EN | TH
14 พฤศจิกายน 2549

รายงานความเห็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ-ส่วนที่ 2

ส่วนที่ 2 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับบริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด และโครงการโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี 1) ข้อมูลบริษัท ชื่อบริษัท:บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด (BLCP)วันที่จดทะเบียนจัดตั้ง 30 กันยายน 2540ที่ตั้ง:9 ถนนไอ-แปด ตำบลมาบตาพุด อำเภอ เมืองระยอง จังหวัดระยอง 21150 โทรศัพท์: 0-3892-5100เลขทะเบียนบริษัท:0105540085310ประเภทธุรกิจ ผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2549 BLCP มีทุนที่ชำระแล้วทั้งสิ้น 5,484.40 ล้านบาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญจำนวน 114.844 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท โดยหุ้นจำนวนทั้งสิ้น 14.844 ล้านหุ้นได้รับการชำระเต็มมูลค่าแล้ว ส่วนหุ้นที่เหลืออีกจำนวน 100 ล้านหุ้นได้รับชำระค่าหุ้นแล้วบางส่วน จำนวน 40 บาทต่อหุ้น รายชื่อผู้ถือหุ้น ณ 6 พฤศจิกายน 254 ผู้ถือหุ้นจำนวนหุ้นสัดส่วนการถือหุ้น (%) CLP Power (BLCP) Ltd. 57,421,998 50 บริษัท บ้านปู โคล เพาเวอร์ จำกัด 57,421,997 50 ผู้ถือหุ้นที่เป็นบุคคลธรรมดาจำนวน 5ราย 5 0 114,844,000 100 หมายเหตุ: บริษัท บ้านปู โคล เพาเวอร์ จำกัด เป็นบริษัท ในเครือของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) CLP Power (BLCP) Ltd. เป็นบริษัทในเครือของ CLP Holdings Limited คณะกรรมการบริษัท ณ 6 พฤศจิกายน 2549 นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ นายระวิ คอศิริ นายอนันต์ ศิริพงศ์ นายชาญชัย ชีวะเกตุ นายนิติกร ตันติธรรม Mr. JAMES RICHARDE TRUSCOTT Mr. MICHAEL IRL NIKKEL Mr. PETER ALBERT LITTLEWOOD นายวรมน เป๊ก ขำขนิษฐ์ Mr. KWOK WING HO2) ลักษณะการดำเนินธุรกิจของ BLCP BLCP ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2540 โดยได้เข้าทำสัญญา ซื้อขายกระแสไฟฟ้า (Power Purchase Agreement: PPA) กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (?กฟผ.?) ตามโครงการ ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (Independent Power Producer Program IPP) สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการโรงไฟฟ้า BLCP (โครงการ) สามารถสรุปได้ดังนี้ * โครงการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement: PPA) กับกฟผ. กำลังการผลิตตามสัญญา (Contracted Capacity) หน่วยละ 673.25 เมกะวัตต์ รวมมีกำลังผลิตตามสัญญา (Total Contracted Capacity) ทั้งสิ้น 1,346.50 เมกะวัตต์ โดยมีกำหนดการเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ของ โรงไฟฟ้าหน่วยที่ 1 คือ วันที่ 1 ตุลาคม 2549 และ หน่วยที่ 2 คือ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 โดย PPA มีอายุสัญญา 25 ปี นับจากวันเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ของโรงไฟฟ้าหน่วยที่ 2 และสัญญาจะสิ้นสุดลงในปี 2575 * โครงสร้างรายได้ของ BLCP จะเหมือนกับบริษัทที่ดำเนินกิจการผลิต และจำหน่ายกระแสไฟฟ้าโดยทั่วไป โดย กฟผ. จะชำระค่าตอบแทน ให้แก่ BLCP ในรูปค่าความพร้อม (Availability Payment) และค่าพลังงาน (Energy Payment) นอกจากนี้ BLCP ยังได้รับ ค่าตอบแทนจากกฟผ.