดย บผฟ. มีรายได้หลัก คือเงินปันผลที่มาจากกำไรของบริษัทย่อย บริษัทร่วม และส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า การจัดโครงสร้างดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อได้รับความ สะดวกในการขยายกิจการ และเพิ่มความสามารถในการระดมเงินกู้สำหรับโครงการใหม่ โดยไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อโครงการเก่า ในระหว่างไตรมาสที่ 3 ปี 2548 เอ็นทีพีซี ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดังนั้น ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2548 เงินลงทุนใน เอ็นทีพีซี ได้นำมาจัดทำงบการเงินรวมระหว่างกาลตามวิธีรวมตามสัดส่วน เนื่องจากงบการเงินของกิจการร่วมค้าดังกล่าวมีนัยสำคัญต่อกลุ่มบริษัท ฝ่ายบริหารจึงขอแสดงรายงานวิเคราะห์งบการเงินรวมของ บผฟ. และบริษัทย่อย เพื่อให้เห็นถึงภาพรวมที่ชัดเจนของผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้ 3.1 สรุปผลการดำเนินงาน กำไรสุทธิของกลุ่ม บผฟ. สำหรับ 9 เดือนแรก สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2548 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 3,224 ล้านบาท ลดลง 577 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 15 เมื่อ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานของช่วงเวลาเดียวกัน ปี 2547 หน่วย : ล้านบาท กำไรสุทธิ 9 เดือนแรก ปี 2548 กำไรสุทธิ 9 เดือนแรก ปี 2547 ก่อน FX หลัง FX ก่อน FX หลัง FX บผฟ. 39 92 121 134 กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) 3,246 3,012 3,571 3,391 กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) 283 153 266 105 กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ (Overseas) (201) (196) 93 85 กลุ่มธุรกิจอื่นๆ (Others) 164 164 86 86 หมายเหตุ: -ไอพีพี ประกอบด้วย บฟร. บฟข. - เอสพีพี ประกอบด้วย จีอีซี เออีพี เอพีบีพี ทีแอลพีโคเจน ร้อยเอ็ด กรีน -ต่างประเทศ ประกอบด้วย โคแนล เอ็นทีพีซี - อื่นๆ ประกอบด้วย เอสโก เอ็กคอมธารา ใน 9 เดือนแรก ปี 2548 บผฟ. มีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 307 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2547 ซึ่ง บผฟ. มีผลขาดทุนจากอัตรา แลกเปลี่ยน จำนวน 335 ล้านบาท ทั้งนี้ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจำนวน 398 ล้านบาทใน 9 เดือนแรก ปี 2548 เป็นตัวเลขทางบัญชี เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน การบัญชีไทย ซึ่งเกิดขึ้นจากผลต่างของการแปลงมูลค่าหนี้คงค้างสุทธิเฉพาะที่เป็นเงินตรา สกุลต่างประเทศกลับมาเป็นเงินตราสกุลบาท ณ วันสิ้นสุดงวดของบัญชีปัจจุบัน (วันที่ 30 กันยายน 2548) กับงวดก่อนหน้านี้ (วันที่ 31 ธันวาคม 2547) หากไม่คำนึงถึงผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน ใน 9 เดือนแรก ปี 2548 บริษัทจะมี กำไรจำนวน 3,531 ล้านบาท ลดลงจาก 9 เดือนแรก ปี 2547 จำนวน 605 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15 นอกจากนี้หากไม่คำนึงถึงผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 307 ล้านบาท ดอกเบี้ยจ่ายจำนวน 1,404 ล้านบาท ภาษีเงินได้จำนวน 405 ล้านบาทและค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่างๆ จำนวน 2,300 ล้านบาท กำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อม ราคาและค่าตัดจำหน่ายต่างๆ (EBITDA) ของกลุ่ม บผฟ.