11 สิงหาคม 2552
บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร ครึ่งปีแรก 2552
บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร
สำหรับผลการดำเนินงานประจำครึ่งปีแรก ปี 2552
สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2552
หมายเหตุ: บทรายงานและการวิเคราะห์งบการเงินฉบับนี้ ฝ่ายบริหารได้จัดทำขึ้น
เพื่อนำเสนอข้อมูลและแสดงวิสัยทัศน์ของฝ่ายบริหารให้นักลงทุนสามารถติดตามและ
ทำความเข้าใจฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทได้ดีขึ้น อันเป็นการ
ส่งเสริมโครงการการกำกับดูแลกิจการที่ดีของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด
หลักทรัพย์ (กลต.)
อนึ่งเนื่องจากบทรายงานและการวิเคราะห์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอ
ข้อมูลและคำอธิบายถึงสถานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ซึ่งสิ่งที่นำเสนอนี้อาจเปลี่ยนแปลงตามปัจจัยหรือสภาวะแวดล้อมที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต
ฉะนั้นจึงใคร่ขอให้นักลงทุนใช้วิจารณญาณในการพิจารณาใช้ประโยชน์จากเอกสารข้อมูลนี้
และหากมีคำถามหรือข้อสงสัยประการใดกรุณาติดต่อสอบถามได้ที่ ส่วนนักลงทุนสัมพันธ์
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) โทร.02-998-5145-7 หรือ email:ir@egco.com
บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร
1. บทสรุปผู้บริหาร
บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก ดำเนินธุรกิจในรูปบริษัทโฮลดิ้ง
ที่มีการลงทุนในบริษัทย่อย และส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้าต่างๆ ทั้งนี้ในปี 2551ได้มีการ
ขายหุ้นของบริษัท อมตะ-เอ็กโก เพาเวอร์ จำกัด (เออีพี) บริษัท อมตะ เพาเวอร์
(บางปะกง) จำกัด (เอพีบีพี) และ บริษัท อมตะ เพาเวอร์-เอสโก เซอร์วิส จำกัด
(อเมสโก) ออกไป และมีการซื้อหุ้นของ บริษัท เคซอน เพาเวอร์ (ฟิลิปปินส์) จำกัด
(เคซอน) ซึ่งสามารถจัดบริษัทย่อย และส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้าต่างๆ ตามประเภท
การลงทุนได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1. ธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี) ได้แก่ บริษัท ผลิต
ไฟฟ้าระยอง จำกัด (บฟร.) บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด (บฟข.)
บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด (บีแอลซีพี) และ บริษัท กัลฟ์
เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด (จีพีจี)
2. ธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (เอสพีพี) ได้แก่ บริษัท กัลฟ์อิเล็ค
ตริก จำกัด (มหาชน) (จีอีซี) (ไม่รวม จีพีจี) บริษัท เอ็กโก โคเจนเนอ
เรชั่น จำกัด (เอ็กโก โคเจน) และ บริษัท ร้อยเอ็ด กรีน จำกัด
(ร้อยเอ็ด กรีน)
3. ธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าต่างประเทศ ได้แก่ บริษัท โคแนล โฮลดิ้ง
คอร์ปอเรชั่น (โคแนล) บริษัท น้ำเทิน 2 เพาเวอร์ จำกัด (เอ็นทีพีซี)
และ เคซอน
4. ธุรกิจอื่นๆ ได้แก่ บริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส
จำกัด (เอสโก) และ บริษัท เอ็กคอมธารา จำกัด (เอ็กคอมธารา)
โดยรวมแล้วกลุ่มเอ็กโก (อันหมายถึง เอ็กโก บริษัทย่อย และส่วนได้เสียในกิจการ
ร่วมค้า) /1 มีโรงไฟฟ้าจำนวน 13 โรง คิดเป็นกำลังผลิตติดตั้งตามสัดส่วนการถือหุ้นรวมจำนวน
3,980.7 เมกะวัตต์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2551 จำนวน 13.1 เมกะวัตต์ เนื่องจากการซื้อหุ้นของ
