EN | TH
24 กุมภาพันธ์ 2549

ทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร ประจำปี 2548

ระหว่างเอสโก กับ โรงไฟฟ้าเอลกาลี 2 ประเทศซูดาน - รายได้ค่าน้ำ ของเอ็กคอมธารา จำนวน 168 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปีก่อน จำนวน 11 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 7 เนื่องจากอัตราค่าน้ำที่เพิ่มขึ้น ตามสัญญาระยะยาวกับการประปาส่วนภูมิภาค - รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 15 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 34 ส่วนใหญ่จากดอกเบี้ยรับของเอ็กคอมธารา - ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อยและกิจการร่วมค้าของเอสโก จำนวน 0.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.26 ล้านบาท เนื่องจากในปี 2547 มีส่วนแบ่งค่าใช้จ่ายของ บริษัท พลังงานการเกษตร จำกัด จำนวน 0.49 ล้านบาท ในขณะที่ ในปี 2548 บริษัท อมตะ เพาเวอร์-เอสโก เซอร์วิส จำกัด (อเมสโก) มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ทำให้ส่วนแบ่งกำไรจากอเมสโก ลดลง 0.24 ล้านบาท 3.3 การวิเคราะห์รายจ่าย ค่าใช้จ่ายรวมของ บผฟ. บริษัทย่อย บริษัทร่วม และกิจการร่วมค้า ในปี 2548 เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 12,212 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 540 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 5 แบ่งตามกลุ่มธุรกิจ ดังต่อไปนี้ ค่าใช้จ่ายรวม: หน่วย:ล้านบาท ปี 2548 ปี 2547 %เปลี่ยนแปลง บผฟ. 474 501 (5%) กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) 5,364 5,791 (7%) กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) 4,917 4,415 11% กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ (Overseas) 990 553 79% กลุ่มธุรกิจอื่นๆ (Others) 468 412 13% 1) ค่าใช้จ่ายของ บผฟ. รวมทั้งสิ้น 474 ล้านบาท เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร ทั่วไปทั้งจำนวน ซึ่งลดลงทั้งสิ้น 27 ล้านบาท หรือร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปี 2547 เนื่องจากหุ้นกู้ของ บผฟ. ได้ชำระคืนหมดแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม 2547 2) ค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) จำนวน 5,364 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน จำนวน 427 ล้านบาท หรือร้อยละ 7 รายละเอียดดังต่อไปนี้ - ต้นทุนขาย จำนวน 3,268 ล้านบาท ลดลงจากปี 2547 ทั้งสิ้น 61 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 2 สาเหตุหลักจาก บฟข. ซึ่งมีต้นทุนขายลดลงทั้งสิ้น 89 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปี 2547 เนื่องจาก บฟข. มีงานซ่อมบำรุงรักษาหลัก ในปี 2547 ประกอบกับค่าเบี้ยประกันภัยที่ลดลงในปี 2548 สำหรับ บฟร.มีต้นทุนขาย ที่เพิ่มขึ้น 28 ล้านบาท จากค่าบำรุงรักษาที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนทดแทนเพลากังหัน ไอน้ำที่ชำรุดของ บฟร. ต้นทุนขายกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่(IPP): หน่วย:ล้านบาท ปี 2548 ปี 2547 %เปลี่ยนแปลง บฟร. 1,834 1,806 2% บฟข. 1,434 1,523 (6%) - ค่าใช้จ่ายในการบริหารและภาษี จำนวน 639 ล้านบาท ลดลงจาก ปีก่อน จำนวน 30 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 4 สาเหตุหลักจากภาษีเงินได้ของ บฟร. ที่ลดลงซึ่งสอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง - ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 1,457 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน จำนวน 336 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 19 แบ่งเป็นการลดลงจาก บฟร. และ บฟข. จำนวน 196 ล้านบาท และ 140 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากจำนวนเงินต้นของเงินกู้ ลดลง ทั้งนี้เงินกู้ร่วมสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ (USD Syndicated Loan) ของ บฟร. ได้ชำระคืนหมดเรียบร้อยแล้วเมื่อเดือนธันวาคม 2547 3) ค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) จำนวน 4,917 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 501 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 11 รายละเอียดดังต่อไปนี้ - ต้นทุนขาย จำนวน 4,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2547 จำนวน 489 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 13 สาเหตุหลักจากต้นทุนขายของ จีอีซี ที่เพิ่มขึ้นจำนวน 293 ล้านบาท เนื่องจากงานซ่อมบำรุงรักษา สำหรับต้นทุนขายของ ทีแอลพีโคเจน เพิ่มขึ้น 97 