12 พฤศจิกายน 2551
บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร ไตรมาส 3 2551
บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร
สำหรับผลการดำเนินงานประจำงวด 9 เดือน ปี 2551
สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2551
หมายเหตุ: บทรายงานและการวิเคราะห์งบการเงินฉบับนี้ ฝ่ายบริหารได้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอ
ข้อมูลและแสดงวิสัยทัศน์ของฝ่ายบริหารให้ผู้ลงทุนทั่วไปสามารถติดตามและทำความเข้าใจฐานะ
การเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทได้ดีขึ้น อันเป็นการส่งเสริมโครงการการกำกับดูแล
กิจการที่ดีของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
อนึ่งเนื่องจากบทรายงานและการวิเคราะห์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอ
ข้อมูลและคำอธิบายถึงสถานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่เป็นอยู่ในปัจจุบันซึ่ง
สิ่งที่นำเสนอนี้อาจเปลี่ยนแปลงตามปัจจัยหรือสภาวะแวดล้อมที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต
ฉะนั้นจึงใคร่ขอให้นักลงทุนใช้วิจารณญาณในการพิจารณาใช้ประโยชน์จากเอกสารข้อมูลนี้ และ
หากมีคำถามหรือข้อสงสัยประการใดกรุณาติดต่อสอบถามได้ที่ ส่วนนักลงทุนสัมพันธ์
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) โทร. 02-998-5145-7 หรือ email : ir@egco.com
บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร
1. บทสรุปผู้บริหาร
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระเอกชน
(Independent Power Producer) มีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่และเล็ก จำนวน 12 โรง คิดเป็น
กำลังผลิตติดตั้งตามสัดส่วนการถือหุ้นรวมจำนวน 3,826.5 เมกะวัตต์ โดยกลุ่ม เอ็กโก
มีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงเก้าเดือนแรก ปี 2551 ดังนี้
- โครงการแก่งคอย 2 โรงที่ 2 กำลังผลิต 734 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าชนิด
พลังความร้อนร่วมของกิจการร่วมค้าบริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด (จีพีจี)
ได้เริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ก่อนกำหนดเป็นที่เรียบร้อยเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551
- การขายหุ้นของกิจการร่วมค้าบริษัท เอ็กโก ร่วมทุนและพัฒนา จำกัด (บรพ.) ซึ่งถือ
หุ้นในบริษัท อมตะ-เอ็กโก เพาเวอร์ จำกัด (เออีพี) และบริษัท อมตะ เพาเวอร์
(บางปะกง) จำกัด (เอพีบีพี) และการขายหุ้นของ กิจการร่วมค้าบริษัท อมตะ เพาเวอร์-
เอสโก เซอร์วิส จำกัด (อเมสโก) ถือหุ้นโดยบริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส
จำกัด (เอสโก) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ เอ็กโก ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 ในเดือน
พฤษภาคม 2551 โดยขายให้กับบริษัท อมตะ เพาเวอร์ จำกัด (อมตะ เพาเวอร์)
ผลการดำเนินงานของกลุ่ม เอ็กโก ประจำงวดเก้าเดือน ปี 2551 สิ้นสุด ณ วันที่ 30
กันยายน 2551 มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ทั้งสิ้น 6,268 ล้านบาท ลดลง 1,100
ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2550 ทั้งนี้หากไม่คำนึงถึงผล
กระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับ เอ็กโก และบริษัทย่อยแล้ว บริษัทจะมีกำไรจำนวน 6,258
ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกัน ปี 2550 จำนวน 1,012 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ
14 โดยสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงเนื่องจาก
* เอ็กโก มีขาดทุน 314 ล้านบาท โดยขาดทุนเพิ่มขึ้น 146 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลา
เดียวกันของปีก่อน เนื่องจากรายได้อื่นๆ และเงินปันผลรับที่ลดลง
* กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระเอกชน (ไอพีพี) คือ บริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด (บฟร.)
บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด (บฟข.) กิจการร่วมค้าบริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด (บีแอลซีพี)
และ จีพีจี มีกำไรสุทธิของกลุ่มเท่ากับ 5,896 ล้านบาท ลดลง 806 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่จากส่วน
แบ่งกำไรของ บีแอลซีพี ที่ลดลง จากรายได้ค่าไฟและกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ลดลง และค่า
ซ่อมบำรุงที่เพิ่มขึ้น
* กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (เอสพีพี) ประกอบด้วย 3 กิจการร่วมค้า คือ บริษัท กัลฟ์อิเล็ค
ตริก จำกัด (มหาชน) (จีอีซี) (ไม่รวม จีพีจี) เออีพี เอพีบีพี และ 2 บริษัทย่อย คือ บริษัท เอ็กโก
โคเจนเนอเรชั่น จำกัด (เอ็กโก โคเจน) และ บริษัท ร้อยเอ็ด กรีน จำกัด (ร้อยเอ็ด กรีน)
มีกำไรสุทธิ รวมทั้งสิ้นเท่ากับ 484 ล้านบาท ซึ่งกำไรสุทธิดังกล่าวรวมส่วนแบ่งกำไรของ เออีพี และ
เอพีบีพี ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2551 ลดลงทั้งสิ้น 276 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นส่วนแบ่งกำไรจาก
จีอีซี ที่ลดลง จากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ลดลง
* กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าต่างประเทศ ประกอบด้วย 2 กิจการร่วมค้า คือ บริษัท โคแนล โฮลดิ้ง
คอร์ปอเรชั่น (โคแนล) และ โครงการน้ำเทิน 2 (เอ็นทีพีซี) มีขาดทุนลดลง 178 ล้านบาท ส่งผล
ให้ขาดทุนสุทธิรวม 31 ล้านบาท สาเหตุหลักเนื่องจากส่วนแบ่งผลขาดทุนของ เอ็นทีพีซี ลดลง
146 ล้านบาท จากขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนลดลง ประกอบกับ โคแนล มีกำไรเพิ่มขึ้น 33 ล้านบาท
จากดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลงเนื่องจากการชำระคืนเงินกู้ระยะยาวก่อนกำหนด และกำไรอัตราแลก
เปลี่ยนที่เพิ่มขึ้น
* กลุ่มธุรกิจอื่นๆ ประกอบด้วย 2 บริษัทย่อย คือ บริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส
จำกัด (เอสโก) บริษัท เอ็กคอมธารา จำกัด (เอ็กคอมธารา) และ 1 กิจการร่วมค้าคือ อเมสโก
มีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 223 ล้านบาท ซึ่งกำไรสุทธิดังกล่าวรวมส่วนแบ่งกำไรของ อเมสโก ถึง
วันที่ 15 พฤษภาคม 2551 เพิ่มขึ้น 38 ล้านบาท จากรายได้ค่าบริการที่เพิ่มขึ้นของเอสโก
2. การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติตามแผนการดำเนินธุรกิจ
เอ็กโก เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่แห่งแรกของประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่
12 พฤษภาคม 2535 ในลักษณะบริษัทโฮลดิ้ง ที่มีการลงทุนในบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมต่างๆ
เอ็กโกดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า ?เป็นบริษัทไทยชั้นนำที่ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าครบวงจร
และครอบคลุมถึงธุรกิจการให้บริการด้านพลังงานทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนด้วยความ
มุ่งมั่นที่จะธำรงไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาสังคม?
เอ็กโกดำเนินธุรกิจหลักในการลงทุนในโครงการผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ทั้งในประเทศ
ไทยและภูมิภาคอาเซียน เพื่อผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(กฟผ.) ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว โดยมีเป้าหมายในการจัดหาผลตอบแทนที่ดีจาก
การลงทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยการบริหารจัดการโครงการที่มีอยู่ปัจจุบัน ตลอดจนการสรรหาโครงการ
ที่มีคุณภาพและให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต และอยู่ในระดับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้
ณ เดือนกันยายน 2551 ประเทศไทยมีกำลังผลิตติดตั้งรวมจำนวน 29,891.65 เมกะ
วัตต์/1 และมีความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2551 ที่ 22,568 เมกะวัตต์/1
ซึ่งต่ำกว่าความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนเมษายนของปี 2550 คิดเป็นร้อยละ 0.08
/1 ที่มา: กฟผ.
สืบเนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในปีนี้ลดลงจากปี 2550 ซึ่งต่ำกว่าคาดการณ์
ทำให้มีปริมาณสำรองไฟฟ้าเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ประมาณร้อยละ 28 กฟผ. จึงอยู่ระหว่างทบทวน
แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า หรือ พีดีพี ฉบับชั่วคราว เพราะต้องปรับฐานความต้องการใช้
ไฟฟ้าใหม่ ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง นอกจากนี้ยังได้มีการเลื่อนการรับซื้อไฟฟ้าจาก
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่อยู่ระหว่างการเจรจาค่าไฟฟ้าใหม่ออกไป 5 โครงการ
เนื่องจากค่าก่อสร้างโรงไฟฟ้ามีต้นทุนสูงขึ้น
สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจของเอ็กโกได้ปรับกลยุทธ์ในการขยายการลงทุนไปยัง
โรงไฟฟ้าในกลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้น ตลอดจนลงทุนโครงการอื่น ๆ ภายในประเทศไทยที่เกี่ยว
ข้องกับเชื้อเพลิง และพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม พลังงานขยะ และพลังงานชีวมวล
ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 เอ็กโก มีกำลังผลิตติดตั้งตามสัดส่วนการถือหุ้นรวมจำนวน
3,826.5 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้า 12 โรง/1 โดยกำลังการผลิตติดตั้งส่วนใหญ่มาจากโรงไฟฟ้าของ
บฟร. กำลังผลิตติดตั้ง 1,232 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าของ บฟข. กำลังผลิตติดตั้ง 824 เมกะวัตต์
ซึ่งทั้ง 2 โรงไฟฟ้าดังกล่าวใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก โดยกำลังการผลิตติดตั้งของโรงไฟฟ้า
ทั้งสอง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53.7 ของกำลังผลิตติดตั้งรวมของ เอ็กโก
/1 เอ็กโก ได้ขายหุ้นในบริษัทเอ็กโกร่วมทุนและพัฒนา จำกัด ซึ่งมีโรงไฟฟ้า 2 โรง คือ
เออีพี และ เอพีบีพี กำลังการผลิตรวม 41.3 เมกะวัตต์ ให้แก่บริษัท อมตะเพาเวอร์ จำกัด
เมื่อเดือนพฤษภาคม 2551
นอกจากนี้ เอ็กโก มีกำลังการผลิตติดตั้งจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินบีแอลซีพี กำลัง
การผลิตรวม 1,434 เมกะวัตต์ ในสัดส่วนร้อยละ 50 หรือ จำนวน 717 เมกะวัตต์ โดยคิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 18.7 ของกำลังการผลิตติดตั้งรวมของ เอ็กโก โครงการดังกล่าวตั้งอยู่ในนิคม
อุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยใช้ถ่านหินคุณภาพดีนำเข้ามาจากประเทศออสเตรเลีย
เป็นเชื้อเพลิง
อีกทั้ง เอ็กโก ยังมีกำลังการผลิตติดตั้งจากโครงการแก่งคอย 2 ซึ่งมีกำลังการผลิตรวม
1,468 เมกะวัตต์ ในสัดส่วนร้อยละ 50 (เอ็กโก ถือหุ้นร้อยละ 50 ใน จีอีซี ซึ่งถือหุ้นในบริษัทที่ดูแล
โครงการคือ จีพีจี ร้อยละ 99.99) หรือ 734 เมกะวัตต์ โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.3 ของกำลัง
การผลิตติดตั้งรวมของ เอ็กโก โครงการดังกล่าว ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระบุรี ประกอบด้วยโรงไฟฟ้า
พลังความร้อนร่วมจำนวน 2 ชุด (โรงที่ 1 และโรงที่ 2) มีกำลังการผลิตติดตั้งชุดละ 734 เมกะวัตต์
ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก สำหรับโครงการแก่งคอย 2 โรงที่ 1 ได้เริ่มเดินเครื่องเชิง
พาณิชย์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2550 และโรงที่ 2 ได้เริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ก่อนกำหนดเมื่อ
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551
