EN | TH
09 พฤศจิกายน 2548

ทรายงานและการิวเคราะห์ของฝ่ายบริหาร งวด 9 เดือน ปี 2548

จีอีซี 1,813 1,674 8% ทีแอลพี โคเจน 960 904 6% เอพีบีพี 195 153 27% ร้อยเอ็ด กรีน 82 56 47% - ค่าใช้จ่ายในการบริหาร จำนวน 233 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 1 สาเหตุหลักจาก จีอีซี ซึ่งมีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 212 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27 ล้านบาท เอพีบีพี มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 3 ล้านบาท และ ร้อยเอ็ดกรีน เพิ่มขึ้น 2 ล้านบาท ในขณะที่ ทีแอลพีโคเจน มีค่าใช้จ่ายทางการเงินลดลง 28 ล้านบาท เนื่องจากใน 9 เดือนแรก ปี 2547 มี Refinancing Fee - ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 241 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 24 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 11 สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยจ่ายจำนวน 17 ล้านบาท ของ ทีแอลพีโคเจน อันเนื่องจากวงเงินกู้ที่สูงขึ้นจากค่า Refinancing Fee และอัตรา ดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจากการทำ Swap จากอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ สำหรับ ดอกเบี้ยจ่ายของ จีอีซี ที่เพิ่มขึ้นจำนวน 5 ล้านบาท มาจากการกู้เงินสำหรับก่อสร้างโรงไฟฟ้า ทั้งนี้ดอกเบี้ยจ่ายของ จีอีซี และ ทีแอลพีโคเจน มีจำนวนทั้งสิ้น 139 ล้านบาท และ 82 ล้านบาท ตามลำดับ 4) ค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ จำนวน 697 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วง เดียวกันของปีก่อน 334 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 92 รายละเอียดดังต่อไปนี้ - ต้นทุนขาย จำนวน 161 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 34 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 26 ซึ่งสอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น - ค่าใช้จ่ายในการบริหารและภาษี จำนวน 484 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ ปีก่อน จำนวน 303 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 167 เนื่องจากการเปลี่ยนมาใช้การบันทึกบัญชีวิธี รวมตามสัดส่วนสำหรับ เอ็นทีพีซี ทำให้เริ่มต้นบันทึกค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการน้ำ เทิน 2 จำนวน 344 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการจำนวน 280 ล้านบาท - ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 52 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 3 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 5 เนื่องจากเงินต้นลดลง 5) ค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจอื่นๆ จำนวน 376 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 94 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 33 รายละเอียดดังต่อไปนี้ - ต้นทุนบริการ จำนวน 274 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 97 ล้านบาท หรือร้อยละ 55 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการให้บริการบำรุงรักษาและเดินเครื่องของ เอสโก ซึ่งสอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น - ต้นทุนขายน้ำประปา จำนวน 41 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 0.35 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 1 มาจาก เอ็กคอมธารา เนื่องจากค่าจ้างผลิตน้ำประปาและบำรุงรักษา ระบบผลิตและท่อส่งน้ำประปาลดลง - ค่าใช้จ่ายในการบริหารและภาษี จำนวน 57 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 0.19 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 0.3 สาเหตุจากการเพิ่มขึ้นของภาษีเงินได้ของ เอสโก จำนวน 19 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับกำไรที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในการบริหารทั่วไป ลดลง 19 ล้านบาท สาเหตุหลักเนื่องจากมีการตัดจำหน่ายหนี้สูญของบริษัท พลังงาน การเกษตร จำกัด ในปี 