EN | TH
12 พฤศจิกายน 2550

บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร งวด 9 เดือน ปี 2550

เกิดจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และ รายได้ค่าไฟ บฟข. จำนวน 3,318 ล้านบาท ลดลง 870 ล้านบาท เนื่องจากอัตราค่าไฟ (Base Availability Credit) ที่ลดลง โดยบางส่วนเกิดจาก ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสูตรค่าพลังไฟฟ้า ในลักษณะ ?Cost Plus? หรือต้นทุนบวกกำไรส่วนเพิ่มที่ให้แก่ผู้ประกอบการภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) และเป็นไปตามที่ได้ประมาณการไว้แล้ว รายได้ค่าไฟฟ้ากลุ่มธุรกิจไอพีพี: หน่วย : ล้านบาท 9M?50 9M?49 %เปลี่ยนแปลง บฟร. 2,684 4,063 (34%) บฟข. 3,318 4,188 (21%) รวมรายได้ค่าไฟฟ้า-ไอพีพี 6,002 8,250 (27%) สัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าในแต่ละปีเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายคงที่คือ ค่าชำระหนี้และค่าบำรุงรักษาหลัก ซึ่งจะใช้อัตราดังกล่าวตามที่ได้ตกลงในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ในการคำนวณค่าไฟฟ้าในแต่ละงวด นอกจากนั้น ในการคำนวณรายได้ค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า ได้รับการปรับเพื่อชดเชยผลกระทบที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับภาระค่าใช้จ่ายในการ กู้ยืมเงินและค่าอะไหล่ที่ใช้ในการบำรุงรักษาหลักที่เป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง บฟร. และ บฟข. จะได้รับการชดเชยทุกเดือนตามงวดกำหนดชำระค่าไฟฟ้า โดยจะได้รับค่าพลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก ที่เคยกำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าก่อนการเพิ่มเติมเงื่อนไขการปรับตามอัตราแลกเปลี่ยน เมื่อ อัตราแลกเปลี่ยนสูงกว่าระดับ 28 บาท ต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ และได้รับค่าพลังไฟฟ้าลดลง เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนต่ำกว่าระดับ 28 บาท ต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ รายได้ค่าไฟฟ้าจาก บริษัทย่อยหลักได้รวมส่วนค่าไฟฟ้าที่ได้รับชดเชยผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงิน 312 ล้านบาท สำหรับ 9 เดือนแรก ปี 2550 * รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 77 ล้านบาท ลดลง 241 ล้านบาท หรือร้อยละ 76 สาเหตุหลักจากดอกเบี้ยรับของ บฟร. ที่ลดลงจำนวน 178 ล้านบาท จากจำนวน เงินฝากที่ลดลงเนื่องจากการลดทุนใน บฟร. ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ทั้งนี้ บฟร. ได้ทำการลดทุนจดทะเบียนจากเดิม 9,220 ล้านบาท เป็น 4,702 ล้านบาท เมื่อเดือนธันวาคม 2549 สำหรับดอกเบี้ยรับของ บฟข. ลดลง 59 ล้านบาท เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง อีกทั้งรายได้อื่นๆของ บฟร. และ บฟข. ลดลง 4 ล้านบาท * ต้นทุนขาย จำนวน 2,572 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2549 ทั้งสิ้น 27 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 1 สาเหตุหลักมาจาก บฟข. มีต้นทุนขายเพิ่มขึ้น 18 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2549 ต้นทุนขายกลุ่มธุรกิจไอพีพี: หน่วย : ล้านบาท 9M?50 9M?49 %เปลี่ยนแปลง บฟร. 1,354 1,345 1% บฟข. 1,218 1,201 1% รวมต้นทุนขาย-ไอพีพี 2,572 2,546 1% * ค่าใช้จ่ายในการบริหารและภาษี จำนวน 593 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน จำนวน 576 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 49 สาเหตุหลักจากค่าใช้จ่ายในบริหารงานทั่วไปของ บฟร. ลดลง 193 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 70 เนื่องจากค่าใช้จ่ายสำหรับการชำระคืนเงินกู้ยืมระยะยาว ก่อนครบกำหนดที่เกิดขึ้นในปี 2549 และภาษีเงินได้ของ บฟร. และ บฟข. ที่ลดลง จำนวน 391 ล้านบาท เนื่องจากรายได้ลดลง ปัจจุบัน บฟร. และ บฟข. ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิที่ได้รับจากการลงทุนผลิตไฟฟ้าในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งจะสิ้นสุด ณ วันที่ 19 เมษายน 2551 และ วันที่ 25 กันยายน 2552 ตามลำดับ * ดอกเบี้ยจ่าย จำนวนรวมทั้งสิ้น 415 ล้านบาท ลดลงจาก 9 เดือนแรก ปี 2549 จำนวน 451 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 52 เนื่องจาก บฟร. ได้ชำระคืนเงินกู้และหุ้นกู้ทั้งหมดเมื่อเดือน ธันวาคม 2549 และ บฟข. มีจำนวนเงินต้นของเงินกู้และหุ้นกู้ลดลง * ส่วนแบ่งผลกำไรในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า คือ บีแอลซีพี และ จีพีจี จำนวน 4,218 ล้านบาท โดย บผฟ. ได้เริ่มบันทึกผลการดำเนินงานโดยวิธีส่วนได้เสียของบีแอลซีพี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2550 เป็นจำนวน 3,637 ล้านบาท และจีพีจี เริ่มมีกำไรสุทธิจำนวน 581 ล้านบาท เนื่องจาก รายได้ค่าไฟฟ้าจากการเดินเครื่องเชิงพาณิชย์โรงที่ 1 ของโครงการแก่งคอย 2 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 และรายได้อื่นๆจากเงินค่าชดเชยจากผู้รับเหมาก่อสร้างสำหรับความล่าช้าในการก่อสร้าง โรงไฟฟ้า (Liquidated Damages) ตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาก่อสร้างโครงการแก่งคอย 2 โรงที่ 1 3) กลุ่มธุรกิจเอสพีพี ประกอบด้วย 5 บริษัท คือ จีอีซี (ไม่รวม จีพีจี) เออีพี เอพีบีพี เอ็กโก โคเจน และ ร้อยเอ็ด กรีน สำหรับ 9 เดือนแรก ปี 2550 มีรายได้รวมทั้งสิ้น 1,623 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2549 จำนวน 69 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 4 ค่าใช้จ่ายรวม จำนวน 1,331 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2549 จำนวน 2 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 0.15 และส่วนแบ่งผลกำไรในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า 541 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน จำนวน 394 ล้านบาท หรือร้อยละ 269 โดยมีรายละเอียดดังนี้ รายได้ ค่าใช้จ่าย และส่วนแบ่งผลกำไรของกลุ่มธุรกิจเอสพีพี: หน่วย : ล้านบาท เอ็กโก โคเจน ร้อยเอ็ด กรีน จีอีซี (ไม่รวม จีพีจี) 9M?50 9M?49 9M?50 9M?49 9M?50 9M?49 รายได้รวม 1,449 1,494 174 199 - - ค่าใช้จ่ายรวม 1,228 1,232 103 96 - - ส่วนแบ่งผลกำไร - - - - 453 10 เอพีบีพี และ เออีพี รวม 9M?50 9M?49 9M?50 9M?49 %เปลี่ยนแปลง รายได้รวม - - 1,623 1,693 (4%) ค่าใช้จ่ายรวม - - 1,331 1,329 0.15% ส่วนแบ่งผลกำไร 88 137 541 146 269% * รายได้ค่าไฟฟ้าของกลุ่มธุรกิจเอสพีพี เป็นจำนวนรวม 1,594 ล้านบาท ลดลงจากช่วง เวลาเดียวกันปี 2549 จำนวน 67 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 4 รายได้ค่าไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่ลดลงมาจาก เอ็กโก โคเจน จำนวน 41 ล้านบาท สาเหตุหลักเกิดจากรายได้ค่าไฟฟ้าที่ขายให้ลูกค้าในนิคม อุตสาหกรรมลดลง และรายได้ค่าไฟฟ้าจาก กฟผ. ลดลงจากการแข็งค่าของเงินบาท ในขณะเดียวกัน ร้อยเอ็ด กรีน มีรายได้ลดลงจำนวน 26 ล้านบาท เนื่องจากค่าพลังไฟฟ้าที่ลดลงเนื่องจากราคาน้ำมันเตา ที่ลดลงซึ่งสัมพันธ์กับสูตรค่าไฟ รายได้ค่าไฟฟ้ากลุ่มธุรกิจเอสพีพี: หน่วย : ล้านบาท 9M?50 9M?49 %เปลี่ยนแปลง เอ็กโก โคเจน 1,435 1,476 (3%) ร้อยเอ็ด