EN | TH
13 พฤศจิกายน 2549

ทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร งวด 9 เดือน ปี 2549

จีอีซี 2,371 2,189 8% ทีแอลพี โคเจน 1,476 1,266 17% เอพีบีพี 254 190 33% ร้อยเอ็ด กรีน 186 128 45% รวมรายได้ค่าไฟฟ้า-เอสพีพี 4,287 3,773 14% - รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 72 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27 ล้านบาท ส่วนใหญ่จากรายได้จากดอกเบี้ยรับของ จีอีซี เพิ่มขึ้น 13 ล้านบาท และดอกเบี้ยรับของ ทีแอลพีโคเจน เพิ่มขึ้น 10 ล้านบาท เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และรายได้อื่นๆของ เอพีบีพี ที่เพิ่มขึ้นจำนวน 6 ล้านบาท เนื่องจากได้รับรู้ค่าชดเชยจากบริษัทประกันภัย - ส่วนแบ่งผลกำไรจากบริษัทร่วม คือ เออีพี จำนวน 67 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 32 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2548 เนื่องจากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่าง ประเทศที่เพิ่มขึ้นและรายได้จากการขายไฟฟ้าให้แก่ กฟผ. และลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น - ต้นทุนขาย จำนวน 3,470 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 9 เดือนแรก ปี 2548 จำนวน 421 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 14 สาเหตุหลักจากต้นทุนขายของ จีอีซี ที่เพิ่มขึ้น 220 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณการใช้และราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ต้นทุนขายของ ทีแอลพี โคเจน เพิ่มขึ้น 192 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณการใช้และราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ต้นทุนขายของเอพีบีพี ที่เพิ่มขึ้น 6 ล้านบาทซึ่งสอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น และต้นทุนขายของร้อยเอ็ด กรีน เพิ่มขึ้น 3 ล้านบาท เนื่องจากค่าใช้จ่ายเดินเครื่องและบำรุงรักษาที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนขายกลุ่มธุรกิจเอสพีพี: หน่วย : ล้านบาท 9M'49 9M'48 %เปลี่ยนแปลง จีอีซี 2,032 1,813 12% ทีแอลพี โคเจน 1,152 960 20% เอพีบีพี 201 195 3% ร้อยเอ็ด กรีน 85 82 4% รวมต้นทุนขาย-เอสพีพี 3,470 3,049 14% - ค่าใช้จ่ายในการบริหารและภาษี จำนวน 345 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อนจำนวน 113 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 48 สาเหตุหลักจากค่าใช้จ่าย ในการบริหารและภาษี ของ จีอีซี จำนวน 324 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 111 ล้านบาท เนื่องจากค่าธรรมเนียมในการ Prepayment เงินกู้และค่าธรรมเนียมในการ Restructuring เงินกู้ของบริษัทย่อยของ จีอีซี 3 บริษัท คือ บริษัท กัลฟ์ โคเจนเนอเรชั่น จำกัด (จีซีซี) บริษัท หนองแค โคเจนเนอเรชั่น จำกัด (เอ็นเคซีซี) และ บริษัท สมุทรปราการ โคเจนเนอเรชั่น จำกัด (เอสซีซี) - ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 344 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 104 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 43 สาเหตุหลักมาจาก ดอกเบี้ยจ่ายของ จีอีซี ที่เพิ่มขึ้น จำนวน 113 ล้านบาท เนื่องจากค่า Unwind cost ของสัญญา Interest Rate Swap และ การเบิกเงินกู้เพื่อใช้ในการบริหารงานของโครงการแก่งคอย 2 สำหรับดอกเบี้ยจ่ายของ ทีแอลพี โคเจน และ ร้อยเอ็ด กรีน ลดลง 9 ล้านบาท และ 2 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจาก จำนวนเงินต้นลดลง 4) กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าต่างประเทศ ประกอบด้วย โคแนล และ เอ็นทีพีซี มีรายได้รวม 