ล้านบาทเนื่องจากราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นและค่าบำรุงรักษาที่เพิ่มขึ้น ส่วนเอพีบีพี มีต้นทุนขายเพิ่มขึ้น 69 ล้านบาทเนื่องจากงานซ่อมบำรุงรักษาที่เพิ่มขึ้น และต้นทุนขาย ของร้อยเอ็ด กรีน เพิ่มขึ้น 31 ล้านบาท เนื่องจากค่าเชื้อเพลิงแกลบที่สูงขึ้น ต้นทุนขายกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP): หน่วย:ล้านบาท ปี 2548 ปี 2547 %เปลี่ยนแปลง จีอีซี 2,503 2,210 13% ทีแอลพี โคเจน 1,313 1,216 8% เอพีบีพี 271 203 34% ร้อยเอ็ด กรีน 113 82 38% - ค่าใช้จ่ายในการบริหารและภาษี จำนวน 389 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 19 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 5 สาเหตุหลักจาก ทีแอลพีโคเจน มีค่าใช้จ่ายในปี 2548 ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2547 ที่มี Refinancing Fee จำนวน 26 ล้านบาท ส่วน จีอีซี มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 336 ล้านบาท ลดลง 19 ล้านบาท สำหรับ เอพีบีพี มีค่าใช้จ่าย 23 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15 ล้านบาท สาเหตุหลักจากค่าปรับที่เกิดจาก การผลิตและจำหน่ายไอน้ำได้ไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ. - ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 328 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 31 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 10 สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยจ่ายจำนวน 16 ล้านบาท ของ ทีแอลพีโคเจน อันเนื่องจากวงเงินกู้ที่สูงขึ้นจากค่า Refinancing Fee และ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจากการทำ Swap จากอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นอัตราดอกเบี้ย คงที่ สำหรับดอกเบี้ยจ่ายของ จีอีซี ที่เพิ่มขึ้นจำนวน 12 ล้านบาท มาจากการกู้เงิน สำหรับก่อสร้างโรงไฟฟ้า ทั้งนี้ดอกเบี้ยจ่ายของ จีอีซี และ ทีแอลพีโคเจน มีจำนวน ทั้งสิ้น 192 ล้านบาท และ 109 ล้านบาท ตามลำดับ 4) ค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ จำนวน 990 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากปีก่อน 437 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 79 รายละเอียดดังต่อไปนี้ - ต้นทุนขาย จำนวน 294 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 65 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 29 ซึ่งสอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น - ค่าใช้จ่ายในการบริหารและภาษี จำนวน 628 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 376 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 150 เนื่องจากการเปลี่ยนมาใช้การบันทึกบัญชี วิธีรวมตามสัดส่วนสำหรับ เอ็นทีพีซี ทำให้เริ่มต้นบันทึกค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โครงการน้ำเทิน 2 จำนวน 460 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ค่าใช้จ่ายในการพัฒนา โครงการตัดจ่ายจำนวน 280 ล้านบาท สำหรับโคแนล มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 168 ล้านบาท ลดลง 84 ล้านบาท สาเหตุหลักจากภาษีเงินได้ที่ลดลง - ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 68 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน จำนวน 5 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 7 เนื่องจากเงินต้นลดลง 5) ค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจอื่นๆ จำนวน 468 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 55 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 13 รายละเอียดดังต่อไปนี้ - ต้นทุนบริการ จำนวน 334 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 65 ล้านบาท หรือร้อยละ 24 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการให้บริการบำรุงรักษาและ เดินเครื่องของ เอสโก ซึ่งสอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น - ต้นทุนขายน้ำประปา จำนวน 55 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน จำนวน 0.01 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 0.03 มาจาก เอ็กคอมธารา เนื่องจากค่าจ้างผลิตน้ำประปา และบำรุงรักษาระบบผลิตและท่อส่งน้ำประปาลดลง - ค่าใช้จ่ายในการบริหารและภาษี จำนวน 72 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน จำนวน 6 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 7 สาเหตุจากค่าใช้จ่ายในการบริหารงานทั่วไป ของเอสโกที่ลดลง 11 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 21 สาเหตุหลักเนื่องจากในปี 