21 กุมภาพันธ์ 2550
บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร ประจำปี 2549
บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร
สำหรับผลการดำเนินงาน ประจำปี 2549
สิ้นสุด ณ 31 ธันวาคม 2549
หมายเหตุ: บทรายงานและการวิเคราะห์งบการเงินฉบับนี้ ฝ่ายบริหารได้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอ
ข้อมูลและแสดงวิสัยทัศน์ของฝ่ายบริหารให้ผู้ลงทุนทั่วไปสามารถติดตามและทำความเข้าใจฐานะการเงิน
และผลการดำเนินงานของบริษัทได้ดีขึ้น อันเป็นการส่งเสริมโครงการการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ
คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
อนึ่งเนื่องจากบทรายงานและการวิเคราะห์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอข้อมูลและ
คำอธิบายถึงสถานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งที่นำเสนอนี้อาจ
เปลี่ยนแปลงตามปัจจัยหรือสภาวะแวดล้อมที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ฉะนั้นจึงใคร่ขอให้นักลงทุน
ใช้วิจารณญาณในการพิจารณาใช้ประโยชน์จากเอกสารข้อมูลนี้ และหากมีคำถามหรือข้อสงสัยประการใด
กรุณาติดต่อสอบถามได้ที่ ส่ วนนักลงทุนสัมพันธ์ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
โทร. 02-998-5131-3 หรือ email : ir@egco.com
บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร
1. บทสรุปผู้บริหาร
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ บผฟ. เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระเอกชน (Independent
Power Producer) ซึ่งมีกำลังผลิตติดตั้งตามสัดส่วนการถือหุ้นรวมจำนวน3,133.6 เมกะวัตต์ จาก
โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่และเล็กรวมทั้งสิ้น 13 โรง หลังจากการชำระเงินและรับโอนหุ้นของโรงไฟฟ้า
บีแอลซีพี กำลังการผลิต 1,434 เมกะวัตต์ ในสัดส่วนร้อยละ 50 จาก CLP Power (BLCP) Ltd.
เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2550
สำหรับผลการดำเนินงานของกลุ่ม บผฟ. ในปี 2549 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2549 มีกำไรสุทธิ
ทั้งสิ้น 6,036 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,943 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 48 เมื่อเทียบกับปี 2548 ทั้งนี้หาก
ไม่คำนึงถึงผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว ในปี 2549 บริษัทจะมีกำไรจำนวน 5,270 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากปี 2548 จำนวน 892 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 20 สาเหตุของการเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิ
ก่อนผลกระทบอัตราแลกเปลี่ยนเนื่องจาก
- บผฟ. มีกำไรลดลง 169 ล้านบาท ส่งผลให้ขาดทุนสุทธิ 165 ล้านบาท เนื่องจากรายได้ลดลง
ทั้งสิ้น 85 ล้านบาท สาเหตุหลักจากเงินปันผลรับและรายได้อื่นๆลดลง ประกอบกับค่าใช้จ่าย
ในการบริหารที่เพิ่มขึ้น 84 ล้านบาท สาเหตุหลักเกิดจากค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการน้ำเทิน 1
- กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระเอกชน (ไอพีพี) คือ บริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด (บฟร.) และ
บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด (บฟข.) มีกำไรสุทธิของกลุ่มเท่ากับ 4,928 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 720
ล้านบาท เนื่องจากรายได้ค่าไฟที่เพิ่มขึ้นของ บฟร. และ บฟข.
- กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (เอสพีพี) ประกอบด้วย 5 บริษัท คือ บริษัท กัลฟ์อิเล็คตริก
จำกัด (มหาชน) (จีอีซี) บริษัท อมตะ-เอ็กโก เพาเวอร์ จำกัด (เออีพี) บริษัท อมตะ เพาเวอร์
(บางปะกง) จำกัด (เอพีบีพี) บริษัท ทีแอลพี โคเจเนอเรชั่น จำกัด (ทีแอลพี โคเจน) และ
บริษัท ร้อยเอ็ด กรีน จำกัด (ร้อยเอ็ด กรีน) มีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 126 ล้านบาท
ลดลงทั้งสิ้น 173 ล้านบาท เนื่องจากต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายบริหารและดอกเบี้ยจ่าย ของ จีอีซี ที่เพิ่มขึ้น
- กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าต่างประเทศ ประกอบด้วย บริษัท โคแนล โฮลดิ้ง คอร์ปอเรชั่น (โคแนล)
และ โครงการน้ำเทิน 2 (เอ็นทีพีซี) มีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 119 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 423 ล้านบาท สาเหตุ
หลักเนื่องจากในปี 2549 เอ็นทีพีซีมีขาดทุนสุทธิ จำนวน 29 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2548 มีขาดทุนสุทธิ
455 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการบันทึกค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการจำนวน 280 ล้านบาท
- กลุ่มธุรกิจอื่นๆ ประกอบด้วย บริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (เอสโก) และ
บริษัท เอ็กคอมธารา จำกัด (เอ็กคอมธารา) มีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 262 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 91 ล้านบาท
สาเหตุหลักจากรายได้ค่าบริการที่เพิ่มขึ้นของเอสโก
2. การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติตามแผนการดำเนินธุรกิจ
บผฟ. เป็นบริษัทผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่แห่งแรกของประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นในปี 2535
ในลักษณะบริษัทโฮลดิ้ง ที่มีการลงทุนในบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมต่าง ๆ บผฟ. ดำเนินการภายใต้
วิสัยทัศน์ที่ว่า "เป็นบริษัทไทยชั้นนำที่ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าครบวงจรและครอบคลุมถึงธุรกิจการ
ให้บริการด้านพลังงานทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนด้วยความมุ่งมั่นที่จะธำรงไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อม
และการพัฒนาสังคม"
บผฟ.ดำเนินธุรกิจหลักในการลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ทั้งในประเทศไทย
และภูมิภาคอาเซียน เพื่อผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว โดยมีเป้าหมายในการจัดหาผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนให้แก่
ผู้ถือหุ้นโดยการบริหารจัดการโครงการที่มีอยู่ปัจจุบัน ตลอดจนการสรรหาโครงการที่มีคุณภาพ
และให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต และอยู่ในระดับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้
ณ เดือนธันวาคม 2549 ประเทศไทยมีกำลังผลิตติดตั้งรวมจำนวน 27,107 เมกะวัตต์ /1
ซึ่งประมาณร้อยละ 10.24 ของกำลังผลิตนี้มาจากกำลังผลิตในกลุ่ม บผฟ. โดยในปี 2549 ความต้องการ
พลังไฟฟ้าสูงสุดอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ 21,064 เมกะวัตต์ /1 คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 2.56
เมื่อเทียบกับความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนเมษายนของปี 2548
เนื่องจากการชะลอตัวลงของภาวะเศรษฐกิจ อัตราค่าไฟที่สูงขึ้น และนโยบายส่งเสริม
การประหยัดพลังงานโดยภาครัฐที่ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ส่งผลให้ค่าความต้องการใช้ไฟฟ้า
ที่แท้จริงต่ำกว่าที่พยากรณ์ไว้จากแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าที่ประกาศใช้ในปี 2547 ดังนั้น
คณะทำงานจึงอยู่ระหว่างการปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าใหม่โดยได้จัดเตรียมแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า
ของประเทศระหว่างปี 2550-2564 ขึ้น
สำหรับปี 2550 คาดว่าจะสามารถดำเนินการเปิดประมูลโรงไฟฟ้ารอบใหม่ได้ ซึ่งหากเป็นไป
ตามที่คาดไว้ บผฟ. ได้จัดเตรียมกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมโดยอาศัยความร่วมมือ ตลอดจน
ความชำนาญการของบุคลากรในองค์กรเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดเตรียมสร้างโรงไฟฟ้าที่มี
ประสิทธิภาพเพื่อเข้าร่วมประมูลต่อไป
/1 ที่มา: กฟผ.
ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 บผฟ. มีกำลังผลิตติดตั้งตามสัดส่วนการถือหุ้นรวมจำนวน
3,133.6 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้า 13 โรง โดยกำลังการผลิตติดตั้งส่วนใหญ่มาจากโรงไฟฟ้าของ
บฟร. กำลังผลิตติดตั้ง 1,232 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าของ บฟข. กำลังผลิตติดตั้ง 824 เมกะวัตต์
ซึ่งทั้ง 2 โรงไฟฟ้าดังกล่าวใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก โดยกำลังการผลิตติดตั้งของโรงไฟฟ้า
ทั้งสอง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 66 ของกำลังผลิตติดตั้งรวมของ บผฟ.