559 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 75 ล้านบาท หรือร้อยละ 12 ส่วนค่าใช้จ่ายรวมของกลุ่มเป็นจำนวน 338 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน 359 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 51 รายละเอียดดังต่อไปนี้ รายได้และค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจผู้ผลิตโรงไฟฟ้าต่างประเทศ: หน่วย : ล้านบาท โคแนล เอ็นทีพีซี รวม 9M'49 9M'48 9M'49 9M'48 9M'49 9M'48 %เปลี่ยนแปลง รายได้รวม 557 632 2 2 559 635 (12%) ค่าใช้จ่ายรวม 316 353 22 344 338 697 (51%) - รายได้ค่าไฟฟ้า จำนวน 502 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 98 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 16 ซึ่งเกิดจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ลดลงเนื่องจากการโอน โรงไฟฟ้าจำนวน 40 เมกะวัตต์ ของ เอ็นเอ็มพีซี ให้แก่ เอ็นพีซี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งเป็นไปตามสัญญาที่กำหนดไว้ - รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 57 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 68 ส่วนใหญ่มาจากรายได้อื่นของ โคแนลที่เพิ่มขึ้น - ต้นทุนขาย จำนวน 109 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 52 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 32 เนื่องจากการโอนโรงไฟฟ้าของเอ็นเอ็มพีซี - ค่าใช้จ่ายในการบริหารและภาษี จำนวน 174 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน จำนวน 313 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 64 สาเหตุหลักมาจาก เอ็นทีพีซี ซึ่งได้เปลี่ยนมาใช้การบันทึกบัญชีวิธีรวมตามสัดส่วน ทำให้เริ่มต้นบันทึกค่าใช้จ่ายใน การดำเนินงานโครงการน้ำเทิน 2 ในไตรมาส 3 ปี 2548 จำนวน 346 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ ได้แก่ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการจำนวน 280 ล้านบาท สำหรับใน 9 เดือนแรก ปี 2549 เอ็นทีพีซี มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการน้ำเทิน 2 จำนวน 22 ล้านบาท นอกจากนั้น ค่าใช้จ่ายในการบริหารของโคแนลลดลง 38 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับการโอนโรงไฟฟ้า ของเอ็นเอ็มพีซี ในขณะที่ภาษีเงินได้ของโคแนลเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 50 ล้านบาท เนื่องจาก ใน 9 เดือนแรก ปี 2548 มีการปรับปรุงภาษีเงินได้รอการตัดจ่าย - ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 55 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 7 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 13 4) กลุ่มธุรกิจอื่นๆ ประกอบด้วย 2 บริษัทย่อยคือ เอสโก และ เอ็กคอมธารา มีรายได้รวมทั้งสิ้น 686 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 123 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 22 และมีค่าใช้จ่ายรวมจำนวน 465 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน จำนวน 88 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 23 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ รายได้และค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจอื่นๆ: หน่วย: ล้านบาท เอสโก เอ็กคอมธารา รวม 9M'49 9M'48 9M'49 9M'48 9M'49 9M'48 %เปลี่ยนแปลง รายได้รวม 539 436 148 128 686 564 22% ค่าใช้จ่ายรวม 419 330 46 47 465 376 23% - รายได้ค่าบริการของเอสโก จำนวน 525 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกัน ของปีก่อน จำนวน 99 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 23 สาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของการให้ การบริการบำรุงรักษาและขายอุปกรณ์เครื่องจักรในการผลิตไฟฟ้าระหว่างเอสโก กับ โรงไฟฟ้าเอลกาลี 2 ประเทศซูดาน - รายได้ค่าน้ำ ของเอ็กคอมธารา จำนวน 142 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 9 เดือนแรก ปี 2548 จำนวน 17 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 13 เนื่องจากปริมาณน้ำประปาขั้นต่ำ (Minimum Take) และอัตราค่าน้ำที่เพิ่มขึ้นตามสัญญาระยะยาวกับการประปาส่วนภูมิภาค - รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 16 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 71 ส่วนใหญ่มาจากดอกเบี้ยรับที่เพิ่มขึ้นของ เอ็กคอมธารา 4 ล้านบาท และเอสโก 3 ล้านบาท เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น - ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม ของเอสโก จำนวน 3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1 ล้านบาท ส่วนใหญ่จาก บริษัท อมตะ เพาเวอร์-เอสโก เซอร์วิส จำกัด (อเมสโก) - ต้นทุนบริการ จำนวน 362 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 88 ล้านบาท หรือร้อยละ 32 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการให้บริการบำรุงรักษาและ ต้นทุนอุปกรณ์เครื่องจักรของ เอสโก ซึ่งสอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น - ต้นทุนขายน้ำประปา จำนวน 43 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 2 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 5 มาจาก เอ็กคอมธารา เนื่องจากค่าจ้างผลิตน้ำประปาและ บำรุงรักษาระบบผลิตและท่อส่งน้ำประปาเพิ่มขึ้น - ค่าใช้จ่ายในการบริหารและภาษี จำนวน 58 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกัน ของปีก่อน จำนวน 1 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 1 เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการบริหารของเอสโกที่เพิ่มขึ้น - ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 2 ล้านบาท ลดลงจาก ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 2 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 52 เนื่องจากเงินต้นคงเหลือของเงินกู้ของ เอ็กคอมธารา ลดลง 4. รายงานและวิเคราะห์ฐานะการเงิน 4.1 การวิเคราะห์สินทรัพย์ ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 บผฟ. บริษัทย่อย บริษัทร่วมและกิจการร่วมค้า มีสินทรัพย์ รวมจำนวน 67,125 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,875 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2548 โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้ 1) เงินสด เงินฝากสถาบันการเงิน เงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ทั้งระยะสั้นและระยะยาว จำนวน 10,937 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 ของสินทรัพย์รวม ลดลง 1,476 ล้านบาท หรือร้อยละ 12 สาเหตุหลักจาก เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลดลง 2,724 ล้านบาท เนื่องจากการชำระหนี้เงินกู้ทั้งหมดที่มีกับสถาบันการเงินต่างประเทศ ก่อนครบกำหนดของ บฟร. ส่วนเงินฝากสถาบันการเงินและหลักทรัพย์ในความต้องการ ตลาดระยะสั้นเพิ่มขึ้น 1,140 ล้านบาท เงินลงทุนระยะยาวในหลักทรัพย์ในความต้องการ ของตลาดและเงินลงทุนอื่นๆเพิ่มขึ้น 109 ล้านบาท 2) เงินลงทุนระยะสั้นและระยะยาวที่ใช้เป็นหลักประกัน จำนวน 5,544 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8 ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น 1,069 ล้านบาท หรือร้อยละ 24 สาเหตุหลักจากการทยอยสำรองไว้เพื่อใช้ในการจ่ายชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย ที่จะครบกำหนดชำระคืนของ จีอีซี และ บฟร. 3) เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วมและส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า จำนวน 465 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1 ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น 61 ล้านบาท หรือร้อยละ 15 เกิดจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจาก เออีพี 4) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์สุทธิ จำนวน 40,169 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้นสุทธิทั้งสิ้น 5,420 ล้านบาท หรือร้อยละ 16 สินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่มาจาก การก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมของ จีอีซี (จีพีจี และ จีวายจี) เอ็นทีพีซี และ เอพีบีพี จำนวน 5,855 ล้านบาท 1,370 ล้านบาท และ 137 ล้านบาทตามลำดับและการบันทึก วัสดุสำรองหลักเป็นสินทรัพย์เนื่องจากการซ่อมบำรุงรักษาของ บฟร. บฟข. และ ทีแอลพี โคเจน จำนวน 263 ล้านบาท 305 ล้านบาท และ 40 ล้านบาท ตามลำดับ ในขณะที่มีการตัดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ บผฟ. และบริษัทย่อยอื่นๆ จำนวน 1,909 ล้านบาท และการโอนวัสดุสำรองหลักที่ไม่ได้ใช้งานออกไปยังวัสดุสำรองคลังของ บฟร. บฟข. และ ทีแอลพี โคเจน จำนวน 189 ล้านบาท 164 ล้านบาท และ 35 ล้านบาท ตามลำดับ 5) สินทรัพย์อื่นๆ จำนวน 10,011 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น 801 ล้านบาท หรือร้อยละ 9 ซึ่งเป็นผลจาก ลูกหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกัน (ค่าไฟฟ้าจาก กฟผ.) เพิ่มขึ้น 450 ล้านบาท สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆเพิ่มขึ้น 232 ล้านบาท เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของภาษีซื้อรอเรียกคืนและค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าของ จีอีซี ที่เพิ่มขึ้น 110 ล้านบาท ประกอบกับรายได้ค้างรับของ เอสโก เพิ่มขึ้น 81 ล้านบาท และ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน อื่นๆ เพิ่มขึ้น 217 ล้านบาท 4.2 การวิเคราะห์หนี้สิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 บริษัทมีหนี้สินรวม จำนวน 31,654 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,519 ล้านบาท หรือร้อยละ 9 เนื่องจากเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงินและหุ้นกู้ที่เพิ่มขึ้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1) เงินกู้ยืมระยะยาวและหุ้นกู้ จำนวน 27,035 ล้านบาท หรือร้อยละ 85 ของหนี้สินรวม เพิ่มขึ้น 3,549 ล้านบาท หรือร้อยละ 15 โดยมีรายละเอียดเป็นเงินตราสกุลต่างๆ ดังนี้ - เงินกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐ จำนวน 320 ล้านดอลลาร์สหรัฐ - เงินกู้สกุลเยน จำนวน 970 ล้านเยน - เงินกู้สกุลเปโซ จำนวน 61 ล้านเปโซ - เงินกู้สกุลบาท จำนวน 7,782 ล้านบาท - หุ้นกู้สกุลบาท จำนวน 7,514 ล้านบาท ใน 9 เดือนแรก ปี 2549 มีการเบิกเงินกู้เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 9,823 ล้านบาท สำหรับการก่อสร้าง โรงไฟฟ้าของ จีอีซี เอ็นทีพีซี และ เอพีบีพี ในขณะที่มีการชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาวรวมทั้งสิ้น 8,235 ล้านบาท แบ่งเป็นของ บฟร. 3,853 ล้านบาทเพื่อการชำระหนี้เงินกู้ Institutional Notes ทั้งหมด บฟข. 559 ล้านบาท ทีแอลพี โคเจน 149 ล้านบาท เอ็กคอมธารา 30 ล้านบาท ร้อยเอ็ด กรีน 34 ล้านบาท โคแนล 103 ล้านบาท เอพีบีพี 33 ล้านบาท และ จีอีซี 3,474 ล้านบาท เพื่อ Refinancing เงินกู้ จีซีซี เอ็นเคซีซี และ เอสซีซี เมื่อเดือนเมษายน 2549 โดย จีซีซี ออกหุ้นกู้ สกุลบาท ซึ่งหากคิดตามสัดส่วนที่ บผฟ. ถือหุ้นร้อยละ 50 แล้ว จะเป็นหนี้ตามสัดส่วนของ บผฟ. จำนวน 2,900 ล้านบาท นอกจากนั้นยังมีการจ่ายชำระคืนหุ้นกู้ของ บฟข.