กรีน 160 186 (14%) รวมรายได้ค่าไฟฟ้า-เอสพีพี 1,594 1,662 (4%) * รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 29 ล้านบาท ลดลง 2 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 7 สาเหตุหลักเกิดจากดอกเบี้ยรับที่ลดลงจำนวน 5 ล้านบาท * ต้นทุนขาย จำนวน 1,236 ล้านบาท ลดลงจาก 9 เดือนแรก ปี 2549 จำนวน 1 ล้านบาท สาเหตุหลักจากต้นทุนขายของ เอ็กโก โคเจน ลดลง 9 ล้านบาท จากค่าเชื้อเพลิงที่ลดลง ในขณะที่ ต้นทุนขายของร้อยเอ็ด กรีน เพิ่มขึ้น 8 ล้านบาท เนื่องจากราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนขายกลุ่มธุรกิจเอสพีพี: หน่วย : ล้านบาท 9M?50 9M?49 %เปลี่ยนแปลง เอ็กโก โคเจน 1,143 1,152 (1%) ร้อยเอ็ด กรีน 93 85 10% รวมต้นทุนขาย-เอสพีพี 1,236 1,237 0% * ค่าใช้จ่ายในการบริหารและภาษี จำนวน 25 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อนจำนวน 13 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 113 สาเหตุหลักเกิดจากการจ่ายภาษีเงินได้จากการชำระบัญชี ของบริษัท ไทยแอลเอ็นจี เพาเวอร์ จำกัด (ทีแอลพีซี) จำนวน 13 ล้านบาท * ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 70 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของ ปี 2549 จำนวน 11 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 13 สาเหตุหลักเกิดจาก ดอกเบี้ยจ่ายของ เอ็กโก โคเจน ลดลง 9 ล้านบาท เนื่องจากจำนวนเงินต้นลดลง * ส่วนแบ่งผลกำไรในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า คือ จีอีซี (ไม่รวม จีพีจี) เอพีบีพี และ เออีพี จำนวนรวม 541 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 394 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับ 9 เดือนแรก ปี 2549 โดยส่วนใหญ่เป็นส่วนแบ่งกำไรจาก จีอีซี จำนวน 453 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 443 ล้านบาท สาเหตุหลัก เนื่องจากผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เพิ่มขึ้นจำนวน 305 ล้านบาทและรายได้ค่าไฟที่เพิ่มขึ้น 94 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีส่วนแบ่งผลกำไรจาก เอพีบีพีและเออีพี จำนวน 88 ล้านบาท ลดลง 49 ล้านบาท หรือร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับ 9 เดือนแรก ปี 2549 สาเหตุหลักมาจากรายได้ค่าไฟฟ้าที่ขายให้กับ กฟผ. ที่ลดลงและค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาที่เพิ่มขึ้นของเออีพี 4) กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าต่างประเทศ ประกอบด้วย โคแนล และ เอ็นทีพีซี มีส่วนแบ่ง ผลขาดทุนจากส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า จำนวน 208 ล้านบาท โดยขาดทุนเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกัน ของปีก่อน จำนวน 170 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นส่วนแบ่งผลกำไรจาก โคแนล จำนวน 34 ล้านบาท ลดลง 50 ล้านบาท สาเหตุหลักจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ลดลงเนื่องจากการโอนโรงไฟฟ้าจำนวน 40 เมกะวัตต์ ของ เอ็นเอ็มพีซี ให้แก่ เอ็นพีซี เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ซึ่งเป็นไปตามสัญญาที่กำหนดไว้ และรายได้ ค่าไฟที่ลดลงเนื่องจากการแข็งค่าของเงินเปโซ สำหรับ เอ็นทีพีซี มีส่วนแบ่งผลขาดทุน จำนวน 242 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 120 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจาก ผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 5) กลุ่มธุรกิจอื่นๆ ประกอบด้วย 2 บริษัทย่อยคือ เอสโก และ เอ็กคอมธารา และ กิจการร่วมค้า 1 แห่ง คือ อเมสโก มีรายได้รวมทั้งสิ้น 739 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 9 เดือนแรก ปี 2549 จำนวน 55 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 8 ค่าใช้จ่ายรวมจำนวน 522 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 57 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 12 และส่วนแบ่งผลกำไรในส่วนได้เสีย ในกิจการร่วมค้าจำนวน 5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2 ล้านบาท หรือร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ รายได้ ค่าใช้จ่าย และส่วนแบ่งผลกำไรของกลุ่มธุรกิจอื่นๆ: หน่วย: ล้านบาท เอสโก เอ็กคอมธารา รวม 9M?50 9M?49 9M?50 9M?49 9M?50 9M?49 %เปลี่ยนแปลง รายได้รวม 564 536 175 148 739 684 8% ค่าใช้จ่ายรวม 464 419 58 46 522 465 12% ส่วนแบ่งผลกำไร 5 3 - - 5 3 70% * รายได้ค่าบริการของเอสโก จำนวน 553 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 9 เดือนแรก ปี 2549 จำนวน 28 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 5 สาเหตุหลักจากรายได้การรับเดินเครื่องให้กับโรงผลิตก๊าซ ธรรมชาติเหลวในรัสเซีย และงานติดตั้งก๊าซคอมเพรสเซอร์และเคลื่อนย้ายเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ ให้กับบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) * รายได้ค่าน้ำ ของเอ็กคอมธารา จำนวน 168 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 9 เดือนแรก ปี 2549 จำนวน 26 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 18 เนื่องจากปริมาณน้ำประปาขั้นต่ำ (Minimum Take) และอัตราค่าน้ำ ที่เพิ่มขึ้นตามสัญญาระยะยาวกับการประปาส่วนภูมิภาค * รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 18 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 12 สาเหตุหลักมาจากดอกเบี้ยรับของเอ็กคอมธารา เพิ่มขึ้น 1.46 ล้านบาท * ต้นทุนบริการ จำนวน 400 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกัน ปี 2549 จำนวน 37 ล้านบาท หรือร้อยละ 10 สาเหตุหลักเกิดจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากงานติดตั้งก๊าซคอมเพรสเซอร์และเคลื่อนย้าย เครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ให้กับบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) * ต้นทุนขายน้ำประปา จำนวน 51 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 9 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 20 เนื่องจากค่าจ้างผลิตน้ำประปาและบำรุงรักษาระบบผลิตและท่อส่งน้ำประปา ของเอ็กคอมธาราเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น * ค่าใช้จ่ายในการบริหารและภาษี จำนวน 71 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 13 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 23 สาเหตุหลักค่าใช้จ่ายในการบริหารของเอสโกเพิ่มขึ้น 11 ล้านบาท * ส่วนแบ่งกำไรในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า ของเอสโก จำนวน 5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2 ล้านบาท จาก อเมสโก 4. รายงานและวิเคราะห์ฐานะการเงิน 4.1 การวิเคราะห์สินทรัพย์ ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 บผฟ. บริษัทย่อยและส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า มีสินทรัพย์รวม จำนวน 53,873 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,412 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2549 โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้ 1) เงินสด เงินฝากสถาบันการเงิน เงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ทั้งระยะสั้นและระยะยาว จำนวน 5,711 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11 ของสินทรัพย์รวม ลดลง 3,065 ล้านบาท หรือร้อยละ 35 สาเหตุหลักจาก เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดลดลง 1,938 ล้านบาท และเงินลงทุนระยะยาวในหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดลดลง 1,659 ล้านบาท เนื่องจากการชำระเงินลงทุนในส่วนที่ บผฟ. ยังไม่ได้ชำระจากการลงทุนในกิจการร่วมค้า บีแอลซีพี ให้แก่ CLP Power (BLCP) Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ CLP Holdings Limited จำนวน 4,645 ล้านบาท และ บผฟ.ได้ชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 4,743 ล้านบาท ให้กับ บีแอลซีพี และ จีอีซี นอกจากนี้ยังได้จ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นจำนวน 2,259 ล้านบาท ในขณะที่ บผฟ.ได้เบิกเงินกู้ ยืมระยะสั้นจากธนาคารพาณิชย์ไทย จำนวน 4,350 ล้านบาท 2) เงินลงทุนระยะสั้นและระยะยาวที่ใช้เป็นหลักประกัน จำนวน 1,773 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3 ของสินทรัพย์รวม ลดลง 527 ล้านบาท หรือร้อยละ 23 สาเหตุหลัก จากการชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยที่ครบกำหนดชำระคืนของ บฟข. 3) เงินลงทุนในบริษัทย่อยและส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 ส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า ซึ่งบันทึกโดยวิธีส่วนได้เสียตามงบการเงินรวม มีมูลค่าตามบัญชี เท่ากับ 19,807 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37 ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น 7,429 ล้านบาท หรือร้อยละ 60 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้แก่ 3.1) มีการลงทุนในหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 4,743 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น จีอีซี จำนวน 1,485 ล้านบาท และบีแอลซีพี จำนวน 3,258 ล้านบาท 3.2) มีการเพิ่มขึ้นของส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย จำนวน 4,798 ล้านบาท 3.3) ได้รับเงินปันผลจาก บีแอลซีพี และโคแนล จำนวน 2,145 ล้านบาท 3.4) กำไรจากการแปลงค่างบการเงินของบริษัทที่อยู่ในต่างประเทศจำนวน 34 ล้านบาท สำหรับเงินลงทุนในบริษัทย่อยและส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า ซึ่งบันทึกโดยใช้ราคาทุนเดิมเป็น ราคาเริ่มต้น ตามงบการเงินเฉพาะบริษัท มีมูลค่าตามบัญชีไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 เท่ากับ 28,853 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,743 ล้านบาท หรือร้อยละ 20 ซึ่งเป็นผลมาจาก บผฟ. มีการลงทุนเพิ่มในกิจการร่วมค้า ซึ่งได้แก่ จีอีซี และ บีแอลซีพี 4) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์สุทธิ จำนวน 18,963 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35 ของ สินทรัพย์รวม ลดลงสุทธิทั้งสิ้น 1,176 ล้านบาท หรือร้อยละ 6 สินทรัพย์ที่ลดลงส่วนใหญ่มาจาก การตัดค่าเสื่อมราคาของสินทรัพย์ บผฟ. และบริษัทย่อยอื่นๆ จำนวน 1,589 ล้านบาท และการโอนวัสดุสำรองหลักที่ไม่ใช้งานออกไปยังวัสดุสำรองคลังของ บฟร. และ บฟข. จำนวน 156 ล้านบาท ในขณะที่มีการบันทึกวัสดุสำรองหลักเป็นสินทรัพย์เนื่องจากการซ่อมบำรุงรักษาของ บฟร. และ บฟข. จำนวน 407 ล้านบาท และซื้อสุทธิของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 161 ล้านบาท 5) สินทรัพย์อื่นๆ จำนวน 7,618 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14 ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น 752 ล้านบาท หรือร้อยละ 11 สาเหตุหลักเนื่องจากเงินปันผลค้างรับจากกิจการร่วมค้า ที่เพิ่มขึ้น จำนวน 1,075 ล้านบาท ในขณะที่วัสดุสำรองคลังสุทธิลดลง 215 ล้านบาท และเงินให้กู้ยืม แก่ จีอีซี ที่ชำระครบแล้ว ลดลง 100 ล้านบาท 4.2 การวิเคราะห์หนี้สิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 บริษัทมีหนี้สินรวม จำนวน 12,740 ล้านบาท ลดลง 1,802 ล้านบาท หรือร้อยละ 12 ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1) เงินกู้ยืมระยะสั้น จำนวน 4,350 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 34 ของหนี้สินรวม โดย บผฟ. ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้ระยะสั้นกับธนาคารพาณิชย์ไทย 2 แห่ง ซึ่งมีวงเงินกู้ยืมแห่งละไม่เกิน 4,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2550 และเริ่มเบิกเงินกู้งวดแรกในวันที่ 29 มกราคม 2550 โดยมีกำหนดชำระคืนเงินต้นเมื่อครบกำหนด 1 ปี จากวันที่ลงนามในสัญญา 2) เงินกู้ยืมระยะยาวและหุ้นกู้ จำนวน 6,244 ล้านบาท หรือร้อยละ 49 ของหนี้สินรวม ลดลง 1,269 ล้านบาท หรือร้อยละ 17 โดยมีรายละเอียดเป็นเงินตราสกุลต่างๆ ดังนี้ - เงินกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐ จำนวน 58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ - เงินกู้สกุลเยน จำนวน 873 ล้านเยน - เงินกู้สกุลบาท จำนวน 715 ล้านบาท - หุ้นกู้สกุลบาท จำนวน 3,292 ล้านบาท กำหนดชำระคืนเงินกู้ระยะยาวและหุ้นกู้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 หน่วย: ล้านบาท กำหนดชำระคืน บฟข. เอ็กโก โคเจน ร้อยเอ็ด กรีน ภายใน 1 ปี 2,001 151 30 1-5 ปี 2,602 975 120 เกินกว่า 5 ปี - 256 109 รวม 4,603 1,382 259 ทั้งนี้เงินกู้ยืมระยะยาวและหุ้นกู้ค้ำประกันโดยการจำนองที่ดิน อาคาร โรงไฟฟ้า และเครื่องจักร และได้กันเงินสำรองเพื่อการชำระคืนเงินต้นและจ่ายดอกเบี้ยที่จะครบกำหนดชำระคืนภายใน 1 ปี และเพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน 3) หนี้สินอื่นๆ จำนวน 2,145 ล้านบาท หรือร้อยละ 17 ของหนี้สินรวม ลดลง 4,883 ล้านบาท หรือร้อยละ 69 สาเหตุหลักเนื่องจาก บผฟ. ได้ชำระเงินลงทุนในส่วนที่ยังค้างชำระ จำนวน 4,645 ล้านบาท ให้แก่ CLP Power (BLCP) Ltd. เพื่อแลกกับการโอนหุ้นบีแอลซีพีในวันที่ 30 มกราคม 2550 และภาษีเงินได้ค้างจ่ายลดลง 397 ล้านบาท ในขณะที่หนี้สินสุทธิในกิจการร่วมค้าเพิ่มขึ้น 207 ล้านบาท และดอกเบี้ยค้างจ่ายเพิ่มขึ้น 100 ล้านบาท 4.3 การวิเคราะห์ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 ส่วนของผู้ถือหุ้น มีจำนวน 41,133 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2549 จำนวน 5,214 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15 เนื่องจากปัจจัยหลักคือ - กำไรสุทธิจากผลการดำเนินงานตามงบการเงินรวม จำนวน 7,390 ล้านบาท - ในการประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2550 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2550 ที่ประชุมได้มีมติอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลจากผลการดำเนินงานสำหรับงวดหกเดือนหลังของปี 2549 ในอัตราหุ้นละ 2 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,053 ล้านบาท และบผฟ. ได้จ่ายเงินปันผลดังกล่าว ให้แก่ผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2550 - ในการประชุมคณะกรรมการ บผฟ. เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2550 ที่ประชุมได้มีมติอนุมัติให้จ่าย เงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานสำหรับงวดหกเดือนแรกของปี 