ในขณะเดียวกัน เอ็กโก ยังถือหุ้นในโครงการน้ำเทิน 2 ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง
โดยคิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งในส่วนการถือหุ้นของ เอ็กโก จำนวนรวม 267.5 เมกะวัตต์
มีรายละเอียด ดังนี้
โครงการน้ำเทิน 2 (เอ็กโก ถือหุ้นร้อยละ 25 ในเอ็นทีพีซี ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการ)
ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีกำลังผลิต
1,070 เมกะวัตต์ และกำหนดจำหน่ายกระแสไฟฟ้าได้ในเดือนธันวาคม ปี 2552 โดยมีสัญญา
ขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. จำนวน 995 เมกะวัตต์ และขายไฟฟ้าส่วนที่เหลือให้กับรัฐบาลลาว
ความคืบหน้าในการก่อสร้างโครงการ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2551 อยู่ที่ประมาณร้อยละ 90.5
ในส่วนนโยบายการจ่ายเงินปันผลนั้น บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นใน
อัตราร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิงบการเงินรวมหลังหักภาษีเงินได้ หรือ ในจำนวนที่ทยอยเพิ่มขึ้น
อย่างสม่ำเสมอ หากไม่มีเหตุจำเป็นอื่นใด เช่น การขยายธุรกิจของบริษัทในโครงการต่าง ๆ
ในอนาคต หรือการจ่ายเงินปันผลที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานปกติของบริษัทอย่างมีสาระ
สำคัญโดยการจ่ายเงินปันผลต้องไม่เกินกว่ากำไรสะสมของงบการเงินเฉพาะกิจการ
3. รายงานและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
โครงสร้างการดำเนินธุรกิจของเอ็กโก อยู่ในรูปของบริษัทโฮลดิ้ง เพื่อให้แต่ละบริษัทดำเนิน
ธุรกิจด้านการผลิตไฟฟ้าหรือธุรกิจเกี่ยวเนื่องได้อย่างอิสระต่อกัน โดย เอ็กโก มีรายได้หลัก คือเงิน
ปันผลที่มาจากกำไรของบริษัทย่อย บริษัทร่วม และส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า การจัดโครงสร้าง
ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อได้รับความสะดวกในการขยายกิจการ และเพิ่มความสามารถในการระดม
เงินกู้สำหรับโครงการใหม่ โดยไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อโครงการเก่า
ฝ่ายบริหารขอแสดงรายงานวิเคราะห์งบการเงินรวมของ เอ็กโก บริษัทย่อย และ ส่วนได้เสีย
ในกิจการร่วมค้า เพื่อให้เห็นถึงภาพรวมที่ชัดเจนของผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
3.1 สรุปผลการดำเนินงาน
กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ของกลุ่ม เอ็กโก สำหรับ 9 เดือนแรก ปี 2551 สิ้นสุด
ณ วันที่ 30 กันยายน 2551 มีจำนวนทั้งสิ้น 6,268 ล้านบาท ลดลง 1,100 ล้านบาท หรือ ร้อยละ
15 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2550 สาเหตุหลักมาจากรายได้รวมที่ลดลง 569 ล้านบาท
ส่วนใหญ่มาจากรายได้ค่าไฟฟ้าของ บฟข.ที่ลดลง อีกทั้งส่วนแบ่งกำไรจากกิจการร่วมค้าที่ลดลง 435
ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจาก บีแอลซีพี
สำหรับกำไรขั้นต้นมีจำนวนเท่ากับ 3,590 ล้านบาท ลดลง 462 ล้านบาท หรือร้อยละ 11
สาเหตุหลักจากรายได้ค่าไฟฟ้าของ บฟข. ที่ลดลงจากอัตราค่าไฟซึ่งเป็นไปตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
และมีกำไรจากการดำเนินงานจำนวน 3,229 ล้านบาท ลดลง 773 ล้านบาท หรือร้อยละ 19 โดยปัจจัย
หลักเกิดจากรายได้ค่าไฟ ดอกเบี้ยรับ และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ที่ลดลงของ เอ็กโก และบริษัทย่อย
หน่วย : ล้านบาท
กำไรสุทธิ 9 เดือนแรก กำไรสุทธิ 9 เดือนแรก
ปี 2551 ปี 2550
