10 กันยายน 2551
แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ
F24-1
แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
ด้วยที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) ครั้งที่ 7/2551 เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2551
ได้มีมติดังต่อไปนี้
แต่งตั้ง/ต่อวาระ
ประธานกรรมการตรวจสอบ กรรมการตรวจสอบ
คือ (1) นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์
โดยการแต่งตั้ง ให้มีผล ณ วันที่ 9 กันยายน 2551
เปลี่ยนแปลง ขอบเขต หน้าที่ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งสรุปรายละเอียด ดังนี้
- ปรับขอบเขตความรับผิดชอบให้สอดคล้องกับประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง คุณสมบัติ
และขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ พ.ศ. 2551 และ พระราชบัญญัติ หลักทรัพย์และ
ตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ
- ตัดข้อจำกัดเรื่องการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการตรวจสอบ เนื่องจากประกาศตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยฉบับใหม่ไม่ได้ระบุเรื่องนี้ไว้ และการมีกรรมการตรวจสอบที่มีความรู้ความ
เข้าใจในระบบงานของบริษัท และสามารถปฏิบัติงานได้ต่อเนื่องจะเป็นประโยชน์กับบริษัท
- เพิ่มอำนาจหน้าที่ให้คณะกรรมการตรวจสอบดูแลความเป็นอิสระของฝ่ายตรวจสอบภายในทั้งฝ่าย
- เพิ่มหน้าที่ในการสอบทานกับฝ่ายบริหารเพื่อให้ฝ่ายบริหารปฏิบัติเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับพนักงานในเรื่อง
จรรยาบรรณทางธุรกิจ
โดยการกำหนด/เปลี่ยนแปลง ขอบเขต หน้าที่ ความรับผิดชอบดังกล่าวให้มีผล ณ วันที่ 8 กันยายน 2551
คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทประกอบด้วย:
1. ประธานกรรมการตรวจสอบ นายชัยพัฒน์ สหัสกุล วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ 1 ปี 8 เดือน
2. กรรมการตรวจสอบ นางวัธนี พรรณเชษฐ์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ 1 ปี 4 เดือน
3. กรรมการตรวจสอบ นายสมโภชน์ กาญจนาภรณ์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ 2 ปี 5 เดือน
4. กรรมการตรวจสอบ นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ วาระการดำรงตำแหน่งคงเหลือ 3 ปี
เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ นางจุฑาทิพย์ มหาวีระ
พร้อมนี้ได้แนบหนังสือรับรองประวัติของกรรมการตรวจสอบจำนวน 1 ท่านมาด้วย โดยกรรมการ
ตรวจสอบลำดับที่ 2 มีความรู้ และประสบการณ์ เพีย งพอที่ จะสามารถทำหน้ ที่ในการสอบทานความ
น่าเชื่อถือของงบการเงิน
-2-
คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทมีขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการ ดังต่อไปนี้
1 สอบทานให้บริษัท มีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้อง และเพียงพอ
2 สอบทานให้บริษัท มีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบภายใน (Internal
Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของฝ่ายตรวจสอบภายใน ตลอดจน
ให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง รวมทั้งการพัฒนาและประเมินผลงานของ
ผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบภายใน
ในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนตำแหน่ง เลิกจ้าง รวมทั้งการพัฒนาและประเมินผลงานของ
พนักงานฝ่ายตรวจสอบภายใน ให้ผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบภายในเสนอคณะกรรมการตรวจสอบเป็น
วาระทักท้วงก่อน
3 สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาด
หลักทรัพย์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
4 พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท และ
เสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของบริษัทต่อคณะกรรมการบริษัท
5 ประชุมร่วมกับผู้สอบบัญชีของบริษัทโดยไม่มีฝ่ายบริหารเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
เพื่อขอความเห็นจากผู้สอบบัญชีในเรื่องต่างๆ
6 พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ให้เป็นไปตาม
กฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและ
เป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท
7 พิจารณาให้ความเห็นชอบระเบียบของบริษัท ว่าด้วยการตรวจสอบภายในก่อนนำเสนอคณะกรรมการ
บริษัทพิจารณาอนุมัติ
8 อนุมัติแผนการตรวจสอบภายใน งบประมาณ และบุคลากรของฝ่ายตรวจสอบภายใน
9 พิจารณาและสอบทานความเป็นอิสระและการรายงานผลการปฏิบัติงานของฝ่ายตรวจสอบภายใน
10 สอบทาน หรือพิจารณาปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณทางธุรกิจก่อนนำเสนอคณะกรรมการ
บริษัทเพื่อพิจารณา
11 สอบทานกับฝ่ายบริหารเพื่อให้ฝ่ายบริหารปฏิบัติเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับพนักงานในเรื่องจรรยาบรรณ
ทางธุรกิจ และเพื่อให้พนักงานปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจของบริษัท
12 สอบทานกับฝ่ายบริหารเกี่ยวกับการจัดทำบทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร (Management's
Discussion and Analysis หรือ MD&A) ซึ่งเปิดเผยในรายงานประจำปี
13 ทบทวนกับฝ่ายบริหารในเรื่องนโยบายการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Policy ) การปฏิบัติตาม
นโยบาย และแนวทางการบริหารความเสี่ยงของบริษัท
-3-
14 จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงาน
ดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ และต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อย
ดังต่อไปนี้
(ก) ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท
(ข) ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัท
(ค) ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนด
ของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
(ง) ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี
(จ) ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(ฉ) จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมประชุมของกรรมการตรวจสอบแต่
ละท่าน
(ช) ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎ
บัตร (charter)
(ซ) รายการอื่ น ที่ เ ห็ น ว่ ผู้ ถื อ หุ้น และผู้ ล งทุน ทั่ ว ไปควรทราบ ภายใต้ ข อบเขตหน้ ที่ แ ละความ
รับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
15 ดำเนินการตรวจสอบเรื่องที่ได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชีของบริษัท ในกรณีที่ผู้สอบบัญชีพบพฤติกรรมอัน
ควรสงสัยว่ากรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทได้กระทำความผิด
ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2551 และรายงานผล
การตรวจสอบในเบื้องต้นให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และผู้สอบ
บัญชีทราบภายในเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากผู้สอบบัญชี
16. ทบทวนกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
17. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย ด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบใน
การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการตรวจสอบมีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัท
โดยตรง และคณะกรรมการบริษัทยังคงมีความรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทต่อบุคคลภายนอก
บริษัทขอรับรองต่อตลาดหลักทรัพย์ดังนี้
1. กรรมการตรวจสอบมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
2. ขอบเขต หน้ ที่ ความรั บ ผิ ด ชอบของคณะกรรมการตรวจสอบข้ งต้ น เป็ น ไปตามหลั ก เกณฑ์ ที่ ต ลาด
หลักทรัพย์กำหนด
ลงชื่อ กรรมการ
(ตราประทับ) ( นายวิศิษฎ์ อัครวิเนค )