2547 มีการตัดจำหน่ายหนี้สูญของบริษัท พลังงานการเกษตร จำกัด ในขณะที่ภาษีเงินได้ ของเอสโกเพิ่มขึ้น 5 ล้านบาทเนื่องจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น - ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 6 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน จำนวน 4 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 40 เนื่องจากเงินต้นคงเหลือของเงินกู้ของ เอ็กคอมธารา ลดลง 4. รายงานและวิเคราะห์ฐานะการเงิน 4.1 การวิเคราะห์สินทรัพย์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 บผฟ. บริษัทย่อย บริษัทร่วมและกิจการร่วมค้า มีสินทรัพย์รวมจำนวน 61,250 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,184 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 11 เมื่อเทียบกับ ปี 2547 โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้ 1) เงินสด เงินฝากสถาบันการเงิน เงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการ ของตลาด ทั้งระยะสั้นและระยะยาว จำนวน 12,413 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 20 ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น 5,073 ล้านบาท หรือร้อยละ 69 สาเหตุ หลักจากเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น 6,969 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ มาจากผลการดำเนินงานจำนวน 9,347 ล้านบาทและการเบิกเงินกู้เพิ่มของ จีอีซี และ เอ็นทีพีซี จำนวน 2,481 ล้านบาท ในขณะที่มีการชำระคืนเงินกู้และหุ้นกู้ จำนวน 3,421 บาทและการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นจำนวน 1,707 ล้านบาท 2) เงินลงทุนระยะสั้นและระยะยาวที่ใช้เป็นหลักประกัน จำนวน 4,475 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7 ของสินทรัพย์รวม ลดลง 2,944 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 40 เนื่องจากในไตรมาสที่ 1 ปี 2548 บฟร. ได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ เงินกู้ในการลดระดับการสำรองเงินในบัญชีหลักประกัน Foreign Exchange Reserve Account (FEXRA) และให้นำหนังสือค้ำประกันธนาคารไปวางแทน การสำรองเงินสดทั้งจำนวนในบัญชีหลักประกัน Debt Service Reserve Account (DSRA) 3) เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วมและส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า จำนวน 403 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1 ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น 5 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 1 เกิดจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจาก เออีพี 4) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์สุทธิ จำนวน 34,749 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 57 ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น 3,466 ล้านบาท หรือร้อยละ 11 สินทรัพย์ที่ เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจาก การก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมของ จีอีซี และเอ็นทีพีซี จำนวน 4,044 ล้านบาทและ1,334 ล้านบาทตามลำดับ การบันทึกวัสดุสำรองหลักเป็นสินทรัพย์ เนื่องจากการซ่อมบำรุงรักษาของ บฟร. และ ทีแอลพีโคเจน จำนวน 222 ล้านบาท และ 28 ล้านบาท ตามลำดับ และ ผลกระทบจากการแปลงค่างบการเงินของสินทรัพย์ ของบริษัทที่อยู่ในต่างประเทศเพิ่มขึ้น จำนวน 116 ล้านบาท ในขณะที่สินทรัพย์ลดลงเนื่องจากการตัดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ บผฟ. และ บริษัทย่อยอื่นๆ จำนวน 2,525 ล้านบาท และการโอนวัสดุสำรองหลักที่ไม่ได้ใช้งาน ออกไปยังวัสดุสำรองคลังของ บฟร. บฟข. และทีแอลพีโคเจน จำนวน 15 ล้านบาท 27 ล้านบาท และ 23 ล้านบาท ตามลำดับ 5) สินทรัพย์อื่นๆ จำนวน 9,210 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของ สินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น 584 ล้านบาท หรือร้อยละ 7 ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของ วัสดุสำรองคลังที่เพิ่มขึ้นจำนวน 400 ล้านบาท ลูกหนี้และลูกหนี้การค้ากิจการที่ เกี่ยวข้องกันเพิ่มขึ้น 260 ล้านบาท สินทรัพย์อื่นๆ เพิ่มขึ้น 546 ล้านบาทซึ่งส่วนใหญ่ เกิดจากสิทธิในการประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าของเอ็นทีพีซี ในขณะที่ค่าความนิยมตัด จำหน่ายสุทธิลดลง 76 ล้านบาท และเงินให้กู้ยืมระยะยาวของ บผฟ. แก่กิจการที่ เกี่ยวข้องกันลดลง 547 ล้านบาท เนื่องจาก เอ็นทีพีซี ชำระคืนเงินกู้ระยะยาวแก่ ผู้ถือหุ้นทั้งหมดแล้ว และจีอีซีชำระคืนเงินกู้บางส่วน 4.2 