จำนวน 283 ล้านบาท 2) หนี้สินอื่นๆ จำนวน 4,619 ล้านบาทหรือร้อยละ 15 ของหนี้สินรวมลดลง 1,031 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากเจ้าหนี้ค่าก่อสร้างของจีอีซีที่ลดลง 2,110 ล้านบาท ในขณะที่หนี้สินไม่หมุนเวียนอื่นๆ ของ จีอีซี เพิ่มขึ้น 487 ล้านบาทจากเงินประกันตามสัญญาก่อสร้าง เอ็นทีพีซี เพิ่มขึ้น 263 ล้านบาท 4.3 การวิเคราะห์ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 ส่วนของผู้ถือหุ้น มีจำนวน 35,471 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก สิ้นปี 2548 จำนวน 3,356 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10 เนื่องจากปัจจัยหลักคือ บผฟ. มีกำไรจาก ผลการดำเนินงาน จากการวิเคราะห์โครงสร้างของเงินทุน ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 สรุปได้ดังนี้ ส่วนของผู้ถือหุ้น จำนวน 35,471 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 52.84 หนี้สิน จำนวน 31,654 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 47.16 สามารถคำนวณหา อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ ได้ดังนี้ - อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เท่ากับ 0.89 เท่า ต่ำกว่า สิ้นปี 2548 ซึ่งเท่ากับ 0.91 เท่า - มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์สุทธิต่อหุ้น เท่ากับ 65.15 บาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2548 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 58.96 บาท 5. รายงานและวิเคราะห์กระแสเงินสด งบกระแสเงินสดแสดงกระแสเงินสดที่เปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน ณ สิ้นงวดบัญชี และแสดงเงินสดและรายการเทียบเท่าคงเหลือสิ้นงวด ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 เงินสดและรายการเทียบเท่าคงเหลือ เป็นเงินจำนวน 6,096 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปี 2548 จำนวน 2,724 ล้านบาท ซึ่งมีรายละเอียดของแหล่งที่มาและแหล่งที่ใช้ไป ของเงินดังต่อไปนี้ - เงินสดสุทธิที่ได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน จำนวน 4,941 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจาก เงินสดที่ได้จากการดำเนินงาน 6,886 ล้านบาท ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงเงินทุนหมุนเวียนลดลง 1,945 ล้านบาท - เงินสดสุทธิที่ใช้ไปสำหรับกิจกรรมลงทุน จำนวน 9,747 ล้านบาทโดยมีเงินลงทุน ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของ จีอีซี จำนวน 7,316 ล้านบาท เอ็นทีพีซี จำนวน 1,179 ล้านบาท และเอพีบีพี จำนวน 137 ล้านบาท และเงินลงทุนระยะสั้น 1,141 ล้านบาท ในขณะที่ได้รับ เงินปันผลจากอีสท์ วอเตอร์ กองทุนเปิดเคทีเอสเอฟ และกองทุนเปิดอื่นๆ จำนวน 31 ล้านบาท 130 ล้านบาท และ 7 ล้านบาทตามลำดับ - เงินสดสุทธิที่ได้มาจากกิจกรรมจัดหาเงิน จำนวน 2,100 ล้านบาท เนื่องจากการ เบิกเงินกู้เพิ่มของ จีอีซี จำนวน 8,579 ล้านบาท เอ็นทีพีซี จำนวน 1,129 ล้านบาท และ เอพีบีพี จำนวน 94 ล้านบาท และการออกหุ้นกู้ของจีซีซี จำนวน 2,900 ล้านบาท ในขณะที่ มีการชำระคืนเงินกู้ ของ บฟร. บฟข. ทีแอลพี โคเจน ร้อยเอ็ด กรีน เอ็กคอมธารา เอพีบีพี จีอีซี และ โคแนล รวมทั้งสิ้น 8,235 ล้านบาท และชำระคืนหุ้นกู้ของ บฟข. จำนวน 283 ล้านบาท นอกจากนั้น บผฟ. ได้จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นจำนวน 2,040 ล้านบาท