2550 ในอัตราหุ้นละ 2.25 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,185 ล้านบาท และ บผฟ. ได้จ่ายเงินปันผลดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหุ้น เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2550 จากการวิเคราะห์โครงสร้างของเงินทุน ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 สรุปได้ดังนี้ ส่วนของผู้ถือหุ้น จำนวน 41,133 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 76.35 หนี้สิน จำนวน 12,740 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 23.65 สามารถคำนวณหา อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ ได้ดังนี้ - อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เท่ากับ 0.31 เท่า ต่ำกว่าสิ้นปี 2549 ซึ่งเท่ากับ 0.40 เท่า - มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์สุทธิต่อหุ้น เท่ากับ 77.19 บาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2549 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 67.26 บาท 5. รายงานการวิเคราะห์กระแสเงินสด งบกระแสเงินสดแสดงกระแสเงินสดที่เปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน ณ สิ้นงวดบัญชี และแสดงเงินสดและรายการเทียบเท่าคงเหลือสิ้นงวด ณ วันที่ 30 กันยายน 2550 เงินสดและรายการเทียบเท่าคงเหลือ มีจำนวน 3,664 ล้านบาท ลดลงจากสิ้นปี 2549 ทั้งสิ้น 1,938 ล้านบาท ซึ่งมีรายละเอียดของแหล่งที่มาและแหล่งที่ใช้ไปของเงินดังต่อไปนี้ - เงินสดสุทธิที่ได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน จำนวน 4,131 ล้านบาท มาจากเงินสดที่ได้ มาจากการดำเนินงาน 4,182 ล้านบาท ขณะที่เงินทุนหมุนเวียนลดลง 51 ล้านบาท - เงินสดสุทธิที่ใช้ไปสำหรับกิจกรรมลงทุน จำนวน 6,978 ล้านบาท โดย บผฟ. ได้จ่ายเงิน ซื้อหุ้นเพิ่มทุนในกิจการร่วมค้า ซึ่งได้แก่ จีอีซี 1,485 ล้านบาท และบีแอลซีพี 3,258 ล้านบาท และชำระเงิน ลงทุนในบีแอลซีพี ส่วนที่ยังไม่ได้ชำระ 4,645 ล้านบาท ในขณะที่ได้รับเงินปันผลจากกิจการร่วมค้าจำนวน 1,070 ล้านบาท และรับเงินสดสุทธิจากเงินลงทุนระยะสั้นและระยะยาวจำนวน 1,371 ล้านบาท นอกจากนี้ยังได้รับเงินให้กู้ยืมคืนจาก จีอีซี จำนวน 100 ล้านบาท และได้รับเงินปันผลจากอีสท์ วอเตอร์ และกองทุนเปิดอื่นๆ จำนวน 61 ล้านบาท และ 72 ล้านบาท ตามลำดับ - เงินสดสุทธิที่ได้มาจากกิจกรรมจัดหาเงิน จำนวน 909 ล้านบาท เนื่องจาก บผฟ. ได้มีการเบิกเงินกู้ยืมระยะสั้น จำนวน 4,350 ล้านบาท ในขณะที่มีการชำระคืนเงินกู้ บฟข. เอ็กโก โคเจน และ ร้อยเอ็ด กรีน รวมทั้งสิ้น 864 ล้านบาท และชำระคืนหุ้นกู้ของ บฟข. จำนวน 317 ล้านบาท นอกจากนั้นได้จ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นจำนวน 2,259 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 บผฟ. มีอัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio) ที่สำคัญ ดังนี้ - อัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) อยู่ที่ 1.68 เท่า ซึ่งเท่ากับปี 2549 - อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็ว (Quick Ratio) อยู่ที่ 1.05 เท่า เทียบกับปี 2549 ซึ่งเท่ากับ 1.18 เท่า สาเหตุที่อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเร็วเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เป็นผลมาจากการชำระค่าหุ้น เพิ่มทุนในจีอีซี และบีแอลซีพีจำนวน 4,743 ล้านบาท และการชำระเงินค่าซื้อหุ้นบีแอลซีพี จำนวน 4,645 ล้านบาท ให้แก่ CLP Power (BLCP) Ltd. ในขณะที่มีการกู้ยืมเงินกู้ระยะสั้น จำนวน 4,350 ล้านบาท