เคซอน (ซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินกำลังผลิตติดตั้ง 502.5 เมกะวัตต์) เพิ่มในสัดส่วนร้อยละ 2.6
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2552 รวมเป็นถือหุ้นใน เคซอน ร้อยละ 26
/1 บริษัทย่อย ได้แก่ บฟร. บฟข. เอ็กโก โคเจน ร้อยเอ็ด กรีน เอสโก และเอ็กคอมธารา
ส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า ได้แก่ บีแอลซีพี จีพีจี จีอีซี (ไม่รวมจีพีจี) โคแนล เอ็นทีพีซี และ เคซอน
ผลการดำเนินงานของกลุ่มเอ็กโก สำหรับครึ่งปีแรกปี 2552 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2552
มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 4,642 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 385 ล้านบาท หรือร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน
ปี 2551 และหากไม่คำนึงถึงผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนของกลุ่มเอ็กโก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นตัวเลขทางบัญชี
ที่แสดงเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีไทย ในงวดครึ่งปีแรกปี 2552 กลุ่มเอ็กโกจะมีกำไรจำนวน
4,384 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 127 ล้านบาท หรือร้อยละ 3 สาเหตุหลักเกิดจากรายได้ค่าไฟฟ้าของ จีพีจี
ที่เพิ่มขึ้น จากโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 โรงที่ 2 ซึ่งเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551
อีกทั้งการรับรู้ผลการดำเนินงานของ เคซอน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 ซึ่งทั้งสองปัจจัยมีการเพิ่มขึ้น
มากกว่าการลดลงของรายได้ค่าไฟฟ้า บฟข. จากอัตราค่าไฟที่ลดลง
2. การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติตามแผนการดำเนินธุรกิจ
กลุ่มเอ็กโกเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่แห่งแรกของประเทศไทยที่จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม
2535 ในลักษณะบริษัทโฮลดิ้ง ปัจจุบันมีการลงทุนในบริษัทย่อย และกิจการร่วมค้าต่างๆ เอ็กโกดำเนินการ
ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า ?เป็นบริษัทไทยชั้นนำที่ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้าครบวงจรและครอบคลุมถึงธุรกิจการให้
บริการด้านพลังงานทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียนด้วยความมุ่งมั่นที่จะธำรงไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมและการ
พัฒนาสังคม?
เอ็กโกดำเนินธุรกิจหลักในการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(กฟผ.) ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาว และหาโอกาสในการลงทุนในธุรกิจพลังงานทั้งในประเทศไทยและ
ภูมิภาคอาเซียน โดยมีเป้าหมายในการหาผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยการบริหารจัดการ
โครงการที่มีอยู่ปัจจุบัน ตลอดจนการสรรหาโครงการที่มีคุณภาพและให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต และอยู่ใน
ระดับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ คือต้องไม่ต่ำกว่าต้นทุนของเงินทุน
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2552 ประเทศไทยมีกำลังผลิตติดตั้งรวมจำนวน 28,481.5 เมกะวัตต์/2
และความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดเกิดขึ้นในวันที่ 13 มีนาคม 2552 ที่ 21,318 เมกะวัตต์/2 ซึ่งต่ำกว่า
ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนเมษายนของปี 2551 คิดเป็นร้อยละ 5.54
/2 ที่มา: กฟผ.
สืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยลงในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ทำให้ประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวม
ภายในประเทศ หรือ จีดีพี ติดลบประมาณร้อยละ 3-4 ส่งผลให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าในช่วง 6 เดือนแรก
ลดลงจากปีก่อนมาก โดยติดลบที่ ร้อยละ 3.4 ส่งผลให้แผนพีดีพี ปี 2550 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ได้ทำ
การปรับเลื่อนการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี) ที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว 3 โครงการ
ออกไปอีก 1 ปี โดยที่ราคารับซื้อไฟฟ้ายังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ในขณะนี้สำนักงานนโยบายและ
แผนพลังงานกำลังอยู่ระหว่างจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือ พีดีพี ฉบับใหม่ ที่จะนำมาใช้ในช่วงปี
2553 - 2567 แทนที่พีดีพี ปี 2550 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน หากการพยากรณ์การใช้
ไฟฟ้าไม่เพิ่มขึ้น หรือเพิ่มขึ้นช้า การจัดทำแผนพีดีพีฉบับใหม่ ตลอดจนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่อาจต้องปรับ
เลื่อนระยะเวลาการจ่ายไฟเข้าระบบออกไปอีก
สำหรับทิศทางการดำเนินธุรกิจ กลุ่มเอ็กโกได้ปรับกลยุทธ์ในการขยายการลงทุนไปยังโรงไฟฟ้า
ในกลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้น ตลอดจนลงทุนในโครงการที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิง และโครงการอื่นๆ
ภายในประเทศไทยที่ใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดในฐานะบริษัทชั้นนำทางด้านพลังงาน
และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของฐานะการเงินและผลการดำเนินงานให้กับกลุ่มเอ็กโก อย่างต่อเนื่อง
ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2552 กลุ่มเอ็กโก มีกำลังผลิตติดตั้งที่ดำเนินการแล้วจำนวน 3,980.7 เมกะวัตต์
จากโรงไฟฟ้า 13 โรง ในจำนวนนี้ เอ็กโกได้จำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับ กฟผ. ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
เป็นจำนวน 3,589.5 เมกะวัตต์ คิดเป็นร้อยละ 12.60 ของกำลังผลิตติดตั้งรวมของประเทศ
นอกจากนี้ เอ็กโก ยังถือหุ้นในโครงการน้ำเทิน 2 ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง คิดเป็นกำลังผลิต
ติดตั้งในส่วนการถือหุ้นของ เอ็กโก จำนวนรวม 271.7 เมกะวัตต์ โดยโครงการน้ำเทิน 2 (เอ็กโก ถือหุ้น
ร้อยละ 25 ในเอ็นทีพีซี ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการ) ผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังน้ำในประเทศสาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว มีกำลังผลิตติดตั้ง 1,086.8 เมกะวัตต์ และกำหนดจำหน่ายกระแสไฟฟ้าได้
ในเดือนธันวาคม ปี 2552 โดยมีสัญญาขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. จำนวน 995 เมกะวัตต์ และขายไฟฟ้าส่วน
ที่เหลือให้กับรัฐบาลลาว ความคืบหน้าในการก่อสร้างโครงการ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2552 อยู่ที่ประมาณ
ร้อยละ 98.5
ในส่วนนโยบายการจ่ายเงินปันผลนั้น บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 40
ของกำไรสุทธิงบการเงินรวมหลังหักภาษีเงินได้ หรือ ในจำนวนที่ทยอยเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ หากไม่มี
เหตุจำเป็นอื่นใด เช่น การขยายธุรกิจของบริษัทในโครงการต่าง ๆ ในอนาคต หรือการจ่ายเงินปันผลที่มี