การวิเคราะห์หนี้สิน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 บริษัทมีหนี้สินรวม จำนวน 29,136 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,172 ล้านบาท หรือร้อยละ 12 เนื่องจากเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบัน การเงินที่เพิ่มขึ้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1) เงินกู้ยืมระยะยาวและหุ้นกู้ จำนวน 23,485 ล้านบาท หรือร้อยละ 81 ของหนี้สินรวม ลดลง 448 ล้านบาท หรือร้อยละ 2 โดยมีรายละเอียดเป็น เงินตราสกุลต่างๆ ดังนี้ - เงินกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน 295 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ - เงินกู้สกุลเยน จำนวน 1,066 ล้านเยน - เงินกู้สกุลเปโซ จำนวน 70 ล้านเปโซ - เงินกู้สกุลบาท จำนวน 6,549 ล้านบาท - หุ้นกู้สกุลบาท จำนวน 4,927 ล้านบาท ใน ปี 2548 มีการเบิกเงินกู้เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 2,914 ล้านบาท สำหรับการ ก่อสร้างโรงไฟฟ้าของ จีอีซี และเอ็นทีพีซี ในขณะที่ มีการชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาว และหุ้นกู้รวมทั้งสิ้น 3,421 ล้านบาท 2) หนี้สินอื่นๆ จำนวน 5,650 ล้านบาทหรือร้อยละ 19 ของหนี้สินรวม ได้แก่ . เจ้าหนี้ค่าก่อสร้าง 2,459 ล้านบาท เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ระยะสั้น 109 ล้านบาท เจ้าหนี้การค้า 751 ล้านบาท ดอกเบี้ยค้างจ่าย 161 ล้านบาท ภาษีมูลค่าเพิ่มและ ภาษีเงินได้ค้างจ่าย 336 ล้านบาท และ อื่นๆ 1,834 ล้านบาท 4.3 การวิเคราะห์ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 ส่วนของผู้ถือหุ้น มีจำนวน 32,115 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2547 จำนวน 3,012 ล้านบาท เนื่องจากปัจจัยหลักคือ บผฟ. มีกำไรจากผลการดำเนินงาน จากการวิเคราะห์โครงสร้างของเงินทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 สรุปได้ดังนี้ ส่วนของผู้ถือหุ้น จำนวน 32,115 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 52.43 หนี้สิน จำนวน 29,136 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 47.57 สามารถคำนวณหา อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ ได้ดังนี้ - อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เท่ากับ 0.91 เท่า สูงกว่า สิ้นปี 2547 ซึ่งเท่ากับ 0.89 เท่า - มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์สุทธิต่อหุ้น เท่ากับ 58.96 บาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2547 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 53.55 บาท 5. รายงานและวิเคราะห์กระแสเงินสด งบกระแสเงินสดแสดงกระแสเงินสดที่เปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน ณ สิ้นงวดบัญชี และแสดงเงินสดและ รายการเทียบเท่าคงเหลือสิ้นงวด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2548 เงินสดและรายการ เทียบเท่าคงเหลือ เป็นเงินจำนวน 8,820 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2547 จำนวน 6,969ล้านบาท ซึ่งมีรายละเอียดของแหล่งที่มาและแหล่งที่ใช้ไปของเงินดังต่อไปนี้ - เงินสดสุทธิที่ได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน จำนวน 9,347 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากเงินสดที่ได้จากการดำเนินงาน 7,546 ล้านบาท และการเปลี่ยนแปลง ในเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 1,801 ล้านบาท - เงินสดสุทธิที่ใช้ไปในกิจกรรมลงทุน จำนวน 18 ล้านบาท เนื่องจากมี เงินลงทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของ จีอีซี จำนวน 1,236 ล้านบาท และเอ็นทีพีซี จำนวน 1,433 ล้านบาท ในขณะที่ได้รับเงินสดจากเงินฝากสถาบันการเงินจำนวน 2,032 ล้านบาท ส่วน บผฟ. ได้รับคืนเงินกู้ระยะยาวจาก เอ็นทีพีซี จำนวน 971 ล้านบาท จีอีซี จำนวน 76 ล้านบาท และเออีพี จำนวน 32 ล้านบาท นอกจากนี้ยัง ได้รับเงินปันผลจากบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) กองทุนเปิดกรุงไทยหุ้นผสมตราสารหนี้ปันผลและกองทุนเปิดอื่นๆ จำนวน 92 ล้านบาท 130 ล้านบาท และ 19 ล้านบาทตามลำดับ - เงินสดสุทธิใช้ไปสำหรับกิจกรรมจัดหาเงิน จำนวน 2,363 ล้านบาท เนื่องจากสาเหตุหลักคือการชำระคืนเงินกู้ และ หุ้นกู้ ของ บฟร. บฟข. เอ็กคอมธารา ทีแอลพี โคเจน ร้อยเอ็ดกรีน เอพีบีพี จีอีซี และโคแนล จำนวน 3,421 ล้านบาท และ การจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นจำนวน 1,707 ล้านบาท ในขณะที่มีการเบิกเงินกู้เพิ่ม ของ จีอีซี จำนวน 1,096 ล้านบาท และ เอ็นทีพีซีจำนวน 1,385 ล้านบาท และ เงินสดรับจากการขาย Treasury Stock จำนวน 100 ล้านบาท