เป็นค่าธรรมเนียมโรงไฟฟ้าเพิ่มเติม (Added Facility Charge) ซึ่งเป็นการชดเชยที่ BLCP ได้ลงทุนไปก่อนให้กับกฟผ. เพื่อก่อสร้างอุปกรณ์ในระบบส่งไฟฟ้าและต้นทุนอื่นๆในการเชื่อมต่อ โรงไฟฟ้า BLCP เข้ากับระบบส่งไฟฟ้าของกฟผ. * โครงการโรงไฟฟ้า BLCP เป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ชนิดใช้ถ่านหินที่บดอัดเป็นผงเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไอน้ำสำหรับผลิตไฟฟ้า ตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง โดย BLCP ได้รับสิทธิใช้พื้นที่ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำหรับการดำเนินงานโรงไฟฟ้าตามสัญญาเช่าระยะยาวอายุสัญญา 30 ปี โรงไฟฟ้าของ BLCP ประกอบด้วยโครงสร้างหลักที่ต่อเชื่อมกันจำนวน 3 ส่วน กล่าวคือส่วนเครื่องกำเนิดไอน้ำ ส่วนอาคารกังหันไอน้ำ และส่วน อาคารควบคุมและระบบไฟฟ้า โดยการดำเนินการก่อสร้างโครงการ โรงไฟฟ้า BLCP ดำเนินการโดยกลุ่ม Mitsubishi Consortium จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ประเภทต่างๆในหลายๆประเทศทั่วโลก ภายใต้สัญญาการให้บริการ ทางด้านวิศวกรรมและการก่อสร้าง (Engineering Procurement & Construction Contract: EPC) * เชื้อเพลิงหลักที่จะใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าคือถ่านหิน โดยถ่านหินที่ ใช้จะเป็นถ่านหินคุณภาพสูงนำเข้าจากต่างประเทศ โดย BLCP ได้ลงนามในสัญญาจัดหาและขนส่งถ่านหิน (Coal Supply & Transportation Agreement: CSTA) ซึ่งมีอายุสัญญายาว 25 ปี กับ Australian Coal Holdings Pty Ltd. (?ACH?) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Rio Tinto Ltd. แห่งประเทศออสเตรเลีย โดย ACH มีข้อผูกพันที่จะต้องจัดหาถ่านหิน ในปริมาณและคุณภาพตามที่กำหนดให้แก่ BLCP ตลอดอายุสัญญา * ขี้เถ้าที่เหลือจากการเผาไหม้สามารถนำไปขายเพื่อใช้เป็น ส่วนผสมของปูนซีเมนต์ในงานก่อสร้างทั่วไป โดย BLCP ได้ทำสัญญา ระยะยาวเพื่อขายขี้เถ้าให้กับผู้ซื้อ เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และคอนกรีต โดยผู้ซื้อรับขนและกำจัดขี้เถ้าที่เหลือด้วย นอกจากนี้ BLCP ยังเตรียมที่ดินเนื้อที่ประมาณ 101 ไร่ ที่ตำบลทับมา จังหวัดระยอง สำรองไว้สำหรับฝังกลบขี้เถ้าด้วย * BLCP ได้เข้าทำสัญญาการดำเนินงานและการซ่อมบำรุงโรงฟ้า (Operation & Maintenance Agreement: O&M Agreement) มีกำหนดอายุสัญญา 25 ปี กับบริษัท เพาเวอร์ เจนเนอเรชั่น เซอร์วิสเซส จำกัด (PGS) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างเครือบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) (ถือหุ้นร้อยละ 40 ของทุนที่ชำระแล้ว) และเครือ CLP Holdings Limited (ถือหุ้นร้อยละ 60 ของทุนที่ชำระแล้ว) ทั้งนี้ สัญญาดังกล่าว ซึ่งมีขอบเขตและเงื่อนไขการให้บริการซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการดำเนิน งานโรงไฟฟ้าโดยทั่วไป จะกำหนดขอบเขตการให้บริการดำเนินงาน และซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าซึ่งรวมถึงการจัดหาและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่และ ผู้ชำนาญการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโรงไฟฟ้า การติดต่อ และประสานงานกับหน่วยงานราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินงาน และซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้า การผลิตและจัดส่งกระแสไฟฟ้า การดำเนินการ แก้ไขกรณีที่การทำงานของโรงไฟฟ้าเกิดการหยุดชะงัก การตรวจสอบ และทดสอบระบบการทำงานของโรงไฟฟ้าตามกำหนดการ รวมถึงการตรวจสอบและทดสอบระบบการทำงานของระบบรักษาความปลอดภัย ภายในโรงไฟฟ้า โดยค่าธรรมเนียมที่ BLCP ต้องจ่ายให้แก่ PGS ซึ่งมีการระบุอย่างชัดเจนไว้ในสัญญา จะมีเงื่อนไขและเทอมการชำระเงิน ซึ่งเป็นไปตามแนวปฏิบัติโดยทั่วไปของธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้า (ที่มา: Report for Lender?s Engineer for BLCP?s Coal-Fired IPP Project) ทั้งนี้ สัญญาการดำเนินงานและการซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าดังกล่าวอนุญาต ให้คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอให้มีการทบทวนและ แก้ไขสัญญาให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นได้ * BLCPได้ทำสัญญาเงินกู้ยืมระยะยาวกับสถาบันการเงินหลายแห่ง ภายใต้ Common Terms Agreement ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2546 