ผลกระทบต่อการดำเนินงานปกติของบริษัทอย่างมีสาระสำคัญโดยการจ่ายเงินปันผลต้องไม่เกินกว่ากำไรสะสม
ของงบการเงินเฉพาะกิจการ
3. รายงานและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน
ฝ่ายบริหารขอแสดงรายงานวิเคราะห์งบการเงินรวมของ เอ็กโก บริษัทย่อย และ ส่วนได้เสียใน
กิจการร่วมค้า เพื่อให้เห็นถึงภาพรวมที่ชัดเจนของผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
3.1 สรุปผลการดำเนินงาน
หน่วย : ล้านบาท
กำไรครึ่งปีแรก ปี 2552 กำไรครึ่งปีแรก ปี 2551
ก่อน FX หลัง FX ก่อน FX หลัง FX
เอ็กโก (166) (166) (198) (198)
ธุรกิจไอพีพี 4,068 4,346 3,957 3,983
ธุรกิจเอสพีพี 221 301 357 371
ธุรกิจผู้ผลิตไฟฟ้าต่างประเทศ 167 75 (21) (64)
ธุรกิจอื่นๆ 93 85 163 165
รวม 4,384/3 4,642 4,257/3 4,257
3/ กำไรก่อน FX ที่แสดงในที่นี้แตกต่างจากกำไรก่อน FX ที่คำนวณได้จากงบการเงินรวมเนื่องจากรายการ
กำไร(ขาดทุน)จากอัตราแลกเปลี่ยนในงบการเงินรวมมาจาก FX ของ เอ็กโก และบริษัทย่อย ส่วน FX
ของกิจการร่วมค้า จะแสดงรวมอยู่ในรายการส่วนแบ่งกำไร(ขาดทุน)ในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า
หมายเหตุ: - กำไรก่อน FX ได้แยกผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของ เอ็กโก บริษัทย่อย
และกิจการร่วมค้าออก
- ไอพีพี ประกอบด้วย บฟร. บฟข. บีแอลซีพี จีพีจี
- เอสพีพี ประกอบด้วย จีอีซี (ไม่รวมจีพีจี) เอ็กโก โคเจน ร้อยเอ็ด กรีน เอพีบีพี เออีพี
- ต่างประเทศ ประกอบด้วย โคแนล เอ็นทีพีซี เคซอน
- อื่นๆ ประกอบด้วย เอสโก เอ็กคอมธารา อเมสโก
- ได้ขาย เอพีบีพี เออีพี และ อเมสโก ในเดือนพฤษภาคม 2551 และซื้อ เคซอน
ในเดือนพฤศจิกายน 2551
ผลการดำเนินงานของกลุ่มเอ็กโก ประจำครึ่งปีแรกปี 2552 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2552
มีกำไรก่อนผลกระทบอัตราแลกเปลี่ยนของกลุ่มเอ็กโก จำนวน 4,384 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 127 ล้านบาท
หรือร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2551 โดยสาเหตุหลักเกิดจากรายได้ค่าไฟฟ้าของ จีพีจี
ที่เพิ่มขึ้น จากโรงไฟฟ้าแก่งคอย 2 โรงที่ 2 ซึ่งเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2551
อีกทั้งการรับรู้ผลการดำเนินงานของ เคซอน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าการลดลงของ
รายได้ค่าไฟฟ้า บฟข. จากอัตราค่าไฟที่ลดลง
หากคำนึงถึงผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการแข็งตัวของค่าเงินบาท กำไรของกลุ่มเอ็กโก
ประจำครึ่งปีแรก ปี 2552 จะเป็นจำนวน 4,642 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 385 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 9 เมื่อ
เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากกลุ่มเอ็กโกมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 258
ล้านบาท ในขณะที่ช่วงเวลาเดียวกันปี 2551 มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 0.12 ล้านบาท ซึ่งก่อให้เกิด
ความแตกต่างที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 258 ล้านบาท ทั้งนี้กำไร (ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน
ส่วนใหญ่เป็นตัวเลขทางบัญชี เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีไทยซึ่งเกิดขึ้นจากผลต่างของการแปลง
มูลค่าหนี้คงค้างสุทธิเฉพาะที่เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศกลับมาเป็นเงินตราสกุลบาท ณ วันสิ้นสุดงวดของ