ใน 9 เดือนแรก ปี 2548 จะเป็นจำนวน 7,639 ล้านบาท ลดลง 656 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับ กำไร ของกลุ่ม บผฟ. 9 เดือนแรก ปี 2547 จำนวน 8,295 ล้านบาท ซึ่งไม่รวมผล ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 335 ล้านบาท ดอกเบี้ยจ่ายจำนวน 1,706 ล้านบาท ภาษีเงินได้จำนวน 382 ล้านบาทและค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่างๆ จำนวน 2,071 ล้านบาท อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ มีดังนี้ - อัตราส่วนกำไรขั้นต้น เท่ากับร้อยละ 50.63 - อัตราส่วนกำไรสุทธิ (ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน) เท่ากับร้อยละ 27.87 - กำไรสุทธิ (ที่ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน) ต่อหุ้น เท่ากับ 6.71 บาท อัตราส่วนกำไรขั้นต้น เท่ากับร้อยละ 50.63 นั้น ต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปี 2547 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 55.04 สาเหตุหลักจากรายได้ค่าไฟที่ลดลง และต้นทุนขายที่เพิ่มขึ้นของ บฟร. ประกอบกับการเริ่มบันทึกผลการดำเนินงานโครงการน้ำเทิน 2 ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนา ตามวิธี รวมตามสัดส่วนมีผลขาดทุน จำนวน 341 ล้านบาท ส่งผลให้อัตรากำไรสุทธิใน 9 เดือนแรก ปี 2548 (ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน) เท่ากับร้อยละ 27.87 นั้นต่ำกว่าช่วงเวลา เดียวกันของ ปี 2547 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 32.82 3.2 การวิเคราะห์รายได้ ผลการดำเนินงานใน 9 เดือนแรก ปี 2548 รายได้รวมของ บผฟ. บริษัทย่อย และส่วน แบ่งกำไรในเงินลงทุนในบริษัทร่วมและส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า มีจำนวนทั้งสิ้น 12,667 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันปี 2547 เพิ่มขึ้นจำนวน 63 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 1 โดยมีรายละเอียดดังนี้ รายได้รวม หน่วย : ล้านบาท 9 เดือนแรก ปี 2548 9 เดือนแรก ปี 2547 %เปลี่ยนแปลง บผฟ. 331 439 (25%) กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) 7,284 7,664 (5%) กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) 3,854 3,539 9% กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ (Overseas) 635 573 11% กลุ่มธุรกิจอื่นๆ (Others) 564 388 45% 1) รายได้ของ บผฟ. จำนวน 331 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินปันผลรับจากการลงทุน ทางการเงิน 233 ล้านบาท ดอกเบี้ยรับ 76 ล้านบาท และรายได้อื่นๆ 23 ล้านบาท ซึ่ง รายได้ของ บผฟ. ลดลงจากปีก่อน จำนวน 109 ล้านบาท หรือร้อยละ 25 สาเหตุหลัก จากเงินปันผลรับจากการลงทุนทางการเงินลดลงจำนวน 142 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 38 เมื่อเปรียบเทียบกับ 9 เดือนแรก ปี 2547 เนื่องจากสภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ รายได้หลักส่วนใหญ่ของ บผฟ. ใน 9 เดือนแรก ปี 2548 ยังคงมาจากเงินปันผลรับ จากการลงทุนทางการเงินคือ กองทุนเปิดกรุงไทยหุ้นผสมตราสารหนี้ปันผล (KTSF) จำนวน 124 ล้านบาท ลดลง 205 ล้านบาท เงินปันผลรับจากบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาค ตะวันออก จำกัด (มหาชน) จำนวน 92 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 56 ล้านบาท เนื่องจาก บผฟ. เพิ่มสัดส่วนการลงทุนและอัตราการจ่ายเงินปันผลที่เพิ่มขึ้น สำหรับรายได้จากดอกเบี้ยรับ จำนวน 76 ล้านบาทนั้นเพิ่มขึ้น 18 ล้านบาท และรายได้อื่นๆ 23 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16 ล้านบาท 2) รายได้จากกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) คือ บฟร. และ บฟข. จำนวน 7,284 ล้านบาท แบ่งเป็น - รายได้ค่าไฟฟ้า จำนวน 7,173 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน จำนวน 364 ล้านบาท หรือร้อยละ 5 โดยแบ่งเป็นรายได้ค่าไฟของ บฟร.