EN | TH
23 เมษายน 2551

ขอบเขตการดำเนนิงานของคณะกรมการตรวจสอบ

F24-3 แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ ด้วยที่ประชุมคณะกรรมการ ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 3/2551 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2551 ได้มี มติแต่งตั้ง ประธานกรรมการตรวจสอบ คือ นายชัยพัฒน์ สหัสกุล มีผลให้ ณ วันที่ 21 เมษายน 2551 1. สมาชิกคณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทประกอบด้วย : ประธานกรรมการตรวจสอบ นายชัยพัฒน์ สหัสกุล วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ 2 ปี กรรมการตรวจสอบ นางวัธนี พรรณเชษฐ์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ 1 ปี 8 เดือน กรรมการตรวจสอบ นายสมโภชน์ กาญจนาภรณ์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ 2 ปี 9 เดือน เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ นางจุฑาทิพย์ มหาวีระ พร้อมนี้ได้แนบหนังสือรับรองประวัติของประธานกรรมการตรวจสอบจำนวน 1 ท่านมาด้วยแล้ว 2. คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทดังต่อไปนี้ 1. สอบทานให้บริษัท มีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้อง และเปิดเผยอย่างเพียงพอ 2. สอบทานให้บริษัท มีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control และ Management Control) และการ ตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล 3. สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ข้อกำหนดของตลาด หลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท 4. พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้ง และเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของบริษัทต่อคณะกรรมการบริษัท 5. พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัท ในกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน 6. พิจารณาให้ความเห็นชอบระเบียบของบริษัท ว่าด้วยการตรวจสอบภายในก่อนนำเสนอคณะกรรมการ บริษัทพิจารณาอนุมัติ 7. อนุมัติแผนการตรวจสอบภายใน งบประมาณ และบุคลากรของฝ่ายตรวจสอบภายใน 8. พิจารณาและสอบทานความเป็นอิสระและการรายงานผลการปฏิบัติงานของฝ่ายตรวจสอบภายใน 9. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้ง โยกย้าย หรือเลิกจ้างรวมทั้งการประเมินผลงานของผู้จัดการฝ่าย ตรวจสอบภายใน 10. สอบทาน หรือพิจารณาปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณทางธุรกิจก่อนนำเสนอคณะกรรมการ บริษัทเพื่อพิจารณา 11. สอบทานกับฝ่ายบริหารเพื่อให้พนักงานปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจของบริษัท 12. สอบทานกับฝ่ายบริหารเกี่ยวกับการจัดทำบทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร (Management's Discussion and Analysis หรือ MD&A) ซึ่งเปิดเผยในรายงานประจำปี 13. ทบทวนกับฝ่ายบริหารในเรื่องนโยบายการบริหารความเสี่ยง ( Risk Management Policy ) การปฏิบัติตาม นโยบาย และแนวทางการบริหารความเสี่ยงของบริษัท 14. จัดทำรายงานการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของ บริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 15. ควบคุม ดูแลให้มีการตรวจสอบ/สอบสวน เรื่องที่จำเป็นต่อการปฏิบัติตามหน้าที่และความรับผิดชอบของ คณะกรรมการตรวจสอบให้ลุล่วง 16. ทบทวนกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 17. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย ด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการตรวจสอบมีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทโดยตรง และคณะกรรมการบริษัทยังคงมีความรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทต่อบุคคลภายนอก 3. การรายงาน 1. ให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการบริษัท ในการประชุมคณะกรรมการ บริษัท 2. ในกรณีที่มีรายการ หรือการกระทำที่อาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน ของบริษัท รวมทั้งรายการที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ การทุจริตหรือมีสิ่งผิดปกติ หรือมี ความบกพร่องที่สำคัญในระบบการควบคุมภายใน และการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท ให้รายงานต่อ คณะกรรมการบริษัทภายในเวลาที่เหมาะสมเพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไข หากคณะกรรมการบริษัท หรื อ ผู้ บ ริหารไม่ ดำเนินการให้มี การปรั บ ปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่เหมาะสม กรรมการตรวจสอบรายใดรายหนึ่ ง อาจรายงานว่ มี ร ยการหรื อ การกระทำ ตามวรรคหนึ่ ง ต่ อ สำ นั ก งาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ทั้งนี้ บริษัทขอยืนยันว่ากรรมการดังกล่าวมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด ทุกประการ ลงชื่อ ___________________ กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ตราประทับ) (นายวิศิษฎ์ อัครวิเนค) JUNE3/F-NAME.DOC