บัญชีปัจจุบัน (วันที่ 30 มิถุนายน 2552) กับงวดก่อนหน้านี้ (วันที่ 31 ธันวาคม 2551) โดยกำไรจาก
อัตราแลกเปลี่ยนในครึ่งปีแรก ปี 2552 จำนวน 258 ล้านบาท แบ่งเป็น
- กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนของเอ็กโก และบริษัทย่อย จำนวน 18 ล้านบาท ลดลง 13 ล้านบาท
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 31 ล้านบาท
- กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนของกิจการร่วมค้า จำนวน 240 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 271 ล้านบาท
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2551 ซึ่งมีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 31 ล้านบาท
กำไร (ขาดทุน) จาก FX ของกิจการร่วมค้า: หน่วย : ล้านบาท
1H52 1H51
บีแอลซีพี 175 76
จีพีจี 115 (88)
จีอีซี (ไม่รวมจีพีจี) 42 18
เอพีบีพีและเออีพี* - 6
โคแนล 9 32
เอ็นทีพีซี (100) (75)
เคซอน (2) -
รวมกำไร (ขาดทุน) จาก FX 240 (31)
* ได้ขาย เอพีบีพี และ เออีพี ในเดือนพฤษภาคม 2551
นอกจากนี้หากไม่คำนึงถึงกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 258 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายทางการเงิน
จำนวน 1,322 ล้านบาท ภาษีเงินได้จำนวน 529 ล้านบาท และค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่างๆ
จำนวน 2,353 ล้านบาท กำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายทางการเงิน ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่างๆ
(EBITDA) ของกลุ่มเอ็กโก สำหรับครึ่งปีแรก ปี 2552 จะเป็นจำนวน 8,588 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 337
ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับ EBITDA ของกลุ่มเอ็กโก ในช่วงเวลาเดียวกัน ปี 2551
จำนวน 8,250 ล้านบาท ซึ่งไม่รวมผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนของกลุ่มเอ็กโก จำนวน 0.12 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายทางการเงินจำนวน 1,323 ล้านบาท ภาษีเงินได้จำนวน 449 ล้านบาท และค่าเสื่อมราคาและ
ค่าตัดจำหน่ายต่างๆ จำนวน 2,221 ล้านบาท
กำไรขั้นต้นของเอ็กโกและบริษัทย่อย จำนวน 1,898 ล้านบาท ลดลง 588 ล้านบาท หรือร้อยละ 24
สาเหตุหลักจากรายได้ค่าไฟฟ้าของ บฟข. ที่ลดลงจากอัตราค่าไฟซึ่งเป็นไปตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และรายได้
ค่าบริการของ เอสโก ที่ลดลงจากการให้บริการบำรุงรักษาและรายได้จากการขายอุปกรณ์เครื่องจักรใน
การผลิตไฟฟ้าให้กับโรงไฟฟ้าต่างประเทศลดลง
กำไรจากการดำเนินงานของเอ็กโกและบริษัทย่อย จำนวน 1,733 ล้านบาท ลดลง 560 ล้านบาท
หรือร้อยละ 24 โดยมีสาเหตุหลักเช่นเดียวกับการลดลงของกำไรขั้นต้น
อัตราส่วนแสดงความสามารถในการหากำไร (Profitability Ratio) สำหรับผลการดำเนินงาน
ประจำครึ่งปีแรก ปี 2552 มีดังนี้
- อัตรากำไรขั้นต้นเท่ากับร้อยละ 41.98
- อัตรากำไรจากการดำเนินงานเท่ากับร้อยละ 38.33
- อัตรากำไรสุทธิเท่ากับร้อยละ 55.85
- อัตรากำไรสุทธิ (ที่ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของเอ็กโกและบริษัทย่อย)เท่ากับร้อยละ 55.63
- กำไรสุทธิ ต่อหุ้น เท่ากับ 8.82 บาท
- กำไรสุทธิ (ที่ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของ เอ็กโกและบริษัทย่อย) ต่อหุ้นเท่ากับ 8.78 บาท
- อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นเท่ากับร้อยละ 9.93
อัตรากำไรขั้นต้น เท่ากับร้อยละ 41.98 นั้นต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันปี 2551 ซึ่งเท่ากับร้อยละ