ก่อน FX หลัง FX ก่อน FX หลัง FX
เอ็กโก (314) (314) (169) (169)
กลุ่มธุรกิจไอพีพี 5,896 5,934 6,702 6,761
กลุ่มธุรกิจเอสพีพี 484 455 760 806
กลุ่มธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าต่างประเทศ (31) (31) (209) (209)
กลุ่มธุรกิจอื่นๆ 223 224 185 179
รวม 6,258 6,268 7,270 7,369
หมายเหตุ - กำไรสุทธิภายใต้งบการเงินรวมตามวิธีส่วนได้เสียไม่ได้แยกผลกระทบจากอัตราแลก
เปลี่ยนของกิจการร่วมค้า
- ไอพีพี ประกอบด้วย บฟร. บฟข. บีแอลซีพี จีพีจี
- เอสพีพี ประกอบด้วย จีอีซี (ไม่รวมจีพีจี) เออีพี เอพีบีพี เอ็กโก โคเจน ร้อยเอ็ด กรีน
- ต่างประเทศ ประกอบด้วย โคแนล เอ็นทีพีซี
- อื่นๆ ประกอบด้วย เอสโก เอ็กคอมธารา อเมสโก
สำหรับ 9 เดือนแรก ปี 2551 กลุ่ม เอ็กโก มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับ เอ็กโก และ
บริษัทย่อย จำนวน 11 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2550 ซึ่ง กลุ่ม เอ็กโก มีกำไร
จากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 99 ล้านบาท ทั้งนี้ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจำนวน
29 ล้านบาทเป็นตัวเลขทางบัญชี เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีไทยซึ่งเกิดขึ้นจากผลต่างของ
การแปลงมูลค่าหนี้คงค้างสุทธิเฉพาะที่เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศกลับมาเป็นเงินตราสกุลบาท ณ
วันสิ้นสุดงวดของบัญชีปัจจุบัน (วันที่ 30 กันยายน 2551) กับงวดก่อนหน้านี้ (วันที่ 31 ธันวาคม 2550)
หากไม่คำนึงถึงผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับ เอ็กโก และบริษัทย่อยแล้ว ใน 9 เดือน
แรก ปี 2551 บริษัทจะมีกำไรจำนวน 6,258 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2550 จำนวน
1,012 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 14
นอกจากนี้หากไม่คำนึงถึงกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับ เอ็กโก และบริษัทย่อย จำนวน 11
ล้านบาท ดอกเบี้ยจ่ายจำนวน 468 ล้านบาท ภาษีเงินได้จำนวน 521 ล้านบาท และค่าเสื่อมราคาและค่า
ตัดจำหน่ายต่างๆ จำนวน 1,666 ล้านบาท กำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัด
จำหน่ายต่างๆ (EBITDA) ของกลุ่ม เอ็กโก สำหรับ 9 เดือนแรก ปี 2551 จะเป็นจำนวน 8,914 ล้านบาท
ลดลง 1,045 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับ EBITDA ของกลุ่ม เอ็กโก ในช่วงเวลา
เดียวกันปี 2550 จำนวน 9,958 ล้านบาท ซึ่งไม่รวมผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 99 ล้านบาท
ดอกเบี้ยจ่ายจำนวน 619 ล้านบาท ภาษีเงินได้จำนวน 456 ล้านบาท และค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย
ต่างๆ จำนวน 1,613 ล้านบาท/1
อัตราส่วนแสดงความสามารถในการหากำไร (Profitability Ratio) มีดังนี้
- อัตรากำไรขั้นต้นเท่ากับร้อยละ 45.03
- อัตรากำไรจากการดำเนินงานเท่ากับร้อยละ 40.50
- อัตรากำไรสุทธิเท่ากับร้อยละ 50.75
- อัตรากำไรสุทธิ (ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของ เอ็กโก และบริษัทย่อย)
เท่ากับร้อยละ 50.66
- กำไรสุทธิ ต่อหุ้น เท่ากับ 11.91 บาท
- กำไรสุทธิ (ที่ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของ เอ็กโกและบริษัทย่อย) ต่อหุ้น
เท่ากับ 11.89 บาท
- อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นเท่ากับร้อยละ 14.55
อัตรากำไรขั้นต้น เท่ากับร้อยละ 45.03 นั้นต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันปี 2550 ซึ่งเท่ากับร้อยละ