จำนวน 3,763 ล้านบาท ลดลง 319 ล้านบาท เนื่องจากอัตราค่าไฟฟ้า (Capacity Rate) ที่ลดลง และ รายได้ค่าไฟ บฟข. จำนวน 3,410 ล้านบาท ลดลง 45 ล้านบาท เนื่องจากอัตราค่าไฟ (Base Availability Credit) ที่ลดลง ซึ่งเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสูตรค่าพลังไฟฟ้า ในลักษณะ "Cost Plus" หรือต้นทุนบวกกำไรส่วนเพิ่มที่ให้แก่ผู้ประกอบการภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) และเป็นไปตามที่ได้ประมาณการไว้แล้ว รายได้ค่าไฟฟ้ากลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP): หน่วย : ล้านบาท 9 เดือนแรก ปี 2548 9 เดือนแรก ปี 2547 %เปลี่ยนแปลง บฟร. 3,763 4,082 (8%) บฟข. 3,410 3,455 (1%) สัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าในแต่ละปีเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายคงที่ คือ ค่าชำระหนี้และค่าบำรุงรักษาหลัก ซึ่งจะใช้อัตราดังกล่าวตามที่ได้ตกลงในสัญญาซื้อขาย ไฟฟ้าในการคำนวณค่าไฟฟ้าในแต่ละงวด นอกจากนั้น ในการคำนวณรายได้ค่าความพร้อม จ่ายพลังไฟฟ้า ได้รับการปรับเพื่อชดเชยผลกระทบที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับภาระ ค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมเงินและค่าอะไหล่ที่ใช้ในการบำรุงรักษาหลักที่เป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่ง บฟร. และ บฟข. จะได้รับการชดเชยทุกเดือนตามงวดกำหนดชำระค่าไฟฟ้า โดยจะ ได้รับค่าพลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนสูงกว่าระดับ 28 บาท ต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐฯ และได้รับค่าพลังไฟฟ้าลดลงเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนต่ำกว่าระดับ 28 บาท ต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ รายได้ค่าไฟฟ้าจากบริษัทย่อยหลักได้รวมส่วนค่าไฟฟ้าที่ได้รับชดเชยผลกระทบจากอัตรา แลกเปลี่ยนเป็นเงิน 552 ล้านบาทสำหรับ 9 เดือนแรก ปี 2548 - รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 110 ล้านบาท ลดลง 17 ล้านบาท หรือร้อยละ 13 สาเหตุหลักคือ ดอกเบี้ยรับ ของ บฟร. และ บฟข. ลดลง 16 ล้านบาท เนื่องจากจำนวนเงินฝากที่ลดลง และรายได้อื่นๆลดลง 1 ล้านบาท 3) รายได้จากกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) จำนวน 3,854 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 315 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 9 สำหรับ กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ประกอบด้วย 5 บริษัท คือ จีอีซี เออีพี เอพีบีพี ทีแอลพี โคเจน และ ร้อยเอ็ด กรีน โดยมีรายละเอียดดังนี้ - รายได้ค่าไฟฟ้า จำนวน 3,773 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 274 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 8 รายได้ค่าไฟฟ้ากลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP): หน่วย : ล้านบาท 9 เดือนแรก ปี 2548 9 เดือนแรก ปี 2547 %เปลี่ยนแปลง จีอีซี 2,189 1,971 11% ทีแอลพี โคเจน 1,266 1,216 4% เอพีบีพี 190 212 (10%) ร้อยเอ็ด กรีน 128 101 27% ทั้งนี้รายได้ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นมาจาก จีอีซี จำนวน 218 ล้านบาท เนื่องจากมี รายได้เพิ่มขึ้นจากการเรียกกำลังการผลิตสำหรับความต้องการไฟฟ้าสูงสุดจาก กฟผ. ส่วนทีแอลพีโคเจนมีรายได้เพิ่มขึ้นจำนวน 50 ล้านบาท เนื่องมาจากมีรายได้จากการขาย ไฟฟ้าให้แก่ กฟผ. และลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากอัตราค่าไฟที่เพิ่มขึ้น และการขายไอน้ำให้ลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น และร้อยเอ็ดกรีนที่มีรายได้เพิ่มขึ้น จำนวน 27 