46.71 สาเหตุหลักจากรายได้ค่าไฟฟ้าของ บฟข. ที่ลดลง และรายได้ค่าบริการของ เอสโก ที่ลดลงตามลำดับ
และอัตรากำไรสุทธิ (ที่ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของ เอ็กโก และบริษัทย่อย) เท่ากับร้อยละ
55.63 สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันปี 2551 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 51.25 สาเหตุหลักจากส่วนแบ่งกำไรของ จีพีจี
ที่เพิ่มขึ้น และการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรของ เคซอน
3.2 การวิเคราะห์รายได้ ค่าใช้จ่าย และส่วนแบ่งผลกำไรในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า
ผลการดำเนินงานประจำครึ่งปีแรก ปี 2552 ที่ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนของกลุ่มเอ็กโก
(FX) และกำไรสุทธิของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (MI) เป็นดังนี้
- รายได้รวมของ เอ็กโก และบริษัทย่อย จำนวน 4,735 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของ
ปีก่อน จำนวน 804 ล้านบาท หรือร้อยละ 15
- ค่าใช้จ่ายรวมของ เอ็กโก และบริษัทย่อย จำนวน 3,632 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกัน
ของปีก่อน จำนวน 338 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 9
- ส่วนแบ่งผลกำไรในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า จำนวน 3,336 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 585 ล้านบาท
หรือ ร้อยละ 21 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ปี 2551
โดยมีรายละเอียดแบ่งตามกลุ่มธุรกิจดังต่อไปนี้
รายได้รวม ค่าใช้จ่ายรวม และส่วนแบ่งผลกำไร (ขาดทุน) จากกิจการร่วมค้า
หน่วย : ล้านบาท
เอ็กโก ไอพีพี เอสพีพี
1H52 1H51 1H52 1H51 1H52 1H51
รายได้รวม 156 152 3,122 3,718 1,089 1,099
ค่าใช้จ่ายรวม 321 350 2,060 2,318 996 915
กำไรก่อนส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน)
จากกิจการร่วมค้า (166) (198) 1,062 1,401 92 184
ส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน)
จากกิจการร่วมค้า - - 3,006 2,556 163 212
กำไรสุทธิก่อน FX และ MI (166) (198) 4,068 3,957 255 396
ต่างประเทศ อื่นๆ รวม
1H52 1H51 1H52 1H51 1H52 1H51
รายได้รวม - - 369 570 4,735 5,539
ค่าใช้จ่ายรวม - - 254 387 3,632 3,970
กำไรก่อนส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน)
จากกิจการร่วมค้า - - 114 183 1,103 1,569
ส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน)
จากกิจการร่วมค้า 167 (21) - 4 3,336 2,751
กำไรสุทธิก่อน FX และ MI 167 (21) 114 187 4,439 4,320
1) เอ็กโก มีรายได้รวมในครึ่งปีแรก ปี 2552 จำนวน 156 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลา
เดียวกันปี 2551 จำนวน 4 ล้านบาท หรือร้อยละ 2
ค่าใช้จ่ายรวมของ เอ็กโก จำนวนทั้งสิ้น 321 ล้านบาท ลดลง 29 ล้านบาท หรือร้อยละ 8
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2551 สาเหตุหลักมาจากค่าใช้จ่ายในการบริหารลดลง 58 ล้านบาท
เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการ และค่าโฆษณาที่ลดลง ในขณะที่ค่าใช้จ่ายทางการเงินเพิ่มขึ้น
29 ล้านบาท เนื่องจากดอกเบี้ยจากการเบิกเงินกู้ระยะสั้น จำนวน 3,500 ล้านบาท เมื่อ
เดือนพฤศจิกายน 2551
2) ธุรกิจไอพีพี มีรายได้รวมทั้งสิ้น 3,122 ล้านบาท ลดลง 596 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน ปี 2551 ค่าใช้จ่ายรวมจำนวน 2,060 ล้านบาท ลดลง 258 ล้านบาท