วงเงินกู้ 22,063 ล้านบาท และ 558 ล้านเหรียญสหรัฐ โดย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549 มียอดเงินกู้ระยะยาวจำนวน 16,669 ล้านบาท และ 186 ล้านเหรียญสหรัฐ มีระยะเวลาชำระคืนเงินต้นสูงสุด 12 ปี สิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 BLCPได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยลอยตัว LIBOR เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Interest Rate Swap Agreements) วงเงิน 306 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยสัญญายาวสุดหมดอายุ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 วงเงินกู้มีหลักประกันคือ สัญญาการก่อสร้างและการดำเนินงานและสัญญาที่เกี่ยวข้องต่างๆ รวมถึงสินทรัพย์โรงไฟฟ้า เครื่องจักร อุปกรณ์ และหุ้นสามัญของ BLCP ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นต้องได้รับคำยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร จากเจ้าหนี้ โดย BLCP เป็นผู้ทำเรื่องขออนุมัติการทำรายการซื้อหุ้นของ ตนโดย EGCOMP ซึ่งการดำเนินการตามขั้นตอนการขออนุมัติเป็น ไปด้วยความเรียบร้อย และคาดว่าจะแล้วเสร็จอย่างช้า ไม่เกินไตรมาสที่ 2 ของปี 2550 * ปัจจุบัน BLCP ได้จัดให้มีการประกันภัยในทรัพย์สินของตน โดยได้ทำกรมธรรม์หลักสำหรับการประกันภัยการเสี่ยงภัยทุกชนิด (All-risks) ต่อทรัพย์สินซึ่งให้ความคุ้มครองความเสี่ยงทุกประเภทสำหรับ ความสูญเสียหรือเสียหายต่อทรัพย์สินที่ใช้ประกอบธุรกิจ ทรัพย์สินที่อยู่ในการควบคุมดูแลและเก็บรักษาของ BLCP และทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการขนส่ง รวมถึงได้มีการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก (Business Interruption) ซึ่งเป็นการประกันภัยความเสียหายทางการเงิน อันได้แก่ การสูญเสียกำไร (รวมทั้งการสูญเสียสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ ได้รับจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) และการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการ ดำเนินงานซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการหยุดชะงักของธุรกิจเนื่องจากความ เสียหายของทรัพย์สินที่ได้ทำประกันภัยไว้ * สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมได้อนุมัติรายงานผลการศึกษา และวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโรงไฟฟ้า BLCP แล้ว เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2543 ทั้งนี้ ที่ผ่านมา BLCP ไม่มีข้อพิพาททางกฏหมายหรือที่อยู่ ในกระบวนการดำเนินการทางกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับ สิ่งแวดล้อมหรือกฏระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมใดๆ * โครงการได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน (BOI) โดยสิทธิประโยชน์ที่สำคัญที่ BLCPได้รับ ได้แก่การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการ ประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมมีกำหนดเวลา 8 ปีนับจากวันที่เริ่มมีรายได้ จากการประกอบกิจการ และได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ กำไรสุทธิที่ได้รับจากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ มีกำหนดเวลา 5 ปีนับจากวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาที่ได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล * แม้ว่ากำหนดการเดินเครื่องในเชิงพาณิชย์ของโรงไฟฟ้าหน่วยที่ 1 ของโครงการโรงไฟฟ้า BLCP จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2549 โรงไฟฟ้าหน่วยที่ 1 ได้ผ่านการทดสอบความพร้อมในการจ่าย กระแสไฟฟ้าและได้เริ่มจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบจัดส่งกระแสไฟฟ้าของ กฟผ. ตั้งแต่ประมาณกลางเดือนสิงหาคม 2549 3) สรุปข้อมูลฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของ BLCP หน่วย: ล้านบาท รายการ 2546 2547 2548 6เดือนของปี 2549 สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน 678.50 294.49 596.74 626.29 ลูกหนี้การค้าอื่นๆ 479.61 ภาษีมูลค่าเพิ่มรอเรียกคืน 219.32 286.30 124.60 367.19 เบี้ยประกันจ่ายล่วงหน้า 74.94 190.39 124.70 75.81 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ 7.45 66.31 57.79 1,273.12 รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 980.21 837.49 903.83 2,822.02 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์สุทธิ 5,782.80 9,306.06 15,336.89 19,615.12 สินทรัพย์ไม่มีตัวตนสุทธิ 1,120.28 1,444.64 2,203.48 2,308.84 สินทรัพย์อื่นๆ 490.98 612.98 547.74 498.38 รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 7,394.06 11,363.68 18,088.11 22,422.34 สินทรัพย์รวม 8,374.27 12,201.17 18,991.94 25,244.36 หนิ้สินหมุนเวียน เงินกู้ระยะสั้นจากสถาบันการเงิน - - - 730 เจ้าหนี้อื่น 358.97 520.28 814.74 772.13 ดอกเบี้ยค้างจ่าย 13.56 51.76 94.04 130.74 ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายและหนี้สินหมุนเวียนอื่นๆ 26.71 79.60 729.14 62.85 รวมหนี้สินหมุนเวียน 399.24 651.64 1,637.92 1,695.72 หนี้สินไม่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะยาวสุทธิ 6,671.62 10,345.10 16,419.08 22,669.09 รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน 6,671.62 10,345.10 16,419.08 22,669.09 รวมหนี้สิน 7,070.86 10,996.74 18,057.00 24,364.81 ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนที่ชำระแล้ว 1,484.40 1,484.40 1,484.40 1,484.40 ขาดทุนสะสม (180.99) (279.98) (549.46) (604.85) รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 1,303.41 1,204.42 934.94 879.55 หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 8,374.27 12,201.17 18,991.94 25,244.36 รายได้ กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 32.00 12.22 - 7.27 รายได้รวม 32.00 12.22 - 7.27 ค่าใช้จ่าย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 29.77 111.21 126.41 62.65 ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน - - 143.07 - รวมค่าใช้จ่าย 29.77 111.21 269.48 62.65 กำไร(ขาดทุน) สุทธิ 2.23 (98.99) (269.48) (55.38) กระแสเงินสดที่ได้มา(ใช้ไป)ในกิจกรรมดำเนินงาน(155.57)(433.67) 1,111.98(2,586.08) กระแสเงินสดที่ได้มา(ใช้ไป)ในกิจกรรมการลงทุน(6,932.99)(3,592.19) (6,581.97)(4,865.04) กระแสเงินสดที่ได้มา (ใช้ไป) ในกิจกรรมจัดหาเงิน7,546.80 3,641.85 5,772.24 7,480.68 ข้อมูลต่อหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ต่อหุ้น (บาท) 100 100 100 100 ขาดทุนสุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.28 (6.67) (18.15) (3.73) มูลค่าทางบัญชีสุทธิต่อหุ้น (บาท) 87.81 81.14 62.98 59.27 การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของ BLCP * การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของ BLCP ในช่วงปี 2546-2548 และช่วง 6 เดือนแรกของปี 2549 BLCP ยังไม่มีรายได้จากการดำเนินงานในเชิงพาณิชย์ เนื่องจาก BLCP กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้างโรงไฟฟ้าและการเตรียมการเพื่อ ดำเนินการผลิตไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ โดยรายได้ของ BLCP ในช่วง ดังกล่าวจะอยู่ในรูปของกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ในช่วงเวลาดังกล่าว ภาระค่าใช้จ่ายหลักของ BLCP จะเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร โดยในปี 2548 นอกจาก BLCP จะมีค่าใช้จ่ายในการบริหาร ก็ยังมีค่าใช้จ่ายพิเศษ ในรูปของขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับปี 2547 * การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินของ BLCP ทรัพย์สินหลักของ BLCP จะเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนซึ่งส่วนใหญ่ จะอยู่ในรูปของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ซึ่งจะเป็นอาคารโรงไฟฟ้า และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้า และสินทรัพย์ ไม่มีตัวตน โดย BLCP มีสินทรัพย์หมุนเวียนที่สำคัญ ได้แก่ เงินสด และภาษีมูลค่าเพิ่มรอเรียกคืน ทั้งนี้แหล่งเงินทุนหลักของ BLCP ที่ใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า รวมถึงการจัดซื้ออุปกรณ์และเครื่อง มือที่เกี่ยวข้องอยู่ในรูปของเงินกู้ระยะยาวจากสถาบันการเงินซึ่ง จะมีทั้งส่วนที่อยู่ในรูปเงินบาทไทยและเงินเหรียญสหรัฐ 4) สรุปภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าในประเทศไทย 4.1) ภาพรวมอุตสาหกรรมไฟฟ้าของไทย ผู้ผลิตไฟฟ้าเพื่อการพาณิชย์ของประเทศไทย ได้แก่ กฟผ., ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producer; SPP) และผู้ผลิต ไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่หรือผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (Independent Power Producer; IPP) ในปัจจุบัน โรงไฟฟ้าส่วนใหญ่ของประเทศเป็นของกฟผ. นอกจากนี้ยังมีการประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าของภาคเอกชนที่เกิด จากการซื้อโรงไฟฟ้าที่ กฟผ. เป็นเจ้าของ อาทิเช่น บริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) และบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ในปัจจุบัน บริษัทที่เข้าร่วมในโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก จะต้องขายไฟฟ้าส่วนหนึ่งให้แก่ กฟผ.และสามารถขายไฟฟ้าส่วนที่ เหลือให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมได้ ส่วนบริษัทที่เป็นผู้ผลิต ไฟฟ้าอิสระจะต้องขายไฟฟ้าทั้งหมดที่ผลิตให้แก่ กฟผ.เท่านั้น 4.2) ภาพรวมของอุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (Independent Power Producer; IPP) ในปี พ.ศ. 2537 รัฐบาลไทยได้เริ่มดำเนินโครงการผู้ผลิต ไฟฟ้าเอกชนตามนโยบายที่จะส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามา มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมพลังงาน โดยให้ภาคเอกชนเป็นเจ้าของ ก่อสร้างโรงไฟฟ้าและดำเนินการผลิตไฟฟ้าเพื่อภาครัฐจะได้ซื้อ ไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนดังกล่าวเมื่อการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเสร็จสิ้น ในการดำเนินการดังกล่าว กฟผ.ได้ร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานนโยบายพลังงานแห่งชาติ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาข้อเสนอโครงการผลิตไฟฟ้า ของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนจำนวนประมาณ 50 ข้อเสนอ และภายหลังจาก การประเมินผลและเจรจา กฟผ. ได้เข้าทำสัญญากับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน จำนวน 7 ราย เพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายไฟฟ้าที่ผลิต ได้ให้แก่ กฟผ. การก่อสร้างโรงไฟฟ้าของบริษัทเอกชนบางรายมีความ ล่าช้าเนื่องจากเหตุผลต่างๆ เช่น ความต้องการไฟฟ้าไม่เป็นไปตาม ค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า หรือมีการคัดค้านการก่อสร้าง โรงไฟฟ้าโดยผู้ที่อาศัยในบริเวณพื้นที่ของโรงไฟฟ้า ซึ่งส่งผลให้ต้อง มีการย้ายสถานที่ตั้งโรงไฟฟ้าและเปลี่ยนแปลงเชื้อเพลิงที่จะใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ส่งผลให้ต้องมีการเจรจาแก้ไขสัญญาเพื่อย้ายที่ตั้งโครงการหรือเปลี่ยน แปลงประเภทของเชื้อเพลิงที่จะใช้ และเลื่อนกำหนดเวลาแล้วเสร็จของ โครงการออกไปโดยไม่กระทบถึงความสามารถในการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. เนื่องจากในช่วงดังกล่าว กฟผ. มีกำลังการผลิตไฟฟ้าสำรอง (Reserve Margin) เพียงพอ ซึ่ง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2549 มีโรงไฟฟ้าของบริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ไตร เอนเนอจี้ จำกัด, บริษัท โกลว์ ไอพีพี จำกัด และบริษัท อีสเทิร์น เพาเวอร์ แอนด์ อิเล็กทริค จำกัดที่ได้ มีการเดินเครื่องการผลิตและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในเชิงพาณิชย์ ตารางแสดงโครงการ IPP ที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับกฟผ. ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระกำลังการผลิตตามสัญญา (เมกะวัตต์) เชื้อเพลิงหลักที่ใช้ ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่จำหน่ายให้แก่กฟผ.(ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง) วันเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ ปีที่สัญญา PPA สิ้นสุด บริษัท ไตร เอนเนอจี้ จำกัด 700ก๊าซธรรมชาติ 5,177.7 กรกฏาคม พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2563 บริษัท ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย) จำกัด700 ก๊าซธรรมชาติ2,831.3 สิงหาคม พ.ศ. 2543พ.ศ. 2568 บริษัท โกลว์ ไอพีพี จำกัด 713ก๊าซธรรมชาติ5,416.3มกราคม พ.ศ. 2546 พ.ศ. 2571 บริษัท อีสเทิร์น เพาเวอร์ แอนด์ อิเล็กทริค จำกัด 350ก๊าซธรรมชาติ 2,246.8 มีนาคม พ.ศ. 254 6 พ.ศ. 2566 บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด 1,346.5 (2*673.25)ถ่านหิน-โรงที่ 1: ตุลาคม พ.ศ. 2549 โรงที่ 2: กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550พ.ศ. 257 5บริษัท ราชบุรี เพาเวอร์ จำกัด1,400ก๊าซธรรมชาติ-โรงที่ 1: มีนาคม พ.ศ. 2551 โรงที่ 2: มิถุนายน พ.ศ. 2551พ.ศ. 2576 บริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจนเนอเรชั่น จำกัด1,468 (2*734)ก๊าซธรรมชาติ-โรงที่ 1: มีนาคม พ.ศ. 2550 โรงที่ 2: มีนาคม พ.ศ. 2551พ.ศ. 2576 ที่มา : สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน (http://www.eppo.go.th/power/index.html) 5) จุดเด่นของโครงการโรงไฟฟ้า BLCP 5.1) ข้อดีของโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเมื่อเปรียบเทียบกับ โรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ข้อดีของโรงไฟฟ้าถ่านหินเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ได้แก่การที่โรงไฟฟ้าถ่านหินมีค่าไฟฟ้าถูกกว่าโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ในกรณีที่มีการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าสม่ำเสมอ (Base Load Plant) เนื่องจากราคาของถ่านหินจะถูกและมีเสถียรภาพมากกว่าก๊าซธรรมชาติ จากการที่ปริมาณสำรองถ่านหินของโลกในปัจจุบันมากกว่าปริมาณสำรอง ก๊าซธรรมชาติมาก (ที่มา: http://www.eppo.go.th/ power/powerplant/4-ng.html) เพื่อเป็นการควบคุมมลภาวะที่อาจเกิดจากการดำเนินการ ผลิตกระแสไฟฟ้า โรงไฟฟ้า BLCP ได้ติดตั้งตัวควบคุมก๊าซซัลเฟอร์ ไดออกไซด์ (Flue Gas Desulphurisation Plant) และตัวดักจับฝุ่นเพื่อควบคุมการปล่อยสารพิษจากกระบวนการ ผลิตกระแสไฟฟ้า ทำให้ระดับของสารพิษที่เกิดขึ้นจากการ ดำเนินงานของโรงไฟฟ้า BLCP ต่ำกว่าระดับที่หน่วย ราชการไทยที่เกี่ยวข้องได้กำหนดไว้ 5.2) การมีสถานที่ตั้งของโครงการที่ดี การที่โรงไฟฟ้าทั้งสองหน่วยของ BLCP ตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในเขต ชายฝั่งภาคตะวันออกของประเทศไทยและเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาห กรรมหนักหลายประเภท เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมกลั่น น้ำมัน และอุตสาหกรรมโรงผลิตไฟฟ้า รวมถึงมีท่าเทียบเรือในเชิงพาณิชย์ ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ ทำให้โรงไฟฟ้า BLCP สามารถใช้ระบบสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกในเชิงอุตสาหกรรมที่มีอยู่แล้วภายใน เขตนิคมอุตสาหกรรมและบริเวณที่ใกล้เคียงกับนิคมอุตสาหกรรมทั้ง ในระหว่างขั้นตอนการก่อสร้างและขั้นตอนการดำเนินการผลิต และจำหน่ายกระแสไฟฟ้าได้ 5.3) การมีแหล่งวัตถุดิบประเภทถ่านหินที่แน่นอน BLCP ได้ลงนามในสัญญาจัดหาและขนส่งถ่านหิน (Coal Supply & Transportation Agreement: CSTA) ซึ่งมีอายุสัญญายาว 25 ปี กับ Australian Coal Holdings Pty Ltd. (?ACH?) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Rio Tinto Ltd. แห่งประเทศออสเตรเลีย โดย ACH มีข้อผูกพันที่จะต้อง จัดหาถ่านหินในปริมาณและคุณภาพตามที่กำหนดให้แก่ BLCP ตลอดอายุสัญญา ทั้งนี้ Rio Tinto Ltd. เป็นบริษัทผู้ดำเนินธุรกิจด้าน เหมืองแร่ชั้นนำแห่งหนึ่งของประเทศออสเตรเลีย และ มีความเชี่ยวชาญในด้านการขุดเจาะ บริหารและจัดการเหมืองถ่านหิน โดยในปัจจุบัน Rio Tinto Ltd. ดำเนินการเหมืองถ่านหินหลายเหมือง ทั้งในรัฐควีนส์แลนด์และรัฐนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลีย (ที่มา: http://www.riotintocoalaustralia.com.au/) ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของเครือ Rio Tinto ในการขุดเจาะและจัดหาถ่านหินเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทั้งในการ ผลิตกระแสไฟฟ้าและเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ จึงถือได้ว่าBLCP มีความเสี่ยงที่ค่อนข้างต่ำในด้านการขาดแคลนวัตถุดิบประเภทถ่านหิน 5.4) การสนับสนุนจากกลุ่มผู้ถือหุ้นที่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจผลิตไฟฟ้า ปัจจุบัน BLCP ได้รับการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นใหญ่ 2 กลุ่มได้แก่เครือบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) และเครือ CLP Holdings Limited ซึ่งแต่ละกลุ่มถือหุ้น ในสัดส่วนร้อยละ 50 ของทุนที่ชำระแล้วของ BLCP โดยผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งสอง กลุ่มต่างก็มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจไฟฟ้าและถ่านหิน และที่ผ่านมา สามารถจัดการบริหารการก่อสร้าง การหาแหล่งเงินกู้ และดำเนินการอื่นๆ ในช่วงการเตรียมการของโครงการโรงไฟฟ้า BLCP ให้สำเร็จลุล่วงตาม เงื่อนไขของสัญญาสัมปทานและบริหารต้นทุนโครงการได้ตามแผนงาน แม้ว่าเครือ CLP Holdings Limited จะขายเงินลงทุนใน BLCP ทั้งหมด ให้แก่ EGCOMP เครือ CLP Holdings Limited ยังคงถือหุ้นใน BLCP ทางอ้อมผ่านการถือหุ้นใน EGCOMP และจะยังให้การสนับสนุนทั้งใน ด้านเทคนิคและด้านอื่นๆที่จำเป็นสำหรับการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้า BLCP ให้ประสบความสำเร็จตามที่ได้วางเป้าหมายไว้ 5.5) ความมั่นคงของรายได้ รายได้จากการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าของ BLCP ทั้งหมดเป็นการทำสัญญา ซื้อขายระยะยาวกับทาง กฟผ. มีระยะเวลานาน 25 ปีสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.2575 โดยตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่ BLCP ทำกับกฟผ. BLCP จะได้รับค่าตอบแทนจากการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่กฟผ. บางส่วนในรูปของค่าความพร้อม (Availability Payment) และค่าธรรมเนียม โรงไฟฟ้าเพิ่มเติม (Added Facility Charge) โดยที่กฟผ.จะจ่ายค่าตอบแทน ทั้งสองส่วนให้แก่ BLCP อย่างสม่ำเสมอตามกำหนดระยะเวลา โดยไม่คำนึง ว่ากฟผ.จะสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าหรือไม่ ทำให้รายได้ของ BLCP ในสอง ประเภทดังกล่าวมีความสม่ำเสมอและมั่นคง นอกจากนี้ จากการที่ความ ต้องการใช้กระแสไฟฟ้าจะได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อยจากความผันผวน ของภาวะเศรษฐกิจในระดับมหภาคจะทำให้รายได้ของ BLCP ในรูปค่า พลังงาน (Energy Payment) ค่อนข้างมีความมั่นคง 5.6) ทีมผู้บริหาร ผู้ชำนาญการและช่างเทคนิคซึ่งมีประสบการณ์ ในธุรกิจโรงไฟฟ้า ทีมงานผู้บริหาร ผู้ชำนาญการและช่างเทคนิคของ BLCP ประกอบด้วยชาว ไทยและชาวต่างประเทศซึ่งมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ในการบริหารจัดการ และซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าประเภทต่างๆทั้งในและ ต่างประเทศ ซึ่งน่าจะทำให้เกิดความมั่นใจได้ว่าการบริหารจัดการ โครงการโรงไฟฟ้า BLCP จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ เป็นไปตามข้อกำหนดทางเทคนิคใน PPA 5.7) โรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งสองหน่วยของ BLCP ก่อสร้างโดยผู้รับเหมา ก่อสร้างที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ถ่านหินโรงไฟฟ้าทั้งสองหน่วยของ BLCPได้รับการออกแบบ ก่อสร้าง จัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ที่สำคัญที่ใช้ภายในโรงไฟฟ้า โดยกลุ่ม Mitsubishi Consortium จากประเทศญี่ปุ่น ตามสัญญาการให้บริการ ทางด้านวิศวกรรมและการก่อสร้าง (Engineering Procurement & Construction Contract: EPC) ซึ่งจัดทำขึ้นระหว่างกลุ่ม Mitsubishi Consortium และ BLCP โดยในสัญญา EPC จะแบ่งงานการให้บริการ ทางด้านวิศวกรรมและการก่อสร้างออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ได้แก่ * งานด้านการออกแบบ จัดหาและขนส่งอุปกรณ์และเครื่องมือที่สำคัญ ที่ใช้ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า (Offshore Supply Works) เป็นการให้บริการ โดย M.C.Machinery, Inc. ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งในเครือของ Mitsubishi Corporation * งานด้านการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ การออกแบบ การก่อสร้าง การติดตั้งและการทดสอบการทำงานของโรงไฟฟ้า (Onshore Construction Works) ซึ่งเป็นการให้บริการโดย Mitsubishi Corporation ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของ Mitsubishi Corporation ในด้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าประเภทต่างๆในหลายๆประเทศทั่วโลก ทำให้การดำเนินการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้า BLCP เป็นไปอย่าง ราบรื่นและแล้วเสร็จพร้อมดำเนินการผลิตและจ่ายไฟฟ้าได้ตามกำหนด โดยโรงไฟฟ้าหน่วยที่ 1 ของ BLCP ได้เริ่มจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบส่ง กระแสไฟฟ้าของกฟผ. แล้วตั้งแต่ประมาณกลางเดือนสิงหาคม 2549 ในขณะที่โรงไฟฟ้าหน่วยที่ 2 กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง และคาด ว่าจะเริ่มจ่ายไฟเข้าระบบของกฟผ.ได้ตามกำหนด นอกจากนี้ หลังจากส่ง มอบโรงไฟฟ้าแล้ว ทางกลุ่ม Mitsubishi Consortium จะรับผิดชอบความ เสียหายเนื่องจากวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเสื่อมหรือมีคุณภาพไม่ดีพอ การออกแบบหรือการก่อสร้างโรงไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐานโดยมีสาเหตุ เนื่องมาจากทางกลุ่ม Mitsubishi Consortium เป็นระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่ทางกลุ่ม Mitsubishi Consortium ส่งมอบโรงไฟฟ้าแต่ละ หน่วยให้ BLCP โดยให้บริการซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้นดังกล่าว 1 บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจถ่านหินและไฟฟ้า โดยปัจจุบันเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 2 CLP Holdings Limited ประกอบธุรกิจการเข้าลงทุนในลักษณะ Holding Company ในกิจการที่เกี่ยวกับการผลิตและจำหน่ายกระแส ไฟฟ้าในประเทศต่างๆทั่วเอเชีย เช่น ฮ่องกง จีน ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ปัจจุบัน CLP Holdings Limited จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของฮ่องกง และมีการเข้าร่วมลงทุน ในธุรกิจโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้าพลังน้ำ โรงไฟฟ้าพลังลม และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นต้น (ยังมีต่อ)