ล้านบาทจากค่าพลังไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันเตาที่สูงขึ้นซึ่งสัมพันธ์กับ สูตรค่าไฟ ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น สำหรับรายได้ค่าไฟฟ้าของเอพีบีพี ลดลง 22 ล้านบาท เกิดจากกำลังการผลิตลดลงเนื่องจากการชำรุดของอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานของเครื่องจักร ผลิตไฟฟ้า - รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 45 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 24 ล้านบาท ส่วนใหญ่จากรายได้อื่นๆของเอพีบีพีเพิ่มขึ้น 11 ล้านบาท ส่วนรายได้จากดอกเบี้ยรับและ รายได้อื่นๆของ จีอีซี เพิ่มขึ้น 5 ล้านบาท ร้อยเอ็ดกรีนเพิ่มขึ้น 3 ล้านบาท และทีแอลพี โคเจน เพิ่มขึ้น 4 ล้านบาท - ส่วนแบ่งผลกำไรจากกิจการร่วมค้า คือ เออีพี จำนวน 35 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2547 สาเหตุหลักเนื่องจากมีงานซ่อม บำรุงรักษาหลักในปี 2547 4) รายได้จากกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ จำนวน 635 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 62 ล้านบาท สำหรับกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศประกอบด้วย โคแนล และ โครงการน้ำเทิน 2 (เอ็นทีพีซี) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ - รายได้ค่าไฟฟ้า จำนวน 600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 40 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 7 ซึ่งเกิดจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าในปี 2548 สูงกว่าปี 2547 - รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 34 ล้านบาท ลดลง 3 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 7 - ส่วนแบ่งค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการน้ำเทิน 2 มีการบันทึกเป็นศูนย์ แสดงการ ลดลง 24 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากในปี 2547 โครงการน้ำเทิน 2 บันทึกบัญชีตามวิธีส่วนได้เสีย แต่ในไตรมาสที่ 3 ปี 2548 ได้เริ่มต้นการบันทึกผลการดำเนินงานตาม วิธีรวมตามสัดส่วน ภายหลังการเริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในประเทศลาว 5) รายได้จากกลุ่มธุรกิจอื่นๆ จำนวน 564 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 176 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 45 สำหรับกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ประกอบด้วย 2 บริษัทย่อยคือ เอสโก และ เอ็กคอมธารา ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ รายได้จากกลุ่มธุรกิจอื่นๆ: หน่วย : ล้านบาท 9 เดือนแรก ปี 2548 9 เดือนแรก ปี 2547 %เปลี่ยนแปลง รายได้ค่าบริการ - เอสโก 426 260 64% รายได้ค่าน้ำ - เอ็กคอมธารา 125 118 7% - รายได้ค่าบริการของเอสโก จำนวน 426 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 167 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 64 สาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของการให้การบริการบำรุงรักษาหลัก และขายอุปกรณ์เครื่องจักรในการผลิตไฟฟ้าระหว่างเอสโก กับ โรงไฟฟ้าเอลกาลี 2 ประเทศซูดาน - รายได้ค่าน้ำ ของเอ็กคอมธารา จำนวน 125 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 8 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 7 เนื่องจากอัตราค่าน้ำที่เพิ่มขึ้นตามสัญญาระยะยาวกับการประปาส่วน ภูมิภาค - รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 24 ส่วนใหญ่จากดอกเบี้ยรับของเอ็กคอมธารา - ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อยและกิจการร่วมค้าของเอสโก จำนวน 2.3 ล้านบาท ลดลง 0.62 ล้านบาท ซึ่งมาจาก บริษัท อมตะ เพาเวอร์-เอสโก