หรือร้อยละ 11 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และส่วนแบ่งผลกำไรในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า
จำนวน 3,006 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 450 ล้านบาท หรือร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2551
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
รายได้ ค่าใช้จ่าย และส่วนแบ่งผลกำไร (ขาดทุน) จากกิจการร่วมค้าของธุรกิจไอพีพี:
หน่วย : ล้านบาท
บฟร. บฟข. บีแอลซีพี
1H52 1H51 1H52 1H51 1H52 1H51
รายได้รวม 1,905 1,941 1,217 1,778 - -
ค่าใช้จ่ายรวม 1,130 1,184 930 1,134 - -
กำไรก่อนส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน)
จากกิจการร่วมค้า 775 757 287 644 - -
ส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน)
จากกิจการร่วมค้า - - - - 1,913 1,817
กำไรสุทธิก่อน FX และ MI 775 757 287 644 1,913 1,817
จีพีจี รวม
1H52 1H51 1H52 1H51 %เปลี่ยนแปลง
รายได้รวม - - 3,122 3,718 (16%)
ค่าใช้จ่ายรวม - - 2,060 2,318 (11%)
กำไรก่อนส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน)
จากกิจการร่วมค้า - - 1,062 1,401 (24%)
ส่วนแบ่งผลกำไร(ขาดทุน)
จากกิจการร่วมค้า 1,093 739 3,006 2,556 18%
กำไรสุทธิก่อน FX และ MI 1,093 739 4,068 3,957 3%
* รายได้ค่าไฟฟ้า ของธุรกิจไอพีพี จำนวน 3,075 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2551
จำนวน 611 ล้านบาท หรือร้อยละ 17 เนื่องจากรายได้ค่าไฟฟ้าของ บฟข. จำนวน 1,210 ล้านบาท
ลดลง 550 ล้านบาท สาเหตุหลักจากอัตราค่าไฟฟ้า (Base Availability Credit) ที่ลดลง อีกทั้ง
รายได้ค่าไฟฟ้าของ บฟร. จำนวน 1,866 ล้านบาท ลดลง 61 ล้านบาท เนื่องจากอัตราค่าไฟฟ้าที่ลดลง
(Capacity Rate) ทั้งนี้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในสูตรค่าพลังไฟฟ้า ในลักษณะต้นทุนบวกกำไรส่วนเพิ่ม
(Cost Plus) ที่ให้แก่ผู้ประกอบการภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) และเป็นไปตามที่ได้ประมาณการไว้แล้ว
รายได้ค่าไฟฟ้าธุรกิจไอพีพี: หน่วย : ล้านบาท
1H52 1H51 %เปลี่ยนแปลง
บฟร. 1,866 1,927 (3%)
บฟข. 1,210 1,760 (31%)
รวมรายได้ค่าไฟฟ้า-ไอพีพี 3,075 3,686 (17%)
สัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าในแต่ละปีเพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายคงที่ คือ ค่าชำระหนี้
และค่าบำรุงรักษาหลัก ซึ่งจะใช้อัตราดังกล่าวตามที่ได้ตกลงในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในการคำนวณค่าไฟฟ้า
ในแต่ละงวด นอกจากนั้น ในการคำนวณรายได้ค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า ได้รับการปรับเพื่อชดเชย
ผลกระทบที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับภาระค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมเงินและค่าอะไหล่ที่ใช้ในการบำรุง
รักษาหลักที่เป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง บฟร. และ บฟข. จะได้รับการชดเชยทุกเดือนตามงวดกำหนดชำระ
ค่าไฟฟ้า โดยจะได้รับค่าพลังไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จากที่เคยกำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าก่อนการเพิ่มเติมเงื่อนไข
การปรับตามอัตราแลกเปลี่ยน เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนสูงกว่าระดับ 28 บาท ต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ และได้รับ