48.72 เนื่องจากกำไรขั้นต้นของ บฟข. ลดลง สาเหตุหลักจากรายได้ค่าไฟฟ้าที่ลดลง และอัตรากำไรสุทธิ
(ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของ เอ็กโก และบริษัทย่อย) เท่ากับร้อยละ 50.66 ต่ำกว่าช่วงเวลา
เดียวกันปี 2550 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 54.38 สาเหตุหลักจากส่วนแบ่งกำไรในส่วนได้เสียจากกิจการร่วมค้า
ของ บีแอลซีพี ที่ลดลง
/1 หากไม่รวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน ดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้ และค่าเสื่อมราคาและค่าตัด
จำหน่ายต่างๆ ของกิจการร่วมค้า EBITDA จะเท่ากับ 12,370 ล้านบาท สำหรับ 9 เดือนแรก
ปี 2551 และ 12,078 ล้านบาท สำหรับ 9 เดือนแรกปี 2550
3.2 การวิเคราะห์รายได้ ค่าใช้จ่าย และส่วนแบ่งผลกำไรในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า
ผลการดำเนินงานสำหรับ 9 เดือนแรก ปี 2551 ที่ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของ
เอ็กโก และบริษัทย่อย (Fx) และกำไรสุทธิของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (MI) เป็นดังนี้
- รายได้รวมของ เอ็กโก และบริษัทย่อย มีจำนวนทั้งสิ้น 8,252 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลา
เดียวกันของปีก่อน จำนวน 569 ล้านบาท หรือร้อยละ 6
- ค่าใช้จ่ายรวมของ เอ็กโก และบริษัทย่อย มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 6,023 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 31 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 1
สำหรับส่วนแบ่งผลกำไรในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า จำนวน 4,114 ล้านบาท (รวมขาดทุน
จากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 195 ล้านบาทแล้ว) ลดลง จำนวน 435 ล้านบาท หรือร้อยละ 10
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2550 ซึ่งมีส่วนแบ่งผลกำไรจำนวน 4,549 ล้านบาท (รวมกำไรจาก
อัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 667 ล้านบาทแล้ว) โดยมีรายละเอียดแบ่งตามกลุ่มธุรกิจดังต่อไปนี้
รายได้รวม ค่าใช้จ่ายรวม และส่วนแบ่งผลกำไร (ขาดทุน) จากกิจการร่วมค้า
หน่วย : ล้านบาท
เอ็กโก ไอพีพี เอสพีพี
9M51 9M50 9M51 9M50 9M51 9M50
รายได้รวม 194 380 5,526 6,079 1,670 1,623
ค่าใช้จ่ายรวม 509 549 3,486 3,589 1,422 1,331
กำไรก่อนส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน)
จากกิจการร่วมค้า (314) (169) 2,040 2,490 248 292
ส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน)
จากกิจการร่วมค้า - - 3,856 4,212 285 541
กำไรสุทธิก่อน Fx ของบริษัทย่อย
และ MI (314) (169) 5,896 6,702 533 833
ต่างประเทศ อื่นๆ รวม
9M51 9M50 9M51 9M50 9M51 9M50
รายได้รวม - - 861 739 8,252 8,821
ค่าใช้จ่ายรวม - - 606 524 6,023 5,993
กำไรก่อนส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน)
จากกิจการร่วมค้า - - 255 215 2,229 2,828
ส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน)
จากกิจการร่วมค้า (31) (209) 4 5 4,114 4,549
กำไรสุทธิก่อน Fx ของบริษัทย่อย
และ MI (31) (209) 259 219 6,343 7,377
1) เอ็กโก มีรายได้รวมใน 9 เดือนแรก ปี 2551 จำนวน 194 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินปันผลรับ
จากการลงทุนทางการเงิน 78 ล้านบาท ดอกเบี้ยรับ 74 ล้านบาท และ รายได้อื่นๆ 42 ล้านบาท