เซอร์วิส จำกัด (อเมสโก) ที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น การวิเคราะห์รายจ่าย ค่าใช้จ่ายรวมของ บผฟ. บริษัทย่อย บริษัทร่วม และกิจการร่วมค้า ใน 9 เดือนแรก ปี 2548 จำนวน 8,926 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 634 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 8 แบ่งตามกลุ่มธุรกิจ ดังต่อไปนี้ ค่าใช้จ่ายรวม: หน่วย : ล้านบาท 9 เดือนแรก ปี 2548 9 เดือนแรก ปี 2547 %เปลี่ยนแปลง บผฟ. 292 319 (8%) กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) 4,038 4,094 (1%) กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) 3,523 3,234 9% กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ (Overseas) 697 363 92% กลุ่มธุรกิจอื่นๆ (Others) 376 283 33% 1) ค่าใช้จ่ายของ บผฟ. รวมทั้งสิ้น 292 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารทั่วไปทั้ง จำนวน ซึ่งลดลงทั้งสิ้น 27 ล้านบาท หรือร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2547 เนื่องจากหุ้นกู้ของ บผฟ. ได้ชำระคืนหมดแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม 2547 2) ค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) จำนวน 4,038 ล้านบาท ลดลงจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 56 ล้านบาท หรือร้อยละ 1 รายละเอียดดังต่อไปนี้ - ต้นทุนขาย จำนวน 2,449 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 198 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 9 สาเหตุหลักมาจากค่าบำรุงรักษาที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนทดแทนเพลา กังหันไอน้ำที่ชำรุดของ บฟร. ต้นทุนขายกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่(IPP): หน่วย:ล้านบาท 9 เดือนแรก ปี 2548 9 เดือนแรก ปี 2547 %เปลี่ยนแปลง บฟร. 1,447 1,268 14% บฟข. 1,002 983 2% - ค่าใช้จ่ายในการบริหารและภาษี จำนวน 480 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ ปีก่อน จำนวน 21 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 5 สาเหตุหลักจาก บฟข. ตัดจ่ายผลขาดทุนจากการ โอนเงินลงทุนเผื่อขายเป็นเงินลงทุนที่ถือไว้จนครบกำหนดจำนวน 41 ล้านบาท - ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 1,110 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 274 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 20 แบ่งเป็นการลดลงจาก บฟร. และ บฟข. จำนวน 164 ล้านบาท และ 110 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากจำนวนเงินต้นของเงินกู้ลดลง 3) ค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) จำนวน 3,523 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 289 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 9 รายละเอียดดังต่อไปนี้ - ต้นทุนขาย จำนวน 3,049 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2547 จำนวน 262 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 9 สาเหตุหลักจากต้นทุนขายของ จีอีซี ที่เพิ่มขึ้นจำนวน 139 ล้านบาท เนื่องจากงานซ่อมบำรุงรักษา สำหรับต้นทุนขายของ ทีแอลพีโคเจน เพิ่มขึ้น 55 ล้านบาทเนื่องจากราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นและค่าบำรุงรักษาที่เพิ่มขึ้น ส่วนเอพีบีพีมีต้นทุนขาย เพิ่มขึ้น 42 ล้านบาทเนื่องจากงานซ่อมบำรุงรักษาที่เพิ่มขึ้น และต้นทุนขายของร้อยเอ็ด กรีน เพิ่มขึ้น 26 ล้านบาท เนื่องจากค่าเชื้อเพลิงแกลบที่สูงขึ้น ต้นทุนขายกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP): หน่วย : ล้านบาท 9 เดือนแรก ปี 2548 9 เดือนแรก ปี 2547 %เปลี่ยนแปลง (ยังมีต่อ)