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2550 บผฟ. ได้ชำระเงินและรับโอนหุ้น ของโครงการ
โรงไฟฟ้าถ่านหินบีแอลซีพี (BLCP) กำลังการผลิต 1,434 เมกะวัตต์ ในสัดส่วนร้อยละ 50 จาก
CLP Power (BLCP) Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ CLP Holdings Limited โครงการ
ดังกล่าวตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยใช้ถ่านหินคุณภาพดีนำเข้ามาจาก
ประเทศออสเตรเลียเป็นเชื้อเพลิงและได้เริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์หน่วยที่ 1 ในเดือนตุลาคม 2549
และหน่วยที่ 2 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 ที่ผ่านมา ทำให้สัดส่วนกำลังผลิตติดตั้งตามสัดส่วนการ
ถือหุ้นของ บผฟ. เพิ่มขึ้น 717 เมกะวัตต์ หรือคิดเป็นร้อยละ 23 ของกำลังผลิตติดตั้งรวมของ บผฟ.
นอกเหนือจากโรงไฟฟ้าที่มีอยู่นั้น บริษัทกำลังพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าอีก 3 โครงการ
ซึ่งคิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งในส่วนการถือหุ้นของ บผฟ. จำนวนรวม 1,010 เมกะวัตต์ ได้แก่
1. โครงการแก่งคอย 2 (บผฟ. ถือหุ้นร้อยละ 50 ในจีอีซี ซึ่งถือหุ้นในบริษัทที่ดูแลโครงการคือ
บริษัทกัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น (จีพีจี) ร้อยละ 99.99) ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระบุรี กำลังผลิต 1,468
เมกะวัตต์ โดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก โครงการนี้มีกำหนดเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์
โรงที่ 1 และ 2 กำลังผลิต หน่วยละ 734 เมกะวัตต์ ในเดือน มีนาคม 2550 และเดือน มีนาคม 2551
ตามลำดับ ขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จไปประมาณร้อยละ 93
2. โครงการน้ำเทิน 2 (บผฟ. ถือหุ้นร้อยละ 25 ในเอ็นทีพีซี ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการ) ผลิต
กระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีกำลังผลิต
1,070 เมกะวัตต์ มีกำหนดจำหน่ายกระแสไฟฟ้าได้ในเดือนธันวาคม ปี 2552 โดยมีสัญญา
ขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. จำนวน 995 เมกะวัตต์ และขายไฟฟ้าส่วนที่เหลือให้กับรัฐบาลลาว
ความคืบหน้าในการก่อสร้างโครงการปัจจุบันอยู่ที่ประมาณร้อยละ 39
3. โครงการขยายกำลังการผลิตที่ อมตะ เพาเวอร์ บางปะกง (เอพีบีพี) (บผฟ. ถือหุ้น
ร้อยละ 50 ในบริษัท เอ็กโกร่วมทุนและพัฒนา จำกัด ซึ่งถือหุ้นใน เอพีบีพี ร้อยละ 30
โดยมีผู้ร่วมทุนอีกราย คือบริษัท เชฟรอน บางปะกง เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็น
บริษัทย่อยของ Chevron Corporation of the USA) กำลังการผลิต 55 เมกะวัตต์
ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าจำหน่ายให้กับลูกค้าภายในนิคมอุตสาหกรรม
อมตะนคร โครงการนี้ได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2548 และมีกำหนดเริ่มเดินเครื่องเชิง
พาณิชย์ในไตรมาสแรกของปี 2550 ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างซึ่งมีความคืบหน้าไปแล้ว
ประมาณร้อยละ 96
ในส่วนนโยบายการจ่ายเงินปันผลนั้น บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตรา
ร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้ หรือ ในจำนวนที่ทยอยเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
หากไม่มีเหตุจำเป็นอื่นใด เช่น การขยายธุรกิจของบริษัทในโครงการต่าง ๆ ในอนาคต หรือ
การจ่ายเงินปันผลที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานปกติของบริษัทอย่างมีสาระสำคัญ
3. รายงานและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
โครงสร้างการดำเนินธุรกิจ ของ บผฟ. อยู่ในรูปของบริษัทโฮลดิ้ง เพื่อให้แต่ละบริษัทดำเนิน
ธุรกิจด้านการผลิตไฟฟ้าหรือธุรกิจเกี่ยวเนื่องได้อย่างอิสระต่อกัน โดย บผฟ. มีรายได้หลัก คือเงินปันผล
ที่มาจากกำไรของบริษัทย่อย บริษัทร่วม และส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า การจัดโครงสร้างดังกล่าว
มีวัตถุประสงค์เพื่อได้รับความสะดวกในการขยายกิจการ และเพิ่มความสามารถในการระดมเงินกู้
สำหรับโครงการใหม่ โดยไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อโครงการเก่า
ในไตรมาสที่ 3 ปี 2548 เอ็นทีพีซี ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในประเทศสาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว และ บผฟ. ได้ทำสัญญาให้การสนับสนุนทางการเงินในรูป Standby
Letters of Credit (SBLC) สำหรับส่วนของผู้ถือหุ้นที่ บผฟ. จะลงทุนในเอ็นทีพีซีจำนวน 94 ล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นเงินลงทุนใน เอ็นทีพีซี ได้นำมาจัดทำงบการเงินรวมระหว่างกาลตามวิธีรวม
ตามสัดส่วน เนื่องจากงบการเงินของกิจการร่วมค้าดังกล่าวมีนัยสำคัญต่อกลุ่มบริษัทตั้งแต่
ไตรมาสที่ 3 ปี 2548
ฝ่ายบริหารจึงขอแสดงรายงานวิเคราะห์งบการเงินรวมของ บผฟ. และบริษัทย่อย เพื่อให้เห็น
ถึงภาพรวมที่ชัดเจนของผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
3.1 สรุปผลการดำเนินงาน
กำไรสุทธิของกลุ่ม บผฟ. ประจำปี 2549 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 เป็นจำนวน
ทั้งสิ้น 6,036 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,943 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 48 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2548 โดย
มีกำไรขั้นต้นจำนวน 9,060 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,189 ล้านบาท หรือร้อยละ 15 สาเหตุหลักจากรายได้
ค่าไฟฟ้าของ บฟร. และ บฟข. ที่เพิ่มขึ้น และมีกำไรจากการดำเนินงานจำนวน 9,158 ล้านบาท
เพิ่มขึ้น 2,494 ล้านบาท หรือร้อยละ 37 เนื่องจากรายได้ค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นจากอัตราค่าไฟ กำไรจาก
อัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มขึ้นจากการแข็งค่าของเงินบาทและดอกเบี้ยรับที่เพิ่มขึ้นจากการปรับตัวขึ้น
ของอัตราดอกเบี้ย
หน่วย:ล้านบาท
กำไรสุทธิ ปี 2549 กำไรสุทธิ ปี 2548
ก่อน FX หลัง FX ก่อน FX หลัง FX
บผฟ. (165) (165) 4 57
กลุ่มธุรกิจไอพีพี 4,928 5,480 4,208 3,973
กลุ่มธุรกิจเอสพีพี 126 563 299 199
กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าต่างประเทศ 119 (107) (304) (304)
กลุ่มธุรกิจอื่นๆ 262 264 170 169
หมายเหตุ: - ไอพีพี ประกอบด้วย บฟร. บฟข.
- เอสพีพี ประกอบด้วย จีอีซี เออีพี เอพีบีพี ทีแอลพี โคเจน ร้อยเอ็ด กรีน
- ต่างประเทศ ประกอบด้วย โคแนล เอ็นทีพีซี
- อื่นๆ ประกอบด้วย เอสโก เอ็กคอมธารา
ในปี 2549 กลุ่ม บผฟ. มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 766 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบ
กับปี 2548 ซึ่ง กลุ่ม บผฟ. มีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 285 ล้านบาท ทั้งนี้กำไร
จากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจำนวน 691 ล้านบาทเป็นตัวเลขทางบัญชี เพื่อให้เป็นไปตาม
มาตรฐานการบัญชีไทย ซึ่งเกิดขึ้นจากผลต่างของการแปลงมูลค่าหนี้คงค้างสุทธิเฉพาะที่เป็นเงิน
ตราสกุลต่างประเทศกลับมาเป็นเงินตราสกุลบาท ณ วันสิ้นสุดงวดของบัญชีปัจจุบัน (วันที่ 31
ธันวาคม 2549) กับงวดก่อนหน้านี้ (วันที่ 31 ธันวาคม 2548)
หากไม่คำนึงถึงผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว ในปี 2549 บริษัทจะมีกำไรจำนวน
5,270 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 จำนวน 892 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 20
นอกจากนี้หากไม่คำนึงถึงกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 766 ล้านบาท ดอกเบี้ยจ่าย
จำนวน 1,557 ล้านบาท ภาษีเงินได้จำนวน 1,277 ล้านบาท และค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย
ต่างๆ จำนวน 2,806 ล้านบาท กำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย
ต่างๆ (EBITDA) ของกลุ่ม บผฟ. ในปี 2549 จะเป็นจำนวน 10,910 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
1,130 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับกำไรของกลุ่ม บผฟ. ในปี 2548 จำนวน
9,780 ล้านบาท ซึ่งไม่รวมผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 285 ล้านบาท ดอกเบี้ยจ่าย
จำนวน 1,859 ล้านบาท ภาษีเงินได้จำนวน 475 ล้านบาท และค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย
ต่างๆ จำนวน 3,067 ล้านบาท
อัตราส่วนแสดงความสามารถในการหากำไร (Profitability Ratio) มีดังนี้
- อัตรากำไรขั้นต้นเท่ากับร้อยละ 50.28
- อัตรากำไรจากการดำเนินงานเท่ากับร้อยละ 50.82
- อัตรากำไรสุทธิเท่ากับร้อยละ 31.66
- อัตรากำไรสุทธิ (ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน) เท่ากับร้อยละ 27.64
- กำไรสุทธิ ต่อหุ้น เท่ากับ 11.46 บาท
- กำไรสุทธิ (ที่ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน) ต่อหุ้น เท่ากับ 10.01 บาท
- อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นเท่ากับร้อยละ 18.17
อัตรากำไรขั้นต้น เท่ากับร้อยละ 50.28 นั้นสูงกว่า ปี 2548 เล็กน้อยซึ่งเท่ากับร้อยละ 49.13
สำหรับอัตรากำไรสุทธิ (ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน) เท่ากับร้อยละ 27.64 นั้นสูงกว่า
ปี 2548 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 25.98 ส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มขึ้นของกำไรสุทธิของ บฟร. และ บฟข.
ประกอบกับค่าใช้จ่ายของ เอ็นทีพีซี ซึ่งลดลง
3.2 การวิเคราะห์รายได้และค่าใช้จ่าย
ผลการดำเนินงานในปี 2549 (ที่ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนและกำไรสุทธิของ
ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย) รายได้รวมของ บผฟ. บริษัทย่อย กิจการร่วมค้า ส่วนแบ่งกำไรในเงินลงทุน
ในบริษัทร่วมและส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า มีจำนวนทั้งสิ้น 19,067 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบ
กับปี 2548 เพิ่มขึ้นจำนวน 2,214 ล้านบาท หรือร้อยละ 13 ส่วนค่าใช้จ่ายรวมของ บผฟ.
บริษัทย่อย และกิจการร่วมค้า มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 13,466 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,254
ล้านบาท หรือ ร้อยละ 10 โดยมีรายละเอียดแบ่งตามกลุ่มธุรกิจ ดังต่อไปนี้
รายได้และค่าใช้จ่ายรวม หน่วย : ล้านบาท
บผฟ. ไอพีพี เอสพีพี
2549 2548 2549 2548 2549 2548
รายได้รวม 393 478 11,053 9,572 5,853 5,287
ค่าใช้จ่ายรวม 558 474 6,125 5,364 5,597 4,917
ต่างประเทศ อื่นๆ รวม
2549 2548 2549 2548 2549 2548
รายได้รวม 765 847 1,004 669 19,067 16,854
ค่าใช้จ่ายรวม 484 990 703 468 13,466 12,212
1) บผฟ. มีรายได้ในปี 2549 รวมจำนวน 393 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินปันผลรับจากการ
ลงทุนทางการเงิน 168 ล้านบาท ดอกเบี้ยรับ 163 ล้านบาท และ รายได้อื่นๆ 62 ล้านบาท ทั้งนี้รายได้
รวมของ บผฟ. ลดลงจากปี 2548 ทั้งสิ้น 85 ล้านบาท หรือร้อยละ 18 สาเหตุหลักมาจากรายได้อื่นๆ
ลดลง 79 ล้านบาท หรือร้อยละ 56 เนื่องจากค่าชดเชย Internal Development Cost สุทธิของ
โครงการน้ำเทิน 2 ซึ่ง บผฟ. รับรู้เพิ่มขึ้นอีกในปี 2549 จำนวนสุทธิทั้งสิ้น 29 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2548
มีการรับรู้ค่า Internal Development Cost สุทธิ 110 ล้านบาทซึ่งเป็นไปตาม Shareholders'
Agreement สำหรับเงินปันผลรับจากการลงทุนทางการเงินลดลงทั้งสิ้น 73 ล้านบาท คิดเป็น
ร้อยละ 30 ในขณะที่ดอกเบี้ยรับเพิ่มขึ้น 67 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 70 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
ทั้งนี้รายได้หลักส่วนใหญ่ของ บผฟ. ในปี 2549 ยังคงมาจากเงินปันผลรับจากการลงทุน
ทางการเงินคือกองทุนเปิดกรุงไทยหุ้นผสมตราสารหนี้ปันผล (เคทีเอสเอฟ) จำนวน 130 ล้านบาท
ลดลง 1 ล้านบาท เงินปันผลรับจากบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด
(มหาชน) หรือ อีสท์ วอเตอร์ จำนวน 31 ล้านบาท ลดลง 61 ล้านบาท และเงินปันผลรับจากกองทุน
เปิดอื่นๆ 8 ล้านบาท ลดลง 11 ล้านบาท
ส่วนค่าใช้จ่ายของ บผฟ. รวมทั้งสิ้น 558 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 84 ล้านบาท หรือร้อยละ 18
เมื่อเทียบกับปี 2548 สาเหตุหลักมาจากค่าใช้จ่ายพัฒนาโครงการ (Historical Development Cost)
ของโครงการน้ำเทิน 1 จำนวน 47 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมของ SBLC สำหรับส่วนของผู้ถือหุ้น
ที่จะต้องลงทุนในเอ็นทีพีซี จำนวน 10 ล้านบาท และเงินบริจาคสำหรับงานฉลองสิริราชสมบัติครบ
60 ปี และงานราชพฤกษ์ 2549 จำนวน 9 ล้านบาท
2) กลุ่มธุรกิจไอพีพี คือ บฟร. และ บฟข. มีรายได้รวมทั้งสิ้นจำนวน 11,053 ล้านบาท
เพิ่มขึ้น 1,480 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับ ปี 2548 และมีค่าใช้จ่าย จำนวน 6,125
ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 760 ล้านบาท หรือร้อยละ 14 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
รายได้และค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจไอพีพี: หน่วย : ล้านบาท
บฟร. บฟข. รวม
2549 2548 2549 2548 2549 2548 %เปลี่ยนแปลง
รายได้รวม 5,630 5,131 5,422 4,441 11,053 9,572 15%
ค่าใช้จ่ายรวม 2,943 2,872 3,182 2,493 6,125 5,364 14%
- รายได้ค่าไฟของกลุ่ม จำนวนรวม 10,665 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 จำนวน 1,287
ล้านบาท หรือร้อยละ 14 โดยแบ่งเป็นรายได้ค่าไฟของ บฟร. จำนวน 5,392 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 353
ล้านบาท เนื่องจากอัตราค่าไฟ (Capacity Rate) ที่เพิ่มขึ้น และ รายได้ค่าไฟ บฟข. จำนวน
5,273 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 934 ล้านบาท เนื่องจากอัตราค่าไฟ (Base Availability Credit)
ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสูตรค่าพลังไฟฟ้า ในลักษณะ "Cost Plus" หรือต้นทุนบวกกำไร
ส่วนเพิ่มที่ให้แก่ผู้ประกอบการภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) และเป็นไปตามที่ได้ประมาณการ
ไว้แล้ว
รายได้ค่าไฟฟ้ากลุ่มธุรกิจไอพีพี: หน่วย : ล้านบาท
2549 2548 %เปลี่ยนแปลง
บฟร. 5,392 5,039 7%
บฟข. 5,273 4,339 22%
รวมรายได้ค่าไฟฟ้า-ไอพีพี 10,665 9,378 14%
สัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าในแต่ละปีเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายคงที่คือ
ค่าชำระหนี้และค่าบำรุงรักษาหลัก ซึ่งจะใช้อัตราดังกล่าวตามที่ได้ตกลงในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
ในการคำนวณค่าไฟฟ้าในแต่ละงวด นอกจากนั้น ในการคำนวณรายได้ค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า
ได้รับการปรับเพื่อชดเชยผลกระทบที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับภาระค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมเงิน
และค่าอะไหล่ที่ใช้ในการบำรุงรักษาหลักที่เป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง บฟร. และ บฟข. จะได้รับ
การชดเชยทุกเดือนตามงวดกำหนดชำระค่าไฟฟ้า โดยจะได้รับค่าพลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากที่เคยกำหนด
ไว้ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าก่อนการเพิ่มเติมเงื่อนไขการปรับตามอัตราแลกเปลี่ยน เมื่ออัตราแลกเปลี่ยน
สูงกว่าระดับ 28 บาท ต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ และได้รับค่าพลังไฟฟ้าลดลงเมื่ออัตราแลกเปลี่ยน
ต่ำกว่าระดับ 28 บาท ต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ รายได้ค่าไฟฟ้าจากบริษัทย่อยหลักได้
รวมส่วนค่าไฟฟ้าที่ได้รับชดเชยผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงิน 810 ล้านบาท สำหรับปี 2549
- รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 388 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 194 ล้านบาท
หรือร้อยละ 100 สาเหตุหลักจากดอกเบี้ยรับของ บฟร. ที่เพิ่มขึ้นจำนวน 143 ล้านบาท จากจำนวน
เงินฝากที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเพิ่มทุนใน บฟร. ของ บผฟ. ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ทั้งนี้
บฟร. ได้ทำการลดทุนจดทะเบียนจากเดิม 9,220 ล้านบาท เป็น 4,702 ล้านบาท เมื่อเดือนธันวาคม
2549 สำหรับดอกเบี้ยรับของ บฟข. เพิ่มขึ้น 47 ล้านบาท เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น อีกทั้ง
รายได้อื่นๆของ บฟร. และ บฟข. เพิ่มขึ้น 4 ล้านบาท
- ต้นทุนขาย จำนวน 3,548 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ทั้งสิ้น 280 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 9 สาเหตุหลักจาก บฟข. มีต้นทุนขายเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 378 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 26 เมื่อ
เทียบกับปี 2548 เนื่องจากมีงานซ่อมบำรุงรักษาหลักตามที่กำหนดไว้ ในขณะที่ บฟร. มีต้นทุนขาย
ลดลง 98 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปี 2548 เนื่องจากในปี 2548 บฟร.มีค่า
บำรุงรักษาการเปลี่ยนทดแทนเพลากังหันไอน้ำที่ชำรุด
ต้นทุนขายกลุ่มธุรกิจไอพีพี: หน่วย : ล้านบาท
2549 2548 %เปลี่ยนแปลง
บฟร. 1,737 1,834 (5%)
บฟข. 1,811 1,434 26%
รวมต้นทุนขาย-ไอพีพี 3,548 3,268 9%
- ค่าใช้จ่ายในการบริหารและภาษี จำนวน 1,525 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 886
ล้านบาท หรือ ร้อยละ 139 สาเหตุหลักจาก บฟข. ได้เริ่มเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจำนวน 521