ทั้งนี้รายได้รวมของ เอ็กโก ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2550 ทั้งสิ้น 186 ล้านบาท หรือร้อยละ
49 สาเหตุหลักมาจากรายได้อื่นๆลดลง 154 ล้านบาท หรือร้อยละ 79 เนื่องจากในปี 2550 มีกำไร
จากการขายกองทุนเปิด ประกอบกับเงินปันผลรับจากการลงทุนทางการเงิน ลดลงทั้งสิ้น 56 ล้านบาท
หรือร้อยละ 42 เนื่องจากคงเหลือเงินปันผลรับจาก บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก
จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์ วอเตอร์ เพียงแห่งเดียว จำนวน 78 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายรวมของ เอ็กโก จำนวนทั้งสิ้น 509 ล้านบาท ลดลง 40 ล้านบาท หรือร้อยละ 7 เมื่อ
เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2550 สาเหตุหลักมาจากค่าโฆษณาที่ลดลง และค่าใช้จ่ายพัฒนาโครงการ
ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ ค่าที่ปรึกษาที่ลดลง
2) กลุ่มธุรกิจไอพีพี คือ บฟร. บฟข. บีแอลซีพี และ จีพีจี มีรายได้รวมทั้งสิ้น 5,526 ล้านบาท
ลดลง 553 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2550 ค่าใช้จ่ายรวมจำนวน
3,486 ล้านบาท ลดลง 103 ล้านบาท หรือร้อยละ 3 จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน และส่วนแบ่งผลกำไร
ในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า จำนวน 3,856 ล้านบาท (รวมขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 185
ล้านบาทแล้ว) ลดลง 357 ล้านบาท หรือร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2550 ซึ่งมีส่วน
แบ่งผลกำไรในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้าจำนวน 4,212 ล้านบาท (รวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
จำนวน 569 ล้านบาทแล้ว) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
รายได้ ค่าใช้จ่าย และส่วนแบ่งผลกำไร (ขาดทุน) จากกิจการร่วมค้าของกลุ่มธุรกิจไอพีพี:
หน่วย : ล้านบาท
บฟร. บฟข. บีแอลซีพี
9M51 9M50 9M51 9M50 9M51 9M50
รายได้รวม 2,921 2,705 2,605 3,374 - -
ค่าใช้จ่ายรวม 1,815 1,600 1,671 1,988 - -
กำไรก่อนส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน)
จากกิจการร่วมค้า 1,106 1,104 934 1,386 - -
ส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน)
จากกิจการร่วมค้า - - - - 2,790 3,632
กำไรสุทธิก่อน Fx ของบริษัทย่อย
และ MI 1,106 1,104 934 1,386 2,790 3,632
จีพีจี รวม
9M51 9M50 9M51 9M50 %เปลี่ยนแปลง
รายได้รวม - - 5,526 6,079 (9%)
ค่าใช้จ่ายรวม - - 3,486 3,589 (3%)
กำไรก่อนส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน)
จากกิจการร่วมค้า - - 2,040 2,490 (18%)
ส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน)
จากกิจการร่วมค้า 1,066 581 3,856 4,212 (8%)
กำไรสุทธิก่อน Fx ของบริษัทย่อย
และ MI 1,066 581 5,896 6,702 (12%)
* รายได้ค่าไฟของกลุ่มธุรกิจไอพีพี จำนวนรวม 5,485 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2550
จำนวน 517 ล้านบาท หรือร้อยละ 9 เนื่องจากรายได้ค่าไฟของ บฟข. จำนวน 2,581 ล้านบาท ลดลง 737
ล้านบาท สาเหตุหลักจากอัตราค่าไฟฟ้า (Base Availability Credit) ที่ลดลง ในขณะที่รายได้ค่าไฟของ
บฟร. จำนวน 2,903 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 220 ล้านบาท เนื่องจากอัตราค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น (Capacity Rate)