2547 ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 5 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 3 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 41 เนื่องจากเงินต้นคงเหลือของเงินกู้ของ เอ็กคอมธารา ลดลง 4. รายงานและวิเคราะห์ฐานะการเงิน 4.1 การวิเคราะห์สินทรัพย์ ณ วันที่ 30 กันยายน 2548 บผฟ. บริษัทย่อย บริษัทร่วมและกิจการร่วมค้า มีสินทรัพย์ รวมจำนวน 58,699 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,632 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2547 โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้ 1) เงินสด เงินฝากสถาบันการเงิน เงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ทั้ง ระยะสั้นและระยะยาว จำนวน 6,997 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12 ของสินทรัพย์รวม ลดลง 343 ล้านบาท หรือร้อยละ 5 สาเหตุหลักจากเงินฝากสถาบันการเงินและหลักทรัพย์ใน ความต้องการตลาดระยะสั้นซึ่งลดลง 1,606 ล้านบาท ในขณะที่เงินสดและรายการเทียบเท่าเงิน สดเพิ่มขึ้น 1,209 ล้านบาท และเงินลงทุนระยะยาวในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดและ เงินลงทุนอื่นๆเพิ่มขึ้น 54 ล้านบาท 2) เงินลงทุนระยะสั้นและระยะยาวที่ใช้เป็นหลักประกัน จำนวน 9,615 ล้านบาท คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 16 ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น 2,195 ล้านบาท หรือร้อยละ 30 3) เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วมและส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า จำนวน 414 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1 ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น 16 ล้านบาท หรือร้อยละ 4 เกิดจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจาก เออีพี 4) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์สุทธิ จำนวน 32,378 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55 ของ สินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น 1,095 ล้านบาท หรือร้อยละ 4 สินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจาก การ ก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมของ จีอีซี และเอ็นทีพีซี จำนวน 1,501 ล้านบาทและ1,023 ล้านบาท ตามลำดับ การบันทึกวัสดุสำรองหลักเป็นสินทรัพย์เนื่องจากการซ่อมบำรุงรักษาของ บฟร. และ ทีแอลพีโคเจน จำนวน 222 ล้านบาท และ 28 ล้านบาท ตามลำดับ และ ผลกระทบจากการ แปลงค่างบการเงินของสินทรัพย์ของบริษัทที่อยู่ในต่างประเทศเพิ่มขึ้น จำนวน 60 ล้านบาท ในขณะที่สินทรัพย์ลดลงเนื่องจากการตัดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ บผฟ. และบริษัทย่อย อื่นๆ จำนวน 1,842 ล้านบาท และการโอนวัสดุสำรองหลักที่ไม่ได้ใช้งานออกไปยังวัสดุสำรอง คลังของ ทีแอลพีโคเจน บฟร. และ บฟข. จำนวน 23 ล้านบาท 15 ล้านบาท และ 14 ล้านบาทตามลำดับ 5) สินทรัพย์อื่นๆ จำนวน 9,295 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น 669 ล้านบาท หรือร้อยละ 8 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของลูกหนี้และลูกหนี้การค้า กิจการที่เกี่ยวข้องกันจำนวน 433 ล้านบาท สินทรัพย์อื่นๆ เพิ่มขึ้น 653 ล้านบาท วัสดุสำรอง คลังที่เพิ่มขึ้นจำนวน 139 ล้านบาท ในขณะที่ค่าความนิยมตัดจำหน่ายลดลง 59 ล้านบาท และ เงินให้กู้ยืมระยะยาวของ บผฟ. แก่กิจการที่เกี่ยวข้องกันลดลง 497 ล้านบาท เนื่องจาก เอ็นที พีซี ชำระคืนเงินกู้ระยะยาวจากผู้ถือหุ้นทั้งหมดแล้ว 4.2 การวิเคราะห์หนี้สิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2548 บริษัทมีหนี้สินรวม จำนวน 27,627 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,664 ล้านบาท หรือร้อยละ 6 เนื่องจากเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้น ดังรายละเอียด ต่อไปนี้ 1) เงินกู้ยืมระยะยาวและหุ้นกู้ จำนวน 24,916 ล้านบาท หรือร้อยละ 90 ของหนี้สินรวม เพิ่มขึ้น 983 ล้านบาท หรือร้อยละ 4 โดยมีรายละเอียดเป็นเงินตราสกุลต่างๆ ดังนี้ - เงินกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน 312 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ - เงินกู้สกุลเยน จำนวน 1,066 ล้านเยน - เงินกู้สกุลเปโซ จำนวน 79 ล้านเปโซ - เงินกู้สกุลบาท จำนวน 6,528 ล้านบาท - หุ้นกู้สกุลบาท จำนวน 5,304 ล้านบาท ใน 9 เดือนแรก ปี 2548 มีการเบิกเงินกู้เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 2,309 ล้านบาท สำหรับการ ก่อสร้างโรงไฟฟ้าของ จีอีซี และเอ็นทีพีซี ในขณะที่ มีการชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาวและหุ้นกู้ รวมทั้งสิ้น 1,847 ล้านบาท 2) หนี้สินอื่นๆ จำนวน 2,712 ล้านบาทหรือร้อยละ 10 ของหนี้สินรวม ได้แก่ เงิน เบิกเกินบัญชีและเงินกู้ระยะสั้น 109 ล้านบาท เจ้าหนี้การค้า 495 ล้านบาท เจ้าหนี้ค่าก่อสร้าง 180 ล้านบาท ดอกเบี้ยค้างจ่าย 455 ล้านบาท ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้ค้างจ่าย 256 ล้านบาท และ อื่นๆ 1,217 ล้านบาท 4.3 การวิเคราะห์ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 30 กันยายน 2548 ส่วนของผู้ถือหุ้น มีจำนวน 31,072 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก สิ้นปี 2547 จำนวน 1,969 ล้านบาท เนื่องจากปัจจัยหลักคือ บผฟ. มีกำไรจากผลการ ดำเนินงาน จากการวิเคราะห์โครงสร้างของเงินทุน ณ วันที่ 30 กันยายน 2548 สรุปได้ดังนี้ ส่วนของผู้ถือหุ้น จำนวน 31,072 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 52.93 หนี้สิน จำนวน 27,627 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 47.07 สามารถคำนวณหา อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ ได้ดังนี้ - อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เท่ากับ 0.89 เท่า เท่ากับสิ้นปี 2547 - มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์สุทธิต่อหุ้น เท่ากับ 57.03 บาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2547 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 53.55 บาท 5. รายงานและวิเคราะห์กระแสเงินสด งบกระแสเงินสดแสดงกระแสเงินสดที่เปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรม ลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน ณ สิ้นงวดบัญชี และแสดงเงินสดและรายการเทียบเท่าคงเหลือสิ้น งวด ณ วันที่ 30 กันยายน 2548 เงินสดและรายการเทียบเท่าคงเหลือ เป็นเงินจำนวน 3,060 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2547 จำนวน 1,209 ล้านบาท ซึ่งมีรายละเอียดของแหล่งที่มาและ แหล่งที่ใช้ไปของเงินดังต่อไปนี้ - เงินสดสุทธิที่ได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน จำนวน 2,279 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจาก เงินสดที่ได้จากดำเนินงาน 5,876 ล้านบาท และการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สิน หมุนเวียนที่ลดลง 3,597 ล้านบาท - เงินสดสุทธิที่ได้มาจากกิจกรรมลงทุน จำนวน 30 ล้านบาท โดยได้รับเงินสดจาก เงินฝากสถาบันการเงินจำนวน 1,640 ล้านบาท ส่วน บผฟ. ได้รับคืนเงินกู้ระยะยาวจาก เอ็นทีพีซี จำนวน 971 ล้านบาท และเออีพี จำนวน 32 ล้านบาท นอกจากนี้ยังได้รับเงินปันผล จากบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) กองทุนเปิดกรุงไทยหุ้น ผสมตราสารหนี้ปันผลและกองทุนเปิดอื่นๆ จำนวน 92 ล้านบาท 124 ล้านบาท และ 17 ล้านบาท ตามลำดับ ในขณะที่มีเงินลงทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของ จีอีซี จำนวน 1,165 ล้านบาท และ เอ็นทีพีซี จำนวน 1,152 ล้านบาท - เงินสดสุทธิใช้ไปสำหรับกิจกรรมจัดหาเงิน จำนวน 1,098 ล้านบาท เนื่องจากสาเหตุ หลักคือการชำระคืนเงินกู้ และ หุ้นกู้ ของ บฟร. บฟข. เอ็กคอมธารา ทีแอลพี โคเจน ร้อยเอ็ด กรีน เอพีบีพี จีอีซี และโคแนล จำนวน 1,847 ล้านบาท และการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น จำนวน 1,669 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกเงินกู้เพิ่มของ จีอีซี จำนวน 1,096 ล้านบาท และ เอ็นทีพีซีจำนวน 1,214 ล้านบาท และเงินสดรับจากการขาย Treasury Stock จำนวน 100 ล้านบาท