ค่าพลังไฟฟ้าลดลงเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนต่ำกว่าระดับ 28 บาท ต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ในครึ่งปีแรก
ปี 2552 รายได้ค่าไฟฟ้าจาก บฟร. และ บฟข.ได้รวมส่วนค่าไฟฟ้าที่ได้รับชดเชยผลกระทบจากอัตรา
แลกเปลี่ยนเป็นเงิน 120 ล้านบาท
* รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 47 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15 ล้านบาท หรือร้อยละ 46
สาเหตุหลักจาก บฟร. มีรายได้อื่นๆเพิ่มขึ้น จำนวน 27 ล้านบาท จากรายได้ค่าบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
ในขณะที่ดอกเบี้ยรับของ บฟข. ลดลง 11 ล้านบาท เนื่องจากจำนวนเงินฝากที่ลดลง
* ต้นทุนขาย จำนวน 1,489 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2551 จำนวน 174 ล้านบาท
หรือ ร้อยละ 10 จากต้นทุนขายของ บฟร. ที่ลดลง จำนวน 95 ล้านบาท เนื่องจากค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาหลัก
ที่ลดลง และต้นทุนขายของ บฟข. ที่ลดลงจำนวน 79 ล้านบาท เนื่องจากค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาหลัก และ
ค่าน้ำมันเตาลดลง
ต้นทุนขายธุรกิจไอพีพี: หน่วย : ล้านบาท
1H52 1H51 %เปลี่ยนแปลง
บฟร. 814 909 (11%)
บฟข. 675 754 (10%)
รวมต้นทุนขาย-ไอพีพี 1,489 1,663 (10%)
* ค่าใช้จ่ายในการบริหารและภาษี จำนวน 446 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
จำนวน 12 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 3 สาเหตุหลักจากภาษีเงินได้ของ บฟข. ลดลง จำนวน 69 ล้านบาท
หรือร้อยละ 59 เนื่องจากรายได้ที่ลดลง ปัจจุบัน บฟข. ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิ
ที่ได้รับจากการลงทุนผลิตไฟฟ้าในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นเวลา 5 ปี ซึ่งจะสิ้นสุด ในวันที่
25 กันยายน 2552 ในขณะที่ภาษีเงินได้ของ บฟร. เพิ่มขึ้น จำนวน 45 ล้านบาท หรือร้อยละ 23
เนื่องจากการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้รับจากการลงทุนผลิตไฟฟ้าในอัตราร้อยละ
50 ของอัตราปกติ ได้สิ้นสุดไปเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2551
* ค่าใช้จ่ายทางการเงิน จำนวน 125 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2551 จำนวน 71
ล้านบาท หรือ ร้อยละ 36 เนื่องจาก บฟข. ได้ชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศหมดเมื่อเดือนมิถุนายน 2551
และจำนวนหุ้นกู้ที่ลดลง
* ส่วนแบ่งผลกำไรในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า คือ บีแอลซีพี และ จีพีจี จำนวน 3,006 ล้านบาท
เพิ่มขึ้น 450 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของ
รายได้ค่าไฟฟ้าของ จีพีจี และ บีแอลซีพี
3) ธุรกิจเอสพีพี มีรายได้รวมทั้งสิ้น 1,089 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2551
จำนวน 10 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 1 ค่าใช้จ่ายรวม จำนวน 996 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกัน
ปี 2551 จำนวน 81 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 9 และส่วนแบ่งผลกำไรในส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า จำนวน
163 ล้านบาท ลดลงจำนวน 49 ล้านบาท หรือร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
โดยมีรายละเอียดดังนี้
รายได้ ค่าใช้จ่าย และส่วนแบ่งผลกำไร (ขาดทุน) จากกิจการร่วมค้าของธุรกิจเอสพีพี: หน่วย : ล้านบาท
(ยังมีต่อ)