ทั้งนี้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสูตรค่าพลังไฟฟ้า ในลักษณะต้นทุนบวกกำไรส่วนเพิ่ม (Cost Plus)
ที่ให้แก่ผู้ประกอบการภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) และเป็นไปตามที่ได้ประมาณการไว้แล้ว
นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550 บฟร. ได้ทำสัญญาแลกเปลี่ยนรายได้ล่วงหน้ากับสถาบัน
การเงินแห่งหนึ่ง เพื่อลดความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 30 กันยายน 2551
รายได้ค่าไฟฟ้าตามสัญญาอัตราแลกเปลี่ยนรายได้ล่วงหน้า จำนวน 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราแลก
เปลี่ยนคงที่ตามสัญญาเท่ากับ 33.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับตั้งแต่วันที่
8 พฤศจิกายน 2550 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2553
รายได้ค่าไฟฟ้ากลุ่มธุรกิจไอพีพี: หน่วย : ล้านบาท
9M51 9M50 %เปลี่ยนแปลง
บฟร. 2,903 2,684 8%
บฟข. 2,581 3,318 (22%)
รวมรายได้ค่าไฟฟ้า-ไอพีพี 5,485 6,002 (9%)
สัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าในแต่ละปีเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายคงที่
คือ ค่าชำระหนี้และค่าบำรุงรักษาหลัก ซึ่งจะใช้อัตราดังกล่าวตามที่ได้ตกลงในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
ในการคำนวณค่าไฟฟ้าในแต่ละงวด นอกจากนั้น ในการคำนวณรายได้ค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า
ได้รับการปรับเพื่อชดเชยผลกระทบที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับภาระค่าใช้จ่ายในการกู้ยืม
เงินและค่าอะไหล่ที่ใช้ในการบำรุงรักษาหลักที่เป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง บฟร. และ บฟข. จะได้รับ
การชดเชยทุกเดือนตามงวดกำหนดชำระค่าไฟฟ้า โดยจะได้รับค่าพลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จากที่เคยกำหนด
ไว้ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าก่อนการเพิ่มเติมเงื่อนไขการปรับตามอัตราแลกเปลี่ยนเมื่ออัตราแลกเปลี่ยน
สูงกว่าระดับ 28 บาท ต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ และได้รับค่าพลังไฟฟ้าลดลงเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนต่ำกว่า
ระดับ 28 บาท ต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ใน 9 เดือนแรก ปี 2551 รายได้ค่าไฟฟ้าจากบริษัทย่อย
หลักได้รวมส่วนค่าไฟฟ้าที่ได้รับชดเชยผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงิน 223 ล้านบาท
* รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 41 ล้านบาท ลดลง 36 ล้านบาท
หรือร้อยละ 46 สาเหตุหลักจากดอกเบี้ยรับของ บฟข. และ บฟร. ลดลง 32 ล้านบาท และ
9 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง
* ต้นทุนขาย จำนวน 2,539 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2550 จำนวน
37 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 1 สาเหตุหลักมาจากต้นทุนขาย บฟข. ลดลง 85 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 7 เนื่องจากในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน มีค่าน้ำมันเตาที่เกิดจากการเดินเครื่อง
ตามคำสั่งของ กฟผ. สูงกว่าปีนี้ ในขณะที่ต้นทุนขาย บฟร. เพิ่มขึ้น 48 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 4 เนื่องจากในปี 2551 มีการซ่อมบำรุงรักษาหลัก
ต้นทุนขายกลุ่มธุรกิจไอพีพี: หน่วย : ล้านบาท
(ยังมีต่อ)