การกำหนดประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

การกำหนดประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

     กลุ่มเอ็กโกคำนึงถึงประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมไปถึงประเด็นที่สอดคล้องต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย สถานการณ์ แนวโน้มความเป็นไปต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าและบริบททั่วไปทั้งในระดับประเทศและสากล ซึ่งประเด็นเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการกำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจของกลุ่มเอ็กโกสู่ธุรกิจที่ยั่งยืนและจัดทำรายงาน One Report ตามแนวทางข้อกำหนดในการรายงานของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และแนวทางอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ การกำกับดูแลกิจการของสถาบันกรรมการไทย การประเมินการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียนในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN CG Scorecard) เป็นต้น และยังคงนำแนวทางการรายงานแบบบูรณาการ (Integrated Reporting :IR) ตามกรอบการดำเนินงานของสถาบัน The International Integrated Reporting Council (IIRC) และแนวทางการจัดทำรายงานความยั่งยืนระดับสากลภายใต้กรอบการรายงานตามมาตรฐาน GRI Sustainability Reporting Standards (GRI Standards) ในระดับความสมบูรณ์ของเนื้อหาตามหลักเกณฑ์ ‘ตัวชี้วัดหลัก (Core Options)’ และข้อมูลประกอบสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า (G4 Electric Utilities) มาใช้เป็นแนวทางในการรายงาน รวมถึงการกำหนดเป้าหมายและการรายงานผลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) ตามแนวทางการจัดทำรายงานความยั่งยืนในระดับสากลภายใต้กรอบการรายงานตามมาตรฐาน Global Reporting Initiative (GRI) โดยกำหนดให้มีความสมบูรณ์ของเนื้อหาสอดคล้องตามหลักเกณฑ์ (In accordance Criteria) ‘ตัวชี้วัดหลัก (Core Option)’ และข้อมูลประกอบสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า (G4 Electric Utilities) โดยขั้นตอนการกำหนดเนื้อหารายงานส่วนการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1) ขั้นตอนการระบุประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนและกำหนดขอบเขตของรายงาน (Identification)

        กลุ่มเอ็กโกพิจารณาทบทวนประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งครอบคลุมประเด็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประเด็นที่มีความเสี่ยงและโอกาสต่อธุรกิจทั้งเชิงบวกและเชิงลบครอบคลุมประเด็การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โดยพิจารณาทั้งปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร ความเสี่ยง ผลกระทบต่อธุรกิจ ความสอดคล้องกับมาตรฐานสากลและสถานการณ์ความเป็นไปทั้งระดับประเทศและระดับสากลเพื่อประกอบการตัดสินใจ และวิเคราะห์แนวโน้มเทียบเคียงกับประเด็นด้านความยั่งยืนระดับโลก รวมทั้งบริษัทอื่นๆ ในภาคพลังงานและสาธารณูปโภค

2) ขั้นตอนการพิจารณาลำดับประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน (Prioritization)

       กลุ่มเอ็กโกพิจารณาลำดับประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนจากองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ ความสนใจ/ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกองค์กรและความสอดคล้องกับมาตรฐานสากลและสถานการณ์ความเป็นไปทั้งระดับประเทศและสากลที่มีต่อประเด็นสำคัญที่ถูกคัดเลือก หลังจากนั้นจึงพิจารณาจากผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม คำนวณและจัดทำแผนผังสรุปประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน (Materiality Matrix) เพื่อระบุตำแหน่งความสำคัญของแต่ละประเด็น

3) ขั้นตอนการทวนสอบประเด็นที่สำคัญ (Validation)

      เมื่อได้ผลการประเมินประเด็นที่สำคัญด้านความยั่งยืนต่อการดำเนินธุรกิจของกลุ่มเอ็กโกแล้ว ได้มีการคัดเลือกกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียภายนอกเพื่อทวนสอบถึงความถูกต้องของผลการจัดลำดับประเด็นความสำคัญด้านความยั่งยืน และนำเสนอผลการรายงานต่อคณะผู้บริหารในการพิจารณาทบทวนประเด็นฯ ตามความสอดคล้องกับบริบท กลยุทธ์และเป้าหมายขององค์กรและเพื่อให้คณะผู้บริหารให้ความเห็นชอบในการเปิดเผยข้อมูลในมิติต่าง ๆ หลังจากนั้นจึงระบุความสอดคล้องของแต่ละประเด็นฯ กับตัวบ่งชี้ตามกรอบการรายงานมาตรฐาน GRI และความสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) รวมไปถึงการกำหนดขอบเขตสำหรับการรายงานในแต่ละประเด็น

4) ขั้นตอนการพัฒนารายงานในส่วนการชับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน (Review)

     กลุ่มเอ็กโกได้ดำเนินการพัฒนาและจัดทำรายงาน รวมทั้งทบทวนความสมบูรณ์ของเนื้อหาฯ และตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนโดยคณะกรรมการบริษัทและหน่วยงานภายนอก โดยมีการดำเนินการให้หน่วยงานอิสระภายนอกเข้ามาตรวจสอบกระบวนการประเมินประเด็นสำคัญ การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย และประเมินผลข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน โปร่งใส ถูกต้อง และครบถ้วนตามมาตราฐานการรายงาน

รายงานความยั่งยืน/รายงานประจำปี


รายงานความยั่งยืน ปี 2563 (รวมอยู่ในเล่มรายงานประจำปี 2563)

รายงานความยั่งยืน ปี 2562

รายงานความยั่งยืน ปี 2561

ข้อมูลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน