21 กุมภาพันธ์ 2550
ทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร ประจำปี 2549
เอพีบีพี 338 257 31%
ร้อยเอ็ด กรีน 233 187 24%
รวมรายได้ค่าไฟฟ้า-เอสพีพี 5,700 5,188 10%
- รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 111 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38 ล้านบาท
หรือร้อยละ 51ส่วนใหญ่จากรายได้จากดอกเบี้ยรับของ จีอีซี เพิ่มขึ้น 30 ล้านบาท และดอกเบี้ยรับ
ของ ทีแอลพีโคเจน เพิ่มขึ้น 12 ล้านบาท เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ในขณะที่รายได้อื่นๆของ
เอพีบีพี ลดลง 6 ล้านบาท เนื่องจากในปี 2548ได้รับเงินชดเชยจากบริษัทประกันภัย และรายได้อื่นๆ
ของ ร้อยเอ็ดกรีน ลดลง 5 ล้านบาท เนื่องจากรายได้จากการขายชานอ้อยและขี้เถ้าแกลบลดลง
- ส่วนแบ่งผลกำไรจากบริษัทร่วม คือ เออีพี จำนวน 42 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16
ล้านบาท หรือร้อยละ 60 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2548 เนื่องจากรายได้จากการขายไฟฟ้าให้แก่
กฟผ. และลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น
- ต้นทุนขาย จำนวน 4,654 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปี 2548 จำนวน 454 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 11 สาเหตุหลักจากต้นทุนขายของ ทีแอลพี โคเจน เพิ่มขึ้น 228 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณ
การใช้และราคาเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ส่วนต้นทุนขายของ จีอีซี ที่เพิ่มขึ้น 224 ล้านบาท มีสาเหตุจากค่า
บำรุงรักษาหลักที่เพิ่มขึ้นประกอบกับค่าบำรุงรักษาที่เพิ่มขึ้นจากการซ่อมชิ้นส่วนของกังหันแก๊ส และ
ต้นทุนขายของเอพีบีพีเพิ่มขึ้น 1 ล้านบาท และต้นทุนขายของร้อยเอ็ด กรีน เพิ่มขึ้น 1 ล้านบาท เช่นกัน
ต้นทุนขายกลุ่มธุรกิจเอสพีพี: หน่วย : ล้านบาท
2549 2548 %เปลี่ยนแปลง
จีอีซี 2,727 2,503 9%
ทีแอลพี โคเจน 1,541 1,313 17%
เอพีบีพี 272 271 0.19%
ร้อยเอ็ด กรีน 114 113 1%
รวมต้นทุนขาย-เอสพีพี 4,654 4,200 11%
- ค่าใช้จ่ายในการบริหารและภาษี จำนวน 511 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนจำนวน 122
ล้านบาท หรือ ร้อยละ 31 สาเหตุหลักจากค่าใช้จ่ายในการบริหารและภาษี ของ จีอีซี จำนวน 462
ล้านบาท เพิ่มขึ้น 126 ล้านบาท ส่วนใหญ่เนื่องจากค่าธรรมเนียมในการ Prepayment เงินกู้
และค่าธรรมเนียมในการ Refinance เงินกู้ของบริษัทย่อยของ จีอีซี 3 บริษัท คือ บริษัท กัลฟ์
โคเจนเนอเรชั่น จำกัด (จีซีซี) บริษัท หนองแค โคเจนเนอเรชั่น จำกัด (เอ็นเคซีซี) และ บริษัท
สมุทรปราการ โคเจนเนอเรชั่น จำกัด (เอสซีซี)
- ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 432 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 จำนวน 104 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 32 สาเหตุหลักมาจาก ดอกเบี้ยจ่ายของ จีอีซี ที่เพิ่มขึ้นจำนวน 116 ล้านบาท เนื่องจากค่า
Unwind cost ของสัญญา Interest Rate Swap และการเบิกเงินกู้เพื่อใช้ในการบริหารงาน
ของโครงการแก่งคอย 2 สำหรับดอกเบี้ยจ่ายของทีแอลพี โคเจน และ ร้อยเอ็ด กรีน ลดลง 12
ล้านบาท และ 2 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากจำนวนเงินต้นลดลง
4) กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าต่างประเทศ ประกอบด้วย โคแนล และ เอ็นทีพีซี มีรายได้รวม
765 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน จำนวน 83 ล้านบาท หรือร้อยละ 10 ส่วนค่าใช้จ่ายรวมของกลุ่มเป็น
จำนวน 484 ล้านบาท ลดลงจากปี 2548 จำนวน 506 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 51
รายละเอียดดังต่อไปนี้
รายได้และค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจผู้ผลิตโรงไฟฟ้าต่างประเทศ: หน่วย : ล้านบาท
โคแนล เอ็นทีพีซี รวม
2549 2548 2549 2548 2549 2548 %เปลี่ยนแปลง
รายได้รวม 762 844 3 3 765 847 (10%)
ค่าใช้จ่ายรวม 452 533 31 458 484 990 (51%)
- รายได้ค่าไฟฟ้า จำนวน 676 ล้านบาท ลดลงจากปี 2548 จำนวน 126 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 16 ซึ่งเกิดจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ลดลงเนื่องจากการโอนโรงไฟฟ้าจำนวน 40 เมกะวัตต์
ของ เอ็นเอ็มพีซี ให้แก่ เอ็นพีซี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งเป็นไปตามสัญญาที่กำหนดไว้
- รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 88 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 43 ล้านบาท หรือ
คิดเป็นร้อยละ 95 ส่วนใหญ่มาจากรายได้อื่นที่เกิดขึ้นจากภาษีซื้อ (Input VAT) ของ โคแนลที่
เพิ่มขึ้น
- ต้นทุนขาย จำนวน 153 ล้านบาท ลดลงจากปี 2548 จำนวน 141 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 48 เนื่องจากการโอนโรงไฟฟ้าของเอ็นเอ็มพีซี
- ค่าใช้จ่ายในการบริหารและภาษี จำนวน 259 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน จำนวน 369
ล้านบาท หรือ ร้อยละ 59 สาเหตุหลักมาจาก เอ็นทีพีซี ซึ่งได้เปลี่ยนมาใช้การบันทึกบัญชีวิธีรวม
ตามสัดส่วน ทำให้เริ่มต้นบันทึกค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการน้ำเทิน 2 ใน ปี 2548 จำนวน
458 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการจำนวน 280 ล้านบาท สำหรับปี 2549
เอ็นทีพีซี มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการน้ำเทิน 2 จำนวน 31 ล้านบาท นอกจากนั้นค่าใช้จ่าย
ในการบริหารของโคแนลลดลง 14 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับการโอนโรงไฟฟ้าของเอ็นเอ็มพีซี
ในขณะที่ภาษีเงินได้ของโคแนลเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 74 ล้านบาท เนื่องจากในปี 2548 มีการปรับปรุง
ภาษีเงินได้รอการตัดจ่าย
- ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 72 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 3 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 5
5) กลุ่มธุรกิจอื่นๆ ประกอบด้วย 2 บริษัทย่อยคือ เอสโก และ เอ็กคอมธารา มีรายได้
รวมทั้งสิ้น 1,004 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 จำนวน 335 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 50 และมี
ค่าใช้จ่ายรวมจำนวน 703 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 235 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 50
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
รายได้และค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจอื่นๆ: หน่วย: ล้านบาท
เอสโก เอ็กคอมธารา รวม
2549 2548 2549 2548 2549 2548 %เปลี่ยนแปลง
รายได้รวม 804 497 201 172 1,004 669 50%
ค่าใช้จ่ายรวม 640 405 63 63 703 468 50%
- รายได้ค่าบริการของเอสโก จำนวน 788 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 จำนวน 301
ล้านบาท หรือ ร้อยละ 62 สาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของการให้บริการบำรุงรักษาและขายอุปกรณ์
เครื่องจักรในการผลิตไฟฟ้าระหว่างเอสโก กับ โรงไฟฟ้าเอลกาลี 2 ประเทศซูดาน
- รายได้ค่าน้ำ ของเอ็กคอมธารา จำนวน 192 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปี 2548 จำนวน
24 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 14 เนื่องจากปริมาณน้ำประปาขั้นต่ำ (Minimum Take) และอัตราค่าน้ำ
ที่เพิ่มขึ้นตามสัญญาระยะยาวกับการประปาส่วนภูมิภาค
- รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 23 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9 ล้านบาท หรือ
คิดเป็นร้อยละ 61 ส่วนใหญ่มาจากดอกเบี้ยรับที่เพิ่มขึ้นของ เอ็กคอมธารา 5 ล้านบาท และเอสโก 4
ล้านบาท เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
- ส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า ของเอสโก จำนวน 2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1 ล้านบาท จากบริษัท
อมตะ เพาเวอร์-เอสโก เซอร์วิส จำกัด (อเมสโก)
- ต้นทุนบริการ จำนวน 547 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 จำนวน 212 ล้านบาท หรือร้อยละ
63 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการให้บริการบำรุงรักษาและต้นทุนอุปกรณ์เครื่องจักรของ
เอสโก ซึ่งสอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น
- ต้นทุนขายน้ำประปา จำนวน 59 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 4 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 7 มาจาก เอ็กคอมธารา เนื่องจากค่าจ้างผลิตน้ำประปาและบำรุงรักษาระบบผลิตและ
ท่อส่งน้ำประปาเพิ่มขึ้น
- ค่าใช้จ่ายในการบริหารและภาษี จำนวน 95 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 22
ล้านบาท หรือ ร้อยละ 31 เนื่องจากภาษีเงินได้และค่าใช้จ่ายในการบริหารของเอสโกที่เพิ่มขึ้น
- ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 3 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน จำนวน 3 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 54
เนื่องจากเงินต้นคงเหลือของเงินกู้ของ เอ็กคอมธารา ลดลง
4. รายงานและวิเคราะห์ฐานะการเงิน
4.1 การวิเคราะห์สินทรัพย์
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บผฟ. บริษัทย่อย และกิจการร่วมค้า มีสินทรัพย์รวมจำนวน
71,886 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10,636 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 17 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2548
โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้
1) เงินสด เงินฝากสถาบันการเงิน เงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด
ทั้งระยะสั้นและระยะยาว จำนวน 9,633 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13 ของสินทรัพย์รวม
ลดลง 2,780 ล้านบาท หรือร้อยละ 22 สาเหตุหลักจาก เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดลดลง
2,972 ล้านบาท เนื่องจากการจ่ายทดรองค่าหุ้นเพิ่มทุนใน BLCP ให้กับ CLP Power (BLCP) Ltd
ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ CLP Holdings Limited จำนวน 2 พันล้านบาท และการชำระหนี้เงินกู้
ทั้งหมดที่มีกับสถาบันการเงินต่างประเทศก่อนครบกำหนดของ บฟร. จำนวน 78 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ
เทียบเท่าเงินบาท 3,222 ล้านบาท ในขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินและหลักทรัพย์ในความต้องการ
ตลาดระยะสั้นเพิ่มขึ้น 99 ล้านบาท เงินลงทุนระยะยาวในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดและ
เงินลงทุนอื่นๆ เพิ่มขึ้น 93 ล้านบาท
2) เงินลงทุนระยะสั้นและระยะยาวที่ใช้เป็นหลักประกัน จำนวน 4,466 ล้านบาท คิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 6 ของสินทรัพย์รวม ลดลง 10 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.21 เนื่องจาก บฟร.
ได้จ่ายชำระคืนเงินกู้ยืมทั้งจำนวนจึงไม่ต้องสำรองเงินในบัญชีหลักประกัน ในขณะที่บริษัทย่อยของ จีอีซี
ต้องสำรองเงินภายใต้สัญญาเงินกู้ยืมและการออกหุ้นกู้เพิ่มขึ้น
3) เงินลงทุนในบริษัทร่วมและส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า จำนวน 7,083 ล้านบาท
คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10 ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น 6,680 ล้านบาท สาเหตุหลักเนื่องจาก บผฟ.
ได้รับรู้รายการซื้อเงินลงทุนใน BLCP จำนวน 6,645 ล้านบาท ประกอบกับการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจาก เออีพี
การที่ บผฟ. ได้รับรู้รายการซื้อเงินลงทุนใน BLCP จำนวน 6,645 ล้านบาทนั้นเพราะว่าคู่สัญญา
ได้มีการปฏิบัติตามเงื่อนไขบังคับก่อนตามที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายหุ้นครบถ้วนแล้วเป็นส่วนใหญ่ในปี 2549
ยกเว้นการโอนหุ้นตามกฎหมายและการได้รับหนังสือแสดงความยินยอมจากเจ้าหนี้เงินกู้อย่างเป็นทางการ
ที่เกิดขึ้นในเดือน มกราคม 2550 บผฟ.จึงถือว่าการซื้อขายได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ในปี 2549 อย่างไรก็ตาม
บผฟ.ยังไม่ได้นำงบการเงินของ BLCP มาจัดทำงบการเงินรวมตามสัดส่วน เนื่องจาก บผฟ. จะมี
อำนาจควบคุมร่วมอย่างสมบูรณ์ใน BLCP ในปี 2550
4) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์สุทธิ จำนวน 41,247 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 57 ของ
สินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้นสุทธิทั้งสิ้น 6,498 ล้านบาท หรือร้อยละ 19 สินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจาก
การก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมของ จีอีซี (จีพีจี และ จีวายจี) เอ็นทีพีซี และ เอพีบีพี จำนวน 7,520
ล้านบาท 1,140 ล้านบาท และ 180 ล้านบาท ตามลำดับ และการบันทึกวัสดุสำรองหลักเป็น
สินทรัพย์เนื่องจากการซ่อมบำรุงรักษาของ บฟร. บฟข. และ ทีแอลพี โคเจน จำนวน 301 ล้านบาท
396 ล้านบาท และ 40 ล้านบาท ตามลำดับ
ในขณะที่มีการตัดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ บผฟ. และบริษัทย่อยอื่นๆ จำนวน 2,555
ล้านบาท และการโอนวัสดุสำรองหลักที่ไม่ได้ใช้งานออกไปยังวัสดุสำรองคลังของ บฟร. บฟข.
และ ทีแอลพี โคเจน จำนวน 211 ล้านบาท 207 ล้านบาท และ 35 ล้านบาท ตามลำดับ
5) สินทรัพย์อื่นๆ จำนวน 9,458 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13 ของสินทรัพย์รวม
เพิ่มขึ้น 248 ล้านบาท หรือร้อยละ 3 สาเหตุหลักเนื่องจากสินทรัพย์หมุนเวียนอื่นๆ เพิ่มขึ้น
167 ล้านบาท สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นๆสุทธิเพิ่มขึ้น 166 ล้านบาท ลูกหนี้การค้ากิจการที่
เกี่ยวข้องกัน (ค่าไฟฟ้าจาก กฟผ.) เพิ่มขึ้น 117 ล้านบาท ในขณะที่วัสดุสำรองคลังสุทธิ
ลดลง 171 ล้านบาท
4.2 การวิเคราะห์หนี้สิน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 บริษัทมีหนี้สินรวม จำนวน 35,302 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,166
ล้านบาท หรือร้อยละ 21 เนื่องจาก การบันทึกรายการเจ้าหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกันเพิ่มขึ้นจาก
เงินลงทุนในกิจการร่วมค้า BLCP จำนวน 4,645 ล้านบาท ประกอบกับเงินกู้ยืมระยะยาวจาก
สถาบันการเงินและหุ้นกู้ที่เพิ่มขึ้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1) เงินกู้ยืมระยะยาวและหุ้นกู้ จำนวน 25,245 ล้านบาท หรือร้อยละ 72 ของหนี้สินรวม
เพิ่มขึ้น 1,760 ล้านบาท หรือร้อยละ 7 โดยมีรายละเอียดเป็นเงินตราสกุลต่างๆ ดังนี้
- เงินกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐ จำนวน 306 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- เงินกู้สกุลเยน จำนวน 970 ล้านเยน
- เงินกู้สกุลเปโซ จำนวน 52 ล้านเปโซ
- เงินกู้สกุลบาท จำนวน 8,018 ล้านบาท
- หุ้นกู้สกุลบาท จำนวน 6,337 ล้านบาท
ในปี 2549 มีการเบิกเงินกู้เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 10,859 ล้านบาท สำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของ
จีอีซี จำนวน 9,208 ล้านบาท เอ็นทีพีซี 1,523 ล้านบาท และ เอพีบีพี จำนวน 128 ล้านบาท
ในขณะที่มีการชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาวรวมทั้งสิ้น 9,434 ล้านบาท แบ่งเป็นของ บฟร. 4,048
ล้านบาท เพื่อการชำระหนี้คงค้างของเงินกู้ US Institutional Loans ก่อนครบกำหนด บฟข.
1,304 ล้านบาท ทีแอลพีโคเจน 149 ล้านบาท เอ็กคอมธารา 60 ล้านบาท ร้อยเอ็ดกรีน 34
ล้านบาท โคแนล 223 ล้านบาท เอพีบีพี 33 ล้านบาท และ จีอีซี 3,583 ล้านบาท เพื่อ Refinance
เงินกู้ จีซีซี เอ็นเคซีซี และ เอสซีซี เมื่อเดือนเมษายน 2549 โดย จีซีซี ออกหุ้นกู้สกุลบาท
ซึ่งหากคิดตามสัดส่วนที่ บผฟ. ถือหุ้นร้อยละ 50 แล้ว จะเป็นหนี้ตามสัดส่วนของ บผฟ. จำนวน
2,900 ล้านบาท นอกจากนั้นยังมีการจ่ายชำระคืนหุ้นกู้ของ บฟร. บฟข. และจีอีซี จำนวน 735
ล้านบาท 583 ล้านบาท และ 145 ล้านบาท ตามลำดับ
กำหนดชำระคืนเงินกู้ระยะยาวและหุ้นกู้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 หน่วย: ล้านบาท
กำหนดชำระคืน บฟข. ทีแอลพีโคเจน ร้อยเอ็ดกรีน เอพีบีพี
ภายใน 1 ปี 2,012 150 29 41
1-5 ปี 3,637 765 122 209
เกินกว่า 5 ปี - 655 142 166
รวม 5,649 1,570 294 416
กำหนดชำระคืน จีอีซี โคแนล เอ็นทีพีซี
ภายใน 1 ปี 350 189 -
1-5 ปี 5,149 369 389
เกินกว่า 5 ปี 8,536 - 2,336
รวม 14,035 558 2,724
ทั้งนี้เงินกู้ยืมระยะยาวและหุ้นกู้ค้ำประกันโดยการจำนองที่ดิน อาคาร โรงไฟฟ้า และเครื่องจักร
และได้กันเงินสำรองเพื่อการชำระคืนเงินต้นและจ่ายดอกเบี้ยที่จะครบกำหนดชำระคืนภายใน 1 ปี
และเพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
2) หนี้สินอื่นๆ จำนวน 10,056 ล้านบาทหรือร้อยละ 28 ของหนี้สินรวม เพิ่มขึ้น 4,406
ล้านบาท สาเหตุหลักเนื่องจากการบันทึกรายการเจ้าหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกันเพิ่มขึ้นจำนวน 5,019
ล้านบาท โดยส่วนสำคัญมาจากเงินลงทุนในส่วนที่ บผฟ. ยังไม่ได้ชำระจากการลงทุนในกิจการร่วมค้า
BLCP จำนวน 4,645 ล้านบาทให้แก่ CLP Power (BLCP) Ltd. ซึ่งได้มีการชำระเงินและโอนหุ้น
ในวันที่ 30 มกราคม 2550 และหนี้สินไม่หมุนเวียนอื่นๆ เพิ่มขึ้น 816 ล้านบาท เจ้าหนี้การค้าเพิ่มขึ้น
283 ล้านบาท ภาษีเงินได้ค้างจ่ายเพิ่มขึ้น 354 ล้านบาท ในขณะที่เจ้าหนี้ค่าก่อสร้างของ จีอีซี
ลดลง 1,932 ล้านบาท
4.3 การวิเคราะห์ส่วนของผู้ถือหุ้น
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 ส่วนของผู้ถือหุ้น มีจำนวน 36,585 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี
2548 จำนวน 4,470 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 14 เนื่องจากปัจจัยหลักคือ
- กำไรสุทธิจากผลการดำเนินงานจำนวน 6,036 ล้านบาท
- ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2549 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2549 ที่ประชุมได้มีมติ
อนุมัติให้จ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงาน 6 เดือนหลังของปี 2548 หุ้นละ 1.75 บาท รวมเป็นเงิน
ทั้งสิ้น 921 ล้านบาท และ บผฟ. ได้จ่ายเงินปันผลดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2549
- ในการประชุมคณะกรรมการ บผฟ. เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2549 ที่ประชุมได้มีมติอนุมัติให้
จ่ายเงินปันผลจากการดำเนินงาน 6 เดือนแรกของปี 2549 หุ้นละ 2 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,053
ล้านบาท และบผฟ. ได้จ่ายเงินปันผลดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2549
จากการวิเคราะห์โครงสร้างของเงินทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 สรุปได้ดังนี้
ส่วนของผู้ถือหุ้น จำนวน 36,585 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50.89
หนี้สิน จำนวน 35,302 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 49.11
สามารถคำนวณหา อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ ได้ดังนี้
- อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เท่ากับ 0.96 เท่า สูงกว่าสิ้นปี 2548 ซึ่งเท่ากับ 0.91 เท่า
- มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์สุทธิต่อหุ้น เท่ากับ 67.26 บาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2548 ซึ่ง
อยู่ที่ระดับ 58.96 บาท
5. รายงานการวิเคราะห์กระแสเงินสด
งบกระแสเงินสดแสดงกระแสเงินสดที่เปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และ
กิจกรรมจัดหาเงิน ณ สิ้นงวดบัญชี และแสดงเงินสดและรายการเทียบเท่าคงเหลือสิ้นงวด เงินสดและ
รายการเทียบเท่าคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2549 เป็นเงินจำนวน 5,849 ล้านบาท ลดลงจาก
สิ้นปี 2548 ทั้งสิ้น 2,972 ล้านบาท โดยมีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดลดลงสุทธิ 3,112
ล้านบาท และมีผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 141 ล้านบาท ซึ่งมี
รายละเอียดของแหล่งที่มาและแหล่งที่ใช้ไปของเงินดังต่อไปนี้
- เงินสดสุทธิที่ได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน จำนวน 8,298 ล้านบาท ส่วนใหญ่
มาจากเงินสดที่ได้จากการดำเนินงาน 8,280 ล้านบาท และ เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น 18 ล้านบาท
- เงินสดสุทธิที่ใช้ไปสำหรับกิจกรรมลงทุน จำนวน 12,066 ล้านบาท โดยมีเงินลงทุน
ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของ จีอีซี จำนวน 8,121 ล้านบาท เอ็นทีพีซี จำนวน 1,739 ล้านบาท และ
เอพีบีพี จำนวน 178 ล้านบาท ในขณะที่ได้รับเงินปันผลจากอีสท์ วอเตอร์ กองทุนเปิดเคทีเอสเอฟ
และกองทุนเปิดอื่นๆ จำนวน 31 ล้านบาท 130 ล้านบาท และ 8 ล้านบาทตามลำดับ
- เงินสดสุทธิที่ได้มาจากกิจกรรมจัดหาเงิน จำนวน 655 ล้านบาท เนื่องจากการชำระ
คืนเงินกู้ ของ บฟร. บฟข. ทีแอลพี โคเจน ร้อยเอ็ด กรีน เอ็กคอมธารา เอพีบีพี จีอีซี โคแนล
รวมทั้งสิ้น 9,434 ล้านบาท ซึ่ง บฟร.มีการชำระหนี้เงินกู้ US Institutional Loans ส่วนที่ยัง
คงค้างก่อนครบกำหนด ประกอบกับการชำระคืนหุ้นกู้จำนวน 1,464 ล้านบาท ของ บฟร. บฟข.
และ จีอีซี ในขณะที่มีการเบิกเงินกู้เพิ่มของ จีอีซี จำนวน 9,208 ล้านบาท เอ็นทีพีซี จำนวน
1,523 ล้านบาท และ เอพีบีพี จำนวน 128 ล้านบาท และการออกหุ้นกู้ของจีซีซี จำนวน
2,900 ล้านบาท นอกจากนั้นได้จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นจำนวน 2,150 ล้านบาท
ในปี 2549 บผฟ. มีอัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) ที่สำคัญดังนี้
- อัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) อยู่ที่ 1.69 เท่า เทียบกับปี 2548
ซึ่งเท่ากับ 2.27 เท่า
- อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (Quick Ratio) อยู่ที่ 1.27 เท่า เทียบกับปี 2548
ซึ่งเท่ากับ 1.79 เท่า
สาเหตุที่อัตราส่วนทั้งสองลดลงเนื่องจากการบันทึกรายการเจ้าหนี้กิจการที่เกี่ยวข้องกันเพิ่มขึ้นจำนวน
4,645 ล้านบาท จากเงินลงทุนในส่วนที่ บผฟ. ยังไม่ได้ชำระในการลงทุนในกิจการร่วมค้า BLCP
ให้แก่ CLP Power (BLCP) Ltd. ถึงแม้ว่าเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงินที่ถึงกำหนด
ภายใน 1 ปี ลดลงจากการชำระหนี้เงินกู้ US Institutional Loans ของ บฟร. ทั้งจำนวน
ก่อนครบกำหนด