ล้านบาท ทั้งนี้การที่ บฟข. ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่มีกำหนด 8 ปีนับจากวันที่เริ่มมีรายได้
จากการประกอบกิจการนั้นได้สิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2547 และหลังจากนั้นจนถึงสิ้นปี 2548
บฟข. ได้ใช้ผลขาดทุนสะสมทางภาษียกมาจนหมด และตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นไป บฟข. เริ่มเสียภาษี
เงินได้นิติบุคคลโดยได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้รับจากการลงทุนในอัตรา
ร้อยละ 50 ของอัตราปกติ ระยะลดหย่อนภาษีอีก 5 ปีนี้จะสิ้นสุด ณ วันที่ 25 กันยายน 2552
สำหรับค่าใช้จ่ายในการบริหารของ บฟร. เพิ่มขึ้น 209 ล้านบาท สาเหตุหลักจากค่าใช้จ่าย
สำหรับการชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาวก่อนครบกำหนดจำนวน 193 ล้านบาท ส่วนภาษีเงินได้นิติบุคคล
ของ บฟร. เพิ่มขึ้น 188 ล้านบาท เนื่องจากความสามารถในการทำกำไรที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ บฟร. ได้รับ
ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้รับจากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตรา
ปกติ เป็นเวลา 5 ปี และจะสิ้นสุด ณ วันที่ 19 เมษายน 2551
- ดอกเบี้ยจ่าย จำนวนรวมทั้งสิ้น 1,051 ล้านบาท ลดลงจากปี 2548 จำนวน 406 ล้านบาท
หรือ ร้อยละ 28 แบ่งเป็นการลดลงจาก บฟร. และ บฟข. จำนวน 228 ล้านบาท และ 178 ล้านบาท
ตามลำดับ เนื่องจากจำนวนเงินต้นของเงินกู้และหุ้นกู้ลดลง
3) กลุ่มธุรกิจเอสพีพี ประกอบด้วย 5 บริษัท คือ จีอีซี เออีพี เอพีบีพี ทีแอลพี โคเจน และ
ร้อยเอ็ด กรีน ในปี 2549 มีรายได้รวมทั้งสิ้นจำนวน 5,853 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปี 2548 จำนวน
566 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 11 และมีค่าใช้จ่ายรวม จำนวน 5,597 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548
จำนวน 680 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 14 โดยมีรายละเอียดดังนี้
รายได้และค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจเอสพีพี: หน่วย : ล้านบาท
จีอีซี ทีแอลพี โคเจน เอพีบีพี
2549 2548 2549 2548 2549 2548
รายได้รวม 3,217 3,034 1,985 1,738 405 314
ค่าใช้จ่ายรวม 3,498 3,032 1,648 1,436 308 310
ร้อยเอ็ด กรีน รวม
2549 2548 2549 2548 %เปลี่ยนแปลง
รายได้รวม 246 202 5,853 5,287 11%
ค่าใช้จ่ายรวม 143 139 5,597 4,917 14%
- รายได้ค่าไฟฟ้าของกลุ่มธุรกิจเอสพีพี เป็นจำนวนรวม 5,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี
2548 จำนวน 512 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 10 รายได้ค่าไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นมาจาก ทีแอลพี
โคเจน เพิ่มขึ้น 235 ล้านบาท เนื่องจากรายได้จากการขายไฟฟ้าให้แก่ กฟผ. และลูกค้าในนิคม
อุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากปริมาณการจำหน่ายและอัตราค่าไฟที่เพิ่มขึ้น และ จีอีซี เพิ่มขึ้น
151 ล้านบาท เนื่องจากมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเรียกกำลังการผลิตสำหรับความต้องการไฟฟ้า
สูงสุดจาก กฟผ. นอกจากนั้นรายได้ค่าไฟฟ้าของเอพีบีพีแสดงการเพิ่มขึ้น 81 ล้านบาท เมื่อ
เปรียบเทียบกับปี 2548 ซึ่งกำลังการผลิตลดลงเนื่องจากการชำรุดของอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน
ของเครื่องจักรผลิตไฟฟ้า และร้อยเอ็ด กรีนมีรายได้เพิ่มขึ้น 45 ล้านบาท จากค่าพลังไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
เนื่องจากราคาน้ำมันเตาที่สูงขึ้นซึ่งสัมพันธ์กับสูตรค่าไฟ ส่งผลให้รายได้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น
รายได้ค่าไฟฟ้ากลุ่มธุรกิจเอสพีพี: หน่วย : ล้านบาท
2549 2548 %เปลี่ยนแปลง
จีอีซี 3,168 3,017 5%
ทีแอลพี โคเจน 1,962 1,727 14%
(ยังมีต่อ)